Oppday Year End 2022 บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) CENTEL
[CENTEL] บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Oppday Q1/2023 บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) CENTEL
Presentation https://weblink.set.or.th/dat/registrat ... CENTEL.pdf
Presentation https://weblink.set.or.th/dat/registrat ... CENTEL.pdf
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Oppday Q2/2023 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
Presentation https://weblink.set.or.th/dat/registrat ... ug2023.pdf
Presentation https://weblink.set.or.th/dat/registrat ... ug2023.pdf
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Oppday Q3/2023 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/6107
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/6107
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Oppday year-end 2023 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/6443
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/6443
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
สรุปคลิป Oppday year-end 2023 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
ภาพรวมผลการดำเนินงาน
- Q4 เป็น High Season ของธุรกิจโรงแรม ซึ่งจริง ๆ น่าจะทำได้ดีกว่านี้ ถ้าไม่มีเหตุบางประการอย่างกราดยิงพารากินและสงครามอิสราเอล-ฮามาส ซึ่งส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวอิสราเอลในพอร์ตของเราโดยเฉพาะโรงแรมที่สมุย Centara Reserve Samui ซึ่งลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ก่อนจะมีเหตุในเดือนตุลาคม มี สัดส่วนถึง 24% พอมีเหตุก็ค่อย ๆ ลดลงมาเหลือ 4%
- อย่างไรก็ตาม Q4 ยังมีปัจจัยบวก คือ ภาครัฐมีฟรีวีซ่าให้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีน รัสเซีย อินเดีย และ ไต้หวัน ทำให้ Q4/2023 ไทยมีนักท่องเที่ยงต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณ 8 ล้านคน เทียบกับ Q4/2022 ที่ 5.4 ล้านคน ที่มัลดีฟส์ ก็มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน 5.2 แสนคนเทียบกับปีก่อนที่ 4.8 แสนคน
- มีผลประกอบการที่ดีขึ้น +16% YoY
- โดยหลัก ๆ มาจากกลุ่มโรงแรมประเทศไทย และดูไบเป็นหลัก แม้ไทยเองถ้าเทียบ YoY มีการปิดปรับปรุงโรงแรมบางส่วน
- ที่มัลดีฟส์ มีผลการดำเนินที่อ่อนตัวลงจาก Q4 ปีก่อน โดยรายได้ทั้งหมดต่อห้องพักเฉลี่ยปรับตัวลดลง 4% YoY เนื่องจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอินเดียลดลงเนื่องจากเทรนด์ท่องเที่ยวที่เปลีย่นแปลงไป อย่างไรก็ตามก็มีนักท่องเที่ยวชาวจีนมาทดแทนแต่ก็ไม่สามารถทดแทนได้ทั้งหมด
- ปรับตัวดีขึ้น +4% YoY
- โดยมี SSS +2% อย่างไรก็ตามยังได้รับแรงกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบในเรื่องค่าไฟและค่าเช่าที่มีการปรับตัวสูงขึ้น
- รายได้รวม Q4/2023 6,018 ล้านบาท +9% YoY ทั้งปี 2023 22,547 ล้านบาท +24% YoY
- EBITDA Q4/2023 1,476 ล้านบาท -4% YoY ทั้งปี 5,535 ล้านบาท +25% YoY
- Net Profit Q4/2023 425 ล้านบาท -15% YoY ทั้งปี 1,248 ล้านบาท +214% YoY
