Page 1 of 1
[CENTEL] บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
Posted: Wed Apr 19, 2023 4:56 pm
by thanonlongtun_p
Oppday Year End 2022 บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) CENTEL
VIDEO
Re: [CENTEL] บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
Posted: Tue May 16, 2023 3:49 pm
by thanonlongtun_p
Oppday Q1/2023 บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) CENTEL
VIDEO
Presentation
https://weblink.set.or.th/dat/registrat ... CENTEL.pdf
Re: [CENTEL] บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
Posted: Fri Aug 18, 2023 4:50 pm
by thanonlongtun_p
Oppday Q2/2023 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
VIDEO
Presentation
https://weblink.set.or.th/dat/registrat ... ug2023.pdf
Re: [CENTEL] บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
Posted: Sun Nov 26, 2023 8:00 pm
by thanonlongtun_p
Oppday Q3/2023 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
VIDEO
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/6107
Re: [CENTEL] บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
Posted: Fri Mar 01, 2024 7:00 pm
by thanonlongtun_p
Oppday year-end 2023 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
VIDEO
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/6443
Re: [CENTEL] บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
Posted: Fri Mar 22, 2024 5:35 pm
by thanonlongtun_p
20240320 CENTAL-01.jpg (314.84 KiB) Viewed 842 times
20240320 CENTAL-01.jpg (314.84 KiB) Viewed 842 times
สรุปคลิป Oppday year-end 2023 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
ภาพรวมผลการดำเนินงาน
Q4 เป็น High Season ของธุรกิจโรงแรม ซึ่งจริง ๆ น่าจะทำได้ดีกว่านี้ ถ้าไม่มีเหตุบางประการอย่างกราดยิงพารากินและสงครามอิสราเอล-ฮามาส ซึ่งส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวอิสราเอลในพอร์ตของเราโดยเฉพาะโรงแรมที่สมุย Centara Reserve Samui ซึ่งลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ก่อนจะมีเหตุในเดือนตุลาคม มี สัดส่วนถึง 24% พอมีเหตุก็ค่อย ๆ ลดลงมาเหลือ 4%
อย่างไรก็ตาม Q4 ยังมีปัจจัยบวก คือ ภาครัฐมีฟรีวีซ่าให้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีน รัสเซีย อินเดีย และ ไต้หวัน ทำให้ Q4/2023 ไทยมีนักท่องเที่ยงต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณ 8 ล้านคน เทียบกับ Q4/2022 ที่ 5.4 ล้านคน ที่มัลดีฟส์ ก็มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน 5.2 แสนคนเทียบกับปีก่อนที่ 4.8 แสนคน
Q4/2023 Organic Performance ธุรกิจโรงแรม
มีผลประกอบการที่ดีขึ้น +16% YoY
โดยหลัก ๆ มาจากกลุ่มโรงแรมประเทศไทย และดูไบเป็นหลัก แม้ไทยเองถ้าเทียบ YoY มีการปิดปรับปรุงโรงแรมบางส่วน
ที่มัลดีฟส์ มีผลการดำเนินที่อ่อนตัวลงจาก Q4 ปีก่อน โดยรายได้ทั้งหมดต่อห้องพักเฉลี่ยปรับตัวลดลง 4% YoY เนื่องจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอินเดียลดลงเนื่องจากเทรนด์ท่องเที่ยวที่เปลีย่นแปลงไป อย่างไรก็ตามก็มีนักท่องเที่ยวชาวจีนมาทดแทนแต่ก็ไม่สามารถทดแทนได้ทั้งหมด
Q4/2023 Organic Performance ธุรกิจอาหาร
ปรับตัวดีขึ้น +4% YoY
โดยมี SSS +2% อย่างไรก็ตามยังได้รับแรงกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบในเรื่องค่าไฟและค่าเช่าที่มีการปรับตัวสูงขึ้น
ผลประกอบการรวม
รายได้รวม Q4/2023 6,018 ล้านบาท +9% YoY ทั้งปี 2023 22,547 ล้านบาท +24% YoY
EBITDA Q4/2023 1,476 ล้านบาท -4% YoY ทั้งปี 5,535 ล้านบาท +25% YoY
Net Profit Q4/2023 425 ล้านบาท -15% YoY ทั้งปี 1,248 ล้านบาท +214% YoY
ฐานะทางการเงินรวม
IBD ปรับตัวลดลง 11% YoY จากการปรับตัวลดลงของเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน
IBD/E 1.4 เท่า และ IBD/E ที่ไม่รวม lease liabilities 0.7 เท่า
