Oppday Year End 2022 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ADVANC
[ADVANC] บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Oppday Q1/2023 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ADVANC
Presentation https://weblink.set.or.th/dat/registrat ... ADVANC.pdf
Presentation https://weblink.set.or.th/dat/registrat ... ADVANC.pdf
-
- Posts: 377
- Joined: Tue Dec 27, 2022 5:25 pm
ถอดเทป "Oppday Q1/2023 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ADVANC"
คุณนภสินธุ์: ครับ ก็สวัสดีท่านนักลงทุนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังงาน Opportunity Day ของบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ทุกท่านนะครับ
ก็วันนี้เราได้รับเกียรติจากท่านผู้บริหารครับ คุณสมฤทัย ตัณฑกิตติ ครับหัวหน้าแผนกงานนักลงทุนสัมพันธ์ และผมนภสินธุ์ สานติวัตร ครับเข้ามาร่วมให้ข้อมูลในผลประกอบการประจำไตรมาสหนึ่ง ปี 2566 ครับ ก็ขอเริ่มเลยนะครับ
สำหรับในไตรมาสแรกของปี 2566 นะครับ เศรษฐกิจไทยในภาพรวมนะครับเราเริ่มเห็นสัญญาณที่ฟื้นตัวค่อนข้างชัดเจนขึ้นนะครับทั้งจากการขับเคลื่อนด้วยภาคการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยนะครับ อ่ากว่า 6.5 ล้านคนในไตรมาสหนึ่งนี้นะครับ
ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อที่กดดันเศรษฐกิจไทยในปีที่แล้วตลอดทั้งปีนะครับ ก็เริ่มมีการคลี่คลายลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปครับ
อย่างไรก็ตามครับความเสี่ยงในการเกิดเศรษฐกิจถดถอยในหลากหลายประเทศทั่วโลกครับ ก็ยังคงเป็นบทปัจจัยในการกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอยู่บ้างพอสมควรนะครับ ควบคู่ไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยนะครับ
AIS เราได้โฟกัสไปที่การเติบโตของธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนของรายได้ที่มีคุณภาพมากขึ้น ผ่านการพัฒนาทางด้านของคุณภาพและประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้บริการนะครับ จากการเพิ่ม value added ให้แก่ service ต่าง ๆ ของ AIS ทำให้เราครับสามารถที่จะปรับโครงสร้างราคาให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับ value ที่มอบให้แก่ผู้ใช้งานได้นะครับ ซึ่งจะสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้แก่ Ais ในไตรมาสที่ผ่านมาและในส่วนที่เหลือของปีได้นะครับ
สำหรับธุรกิจหลักนะครับ เริ่มที่ธุรกิจด้าน Mobile ก่อนนะครับ
ธุรกิจ Mobile ในไตรมาสนี้ครับด้วยกลยุทธ์ในการสร้างความประทับใจและการสร้างความแตกต่างให้แก่สินค้าและบริการของ AIS นะครับ เราได้มีการเติบโตในส่วนของธุรกิจ Mobile ประมาณ 1.4% จากไตรมาสหนึ่งปีก่อนนะครับ
จากการที่เราได้มีการพัฒนาคุณภาพของโครงข่ายและคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่องครับ เรามีการวางกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจ ด้วยการออกแพ็กเกจที่มีความแตกต่างด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรหลากหลายนะครับ ในขณะที่การแข่งขันในตลาดธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่นี้อาจเห็นการเบาบางลงเล็กน้อยครับในไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมาครับ
ธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงหรือว่าฟิกบอร์ดแบนในไตรมาสนี้ เรายังสามารถคงการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง โดยที่มีรายได้เติบโตกว่า 11% เทียบกับไตรมาสหนึ่งปีก่อนนะครับ
ในขณะที่ในเชิงของผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเกือบ 100,000 รายจากไตรมาสก่อน การเติบโตดังกล่าวในธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่เรายังคงขยายพื้นที่การให้บริการอย่างต่อเนื่องครับ โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดและพื้นที่ห่างไกลนะครับ ประกอบกับกลยุทธ์ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาประกอบด้วยนะครับ
ธุรกิจที่ 3 ครับ Enterprise Business หรือว่าธุรกิจบริการลูกค้าองค์กร ก็ยังคงสามารถเติบโตได้ค่อนข้างดีในไตรมาสหนึ่งนะครับ จากการขยายความร่วมมือทางด้านดิจิตอลแก่องค์กรธุรกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือว่าองค์กรขนาดเล็กรวมไปถึง SME นะครับ