- IBD ปรับตัวลดลง 11% YoY จากการปรับตัวลดลงของเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน
- IBD/E 1.4 เท่า และ IBD/E ที่ไม่รวม lease liabilities 0.7 เท่า
- Average Financial Cost 3.7%
- ดอกเบี้ย 46% เป็น Fixed Rate และ 88% เป็นสกุลเงินไทย
ธุรกิจโรงแรม
- ประเทศไทย -> จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2023 28.2 ล้านคน +154% YoY โดยส่วนมากเป็นนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และ รัสเซีย โดนนักท่องเที่ยวจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
- มัลดีฟส์ -> จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2023 1.88 ล้านคน +12% YoY โดยส่วนมากยังเป็นนักท่องเที่ยวอินเดีย รัสเซีย UK แต่นักท่องเที่ยวที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้แก่นักท่องเที่ยวจีน
- ดูไบ -> จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2023 17.15 ล้านคน +19% YoY
- ญี่ปุ่น -> จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2023 25.07 ล้านคน +554% YoY หลัก ๆ เป็นชาวเกาหลีใต้ ไต้หวัน
- จำนวนโรงแรม 95 แห่ง โดยเปิดให้บริการแล้ว 51 โรงแรม และ อยู่ใน pipeline อีก 44 โรงแรม ส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่เราจะเข้าไปรับบริหารเพราะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการสร้างเอง
- จำนวนห้องพัก 21,027 ห้อง เป็นเจ้าของ 5,800 ห้อง และ รับบริหาร 15,174 ห้อง
- Q4/203 รายได้รวม 2,739 ล้านบาท +16% YoY / EBITDA 943 ล้านบาท +5% YoY
- ทั้งปี 2023 รายได้รวม 9,932 ล้านบาท +52% YoY / EBITDA 3,284 ล้านบาท +83% YoY
- ทั้งปี 2023 Occupancy 71% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 52%
- ทั้งปี 2023 APR 5,113 +7% YoY
- ทั้งปี 2023 RevPar 3,651 +47% YoY
- 31% กรุงเทพ
- 12% พัทยา
- 11% ภูเก็ต
- 9% สมุย
- 7% ญี่ปุ่น
ธุรกิจอาหาร
- จำนวนร้านทั้งหมด 1,621 แห่ง เปิดใหม่ในปี 2023 ทั้งสิ้น 41 แห่ง หลัก ๆ มาจาก KFC, Aunties Anne’s, Shinkanzen, Salad Factory, Arigato นอกจากนี้มีการปิดสาขาร้านที่ทำผลประกอบการได้ไม่ดี
- SSS (ไม่รวม JV) +4% YoY โดย 3 แบรนด์หลักเป็นตัวผลักดันการเติบโตในปีที่ผ่านมา ได้แก่ KFC, Aunties Anne’s, Ootoya
- Q4/203 รายได้รวม 3,279 ล้านบาท +4% YoY / EBITDA 533 ล้านบาท -16% YoY
- ทั้งปี 2023 รายได้รวม 12,615 ล้านบาท +8% YoY / EBITDA 2,252 ล้านบาท -14% YoY
- ผลกระทบการดำเนินงานหลักในปีนี้มาจากค่าไฟ และ food inflation อย่างไรก็ตามเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นในไตรมาส 4
- รายได้กว่า 80% มาจาก Top 4 ได้แก่ KFC, Mister Donut, Aunties Anne’s และ Ootoya
- รวมทั้งสิ้น 13,000 - 20,000 ล้านบาท
- ธุรกิจอาหาร รวมประมาณ 2,000 ล้านบาท
- ธุรกิจโรงแรม รวมประมาณ 11,000 ล้านบาท มีแพลนจะเปิดที่มัลดีฟส์ 2 แห่ง CAPEX รวม 4,600 ล้านบาท ปรับปรุงห้องพักที่พัทยา 2,100 ล้านบาท และที่ Karon 1230 ล้านบาท เราต่อสัญญาเช่าหัวหิน และมีแพลนที่จะปรับปรุงโรงแรม งบรวม 2,400 ล้านาท ที่เหลือเป็น normal capex ของธุรกิจโรงแรมที่อยู่ประมาณ 500-800 ล้านบาท ต่อปี
2024 Guidance