Average Financial Cost 3.7%
ดอกเบี้ย 46% เป็น Fixed Rate และ 88% เป็นสกุลเงินไทย
ธุรกิจโรงแรม
ประเทศไทย -> จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2023 28.2 ล้านคน +154% YoY โดยส่วนมากเป็นนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และ รัสเซีย โดนนักท่องเที่ยวจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
มัลดีฟส์ -> จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2023 1.88 ล้านคน +12% YoY โดยส่วนมากยังเป็นนักท่องเที่ยวอินเดีย รัสเซีย UK แต่นักท่องเที่ยวที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้แก่นักท่องเที่ยวจีน
ดูไบ -> จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2023 17.15 ล้านคน +19% YoY
ญี่ปุ่น -> จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2023 25.07 ล้านคน +554% YoY หลัก ๆ เป็นชาวเกาหลีใต้ ไต้หวัน
โรงแรมในพอร์ตโฟลิโอ
จำนวนโรงแรม 95 แห่ง โดยเปิดให้บริการแล้ว 51 โรงแรม และ อยู่ใน pipeline อีก 44 โรงแรม ส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่เราจะเข้าไปรับบริหารเพราะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการสร้างเอง
จำนวนห้องพัก 21,027 ห้อง เป็นเจ้าของ 5,800 ห้อง และ รับบริหาร 15,174 ห้อง
ผลประกอบการธุรกิจโรงแรม
Q4/203 รายได้รวม 2,739 ล้านบาท +16% YoY / EBITDA 943 ล้านบาท +5% YoY
ทั้งปี 2023 รายได้รวม 9,932 ล้านบาท +52% YoY / EBITDA 3,284 ล้านบาท +83% YoY
ทั้งปี 2023 Occupancy 71% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 52%
ทั้งปี 2023 APR 5,113 +7% YoY
ทั้งปี 2023 RevPar 3,651 +47% YoY
สัดส่วนรายได้ธุรกิจโรงแรม
31% กรุงเทพ
12% พัทยา
11% ภูเก็ต
9% สมุย
7% ญี่ปุ่น
ธุรกิจอาหาร
จำนวนร้านทั้งหมด 1,621 แห่ง เปิดใหม่ในปี 2023 ทั้งสิ้น 41 แห่ง หลัก ๆ มาจาก KFC, Aunties Anne’s, Shinkanzen, Salad Factory, Arigato นอกจากนี้มีการปิดสาขาร้านที่ทำผลประกอบการได้ไม่ดี
SSS (ไม่รวม JV) +4% YoY โดย 3 แบรนด์หลักเป็นตัวผลักดันการเติบโตในปีที่ผ่านมา ได้แก่ KFC, Aunties Anne’s, Ootoya
ผลประกอบการธุรกิจอาหาร
Q4/203 รายได้รวม 3,279 ล้านบาท +4% YoY / EBITDA 533 ล้านบาท -16% YoY
ทั้งปี 2023 รายได้รวม 12,615 ล้านบาท +8% YoY / EBITDA 2,252 ล้านบาท -14% YoY
ผลกระทบการดำเนินงานหลักในปีนี้มาจากค่าไฟ และ food inflation อย่างไรก็ตามเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นในไตรมาส 4
สัดส่วนรายได้ธุรกิจอาหาร
รายได้กว่า 80% มาจาก Top 4 ได้แก่ KFC, Mister Donut, Aunties Anne’s และ Ootoya
CAPEX PLAN 2023-2026
รวมทั้งสิ้น 13,000 - 20,000 ล้านบาท
ธุรกิจอาหาร รวมประมาณ 2,000 ล้านบาท
ธุรกิจโรงแรม รวมประมาณ 11,000 ล้านบาท มีแพลนจะเปิดที่มัลดีฟส์ 2 แห่ง CAPEX รวม 4,600 ล้านบาท ปรับปรุงห้องพักที่พัทยา 2,100 ล้านบาท และที่ Karon 1230 ล้านบาท เราต่อสัญญาเช่าหัวหิน และมีแพลนที่จะปรับปรุงโรงแรม งบรวม 2,400 ล้านาท ที่เหลือเป็น normal capex ของธุรกิจโรงแรมที่อยู่ประมาณ 500-800 ล้านบาท ต่อปี
2024 Guidance
ธุรกิจโรงแรม occupancy rate 70-73% RevPar 4,000-4,300 บาท ปัจจัยหลักจากผลประกอบการที่จะเข้ามาทั้งปีของ Centaral Grad Osaka และโรงแรมในมัลดีฟส์ที่น่าจะเติบดตดีขึ้นจากปีที่ผ่านมาจากนักท่องเที่ยวจีนที่มาชดเชยกับนักท่องเที่ยวอินเดีย เป้าหมายรายได้ธุรกิจโรงแรมรวม JV 12,500 ล้านบาท โรงแรมที่จะเปิดใหม่ปีนี้มี 5 โรงแรม รวม 456 ห้อง
ธุรกิจอาหาร SSS 3%-5% และ TSS 8%-11% และ และมีร้านที่เปิดใหม่ 80-95 ร้าน เป้าหมายรายได้รวม JV 16,600 ล้านบาท
เป้าหมายรายได้รวม >29,000 ล้านบาท
Q&A
แนวโน้ม Q1/2024 เป็นอย่างไรบ้าง
ธุรกิจโรงแรม เดือนมกราคม มี occupancy rate ของโรงแรม 75% ราคาห้องพักเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น +13% YoY เดือนกุมภาพันธ์แนวโน้มน่าจะดีกว่านี้เพราะมีเทศกาลตรุษจีน และเทศกาลอีสเตอร์ที่เลื่อนมาเร็วขึ้นในเดือนมีนาคมส่งผลให้ไตรมาส 1 มีแนวโน้มที่ดี