โดยเรามีวัตถุประสงค์ในการช่วยให้ลูกค้าต่าง ๆ ที่เป็นลูกค้าของ AIS นะครับ สามารถพัฒนากระบวนการทำงานในด้านต่าง ๆ ให้มีความเป็นดิจิตอลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้แก่ลูกค้าองค์กรของเราได้เพิ่มขึ้นนะครับ
นอกจากการสร้างการเติบโตในด้านของรายได้ การควบคุมต้นทุนดำเนินงานต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือว่าการทำ Cost Optimization ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งครับที่ AIS เราให้ความสำคัญในช่วงที่ผ่านมานะครับ
โดยเฉพาะในช่วงที่เราได้รับผลกระทบจากค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้นและต้นทุนด้านต่าง ๆ ก็มีการปรับเพิ่มขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเราก็คาดว่าการทำ Cost Optimization ของเราจะช่วยให้ AIS สามารถรับมือกับความผันผวนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไม่ว่าจะเป็นจากภายในหรือภายนอกและสามารถส่งมอบผลตอบแทนที่สม่ำเสมอให้แก่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทุกท่านได้นะครับ
โดยสรุปนะครับ รายได้จากธุรกิจหลักของ AIS ในไตรมาสหนึ่งนี้ เรามีรายได้จากการให้บริการหลักกว่า 33,500 ล้านบาทครับ
โดยที่ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโมบายล์ทางด้านซ้ายมือ ยังคงมีสัดส่วนมากที่สุดกว่า 87% นะครับ ตามมาด้วยธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงฟิคบอดแบนด์ ซึ่งมีสัดส่วนของรายได้ต่อการให้บริการหลักเพิ่มขึ้นเป็น 8.1% นะครับ จากเดิมที่มีสัดส่วนประมาณ 7% ในปีที่ผ่านมาครับ ซึ่งเกิดจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของธุรกิจบรอดแบนด์ของ AIS นะครับ
ด้านของธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรหรือเอ็นเตอร์ไพรส์ ในไตรมาสนี้เรามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับประมาณ 4% นะครับ เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้จากการให้บริการหลักทั้งหมดนะครับ ซึ่งก็เกิดจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งเช่นกันครับ
และในส่วนสุดท้ายครับ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีขนาดที่ยังค่อนข้างเล็กอยู่ แต่ว่าโดยหลักพื้นฐานของธุรกิจดิจิทัลเซอร์วิสเราจะเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจหลักทั้ง 3 ดังที่ได้เรียนไปข้างต้นนะครับ แล้วก็จะเป็นโอกาสในการสร้างการเติบโตในธุรกิจใหม่ของ AIS ในอนาคต ในปัจจุบันก็ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านของวิดีโอคอนเทนต์และการให้บริการด้านการเงินดิจิตอลเป็นต้นครับ
นอกเหนือจากการเติบโตของ Top line หรือว่ารายได้จากการให้บริการหลักนะครับ อีกจุดหนึ่งที่เป็นที่น่าสนใจในไตรมาสที่ผ่านมา ก็คือการรีบาวด์ของ Bottom line หรือว่าทั้งรายการของ EBITDA และก็กำไรสุทธิหรือว่า Net Profit นะครับ
โดยหากเราพิจารณาจากกราฟตรงกลางนะครับ หรือว่ากราฟของ EBITDA ที่แสดงอยู่ตรงกลาง เราจะเห็นว่าใน Q1 รายได้รวมเนี่ยเราเติบโตประมาณ 3.2% นะครับ แม้ว่าจะเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ในด้านของต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนค่าไฟฟ้าที่มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และก็เป็นต้นทุนการดำเนินงานหลักของบริษัท
แต่ว่าดังที่ได้เรียนไปนะครับเรามีการทำ Cost Optimization ในส่วนต่าง ๆ ซึ่งทำให้เราสามารถบรรเทาผลกระทบจากค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นได้บางส่วนซึ่งรวมถึงในค่าใช้จ่ายด้านของการบริหารและการตลาดครับ เราก็สามารถควบคุมได้ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมานะครับ ทำให้ EBITDA ใน Q1 ของเราครับเติบโตขึ้นประมาณ 1% เมื่อเปรียบเทียบกับ Q1 ปีก่อนครับ
ในขณะที่ด้านขวามือครับ แสดงกำไรสุทธิก็ใน Q1 นี้ เราสามารถเติบโตได้กว่า 7% นะครับ ซึ่งก็สอดคล้องไปกับกำไรจากการดำเนินงานหรือว่า Operating Profit ที่เพิ่มขึ้นกว่า 4% ครับ
นอกจากนั้นการรับรู้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนครับก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้กันมีการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิของ AIS ได้ใน Q1 ครับ
ในขณะที่ภาพของ QoQ เมื่อเปรียบเทียบกับ Q4 นะครับ ก็อาจจะเห็นการตกลงเล็กน้อยโดยเป็นปัจจัยทางด้านฤดูกาลครับ ซึ่งในไตรมาส 4 จะเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจของ AIS นะครับซึ่งเห็นการตกลงทั้ง EBITDA และ Net Profit ล็กน้อยนะครับ