- ธุรกิจโรงแรม occupancy rate 70-73% RevPar 4,000-4,300 บาท ปัจจัยหลักจากผลประกอบการที่จะเข้ามาทั้งปีของ Centaral Grad Osaka และโรงแรมในมัลดีฟส์ที่น่าจะเติบดตดีขึ้นจากปีที่ผ่านมาจากนักท่องเที่ยวจีนที่มาชดเชยกับนักท่องเที่ยวอินเดีย เป้าหมายรายได้ธุรกิจโรงแรมรวม JV 12,500 ล้านบาท โรงแรมที่จะเปิดใหม่ปีนี้มี 5 โรงแรม รวม 456 ห้อง
- ธุรกิจอาหาร SSS 3%-5% และ TSS 8%-11% และ และมีร้านที่เปิดใหม่ 80-95 ร้าน เป้าหมายรายได้รวม JV 16,600 ล้านบาท
- เป้าหมายรายได้รวม >29,000 ล้านบาท
แนวโน้ม Q1/2024 เป็นอย่างไรบ้าง
- ธุรกิจโรงแรม เดือนมกราคม มี occupancy rate ของโรงแรม 75% ราคาห้องพักเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น +13% YoY เดือนกุมภาพันธ์แนวโน้มน่าจะดีกว่านี้เพราะมีเทศกาลตรุษจีน และเทศกาลอีสเตอร์ที่เลื่อนมาเร็วขึ้นในเดือนมีนาคมส่งผลให้ไตรมาส 1 มีแนวโน้มที่ดี
- ธุรกิจอาหาร ยอดขายในเดือน ม.ค.-ก.พ. SSS ยังทรงตัว ด้านต้นทุนมีแนวดน้มที่ค่อนข้างดี ขณะที่ค่าเช่าในห้างยังเป็นปัจจัยกดดัน
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Oppday Q1/2024 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/6576
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/6576
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Oppday Q2/2024 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://www.set.or.th/th/market/product ... ntel/price
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://www.set.or.th/th/market/product ... ntel/price
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
สรุปคลิป Oppday Q2/2024 CENTEL บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
ผลประกอบการไตรมาส 2/2024
- ไตรมาสสอง เป็น Low Season ของธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะในโรงแรมในประเทศไทย
- จะขอไปผู้ประกอบการสไลด์หน้าถัดไปว่าในธุรกิจช่วงโลว์ซีซั่นของโรงแรมในประเทศไทยประเทศมัลดีฟส์ และเมืองดูไบ
- ในปีนี้มีธุรกิจโรงแรมใหม่ที่ประเทศญี่ปุ่น เมืองโอซาก้า ซึ่งอยู่ในช่วงของ high season
- โดยในไตรมาสสองปีนี้ ถ้าดูในภาพรวมจํานวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทย มีการปรับสูงขึ้นอยู่ที่ 8.1 ล้านคน ในระดับนี้ถือว่าปรับดีขึ้นสู่กว่าปีที่ผ่านมา อยู่ประมาณ 90% ของในช่วงก่อนพรีโควิด
- หลัก ๆ ได้ผลจากการที่ทางนักท่องเที่ยวจีนได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเยมากขึ้นรวมถึง ได้รับผลบวกจากมาตรการยกเว้นวีซ่า หรือฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวชาวจีนชาวรัสเซีย แล้วชาวอินเดีย ในขณะที่จํานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศมัลดีฟมีการปรับดีขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ประมาณ 412,000 คน
- ผลประกอบการของธุรกิจโรงแรม ในไตรมาสที่สองปีนี้ ธุรกิจโรงแรมมีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 2,454 ล้านบาท มีการปรับตัวดีขึ้นประมาณ 21% จากไตรมาสสองปี 2023 โดยมีอัตราการเข้าพักรวมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 71% รายได้เฉลี่ยต่อห้องพักอยู่ที่ภาพรวมประมาณ 3,674 บาท หรือมีการปรับดีขึ้น 20% หลัก ๆ เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากโรงแรมใหม่ที่เมืองโอซาก้านี้ ถ้าดูรายได้ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาจากโรงแรม 383 ล้านบาท เป็นช่วง high season ทำให้ occupancy rate ค่อนข้างดีอยู่ที่ประมาณ 88% ทําค่าห้องพักเฉลี่ยได้ประมาณ 30,363 เยน หรือถ้าคิดเป็น เงินไทยมา 7,200 บาท