ธุรกิจอาหาร ยอดขายในเดือน ม.ค.-ก.พ. SSS ยังทรงตัว ด้านต้นทุนมีแนวดน้มที่ค่อนข้างดี ขณะที่ค่าเช่าในห้างยังเป็นปัจจัยกดดัน
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=Za6laIVcZQQ
Re: [CENTEL] บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
Posted: Fri May 17, 2024 5:05 pm
by thanonlongtun_p
Oppday Q1/2024 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
VIDEO
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/6576
Re: [CENTEL] บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
Posted: Fri Aug 16, 2024 9:51 pm
by thanonlongtun_p
Oppday Q2/2024 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
VIDEO
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://www.set.or.th/th/market/product ... ntel/price
Re: [CENTEL] บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
Posted: Sat Sep 07, 2024 3:18 pm
by thanonlongtun_p
centel-01.jpg (217.55 KiB) Viewed 112 times
centel-01.jpg (217.55 KiB) Viewed 112 times
สรุปคลิป Oppday Q2/2024 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
ผลประกอบการไตรมาส 2/2024
ไตรมาสสอง เป็น Low Season ของธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะในโรงแรมในประเทศไทย
จะขอไปผู้ประกอบการสไลด์หน้าถัดไปว่าในธุรกิจช่วงโลว์ซีซั่นของโรงแรมในประเทศไทยประเทศมัลดีฟส์ และเมืองดูไบ
ในปีนี้มีธุรกิจโรงแรมใหม่ที่ประเทศญี่ปุ่น เมืองโอซาก้า ซึ่งอยู่ในช่วงของ high season
โดยในไตรมาสสองปีนี้ ถ้าดูในภาพรวมจํานวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทย มีการปรับสูงขึ้นอยู่ที่ 8.1 ล้านคน ในระดับนี้ถือว่าปรับดีขึ้นสู่กว่าปีที่ผ่านมา อยู่ประมาณ 90% ของในช่วงก่อนพรีโควิด
หลัก ๆ ได้ผลจากการที่ทางนักท่องเที่ยวจีนได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเยมากขึ้นรวมถึง ได้รับผลบวกจากมาตรการยกเว้นวีซ่า หรือฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวชาวจีนชาวรัสเซีย แล้วชาวอินเดีย ในขณะที่จํานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศมัลดีฟมีการปรับดีขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ประมาณ 412,000 คน
ผลประกอบการของธุรกิจโรงแรม ในไตรมาสที่สองปีนี้ ธุรกิจโรงแรมมีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 2,454 ล้านบาท มีการปรับตัวดีขึ้นประมาณ 21% จากไตรมาสสองปี 2023 โดยมีอัตราการเข้าพักรวมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 71% รายได้เฉลี่ยต่อห้องพักอยู่ที่ภาพรวมประมาณ 3,674 บาท หรือมีการปรับดีขึ้น 20% หลัก ๆ เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากโรงแรมใหม่ที่เมืองโอซาก้านี้ ถ้าดูรายได้ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาจากโรงแรม 383 ล้านบาท เป็นช่วง high season ทำให้ occupancy rate ค่อนข้างดีอยู่ที่ประมาณ 88% ทําค่าห้องพักเฉลี่ยได้ประมาณ 30,363 เยน หรือถ้าคิดเป็น เงินไทยมา 7,200 บาท
ผลประกอบการของโรงแรมในประเทศไทย เมื่อเทียบกับไตรมาสสองปีที่ผ่านมาต้องเรียนว่า ถ้าภาพรวมรวมทุกโรงแรมอาจจะได้รับผลกระทบจากการเร่งปิดโรงแรมที่ไปซ่อมแซมโรงแรมเซ็นทรัลแกรนด์มิราจที่พัทยา โดยที่เซ็นทรัลแกรนด์มิราจพัทยามีด้วยกันประมาณ 553 ห้องโดยในไตรมาสสองปิดไปประมาณ 60% ถ้าเทียบกับไตรมาสหนึ่งปิดไปประมาณ 28% เนื่องจากว่าอยากจะเร่งปิดให้กลับมาเปิดดําเนินการทันในช่วงเดือนธันวาปีนี้ เลยเร่งปิดเยขึ้นแต่ว่าในช่วงของช่วงที่เหลือของปี ตั้งแต่เดือนสิงหาจนถึงเดือนพฤศจิกา คาดว่าน่าจะมีปิดอีกประมาณปิดอยู่ประมาณ 50% มีห้องที่จะขายได้ประมาณ 41% หรือประมาณ 230 ห้อง
นอกเหนือจากโรงแรมเซ็นทรัลแกรนด์มิราจที่มีการปิดให้บริการบางส่วนแล้วจะมีโรงแรมเซ็นทารากะรน ที่มีการปิดให้บริการทั้งหมด ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าไม่รวมผลจากการปิดโรงแรมเซ็นทรัลแกรนด์มิราจ ลาส และ โรงแรมเซ็นทารา กะรนในแง่ของรายได้รวมในประเทศไทย ถ้าเทียบ YoY ไตรมาสสองปีนี้กับไตรมาสสองปีที่แล้วยังมีการปรับดีขึ้นประมาณ 4% ถ้าถ้าดูในเชิงกําไร EBITDA ปรับดีขึ้น 6% ถ้ากลับมาดูในภาพของมัลดีฟส์ ผลการดําเนินงานค่อนข้างอ่อนตัวลงถ้าเทียบกับไตรมาสสองปีที่แล้ว