ถัดมาจะเป็นรายละเอียดในธุรกิจหลักทั้ง 3 ด้านของ AIS นะครับ ขออนุญาตเริ่มจากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนนะครับ
ในเชิงของรายได้ไตรมาสหนึ่ง เราปิดที่ประมาณ 29,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปีก่อนหน้า ประมาณ 1.4% หลัก ๆ ก็จะเป็นการเติบโตในกลุ่มของผู้ใช้บริการแบบรายเดือนหรือ Postpaid รวมกับการที่เราได้รับประโยชน์จากการใช้งานของนักท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั้งนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในต่างประเทศและเปิดใช้xxx sim (นาที 8.56) หรือว่าการเดินทางออกนอกประเทศของท่องเที่ยวไทยครับ
ซึ่งจะมีการใช้งานในลักษณะของโรมมิ่ง ซึ่งทำให้รายได้โมบายล์เติบโตขึ้นนะครับ
แม้ว่าจะเห็นการลดลงของรายได้กลุ่มเติมเงินหรือว่า Prepaid ซึ่งยังหดตัวต่อเนื่อง มาจากกำลังซื้อของกลุ่มเปราะบางที่ยังได้รับปัจจัยกดดันอยู่จากหลายปัจจัยนะครับ
การเติบโตของ Postpaid หรือว่ารายเดือน ทำให้สัดส่วนของ Postpaid ต่อ Prepaid เพิ่มขึ้นจาก 56% เป็น 58% ในไตรมาสหนึ่งปีนี้นะครับ
อย่างไรก็ตามครับ ปัจจัยในการที่จะสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเรา ส่วนหนึ่ง ก็เกิดจากกลยุทธ์ทางด้านราคาครับ ซึ่ง AIS เราได้เริ่มทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาตั้งแต่ Q3 ที่ผ่านมานะครับ
โดยเราได้มีการปรับโครงสร้างราคาให้มีความเหมาะสมกับสิ่งที่เรา Offer ให้แก่ลูกค้านะครับ โดยเรามีการสรรหารูปแบบการให้บริการใหม่ ๆ เพื่อมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ Service ของ AIS นะครับ
อย่างเช่น ในไตรมาสที่ผ่านมาเราได้จับมือร่วมกับทาง Netflix ออกเป็นแพ็กเกจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ร่วมกับสมัคร Subscription ก็ทาง Netflix ซึ่งเจาะกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการทั้งสองอย่างร่วมกันนะครับ นอกจากนั้น เรายังมีการจับมือกับทาง UOB ในการทำโปรโมชั่นสำหรับไอโฟน 14 เป็นต้น นะครับ
ซึ่งกลยุทธ์ที่ได้เรียนไปนะครับ ก็ทำให้ในส่วนของ ARPU หรือว่ารายได้ต่อผู้ใช้บริการหนึ่งรายต่อเดือน ที่แสดงอยู่ทางด้านขวามือตรงนี้ มีแนวโน้มที่ดูดีขึ้น คือมีเปอร์เซ็นต์การลดลงที่น้อยลงกว่าการลดลงในอดีตนะครับ
โดยเราเชื่อว่ากลยุทธ์ด้านราคาที่เราได้เริ่มทำ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วย Satbilize ตัว ARPU และเป็นปัจจัยขับเคลื่อนรายได้ของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอนาคตได้นะครับ
สำหรับตัวเลขของผู้ใช้บริการนะครับก็เราเพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 ราย ใน Q1 นะครับซึ่งเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องครับ
นอกจากกลยุทธ์ทางด้านราคาที่ได้เรียนไปข้างต้นนะครับ อีกปัจจัยหนึ่งที่น่าจะเป็นการขับเคลื่อนรายได้ทางฝั่งมือถือนะครับ ก็คือการผลักดันการใช้งาน 5G ให้สูงขึ้น โดยใน Q1 นี้ เรายังสามารถเติบโตในส่วนของผู้ใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องครับ
ปัจจุบันเรามีผู้ใช้บริการ 5G กว่า 7.2 ล้านราย ซึ่งเกิดจากการพัฒนาคุณภาพของโครงข่าย 5G ทั้งในแง่ของความครอบคลุมซึ่งปัจจุบันมีความครอบคลุมประมาณ 87% ของประชากรไทยทั่วประเทศนะครับ นอกจากนั้น ก็จะเป็นการพัฒนาในแง่ของสปีดและ Capacity หรือว่าความจุ เพื่อรองรับการใช้งาน 5G ที่ต้องการสปีดที่รวดเร็วเพิ่มขึ้นนะครับ
นอกจากนั้น การเพิ่มขึ้นของ 5G ในอนาคตอาจมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของตัว Device หรือว่าโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่นะครับ ซึ่งน่าจะมีการทยอยออกในปีนี้จากการที่ปัญหาชิปในต่างประเทศเริ่มคลี่คลายนะครับ แล้วก็บริษัทผู้ผลิตสินค้า IT ต่าง ๆ เนี่ยน่าจะมีการเร่งออกโทรศัพท์รวมถึงอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายของบริษัทเหล่านั้นที่ Drop ลงใน Q1 ครับ
ด้านของธุรกิจบอร์ดแบนด์หรือว่าอินเตอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงครับ ใน Q1 นี้เรายังคงความสามารถในการเติบโตในระดับเลขสองหลักได้นะครับโดยที่ประมาณ 11% เติบโตจากต่อเนื่องจากปีก่อนหน้านะครับ โดยที่รายได้ของธุรกิจบอร์ดแบนด์ปัจจุบันนะครับ Q1 ปิดที่ประมาณ 2,700 ล้านบาทครับ