- ผลประกอบการของโรงแรมในประเทศไทย เมื่อเทียบกับไตรมาสสองปีที่ผ่านมาต้องเรียนว่า ถ้าภาพรวมรวมทุกโรงแรมอาจจะได้รับผลกระทบจากการเร่งปิดโรงแรมที่ไปซ่อมแซมโรงแรมเซ็นทรัลแกรนด์มิราจที่พัทยา โดยที่เซ็นทรัลแกรนด์มิราจพัทยามีด้วยกันประมาณ 553 ห้องโดยในไตรมาสสองปิดไปประมาณ 60% ถ้าเทียบกับไตรมาสหนึ่งปิดไปประมาณ 28% เนื่องจากว่าอยากจะเร่งปิดให้กลับมาเปิดดําเนินการทันในช่วงเดือนธันวาปีนี้ เลยเร่งปิดเยขึ้นแต่ว่าในช่วงของช่วงที่เหลือของปี ตั้งแต่เดือนสิงหาจนถึงเดือนพฤศจิกา คาดว่าน่าจะมีปิดอีกประมาณปิดอยู่ประมาณ 50% มีห้องที่จะขายได้ประมาณ 41% หรือประมาณ 230 ห้อง
- นอกเหนือจากโรงแรมเซ็นทรัลแกรนด์มิราจที่มีการปิดให้บริการบางส่วนแล้วจะมีโรงแรมเซ็นทารากะรน ที่มีการปิดให้บริการทั้งหมด ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าไม่รวมผลจากการปิดโรงแรมเซ็นทรัลแกรนด์มิราจ ลาส และ โรงแรมเซ็นทารา กะรนในแง่ของรายได้รวมในประเทศไทย ถ้าเทียบ YoY ไตรมาสสองปีนี้กับไตรมาสสองปีที่แล้วยังมีการปรับดีขึ้นประมาณ 4% ถ้าถ้าดูในเชิงกําไร EBITDA ปรับดีขึ้น 6% ถ้ากลับมาดูในภาพของมัลดีฟส์ ผลการดําเนินงานค่อนข้างอ่อนตัวลงถ้าเทียบกับไตรมาสสองปีที่แล้ว
- โดยรายได้รวมโรงแรมในประเทศมัลดีฟส์ในในสกุลเงิน USD มีการปรับลงมา 7.5% ถ้ามองในมุมของ Revpar รายได้เฉลี่ยต่อห้องที่เป็น USD ลบประมาณ 6% มีอัตราการเข้าพักประมาณ 59%
- กลับกันในอีกภูมิภาคหนึ่งโรงแรมในเมืองดูไบ ยังทําผลประกอบการได้ค่อนข้างดี โดยมี Occupancy Rate อยู่ที่ประมาณ 83% โดมี Revpar อยู่ที่ประมาณ 162 เหรียญ บวกประมาณ 9%
- ธุรกิจอาหารในไตรมาสที่สองทํารายได้รวมได้ประมาณ 3393 ล้านบาท มีการปรับดีขึ้น 5% จากไตรมาสสองปีที่ผ่านมาส่วนหนึ่งมาจาก SSSG ที่ปรับดีขึ้นประมาณ 2.4% แม้ว่ากําไรจากการดําเนินงานจะมีการปรับดีขึ้น YoY แต่ว่ากําไรสุทธิในฝั่งของธุรกิจอาหารได้รับผลกระทบบางส่วนจากการปรับปรุงผลกระทบทางการบัญชีมาตรฐานการบัญชีเรื่องสัญญาเช่า เนื่องจากว่ามันมีสัญญาเช่าบางบางสัญญาที่อาจจะมา finalize กันช้าเล็กน้อยในแง่ของเงื่อนไขในแง่ของ Minimum Payment ต่าง ๆ ซึ่งมา financial ในไตรมาสที่สองซึ่งเป็นสัญญาเช่าที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นปีหรือว่าปลายปีที่แล้วคือประมาณช่วง 3-6 เดือนที่ผ่านมาส่งผลให้มีผลกระทบต่อกําไรในเชิงของทางบัญชีธุรกิจอาหารเลยส่งผลให้กําไรสุทธิของธุรกิจอาหารรวมอยู่ที่ประมาณ 134 ล้านบาท ประมาณใกล้เคียงกับไตรมาสสองปีที่ผ่านมา
- ภาพรวม ในไตรมาสที่สองปีนี้แล้วทํารายได้รวมได้ประมาณ 5,847 ล้านบาท มาจากธุรกิจโรงแรมจะประมาณ 42% จากธุรกิจอาหารได้ประมาณ 58%
- แล้วในเชิงของกําไรของบริษัทรวมทําได้ 1,344 ล้านบาทมีการปรับดีขึ้น 10%
- กําไรสุทธิรวมทําได้ 168 ล้านบาท มีการปรับดีขึ้น 39%