โดยรายได้รวมโรงแรมในประเทศมัลดีฟส์ในในสกุลเงิน USD มีการปรับลงมา 7.5% ถ้ามองในมุมของ Revpar รายได้เฉลี่ยต่อห้องที่เป็น USD ลบประมาณ 6% มีอัตราการเข้าพักประมาณ 59%
กลับกันในอีกภูมิภาคหนึ่งโรงแรมในเมืองดูไบ ยังทําผลประกอบการได้ค่อนข้างดี โดยมี Occupancy Rate อยู่ที่ประมาณ 83% โดมี Revpar อยู่ที่ประมาณ 162 เหรียญ บวกประมาณ 9%
ธุรกิจอาหารในไตรมาสที่สองทํารายได้รวมได้ประมาณ 3393 ล้านบาท มีการปรับดีขึ้น 5% จากไตรมาสสองปีที่ผ่านมาส่วนหนึ่งมาจาก SSSG ที่ปรับดีขึ้นประมาณ 2.4% แม้ว่ากําไรจากการดําเนินงานจะมีการปรับดีขึ้น YoY แต่ว่ากําไรสุทธิในฝั่งของธุรกิจอาหารได้รับผลกระทบบางส่วนจากการปรับปรุงผลกระทบทางการบัญชีมาตรฐานการบัญชีเรื่องสัญญาเช่า เนื่องจากว่ามันมีสัญญาเช่าบางบางสัญญาที่อาจจะมา finalize กันช้าเล็กน้อยในแง่ของเงื่อนไขในแง่ของ Minimum Payment ต่าง ๆ ซึ่งมา financial ในไตรมาสที่สองซึ่งเป็นสัญญาเช่าที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นปีหรือว่าปลายปีที่แล้วคือประมาณช่วง 3-6 เดือนที่ผ่านมาส่งผลให้มีผลกระทบต่อกําไรในเชิงของทางบัญชีธุรกิจอาหารเลยส่งผลให้กําไรสุทธิของธุรกิจอาหารรวมอยู่ที่ประมาณ 134 ล้านบาท ประมาณใกล้เคียงกับไตรมาสสองปีที่ผ่านมา
ภาพรวม ในไตรมาสที่สองปีนี้แล้วทํารายได้รวมได้ประมาณ 5,847 ล้านบาท มาจากธุรกิจโรงแรมจะประมาณ 42% จากธุรกิจอาหารได้ประมาณ 58%
แล้วในเชิงของกําไรของบริษัทรวมทําได้ 1,344 ล้านบาทมีการปรับดีขึ้น 10%
กําไรสุทธิรวมทําได้ 168 ล้านบาท มีการปรับดีขึ้น 39%
สรุปเป็นยอด 6 เดือนรวมไตรมาสที่หนึ่งมาด้วย บริษัททํารายได้รวมได้ 12,236 ล้านบาท มีการปรับดีขึ้น 10% YoY แล้ว EBITDA อยู่ที่ 3,260 ล้านบาท ปรับดีขึ้น 13% แล้วกําไรสุทธิอยู่ที่ 923 ล้านบาท มีการปรับดีขึ้น 23% ทั้งนี้ใน
ไตรมาสที่สองของปีนี้จะมีผลการดําเนินงานที่เป็นลักษณะของ Non Core Item บางส่วน ส่วนใหญ่จะมาจากธุรกิจโรงแรมที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นเป็นเป็นประจําหรือเป็นปกติ แล้วไม่ได้เกี่ยวกับ Core Profit
หากปรับ Non Core Item เหล่านี้ออก ในในกําไร organic จะมีการปรับตัวที่ดีขึ้น
กําไรสุทธิในไตรมาสสองปีนี้อยู่ที่ 168 ล้านบาทของทั้งบริษัทซึ่งมีการปรับดีขึ้น YoY ที่ 39% ส่วนที่เป็นนอนคอลไอเทม ยกอย่างเช่นว่า มีเงินกู้ยืม สกุลเงินเยน ประมาณ 4,500 ล้านเยน ซึ่งแน่นอนเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อกําไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในไตรมาสที่สองปีนี้และไตรมาสที่สองปีที่แล้วมีลักษณะเป็นกําไรปีนี้อยู่ที่ 55 ล้านบาท แต่มองว่าสิ่งนี้ไม่ใช่มาจาก core operationอีกส่วนนึงคือว่าจะมีการตั้งในไตรมาสสองปีนี้มีตั้งประมาณการประมาณการค่าใช้จ่ายหนี้สินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตจากในแง่ของคดีทางคดีความด้านแรงงาน ซึ่งตรงนี้มีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุน 39 ล้านบาท อีกส่วนหนึ่งมาจากสัญญาเช่าที่หัวหิน ในการต่อสัญญาเช่าหัวหินต่อเมื่อประมาณกลางไตรมาสสองปีที่ผ่านมา ตรงนี้ เนื่องจากมันไม่เต็มไตรมาส ในแง่ของค่าใช้จ่ายในเชิงของค่าเสื่อมราคากับดอกเบี้ยจ่ายจะไม่เข้ามาเต็มไตรมาส ดังนั้นเลยตัดผลกระทบตรงนี้ออกไป ซึ่งถ้าเทียบ YoY ไตรมาสสองปีนี้จะมีค่าใช้จ่ายในลักษณะนี้สูงกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 18 ล้านบาท เนื่องจากว่าเป็นค่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เต็มไตรมาส ในขณะที่ปีที่แล้วไม่ได้เต็มไตรมาส เข้ามาประมาณกลางเดือนพฤษภา
อีกส่วนนึงไตรมาสสองปีนี้จะมีการ Write Off Deferred Tax Asset ที่โรงแรมแห่งแรกที่มัลดีฟส์หรือเซ็นทารา แกรนด์ ไอส์แลนด์ รีสอร์ทและสปา มัลดีฟส์