นอกเหนือจากการเติบโตในแง่ของรายได้นะครับ ผู้ใช้บริการใน Q1 ก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง 20% จากไตรมาสก่อนครับ โดยเกิดจากความพยายามในการขยายขอบเขตพื้นที่การให้บริการนะครับไปยังพื้นที่ห่างไกลร่วมกับการพัฒนาการให้บริการรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ Service ของ AIS Fibre นะครับ
โดยล่าสุดเราได้มีการออกผลิตภัณฑ์และ Service ใหม่ก็คือ Fibre to the Room นะครับหรือว่า FTTR ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อแต่ละพื้นที่ของบ้านของลูกค้าของเราด้วย Fiber Optic หรือว่าเส้นใยแก้วนำแสงซึ่งจะช่วยให้ความเร็วในพื้นที่ต่าง ๆ ภายในที่อยู่อาศัยของลูกค้าเรามีความเสถียรและความเร็วที่ไม่ดรอปลงนะครับ
ซึ่งแตกต่างจากการใช้ตัวเมชไวไฟแบบดั้งเดิมหรือการต่อเราท์เตอร์ ซึ่งจะรองรับการใช้งานในรูปแบบที่หนักหน่วงมากขึ้น เช่นกันใช้บริการแบบคอนเทนต์ที่มีความละเอียดสูงหรือว่าเกมที่ต้องการความเร็วอินเทอร์เน็ตที่สูงกว่านะครับ
ซึ่งความพยายามในการที่เราสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของ AIS นะครับทำให้ ARPU ในฝั่งของบรอดแบนด์เราสามารถคงตัวได้เมื่อเปรียบเทียบกับในไตรมาสก่อนครับ คือคงตัวอยู่ที่ประมาณสัก 407 บาท ต่อราย ต่อเดือนนะครับ
ซึ่งเราหวังว่าด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ ซึ่งเราได้อเริ่มทำแล้วนะครับ ในปีที่ผ่านมาจนถึงปีนี้นะครับก็จะเป็นปัจจัยในการสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจบรอดแบนด์ของ AIS เช่นเดียวกันครับ
ในส่วนของธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรหรือว่า Enterprise นะครับ ทิศทางและกลยุทธ์ในไตรมาสหนึ่งเราได้มีการเลือกเติบโตนในรายได้หรือว่า Segment ที่มีการสร้างกำไรหรือว่า Target Margin ใกล้เคียงกับที่บริษัทต้องการคาดหวังนะครับ
ซึ่งทำให้เราสามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านของโครงข่าย IT หรือว่าทรัพยากรบุคคลนในการ Operate แล้วก็ดีลกับลูกค้าต่าง ๆ ซึ่งจะสร้างผลตอบแทนให้แก่บริษัทได้ในระดับที่น่าพึงพอใจเท่านั้นนะครับ
โดยเราก็มั่นใจว่าสิ่งที่บริษัทได้รับ ก็จะคุ้มค่า แล้วก็สร้างผลตอบแทนคืนสู่ผู้ถือหุ้นได้ในอนาคตอย่างสมเหตุสมผลครับ
ไตรมาสที่ผ่านมา เรามีการเติบโตในธุรกิจ Enterprise ประมาณ 7% เมื่อเปรียบเทียบกับ Q1 ปีก่อนนะครับ โดยที่ตัวขับเคลื่อนหลักก็จะมาจากธุรกิจด้าน EDS หรือว่าการวางโครงข่ายเชื่อมต่อระหว่างองค์กรในองค์กรของลูกค้านะครับ รวมถึงธุรกิจด้าน CCIID ครับ
ก็นอกเหนือจากการเติบโตในส่วนของผลประกอบการแล้ว ในด้านการเงินของบริษัทนะครับ สิ่งที่ AIS เราได้ให้ความสำคัญและก็ตั้งเป้าหมายขึ้นมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมานะครับ ก็คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนครับ ซึ่งจะขอใช้โอกาสนี้ในการบอกเล่าถึงกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและอัปเดตสิ่งที่เราได้ทำใน Q1 ที่ผ่านมานะครับ
สำหรับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของ AIS เรามีกัน 3 แกนหลัก ซึ่งสะท้อนมาจากรากฐานของ AIS ที่เติบโตมาจากผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมที่ให้บริการเชื่อมต่อสื่อสารผู้คนเข้าด้วยกัน จนมาสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิตอลซึ่งช่วยยกระดับการให้บริการทางด้านโทรคมนาคมแบบดั้งเดิมมาสู่ยุคดิจิตอลที่มีบทบาทมากขึ้นนะครับ
โดยเราเชื่อว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถทำควบคู่ไปกับการเติบโตทางด้านธุรกิจปกติได้ จึงได้มีการวางกลยุทธ์ต่าง ๆ ใน 3 แกนหลักควบคู่ไปกับกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัท ดังนี้นะครับ
ในแกนแรก จะเป็นตัวของ Drive Digital Economy หรือว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งเป็นความตั้งใจของ AIS ที่จะช่วยให้ผู้คนและองค์กรธุรกิจต่าง ๆ สามารถเติบโตในยุคของเศรษฐกิจดิจิทัลได้นะครับ เช่น การพัฒนากลุ่ม Enterprice ขึ้นมานะครับเพื่อช่วยยกระดับการทำงานด้านดิจิตอลขององค์กรภาคธุรกิจในประเทศไทยรวมถึงการรักษามาตรฐานความมั่นคงความปลอดภัยทางด้าน Cyber นะครับ แล้วก็การพัฒนาบุคลากรต่าง ๆ เพื่อที่จะรองรับการทำงานในด้านของ Digital Transformation ที่เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั้งในที่ผ่านมาและในอนาคตนะครับ
สำหรับแกนที่สอง Promote Digtal Inclusion หรือว่าการสร้างการเข้าถึงดิจิตอลให้แก่ทุกคนในสังคมนะครับ ก็คือการใช้จุดแข็งของ Ais ในการเป็นธุรกิจด้านดิจิตอลและการให้บริการเชื่อมต่อสื่อสารคนเข้าด้วยกัน สร้างการเข้าถึงดิจิตอลต่าง ๆ ให้ทุกคนในสังคม แล้วก็สนับสนุนให้ผู้คนในสังคมมีการใช้ดิจิตอลอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดิจิตอลของคนไทยนะครับ
นอกจากนั้นครับ เราเชื่อว่าการสร้างการเข้าถึงดิจิตอลให้แก่คนในสังคมจะเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนที่โดยปกติไม่มีการเข้าถึงนะครับ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาของประเทศไทยในที่สุดครับ
และแกนสุดท้ายครับ ก็คือแกนด้านของการ Act On Climate หรือว่าการยืนหยัดเพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เป็นสิ่งที่ทุกคนในโลกให้ความสนใจ
โดยในปัจจุบันนะครับ AIS เราได้มีการประกาศเป้าหมายการเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือว่า NET ZERO นะครับในปี 2050 นะครับ
โดยกลยุทธ์สำคัญที่เราดำเนินการอยู่ในปัจจุบันก็คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เช่น การติดแผงโซลาร์เซลล์ในส่วนที่เป็น Base Station หรือว่าโครงข่ายของ AIS นะครับ
และก้าวสำคัญใน Q1 ที่ผ่านมานะครับ เราได้มีการทำ MOU กับบริษัท PTTGC ซึ่งเป็นผู้นำด้านของธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่นชั้นนำในประเทศไทยนะครับ ด้วยการที่เรา Provide Solution ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น 5G Solution หรือ IoT ที่ AIS มีความเชี่ยวชาญ เพื่อยกระดับการใช้พลังงานของทาง GC และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทาง GC ด้วยครับ
นอกจากนั้น ก็จะเป็นการสนับสนุน Platform ต่าง ๆ ทางด้านออนไลน์รวมถึงแคมเปญต่าง ๆ ที่เราได้ทำร่วมกันกับทาง GC เพื่อที่จะยกระดับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะของ upcycling หรือการผลิตภัณฑ์ที่มีความหมุนเวียนมากขึ้น และรวมไปถึงการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตของ GC ด้วยครับ ซึ่งเป็นย่างก้าวที่สำคัญใน Q1 ที่ผ่านมานะครับ
ทั้งหมดก็จะเป็นรายงานรายได้ของธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เกิดขึ้นในไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมานะครับ
ในลำดับถัดไปสำหรับแนวโน้มธุรกิจและกลยุทธ์ในอนาคต ก็จะขอเรียนเชิญคุณสมฤทัยเข้ามาให้ข้อมูลในส่วนนี้ ขอเรียนเชิญครับ
—-------
คุณสมฤทัย: ค่ะ ตอนนี้ก็ขออนุญาติมาเล่าให้ฟังนะคะ ในเรื่องของ Strategic Direction ซึ่งเราก็มีการประกาศหลังจากการประกาศงบของคราวที่แล้วนะคะ ว่าภาพรวม Direction ของเราต่อไปเนี่ยจะเป็นยังไง
เราก็ตั้งมั่นจะเปลี่ยนแปลงจากการเป็น Digitalized Service Provider แล้วก็ขยายต่อยอดจนเป็น Cognitive Tech-Co นะคะ
ซึ่งวิสัยทัศน์ Cognitive Tech-Co เราก็วางไว้ใน 3 - 5 ปีนี้ เราก็ยังคงจะมี 4 แกน Business หลักของเราอยู่นะคะ แต่เราก็อาจจะต้องเปลี่ยนแปลง Business Operational Model และ Process ต่าง ๆ เพื่อที่เราจะได้ตอบโจทย์ของลูกค้า แล้วก็ทำให้ Operation ของเราเนี่ยมีความฉลาดในการ Engage ลูกค้ามากขึ้นฝั่ง
ภาพบ้านก็คือเป็นแกนหลักของเราเลย หลังคาบ้านของเราก็คือเป็นลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญ เราโฟกัสลูกค้าเป็นที่หนึ่งแน่นอนเพื่อส่งมอบบริการที่สร้าง Experience ที่ดีให้กับลูกค้าของเราที่แตกต่างจากคู่แข่ง
Telecom หลายคนอาจมองว่ามันเป็นธุรกิจที่เป็น Community แล้ว เราบอกว่า Network เราเร็วคู่แข่งหรือ Operator อื่น ๆ ก็สามารถบอกได้ว่าเขาก็เร็วเหมือนกัน เราว่า Networkเราดี คู่แข่งก็บอกได้เหมือนกันว่าของเขาก็ดี
แต่สิ่งที่จะเป็นหัวใจในการตัดสินใจจริง ๆ ก็คือ ลูกค้าจะเป็นคนบอกเรานะคะ ว่าเรามีความแตกต่างในด้านของ Experience อย่างไร
ใน 4 ธุรกิจหลัก สิ่งที่จะเป็นรากฐานของเรานะคะ ก็จะมีอยู่ 3 แกนก็คือในกลุ่ม Automous Network IT Intelligence แล้วก็ Data Inside กับ Customer Care
ทำไมเราต้องทำ Automous Network เราทำเพื่อให้เรา ามารถตอบโจทย์บริการลูกค้าให้ดีขึ้น Automous Network มีอยู่หลายระดับนะคะ ซึ่งเราก็ตั้งเป้าว่าเราจะไปอยู่ที่ระดับ 3
ระดับ 3 ก็คือมันจะสามารถ Fix ตัวเองได้ เมื่อมีปัญหามันก็จะสามารถเสร็จแล้วก็เข้าไปแก้ไขปัญหาไม่ต้องให้มีคนเข้าไปอยู่ในกระบวนการในการแก้ไขปัญหา Network ให้กับลูกค้านะคะ สิ่งนี้ก็จะช่วยทำให้เรามี Operation ที่ Efficience มากขึ้นแล้วก็สามารถตอบรับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วนะคะ
IT Intelligence มีความสำคัญยังไง เพราะว่ามันคือมันคือการที่ Enhance Agility ต่าง ๆ เพื่อให้ Operation ของเรามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