- สรุปเป็นยอด 6 เดือนรวมไตรมาสที่หนึ่งมาด้วย บริษัททํารายได้รวมได้ 12,236 ล้านบาท มีการปรับดีขึ้น 10% YoY แล้ว EBITDA อยู่ที่ 3,260 ล้านบาท ปรับดีขึ้น 13% แล้วกําไรสุทธิอยู่ที่ 923 ล้านบาท มีการปรับดีขึ้น 23% ทั้งนี้ใน
- ไตรมาสที่สองของปีนี้จะมีผลการดําเนินงานที่เป็นลักษณะของ Non Core Item บางส่วน ส่วนใหญ่จะมาจากธุรกิจโรงแรมที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นเป็นเป็นประจําหรือเป็นปกติ แล้วไม่ได้เกี่ยวกับ Core Profit
- หากปรับ Non Core Item เหล่านี้ออก ในในกําไร organic จะมีการปรับตัวที่ดีขึ้น
- กําไรสุทธิในไตรมาสสองปีนี้อยู่ที่ 168 ล้านบาทของทั้งบริษัทซึ่งมีการปรับดีขึ้น YoY ที่ 39% ส่วนที่เป็นนอนคอลไอเทม ยกอย่างเช่นว่า มีเงินกู้ยืม สกุลเงินเยน ประมาณ 4,500 ล้านเยน ซึ่งแน่นอนเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อกําไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในไตรมาสที่สองปีนี้และไตรมาสที่สองปีที่แล้วมีลักษณะเป็นกําไรปีนี้อยู่ที่ 55 ล้านบาท แต่มองว่าสิ่งนี้ไม่ใช่มาจาก core operationอีกส่วนนึงคือว่าจะมีการตั้งในไตรมาสสองปีนี้มีตั้งประมาณการประมาณการค่าใช้จ่ายหนี้สินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตจากในแง่ของคดีทางคดีความด้านแรงงาน ซึ่งตรงนี้มีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุน 39 ล้านบาท อีกส่วนหนึ่งมาจากสัญญาเช่าที่หัวหิน ในการต่อสัญญาเช่าหัวหินต่อเมื่อประมาณกลางไตรมาสสองปีที่ผ่านมา ตรงนี้ เนื่องจากมันไม่เต็มไตรมาส ในแง่ของค่าใช้จ่ายในเชิงของค่าเสื่อมราคากับดอกเบี้ยจ่ายจะไม่เข้ามาเต็มไตรมาส ดังนั้นเลยตัดผลกระทบตรงนี้ออกไป ซึ่งถ้าเทียบ YoY ไตรมาสสองปีนี้จะมีค่าใช้จ่ายในลักษณะนี้สูงกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 18 ล้านบาท เนื่องจากว่าเป็นค่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เต็มไตรมาส ในขณะที่ปีที่แล้วไม่ได้เต็มไตรมาส เข้ามาประมาณกลางเดือนพฤษภา
- อีกส่วนนึงไตรมาสสองปีนี้จะมีการ Write Off Deferred Tax Asset ที่โรงแรมแห่งแรกที่มัลดีฟส์หรือเซ็นทารา แกรนด์ ไอส์แลนด์ รีสอร์ทและสปา มัลดีฟส์
- มีหลักรูทใหม่ที่กําลังเปิดจะเปิดให้ดําเนินการปลายปีนี้และต้นปีหน้าเพราะฉะนั้นในเกาะหนึ่งสัญญาเช่าเหลือประมาณ 4 ปี คงคาดว่าอาจจะไม่ได้ต่อสัญญาเช่าในส่วนนี้ ซึ่งทางออดิเตอร์กับทางทางทีมบัญชี มีการพิจารณาว่าDeferred Tax Asset ถ้าเกิดไม่ได้ใช้ประโยชน์ ควรจะต้องทําการ Write Off ออกไป ออกไป 106 ล้านบาท โดยประมาณ
- เพื่อให้เทียบเคียงกันได้ ตัด Non Recurring Item ของไตรมาสสองปีที่แล้วด้วย เนื่องจากปีที่แล้วมีค่าใช้จ่ายก่อนการดําเนินงานของทางโรงแรมใหม่ที่โอซาก้าด้วย ดังนั้น เมื่อ Adjust แล้วทั้งหมดจาก กำไร 168 ล้านบาท
- ถ้ามาดูเป็น Core profit จะอยู่ที่ประมาณ 297 ล้านบาท เทียบไตรมาสสองปี 2023 ที่181 ล้านบาท มีการปรับดีขึ้นประมาณ 64%
- อย่างแรกเลยอาจจะต้องขอชมเชยทีม Corporate Finance ที่ช่วยบริหารจัดการในแง่ของต้นทุนทางการเงินให้ได้มีการปรับลดลงจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสที่หนึ่ง ที่มีต้นทุนทางการเงินอยู่ประมาณ 3.7% ตอนนี้ปรับลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 3.4% ไตรมาสที่สองปีนี้