มีหลักรูทใหม่ที่กําลังเปิดจะเปิดให้ดําเนินการปลายปีนี้และต้นปีหน้าเพราะฉะนั้นในเกาะหนึ่งสัญญาเช่าเหลือประมาณ 4 ปี คงคาดว่าอาจจะไม่ได้ต่อสัญญาเช่าในส่วนนี้ ซึ่งทางออดิเตอร์กับทางทางทีมบัญชี มีการพิจารณาว่าDeferred Tax Asset ถ้าเกิดไม่ได้ใช้ประโยชน์ ควรจะต้องทําการ Write Off ออกไป ออกไป 106 ล้านบาท โดยประมาณ
เพื่อให้เทียบเคียงกันได้ ตัด Non Recurring Item ของไตรมาสสองปีที่แล้วด้วย เนื่องจากปีที่แล้วมีค่าใช้จ่ายก่อนการดําเนินงานของทางโรงแรมใหม่ที่โอซาก้าด้วย ดังนั้น เมื่อ Adjust แล้วทั้งหมดจาก กำไร 168 ล้านบาท
ถ้ามาดูเป็น Core profit จะอยู่ที่ประมาณ 297 ล้านบาท เทียบไตรมาสสองปี 2023 ที่181 ล้านบาท มีการปรับดีขึ้นประมาณ 64%
อัตราส่วนการกู้ยืม องค์ประกอบของหนี้ของทางบริษัท
อย่างแรกเลยอาจจะต้องขอชมเชยทีม Corporate Finance ที่ช่วยบริหารจัดการในแง่ของต้นทุนทางการเงินให้ได้มีการปรับลดลงจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสที่หนึ่ง ที่มีต้นทุนทางการเงินอยู่ประมาณ 3.7% ตอนนี้ปรับลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 3.4% ไตรมาสที่สองปีนี้
หลัก ๆมีเงินกู้ยืมที่เป็นสกุลเงิน USD ซึ่งอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับสกุลเงินบาท แล้วมีการจ่ายชําระคืนไปก่อนครบกําหนดโดยที่นําเอาเงินกู้ยืมที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่ามามาใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการที่จะไป pre pay ต้นทุนเงินกู้ยืมที่สูงกว่า
รวมถึงว่ามีการนํา Short Term Loan มาใช้เพิ่มเติมด้วย โดยที่พยายามบริหารสัดส่วนไม่ให้มีความเ4ยงมากเกินไป ส่งผลให้ทําให้ต้นทุนทางการเงินมีการปรับลดลง
ในขณะที่อัตราหนี้อัตราส่วนหนี้สินค่อนข้าง Stable เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีโดย อัตราส่วนภาระหนี้สินที่มีดอกเบี้ย ต่อส่วนของทุนอยู่ที่ 1.4 เท่า
อัตราส่วนที่เป็นอัตราส่วนที่อยู่ในพันธกิจที่มีตามสัญญาเงินกู้ กับหุ้นกู้คืออัตราดอกอัตราส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ย ไม่รวมส่วนของหนี้สินที่เกิดจากสัญญาเช่า ต่อส่วนของทุนอยู่ที่ 0.7 เท่า
องค์ประกอบของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยที่เป็นลักษณะของการกู้ยืมจริง ๆ มีการปรับสูงขึ้นในในในแง่ของภาระหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยอยู่ที่หนึ่ง ประมาณ 15,000 ล้านบาทโดยประมาณคือปรับเพิ่มขึ้นมา 9% โดยทั้งนี้ทั้งนั้นสัดส่วนยังเป็นส่วนที่ถึงกําหนดชําระยาวนานกว่าหนึ่งปีเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 78% เลยแล้วถ้ามาดูในเชิงของสกุลเงินประมาณ 91% เป็นสกุลเงินบาท แล้วรองมาจะเป็นสกุลเงินเยน 7% USD เหลือค่อนข้างน้อยแล้วประมาณ 2%
แล้วอัตราส่วนอัตราดอกเบี้ยว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่หรือลอยตัว อัตราดอกเบี้ยคงที่ประมาณ 52% คงพยายามเมนเทนบาลานซ์อัตราส่วนประมาณนี้แล้วเดี๋ยวดูความเหมาะสมของภาวะตลาดอีกทีด้วย
ภาพรวมธุรกิจ Q2/2024
การท่องเที่ยวของประเทศไทยโดยรวมในไตรมาสสองและครึ่งปีแรก ไตรมาสสองปีนี้โตกว่าปีที่แล้ว 26% มีนักท่องเที่ยวประมาณ 8.1 ล้านคน ถ้าดูตลอด 6 เดือนโตขึ้น 35% มีนักท่องเที่ยว 17.5 ล้านคน
ในไทยที่เติบโตมากที่สุด Q2 เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน เพิ่มขึ้น 82% YoY
ที่มัลดีฟส์ Q2 อัตราการเติบโตจะค่อนข้างจะแฟลตคือเติบโตขึ้นประมาณเกือบ 1% ซึ่งตรงนี้ส่วนที่เพิ่มขึ้นคือนักท่องเที่ยวชาวจีน 17% YoY แต่นักท่องเที่ยวชาวอินเดียลดลง 47% YoY รวม ๆ กันแล้วมีการเติบโตอยู่ที่ 1%
เมืองดูไบ นักท่องเที่ยวเติบโตทั้งไตรมาสสองปีนี้เทียบกับปีที่แล้ว แล้วทั้ง 6 เดือนปีนี้เทียบกับปีที่แล้วโ ดยไตรมาสสองปีนี้เทียบกับปีที่แล้วเติบโตขึ้น 6% มีนักท่องเที่ยวประมาณ 4.1 ล้านคน ในไตรมาสสองนักท่องเที่ยวที่เติบโตส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก กลุ่มประเทศรัสเซีย และยุโรปตะวันออก
ประเทศญี่ปุ่น จะเป็นโซนที่การเติบโตค่อนข้างสูง เพราะว่าญี่ปุ่นเปิดประเทศมาได้ไม่นาน ไตรมาสสองปีนี้ มีนักท่องเที่ยว 9.2 ล้านคน เติบโตขึ้น 56% YoY ชาติที่เติบโตเยที่สุดจะเป็นชาวจีน ถ้าไตรมาสสองเติบโตขึ้นประมาณ 2.9 เท่า