อย่าง AIS เราอยู่มา 30 กว่าปีนะคะ แล้วก็เป็นองค์กรที่มีระบบ IT ต่าง ๆ ที่อยู่มานานอยู่พอสมควร สิ่งที่เราต้องทำก็คือ เราก็คือต้องพัฒนาหรือเลือกจุดต่าง ๆ ที่เราจะสามารถ Enhance เราอาจมีการพัฒนาระบบ IT เลือกที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ IT เพื่อที่จะตอบโจทย์แล้วก็บริการให้ลูกค้ามากขึ้น
อีกอันนึงก็คือในส่วนของ Data Inside กับ Customer Care เราต้องการที่จะ Enhance ต่อยอดการบริการให้ลูกค้าผ่านการนำเสนอเด็กเปเปอร์ การใช้ AI เข้ามาตอบสนองในการบริการแล้วก็การเข้ามารู้จักกับลูกค้าเพื่อตอบสนองลูกค้าให้ได้เป็นอย่าง Real Time
หัวใจสำคัญ นอกจากลูกค้าด้านบนแล้วก็คือฐานข้างล่างนะคะ เรามี Royalty Program กับพาร์ทเนอร์ที่จะเห็นชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ มี Ecosystem ที่ทำให้สินค้าบริการของเราแตกต่างกัน การร่วมมือกับ Partnership ของเรา
ซึ่งตรงนี้ก็อิงไลน์กับการประกาศเป้าหมายการสร้าง Ecosystem Economy หรือ การพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบร่วมกันนะคะ การมี Product Bundling ต่าง ๆ ไม่ว่าจะใน Netflix UOB BBL Debit Card ที่เป็นผลิตภัณฑ์การร่วมมือใหม่ของเราที่ผ่านมานะคะ แล้วก็ Partnership อีกมากมายที่จะเข้ามาสร้างประโยชน์เพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าทั้งในด้านลูกค้าบุคคล ลูกค้าบริษัท แล้วก็ผู้มีส่วนได้เสียโดยรวมนะคะ
ซึ่งถัดมานะคะ เราก็จะโฟกัสในเรื่องของเป้าหมายของแต่ละธุรกิจนะคะ โดยในโมบายนะคะในปีที่ผ่านมาเรามีลูกค้า 5G ถึง 15% แล้วแล้วก็เราก็อยากจะเพิ่มลูกค้า 5G เพิ่ม ก็ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะผลักดันลูกค้า 5G ให้เป็น 12% เพราะอะไร ก็เพราะว่าลูกค้า 5G เนี่ยยังสามารถให้ Uplift ใน ARPU ของเราได้ 10 ถึง 15%
โดยสิ่งที่เราเน้นก็คือการเน้นการทำผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่า แล้วก็ค่อยต่อยอดการปรับโครงสร้างราคาการ Focus Segment ลูกค้าหรือ Product ที่ทำกำไรให้กับเราพร้อมกับการรักษาฐานลูกค้าที่มีคุณภาพ เพื่อที่เราจะสามารถต่อยอดแล้วก็เพิ่มคุณค่าได้มากขึ้น
ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็คือเราคาดว่าในปีนี้มันจะมี Handset 5G ที่เข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้นถึง 70% ก็คือในตลาดสมมติว่าวางขาย 100 เครื่อง 70 เครื่องก็จะเป็น Handset ที่ 5G Compatibal แล้วก็จะมีราคาที่ถูกลงที่ Affordable สำหรับลูกค้าได้นะคะ
แล้วก็นอกจากนี้ก็จะต้องประกอบกับการสร้าง Ecosystem ต่าง ๆ เพื่อทำให้ 5G เนี่ยเกิด Usecase มากขึ้นนะคะในฝั่งของโมบาย
ฝั่งของ Fixed Broadband ก็คือเราต้องการการ Acquire ลูกค้าที่มีคุณภาพผ่านการ Introduce ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ นะคะ อย่างที่เราก็มีการ Introduce FTTR มีการ Introduce Wifi 6G ครั้งแรกในเมืองไทยนะคะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือจะทำให้ลูกค้าเห็นคุณค่าในผลิตภัณฑ์ของเรา แล้วก็ทำให้เราสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แล้วก็ Uplife ARPU ขึ้นได้นะคะ
ซึ่ง Fixed Broadband เนี่ย เป็นอีกจุดที่เราจะสามารถช่วยต่อยอดธุรกิจองค์รวม เป็นแบบ FMC Strategies นะคะ ทำไมต้องเป็น FMC เพราะการรวมกันทำให้เกิด Revinue Strategies ARPU ต่อลูกค้า ที่ลูกค้าหนึ่งคน ที่มีผลิตภัณฑ์ทาง FVB (นาที 26.41) กับมีซิมที่เป็นโมบายนะคะก็คือจะทำให้ ARPU องค์รวมของลูกค้าเพิ่มขึ้น
ในปีเนี้ย แล้วก็ใน Quarter ถัดไปนะคะ เราก็จะโฟกัสบนแพลนที่ประมาณ 499 นะคะ เพื่ออิงไลน์กับการ Focus บน Profitable Revenue และ Service Quality ของเรา
ในฝั่งของ Enterprise นะคะ เราก็อยากจะโฟกัสในเรื่องของ Profitable Growth เหมือนกันแล้วก็โฟกัสบน High Value Segment นะคะ ซึ่งสิ่งที่เราจะทำก็คือ เราพยายาม Streamline Operation Process ในการจัดทัพกระบวนการของเซลล์ทีม เพื่อตอบโจทย์ Vertical Solution ต่าง ๆ ของลูกค้านะคะ
อันดับสองก็คือจะมีการ Provide Vertical Solution ซึ่งมีการโฟกัสบน 4 Segment หลักที่เรามีการพูดไปก็คือ Transportation Logistic Retail Property และก็ Manufacturing นอกจากนี้ เราก็มีการโฟกัสในเรื่องของ Financial แล้วก็ Goverment ด้วยนะคะ