- หลัก ๆมีเงินกู้ยืมที่เป็นสกุลเงิน USD ซึ่งอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับสกุลเงินบาท แล้วมีการจ่ายชําระคืนไปก่อนครบกําหนดโดยที่นําเอาเงินกู้ยืมที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่ามามาใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการที่จะไป pre pay ต้นทุนเงินกู้ยืมที่สูงกว่า
- รวมถึงว่ามีการนํา Short Term Loan มาใช้เพิ่มเติมด้วย โดยที่พยายามบริหารสัดส่วนไม่ให้มีความเ4ยงมากเกินไป ส่งผลให้ทําให้ต้นทุนทางการเงินมีการปรับลดลง
- ในขณะที่อัตราหนี้อัตราส่วนหนี้สินค่อนข้าง Stable เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีโดย อัตราส่วนภาระหนี้สินที่มีดอกเบี้ย ต่อส่วนของทุนอยู่ที่ 1.4 เท่า
- อัตราส่วนที่เป็นอัตราส่วนที่อยู่ในพันธกิจที่มีตามสัญญาเงินกู้ กับหุ้นกู้คืออัตราดอกอัตราส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ย ไม่รวมส่วนของหนี้สินที่เกิดจากสัญญาเช่า ต่อส่วนของทุนอยู่ที่ 0.7 เท่า
- องค์ประกอบของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยที่เป็นลักษณะของการกู้ยืมจริง ๆ มีการปรับสูงขึ้นในในในแง่ของภาระหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยอยู่ที่หนึ่ง ประมาณ 15,000 ล้านบาทโดยประมาณคือปรับเพิ่มขึ้นมา 9% โดยทั้งนี้ทั้งนั้นสัดส่วนยังเป็นส่วนที่ถึงกําหนดชําระยาวนานกว่าหนึ่งปีเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 78% เลยแล้วถ้ามาดูในเชิงของสกุลเงินประมาณ 91% เป็นสกุลเงินบาท แล้วรองมาจะเป็นสกุลเงินเยน 7% USD เหลือค่อนข้างน้อยแล้วประมาณ 2%
- แล้วอัตราส่วนอัตราดอกเบี้ยว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่หรือลอยตัว อัตราดอกเบี้ยคงที่ประมาณ 52% คงพยายามเมนเทนบาลานซ์อัตราส่วนประมาณนี้แล้วเดี๋ยวดูความเหมาะสมของภาวะตลาดอีกทีด้วย
- การท่องเที่ยวของประเทศไทยโดยรวมในไตรมาสสองและครึ่งปีแรก ไตรมาสสองปีนี้โตกว่าปีที่แล้ว 26% มีนักท่องเที่ยวประมาณ 8.1 ล้านคน ถ้าดูตลอด 6 เดือนโตขึ้น 35% มีนักท่องเที่ยว 17.5 ล้านคน
- ในไทยที่เติบโตมากที่สุด Q2 เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน เพิ่มขึ้น 82% YoY
- ที่มัลดีฟส์ Q2 อัตราการเติบโตจะค่อนข้างจะแฟลตคือเติบโตขึ้นประมาณเกือบ 1% ซึ่งตรงนี้ส่วนที่เพิ่มขึ้นคือนักท่องเที่ยวชาวจีน 17% YoY แต่นักท่องเที่ยวชาวอินเดียลดลง 47% YoY รวม ๆ กันแล้วมีการเติบโตอยู่ที่ 1%
- เมืองดูไบ นักท่องเที่ยวเติบโตทั้งไตรมาสสองปีนี้เทียบกับปีที่แล้ว แล้วทั้ง 6 เดือนปีนี้เทียบกับปีที่แล้วโ ดยไตรมาสสองปีนี้เทียบกับปีที่แล้วเติบโตขึ้น 6% มีนักท่องเที่ยวประมาณ 4.1 ล้านคน ในไตรมาสสองนักท่องเที่ยวที่เติบโตส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก กลุ่มประเทศรัสเซีย และยุโรปตะวันออก
- ประเทศญี่ปุ่น จะเป็นโซนที่การเติบโตค่อนข้างสูง เพราะว่าญี่ปุ่นเปิดประเทศมาได้ไม่นาน ไตรมาสสองปีนี้ มีนักท่องเที่ยว 9.2 ล้านคน เติบโตขึ้น 56% YoY ชาติที่เติบโตเยที่สุดจะเป็นชาวจีน ถ้าไตรมาสสองเติบโตขึ้นประมาณ 2.9 เท่า
- ปัจจุบันโรงแรม มีโรงแรมที่เปิดแล้ว และโรงแรมที่เซ็นสัญญาบริหารอยู่หลัก 4 ภูมิภาค Asia Pacific / Indian Ocean / Middle East / Europe
- จํานวนโรงแรมทั้งหมดตอนนี้ที่ Operate อยู่ที่ 50 โรงโดยเป็นของบริษัท 20 โรงแล้ว 30 โรงเป็นโรงบริหาร