พอร์ตโฟลิโอของโรงแรม
ปัจจุบันโรงแรม มีโรงแรมที่เปิดแล้ว และโรงแรมที่เซ็นสัญญาบริหารอยู่หลัก 4 ภูมิภาค Asia Pacific / Indian Ocean / Middle East / Europe
จํานวนโรงแรมทั้งหมดตอนนี้ที่ Operate อยู่ที่ 50 โรงโดยเป็นของบริษัท 20 โรงแล้ว 30 โรงเป็นโรงบริหาร
มีใน Pipeline อีก 41 โรง เป็นของบริษัท 2 โรงแล้ว 39 โรงเป็นโรงบริหาร
รวมทั้งหมดมีโรงแรมในพอร์ตโฟลิโอทั้งหมด 91 โรงแรม
จํานวนห้อง Operate อยู่ประมาณ 11,000 ห้อง ใน Pipeline 9465 ห้อง รวมกันอยู่ประมาณ 20,466 ห้อง
ใน Pipeline กว่า 9,465 ห้อง
ส่วนใหญ่เป็นในประเทศเวียดนามประมาณ 3,900 กว่าห้อง
แล้วก็ในประเทศไทย 2,200 ห้อง
นอกจากนั้น Pipeline จะมีในโซนAEC ทั้งเมียนมาร์ ลาว มัลดีฟส์สองโรง เป็นโรงที่เป็นเจ้าของ แล้วมีที่จีนแล้ว กาตาร์ ตุรกี
ผลดําเนินงานของของธุรกิจโรงแรม
Q2 รายได้อยู่ที่ 2454 ล้านบาท เติบโตขึ้น 21% YoY
EBITDA ที่ 718 ล้านบาท โตขึ้น 17% YoY
Net Profitที่ 34 ล้านบาท โตขึ้น 343% YoY พลิกจากขาดทุนในปีที่แล้วมาเป็นกําไร
Margin อาจจะมีการปรับลดลงเล็กน้อย ซึ่งกระทบเกิดจากการรีโนเวทโรงแรมเเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ พัทยา และ เซ็นทารา กะรน ซึ่งสองโรงแรมนี้เป็นโรงแรมที่Margin ค่อนข้างดี พอมีการรีโนเวทมีผลกระทบกับ EBITDA Margin เล็กน้อย
ถ้าดูตัวเลข 6 เดือนรายได้อยู่ที่ 5,699 ล้านบาท
EBITDA อยู่ที่ 2,085 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น
Net Profit ติบโตขึ้น 27%
ถ้าลองมาดูในรายละเอียดมากขึ้น ทั้งในส่วน ARR RevPar OCC
ทั้งพอร์ตโฟลิโอเติบโตขึ้นทั้งหมด
ดูแยกราย Location
ในไทย Q2 RevPar กรุงเทพฯเติบโต 15% แต่ต่างจังหวัดเติบโตที่ 4%
มัลดีฟส์ Q2 RavPar ค่อนข้าง Flat ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจาก Fx ที่เงินบาทอาจจะอ่อนลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
แต่ถ้าดูสกุล US Dollar ที่เป็นไตรมาสสองปรับลดลงประมาณ 8%
ดูไบกับญี่ปุ่น เติบโตดีสนับสนุน RevPar ของพอร์ตโดยรวม
สัดส่วนรายได้แต่ละ Location
เนื่องจากดูไบเป็นJVอาจจะไม่ได้รวมอยู่ในนี้
ญี่ปุ่นหลังจากที่เปิดประเทศเข้ามาเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 13% ทําให้ Lcation อื่น ๆ สัดส่วนอาจจะลดลง อย่างมัลดีฟส์ลดลงไป เหลือ 15% ภูเตลดลงไปเล็กน้อย สมุยเท่า เดิมส่วนพัทยามีการปรับลดลงเนื่องจากมีการปิดห้องพักเพิ่มขึ้นของการรีโนเวทโรงแรมที่พัทยา แต่ภาพรวม RevPar เพิ่มขึ้นทั้งหมด
ธุรกิจอาหาร
จํานวนสาขา ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีทั้งสิ้น 1,609 สาขา เพิ่มขึ้น 19 สาขาหรือเติบโต 1% YoY
โดยแบรนด์หลักที่เติบโตคือ Auntie Anne’s KFC Arigato Shinkanzen Salad Factory
ภาพรวมสาขาส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่ต่างจังหวัด คิดเป็นสัดส่วน 65% ขณะที่ผลการดําเนินงานในต่างจังหวัดดีกว่าในกรุงเทพฯเล็กน้อย โดยต่างจังหวัดมี SSS อยู่ที่ 2% และในกรุงเทพฯมี SSS อยู่ที่ 1%
ครึ่งปีแรกนี้ สาขาที่มีการปิดไปจะเป็นแบรนด์อร่อยดีคือ ปิดไปทั้งสิ้น 25 สาขาแล้ว Grab Kitchen ซึ่งปิดไปเป็นจํานวนมากเช่นกันคือ 14 สาขา ซึ่งทั้งสองแบรนด์นี้คือมีจํานวนรายได้จาก Delivery ค่อนข้างมาก และในปัจจุบันรายได้ Delivery มีการเติบโตที่ชะลอลงอย่างมีนัยยะสําคัญ การปิดทั้งสองแบรนด์ดังกล่าว ก็เพื่อให้ผลการดําเนินงาน Profit Margin ของภาพรวมปรับดีขึ้น
Same Store Sale & Total System Sale Growth
หลัก ๆ เลยคือการเติบโตยังคงมาจาก 4 แบรนด์หลัก ๆ คือ Auntie Anne’s KFC OTOYA Mister Donut โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Mister Donut ซึ่งมีผลการดําเนินงานที่ดีขึ้นอย่างมีนัยยะสําคัญเทียบ YoY Same Store Sale & Total System Sale สามารถเติบโตได้ Double Digits ตั้งแต่ปลายไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
ไตรมาสสอง ภาพรวม Same Store Sale ไม่รวม JV เติบโต 2% Total System Sale เติบโตได้ 6% แต่ทั้งนี้ถ้าเกิดหากพิจารณา JV แบรนด์ทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว Total System Sale ในไตรมาสสองของปีนี้จะเติบโต 10%