ซึ่ง Segment หลัก Specific Solution เรามีการต่อยอดไปที่ SME ด้วย ซึ่งใน SME เนี่ยเราก็จะมีการ Co กับ Partnership เพื่อ Provide Package ผลิตภัณฑ์ ใน Specific Industry ที่เป็น SME ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม Start Up ต่าง ๆ นะคะ นอกนั้นเราก็จะโฟกัสบน Profitable Revenue Stream นะคะ
แล้วก็สุดท้ายก็คือในฝั่ง Digital Service เราก็พยายามผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มาช่วยต่อยอดผลิตภัณฑ์หลักของเราเพื่อให้ลูกค้าเกิด Stickiness เราต้องการจะ Empowe r ลูกค้าเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของลูกค้ากับผลิตภัณฑ์ของเรา ก็คือ Create Customer Engagement นะคะ
ไม่ว่า Digital Product อะไรก็ตาม เราก็มีการ Co กับ Partnership ให้ Privilage เพื่อที่ลูกค้าจะมีประสบการณ์ที่เป็น Personalize สามารถ Interactive ได้แล้วก็เป็น Realtime นะคะ
ถัดมา สิ่งเหล่านี้ เราก็อยากจะทำให้เกิดขึ้นได้จริง ดังนั้นในตอนนี้เราก็ยังจะ Maintain Guidance ของเรานะคะ ซึ่ง Guidance ก็ยัง Exclude 3BB Impact นะคะ
สำหรับ Quarter ที่เหลือของปี เราก็จะโฟกัสบน Strategy ที่ได้เล่าให้ฟังนะคะ รวมทั้ง Operational Effectiveness มีการ Transform Operation ต่าง ๆ มีการ Execute Cost Optimization ต่าง ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นใน Q2 เป็นต้นไปเพื่อที่จะสามารถ Deliver Result นี้ได้นะคะ
—-------
Q&A
ก็อยากจะขอตอบคำถาม ตอนที่อยู่หน้านี้พอดีนะคะเพราะว่ามีคนถามเข้ามาเหมือนกันว่า ภาพรวม Q2 จะเป็นยังไงบ้าง เราจะเติบโตอะไรมากน้อยแค่ไหน
ก็คือจะขอตอบบน Guidance นะคะก็คือตอนนี้ Q1 เราเติบโต Core Service Revnue ของเราอยู่ที่ 2.3% นะคะ YoY ซึ่งทั้งปีเนี่ยเราคาดว่าจะยังเติบโตได้ 3-5% หลัก ๆ ก็คือจะเป็นการฟื้นตัวของธุรกิจมือถือ ร่วมกับการเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน แล้วก็ธุรกิจ Enterprise ที่จะเติบโต Double Digit นะคะ
ซึ่งอินเตอร์เน็ตบ้านเนี่ย ตอนนี้เราก็ยังเติบโต Double Digit อยู่นะคะอยู่ที่ 11% YoY แล้วก็สิ่งที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ผลดี ก็คือการโฟกัสบนลูกค้าที่มีคุณภาพและทำให้เราสามารถ Uplift ARPU zjkoการส่งผ่านผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องค่ะ
ในฝั่งของ Enterprise ก็เราเลือกที่จะเติบโต เราอาจจะเห็นการเติบโต Revenue Topline ไม่หวือหวาเท่ากับปีที่แล้ว แต่จริง ๆ แล้ว Fundamental ของการเติบโตก็ยังมีอยู่นะคะ
เรา Selective ดีลที่จะทำให้ทำกำไห้มากขึ้น เราก็อาจจะไม่ไปแข่งในผลิตภัณฑ์หรือดีลที่อาจกระทบ Topline ของเรา ก็ยังคาดว่า Enterprise ก็ยังเป็น Growth Engine ที่ดีของเราในปีนี้ต่อไปนะคะ
ซึ่งถ้าใน Q2 ฝั่ง ARPU มีคนถามว่า ARPU ใน Q2 จะเป็นยังไง
Execute Price Restructuring Plan มาสอง Quarter ทำไม Quarter นี้ ARPUดรอป
ก็ขอตอบว่าจริง ๆ Price Restructuring Plan มันเป็น Afford ที่เราต้องค่อย ๆ ทำแล้วมันก็ค่อย ๆ เห็นผลเพราะว่าการปรับราคาค่ะ จะเกิดขึ้นกับลูกค้าใหม่เท่านั้น แล้วลูกค้าที่มีแพ็กเกจเดิมเนี่ยเขาก็ยังสามารถใช้แพ็กเกจของเขาได้ 12 เดือนหรือ 24 เดือน ดังนั้นกลุ่มลูกค้าใหม่ที่เข้ามาค่ะ มันก็จะค่อย ๆ ปรับไปนะคะ
แล้วก็การปรับราคาที่เราทำ ขอยกตัวอย่าง Prepaid นะคะ ก็คือขั้นแรกเรามีการถอด xxx (นาที 32.6 )ในปีที่แล้วนะคะ ปีนี้เพิ่งต้นปีเองเราเพิ่ง Introduce Data Cap. เราก็ให้ Data Cap. ไปก่อน Operator รายอื่น ๆ แล้วก็หลังจากนั้นเราก็ค่อยมาเห็นว่า Industry ของเรามี Competitve Environment ที่ดีขึ้นตอนเดือนมีนานะคะ
ก็จริง ๆ ก็คงจะเห็นผลที่ดีขึ้นใน Q2 ที่เราอาจจะเห็นโมบายสามารถประคอง ARPU ได้ แล้วก็ในฝั่งของ Broadband เราอาจจะอเห็นการกลับมาเติบโตของ ARPU ในฝั่งของ Broadband ได้เหมือนกัน
ตอนนี้ก็มีคำถามในฝั่งของ 3BB กับ JASIF นะคะ
ตอนนี้ 3BB ยังเป็นยังอยู่ใน Process ของเอ่อ กสทช. นะคะ ซึ่ง กสทช. มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมานะคะ เพื่อประเมินผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรม แต่ว่าคณะอนุกรรมการก็ไม่ได้มาเพื่อตัดสินว่าควรจะ Approve หรือไม่ Approve ดีลของเรานะคะ เพราะว่า AIS เคลียในการเข้าไปเพื่ออนุมัติดีลนี้นะคะ
ซึ่งคณะอนุกรรมการ จะใช้เวลาตามกำหนดการของเขานะคะ ก็คือ Maximum 90 วัน ซึ่งก็อาจจะเร็วกว่า 90 วัน มีความเป็นไปได้นะคะ แต่ว่าถ้าเกิดว่า 90 วันเป๊ะ ๆ ก็อาจจะสามารถดีเลย์ Q3 ได้นะคะ ซึ่งทาง AIS ก็รอการตัดสินใจ กสทช.