- มีใน Pipeline อีก 41 โรง เป็นของบริษัท 2 โรงแล้ว 39 โรงเป็นโรงบริหาร
- รวมทั้งหมดมีโรงแรมในพอร์ตโฟลิโอทั้งหมด 91 โรงแรม
- จํานวนห้อง Operate อยู่ประมาณ 11,000 ห้อง ใน Pipeline 9465 ห้อง รวมกันอยู่ประมาณ 20,466 ห้อง
- ส่วนใหญ่เป็นในประเทศเวียดนามประมาณ 3,900 กว่าห้อง
- แล้วก็ในประเทศไทย 2,200 ห้อง
- นอกจากนั้น Pipeline จะมีในโซนAEC ทั้งเมียนมาร์ ลาว มัลดีฟส์สองโรง เป็นโรงที่เป็นเจ้าของ แล้วมีที่จีนแล้ว กาตาร์ ตุรกี
- Q2 รายได้อยู่ที่ 2454 ล้านบาท เติบโตขึ้น 21% YoY
- EBITDA ที่ 718 ล้านบาท โตขึ้น 17% YoY
- Net Profitที่ 34 ล้านบาท โตขึ้น 343% YoY พลิกจากขาดทุนในปีที่แล้วมาเป็นกําไร
- Margin อาจจะมีการปรับลดลงเล็กน้อย ซึ่งกระทบเกิดจากการรีโนเวทโรงแรมเเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ พัทยา และ เซ็นทารา กะรน ซึ่งสองโรงแรมนี้เป็นโรงแรมที่Margin ค่อนข้างดี พอมีการรีโนเวทมีผลกระทบกับ EBITDA Margin เล็กน้อย
- ถ้าดูตัวเลข 6 เดือนรายได้อยู่ที่ 5,699 ล้านบาท
- EBITDA อยู่ที่ 2,085 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น
- Net Profit ติบโตขึ้น 27%
- ทั้งพอร์ตโฟลิโอเติบโตขึ้นทั้งหมด
- ในไทย Q2 RevPar กรุงเทพฯเติบโต 15% แต่ต่างจังหวัดเติบโตที่ 4%
- มัลดีฟส์ Q2 RavPar ค่อนข้าง Flat ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจาก Fx ที่เงินบาทอาจจะอ่อนลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
- แต่ถ้าดูสกุล US Dollar ที่เป็นไตรมาสสองปรับลดลงประมาณ 8%
- ดูไบกับญี่ปุ่น เติบโตดีสนับสนุน RevPar ของพอร์ตโดยรวม
- เนื่องจากดูไบเป็นJVอาจจะไม่ได้รวมอยู่ในนี้
- ญี่ปุ่นหลังจากที่เปิดประเทศเข้ามาเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 13% ทําให้ Lcation อื่น ๆ สัดส่วนอาจจะลดลง อย่างมัลดีฟส์ลดลงไป เหลือ 15% ภูเตลดลงไปเล็กน้อย สมุยเท่า เดิมส่วนพัทยามีการปรับลดลงเนื่องจากมีการปิดห้องพักเพิ่มขึ้นของการรีโนเวทโรงแรมที่พัทยา แต่ภาพรวม RevPar เพิ่มขึ้นทั้งหมด
- จํานวนสาขา ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีทั้งสิ้น 1,609 สาขา เพิ่มขึ้น 19 สาขาหรือเติบโต 1% YoY
- โดยแบรนด์หลักที่เติบโตคือ Auntie Anne’s KFC Arigato Shinkanzen Salad Factory
- ภาพรวมสาขาส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่ต่างจังหวัด คิดเป็นสัดส่วน 65% ขณะที่ผลการดําเนินงานในต่างจังหวัดดีกว่าในกรุงเทพฯเล็กน้อย โดยต่างจังหวัดมี SSS อยู่ที่ 2% และในกรุงเทพฯมี SSS อยู่ที่ 1%
- ครึ่งปีแรกนี้ สาขาที่มีการปิดไปจะเป็นแบรนด์อร่อยดีคือ ปิดไปทั้งสิ้น 25 สาขาแล้ว Grab Kitchen ซึ่งปิดไปเป็นจํานวนมากเช่นกันคือ 14 สาขา ซึ่งทั้งสองแบรนด์นี้คือมีจํานวนรายได้จาก Delivery ค่อนข้างมาก และในปัจจุบันรายได้ Delivery มีการเติบโตที่ชะลอลงอย่างมีนัยยะสําคัญ การปิดทั้งสองแบรนด์ดังกล่าว ก็เพื่อให้ผลการดําเนินงาน Profit Margin ของภาพรวมปรับดีขึ้น
- หลัก ๆ เลยคือการเติบโตยังคงมาจาก 4 แบรนด์หลัก ๆ คือ Auntie Anne’s KFC OTOYA Mister Donut โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Mister Donut ซึ่งมีผลการดําเนินงานที่ดีขึ้นอย่างมีนัยยะสําคัญเทียบ YoY Same Store Sale & Total System Sale สามารถเติบโตได้ Double Digits ตั้งแต่ปลายไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