ผลการดําเนินงานของธุรกิจอาหารเติบโตทั้งในแง่ของรายได้แล้วในแง่ของจํานวน EBITDA โดยรายได้ เติบโต 5% แล้ว EBITDA เติบโต 3% ถึงแม้ว่า EBITDA Margin จะลดลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจาก 19% เป็น 18%
Equity Gain จาก JV ปรับดีขึ้นอย่างมีนัยยะสําคัญเทียบ YoY
สัดส่วนรายได้
รายได้หลักคงยังคงมาจาก Top 4 แบรนด์คือ คิดเป็นสัดส่วน 85% KFCมีสัดส่วนเกือบ 60% เเล้วรองลงมาคือ Mister Donut 13% Auntie’s Anne และ Ootoya คือมีสัดส่วนเดียวในประมาณ 7% เท่ากัน
CAPEX PLAN
อีก 3 ปีข้างหน้า หลัก ๆ เงินลงทุนส่วนใหญ่อาจจะใช้ไปกับฝั่งโรงแรมโดยโปรเจกต์ที่ใช้เงินลงทุนในปัจจุบันจะเป็นเรื่องของการรีโนเวชั่นของเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ พัทยา และ เซ็นทารา กะรน รวมถึงการก่อสร้างสองโรงแรมใหม่ในมัลดีฟส์ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนหลักจะเป็นการก่อสร้างสองโรงแรมในมัลดีฟส์ โดยตรงนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายของ 2024 บางส่วนอาจจะไปจ่ายถึง 2025
แล้ว 2025 2026 จะมีโรงแรมค่าใช้จ่ายใหม่ ๆ ที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นเริ่มจากการรีโนเวท เซ็นทารา แกรนด์ หัวหินซึ่งจะเริ่มปี 2025 ขยายโรงแรมที่ดูไบ และ ขยายโรงแรมที่สมุย
ธุรกิจอาหาร มีการใช้จ่าย 800-1000 ล้านบาทแ ต่ยังไงมีธุรกิจอาหารจะมีมีการมองหาโอกาสใหม่ ๆในการเข้าซื้อหรือการไปJVกับแบรนด์ใหม่ ๆ
Guidance
ธุรกิจโรงแรม ไม่ได้มีการปรับ Guidance แต่อย่างใด ยังรักษาระดับ Occupancy Rateที่ 70-73% และ RevPAr 4,000-4,300 บาท หลัก ๆ มาจากการ Drive Growth ของโรงแรมโดยเฉพาะใน Segment ที่เป็น 5 ดาวและ Luxury รวมถึง ผลประกอบการเต็มปีของโรงแรมเซ็นทราแกรนด์โฮเทลโอซาก้าด้วยที่เปิดให้บริการเต็มปี
ธุรกิจอาหาร มีการปรับประมาณการลงว ในปีนี้มองว่า base on performance ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก และ outlook ที่เห็นในตลาดในปัจจุบัน คาดว่าในแง่ของ Same Store Sale จะอยู่ที่ประมาณ 1-3% Total System Sale Growth อยู่ประมาณ 4 -6% แล้วจํานวน Outlet ซึ่งรวมถึง JV แบรนด์น่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ YoY ประมาณ 30-50 Outlet
Top 4 แบรนด์ยังเป็นตัวที่ผลักดัน Performace เป็นสำคัญ และเราให้ความสําคัญในแง่ของการบริหารจัดการต้นทุน ถ้าสาขาไหนไม่ทำกำไร จะมีการปิดสาขานั้น มีความพยายามที่จะนําแบรนด์เข้ามาเพิ่ม 1-2 แบรนด์โดยเฉลี่ยต่อปี
หลังจากที่ปรับประมาณการของธุรกิจอาหารลง น่าจะมีรายได้ในเชิงของธุรกิจอาหารถ้าเป็นรายได้ที่รวม JV ด้วย ในปีนี้ตั้งเป้าไว้ประมาณ 16,100 ล้านบาทโดยประมาณถือว่าปรับเพิ่มขึ้นมา 11% YoY ถ้าในกรณีที่ไม่รวมJVน่าจะเห็นเลขอยู่ประมาณ 13,100 ล้านบาทปรับเพิ่มขึ้นประมาณ4% YoY
ถ้านําไปรวมกับเป้าหมายของธุรกิจโรงแรม ที่เรียนว่าไม่ได้มีการปรับเป้าในปีนี้ ในแง่ของธุรกิจโรงแรม ยังคงเป้าที่รวม JV ไว้ที่มากกว่า 12,500 ล้านบาท ที่ไม่รวม JV อยู่ประมาณ 10,500 ล้านบาท
เมื่อรวมสองส่วนถ้าเป็นรายได้ของCENTEL ถ้ารวมJV ปีนี้น่าจะอยู่เป้าหมายอยู่ที่ประมาณ 28,600 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 13% ในกรณีที่ไม่รวม JV อยู่ที่ประมาณ 23,600 ล้านบาท ปรับขึ้นดีขึ้นจากปีที่แล้วมา 5%
Q&A
Revenue Growth คาดว่าจะประมาณเท่าไหร่ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอาหารพอจะแบ่งคร่าว ๆ ได้หรือไม่ มีแผนในการเปิดโรงแรมและร้านอาหารเพิ่มจํานวนเท่าไหร่ในแต่ละปีข้างหน้า ในร้านอาหารที่เปิดใหม่คาดการณ์รายได้จากส่วนนั้นได้ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ และเป้าหมายของแต่ละปีจะประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ และโรงแรมถ้ามีถ้ามีแผนการเปิดสาขาใหม่ ทําให้ Occupancy Rate และ Room Rate เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