การควบรวม TRUE กับ DTAC ส่งผลกับ AIS อย่างไร แล้วก็ AIS มีกลยุทธ์ในการแข่งขันให้เติบโตอย่างไร
การควบรวมของเขา ก็คือจะทำให้เกิดสิ่งที่เราเห็นชัดเจน ก็คือการทำให้เกิด Bigest Operator คือเกิดผู้เล่นสองรายใน Industry นี้นะคะ
แต่ว่า AIS ของเราก็ยังคงโฟกัสในกลยุทธ์ของเรานี่แหละเราอยากจะโฟกัสในกลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพเป็น Provider ที่มีคุณภาพ Network แล้วก็ Service ที่ดี เพื่อที่จะส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าต่อไป แล้วก็โฟกัสบนกำไรนะคะ ก็คือเราไม่อยากจะแข่งขันในการลดราคา เราอยากจะใช้ Networkและคุณภาพ ในการดึงลูกค้าของเราเข้ามา
Success Story ของ Cognitive Tech-Co เป็นแบบไหนนะคะ
ก็กลับไปที่ Slide บ้านนะคะเอ่อ Cognitive Tech-Co เป็นเหมือนกับเป็นองค์กรอัจฉริยะที่สามารถตอบโจทย์ให้กับลูกค้า
ขออนุญาตตอบเป็นเป้าหมายของเราเลยละกัน ก็คือใน Success Story ของเราเนี่ยเราวางลูกค้าไว้เป็นหลังคา ซึ่ง Success Story ของเราก็คือความพึงพอใจและประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า การที่เราสามารถยืนอยู่ แล้วก็มั่นคงได้ในธุรกิจ ก็คือเรามีลูกค้าที่ดีที่สามารถซัพพอร์ตเราได้ในระยะยาว
ซึ่ง AIS ก็จะมีการบริหารไม่ว่าจะเป็นต้นทุน การทำผลิตภัณฑ์ที่ดี ๆ แล้วก็การบริการที่ดีอย่างต่อเนื่องนะคะ แล้วก็ยังจะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้าง Network โครงข่าย 5G ที่ดีและส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าค่ะ ถือว่าเป็นความยั่งยืนในการให้บริการลูกค้าเป็นความประสบความสำเร็จของเรา
มีมุมมอง Virtual Banking อย่างไร AIS มีสิทธิขอใบอนุญาตได้หรือไม่
AIS มอง Virtual Banking เป็น Area ที่มีความน่าสนใจนะคะ ก็มองว่าจะเป็นเหมือนกับเป็น Area ที่เป็น Business ที่น่าสนใจ ก็การที่ AIS มี Capability ใน Alternative Data ก็อาจจะสามารถเข้าไปทำ Credit Scoring Model ที่อาจจะสามารถตอบโจทย์แบงก์ชาติ ในการตั้งเป้าหมายการขยาย Virtual Banking ไปในกลุ่มของลูกค้าที่ Underserved หรือ Unbank นะคะก็คาดว่า AIS รอดูเหมือนกันตอนนี้ แบงก์ชาติก็มีการดีเลย์ Application Timeline ไปที่ Q4 นะคะ ซึ่งตอนนั้นเราก็คงต้องดูประกาศของแบงก์ชาติต่อไป เพราะว่าทางแบงก์ชาติยังจะมีการทำ Public Study ก่อนที่จะออกมาตรฐานต่าง ๆ ในการเปิดในการใบรับสมัครนะคะ
ถ้าเราไม่มีคำถามเพิ่มแล้ว ก็ขอขอบคุณทุกคนนะคะที่เข้ามารับฟังผลประกอบการและภาพรวมธุรกิจใน Quarter นี้นะคะ
แล้วก็พบกันใหม่ใน Quarter หน้านะคะ ถ้ายังมีคำถามอะไรที่มีข้อสงสัยสามารถสแกน QR หรือว่าติดต่อเราที่เบอร์โทร Investor Relation ตรงนี้ได้เลยนะคะ ขอบคุณค่ะ
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Oppday Q2/2023 ADVANC บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
Presentation https://weblink.set.or.th/dat/registrat ... ADVANC.pdf
Presentation https://weblink.set.or.th/dat/registrat ... ADVANC.pdf
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
ผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ปี 2566 หุ้น ADVANC
ที่มา: บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด
ที่มา: บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Oppday Q3/2023 ADVANC บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/6050
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/6050
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
ผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ปี 2566 หุ้น ADVANC
ที่มา: Globlex Research
ที่มา: Globlex Research