ในปัจจุบันนี้ อยู่ในระหว่างการอัปเดตแผน Strategy 5 ปี รวมถึงอยู่ระหว่างการจัดทํางบประมาณประจําปีด้วย ในแผนกลยุทธ์ที่ทําในปลายปีที่แล้ว
ธุรกิจอาหารคาดว่าอยากจะบรรลุยอดขายรวมรวม JV ธุรกิจอาหารประมาณ 25,000 - 26,000 ล้านบาทในปี 2028 อย่างถ้ารีแคปเทียบกับ มีเป้าหมายปีนี้ที่เรียนไปคือ 16,000 ล้านบาท
ถ้าธุรกิจโรงแรมมีการตั้งเป้าเช่นกันว่าในในการทํากลยุทธ์ 5 ปี ปี 2028 เมื่อปลายปีที่แล้ว เป้าหมายไว้ว่าอยากจะมีรายได้รวม JV มา 21,000 - 22,000 ล้านบาท
เพราะฉะนั้น ถ้ารวมสองธุรกิจรวมกันในปี 2028 คาดว่าจะมีรายได้ที่รวม JVประมาณ 46,000- 48,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนของธุรกิจอาหารประมาณ 54% ถ้าเทียบกับปีนี้สัดส่วนธุรกิจอาหารอาจจะประมาณ 56% ลดลงเล็กน้อย
ธุรกิจอาหารที่เติบโตเพิ่มมากขึ้นหลัก ๆ จะมาจากการ Drive Growth JV และ non KFC เป็นหลัก สัดส่วนของKFCคาดว่าน่าจะน้อยลงกว่าระดับที่ 50% ในปัจจุบัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในรายละเอียด ต้องขออัพเดทท่านในในวาระถัดไป เพราะว่าเดี๋ยวจะมีการอัปเดตอีกทีในช่วงปลายปลายปี
Piprline ของธุรกิจโรงแรม ชัดเจนว่าในปีหน้าจะมีการเปิดโรงแรมที่เป็นเจ้าของเอง เซ็นทารา แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ 142 ห้อง ปักหมุดไว้เดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า แล้วยังมี Manage Property อีกหลาย ประมาณ 9 ดีล ร่วมกันประมาณ 1,700-1,800 ห้อง หลายภูมิภาคคือไม่ว่าจะเป็นในเวียดนามในเมืองไทย แล้วที่ลาว แต่ยังอยู่ใน AEC
ในภาพ Outlook 3- 5 ปีข้างหน้า มองว่า SSSG จะประมาณการไว้อยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 3% ต่อปี แล้วภาพรวม Sales Growth จะอยู่ที่ประมาณ 10 -12% ต่อปี จํานวน Outlet ถ้าโดยเฉลี่ย ถ้ารวมJV ด้วย จะเป็นประมาณ 80- 90 Net Growth Per Year ถ้าไม่รวม JV น่าจะอยู่ที่ประมาณ 50-60 Outlet Net Growth Per Year
Outlook ไตรมาส 3/2024
สำหรับภาพธุรกิจโรงแรม ปัจจุบันเดือน 7 มี Performance ออกมาแล้ว รายได้รวมที่เห็นทั้งพอร์ตโฟลิโอ รวมดูไบ มีการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยเดือน 7 โตขึ้นประมาณ 2% Gross Operating Profit เป็นไอเทมที่ทางโรงแรมใช้ดูในการประกอบการนี้จะเติบโตเห็นเลขประมาณ 7.5% Margin มีการปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 1.9% ซึ่งภาพรวมทุก Region จะเติบโตมากกว่าปีที่แล้ว อาจจะมีแค่ประเทศไทยที่มีการปิดโรงแรมที่พัทยาไป อาจจะทําให้เลขติดลบเล็กน้อย ส่วน เดือน 8 กับเดือน 9 จะเป็นยอดจอง ในเมืองไทยมีการเติบโตขึ้น มัลดีฟส์อาจจะมีทรงทรง ดูไบอาจจะเป็นทรง ๆ ส่วนญี่ปุ่นจะเป็นลงโลเคชั่นที่ปรับสูงขึ้นมาก เพราะว่าปีที่แล้วเพิ่งเปิดโรงแรม
สำหรับภาพธุรกิจร้านอาหาร ไตรมาส 3 ภาพรวมของรายได้เดือน 7 เป็นเดือนที่เห็นว่า SSS มีการมีการติดลบ ค่อนข้างเป็นเทรนด์ที่ soft พอสมควรเมื่อเทียบกับ Performanceของเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะแบรนด์หลัก KFC มีภาพติดลบซึ่งมองว่าแนวโน้ม Consumtion ครึ่งปีหลังมีแนวโน้มน่าจะ Soft ลง แต่อย่างไรดีไม่ใช่เป็นภาพที่ติดลบทุกแบรนด์ ในแง่ของ SSS มีปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น เป็นเรื่องของ Consumer Spending Power เทรนด์ Soft อย่างชัดเจน แต่ว่ามันจะมีเรื่องของ product ใหม่ ๆ หรือเรื่องของ promotion ใหม่ ๆ ที่ยังยังสามารถใช้ในการ boost ยอดขายได้เช่น ถึงแม้ KFC จะซอฟต์ แต่ Mister Donut ยังมีเทรนด์ที่บวก เพราะฉะนั้นในแง่ Outlook แม้แนวโน้ม Consumer Spending จะซอฟต์ลงแต่ว่าข่าวดีที่ที่ยังพอมีคือ ราคาวัตถุดิบที่ Secure ได้มาตอนนี้ยังค่อนข้าง Stable ที่มี Concern หลัก ๆ จะเป็นเรื่องของเนื้อวัว อย่างเดียว ซึ่งผลกระทบหลัก ๆ จะไม่ใช่เป็นแบรนด์ใหญ่เพราะฉะนั้น Cost คิดว่ายังสามารถบริหารจัดการ Margin ได้ค่อนข้างดีพอสมควร ถึงแม้ว่าเทรนด์ของ SSS จะมีแนวโน้มที่ Soft ลง ในส่วนเรื่อง Outlet Expansion แบรนด์หลัก ๆ ยังเป็นไปตามแพลน
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=k2P_IoPCA_Q