- ไตรมาสสอง ภาพรวม Same Store Sale ไม่รวม JV เติบโต 2% Total System Sale เติบโตได้ 6% แต่ทั้งนี้ถ้าเกิดหากพิจารณา JV แบรนด์ทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว Total System Sale ในไตรมาสสองของปีนี้จะเติบโต 10%
- ผลการดําเนินงานของธุรกิจอาหารเติบโตทั้งในแง่ของรายได้แล้วในแง่ของจํานวน EBITDA โดยรายได้ เติบโต 5% แล้ว EBITDA เติบโต 3% ถึงแม้ว่า EBITDA Margin จะลดลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจาก 19% เป็น 18%
- Equity Gain จาก JV ปรับดีขึ้นอย่างมีนัยยะสําคัญเทียบ YoY
- รายได้หลักคงยังคงมาจาก Top 4 แบรนด์คือ คิดเป็นสัดส่วน 85% KFCมีสัดส่วนเกือบ 60% เเล้วรองลงมาคือ Mister Donut 13% Auntie’s Anne และ Ootoya คือมีสัดส่วนเดียวในประมาณ 7% เท่ากัน
- อีก 3 ปีข้างหน้า หลัก ๆ เงินลงทุนส่วนใหญ่อาจจะใช้ไปกับฝั่งโรงแรมโดยโปรเจกต์ที่ใช้เงินลงทุนในปัจจุบันจะเป็นเรื่องของการรีโนเวชั่นของเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ พัทยา และ เซ็นทารา กะรน รวมถึงการก่อสร้างสองโรงแรมใหม่ในมัลดีฟส์ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนหลักจะเป็นการก่อสร้างสองโรงแรมในมัลดีฟส์ โดยตรงนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายของ 2024 บางส่วนอาจจะไปจ่ายถึง 2025
- แล้ว 2025 2026 จะมีโรงแรมค่าใช้จ่ายใหม่ ๆ ที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นเริ่มจากการรีโนเวท เซ็นทารา แกรนด์ หัวหินซึ่งจะเริ่มปี 2025 ขยายโรงแรมที่ดูไบ และ ขยายโรงแรมที่สมุย
- ธุรกิจอาหาร มีการใช้จ่าย 800-1000 ล้านบาทแ ต่ยังไงมีธุรกิจอาหารจะมีมีการมองหาโอกาสใหม่ ๆในการเข้าซื้อหรือการไปJVกับแบรนด์ใหม่ ๆ
- ธุรกิจโรงแรม ไม่ได้มีการปรับ Guidance แต่อย่างใด ยังรักษาระดับ Occupancy Rateที่ 70-73% และ RevPAr 4,000-4,300 บาท หลัก ๆ มาจากการ Drive Growth ของโรงแรมโดยเฉพาะใน Segment ที่เป็น 5 ดาวและ Luxury รวมถึง ผลประกอบการเต็มปีของโรงแรมเซ็นทราแกรนด์โฮเทลโอซาก้าด้วยที่เปิดให้บริการเต็มปี
- ธุรกิจอาหาร มีการปรับประมาณการลงว ในปีนี้มองว่า base on performance ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก และ outlook ที่เห็นในตลาดในปัจจุบัน คาดว่าในแง่ของ Same Store Sale จะอยู่ที่ประมาณ 1-3% Total System Sale Growth อยู่ประมาณ 4 -6% แล้วจํานวน Outlet ซึ่งรวมถึง JV แบรนด์น่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ YoY ประมาณ 30-50 Outlet
- Top 4 แบรนด์ยังเป็นตัวที่ผลักดัน Performace เป็นสำคัญ และเราให้ความสําคัญในแง่ของการบริหารจัดการต้นทุน ถ้าสาขาไหนไม่ทำกำไร จะมีการปิดสาขานั้น มีความพยายามที่จะนําแบรนด์เข้ามาเพิ่ม 1-2 แบรนด์โดยเฉลี่ยต่อปี
- หลังจากที่ปรับประมาณการของธุรกิจอาหารลง น่าจะมีรายได้ในเชิงของธุรกิจอาหารถ้าเป็นรายได้ที่รวม JV ด้วย ในปีนี้ตั้งเป้าไว้ประมาณ 16,100 ล้านบาทโดยประมาณถือว่าปรับเพิ่มขึ้นมา 11% YoY ถ้าในกรณีที่ไม่รวมJVน่าจะเห็นเลขอยู่ประมาณ 13,100 ล้านบาทปรับเพิ่มขึ้นประมาณ4% YoY
- ถ้านําไปรวมกับเป้าหมายของธุรกิจโรงแรม ที่เรียนว่าไม่ได้มีการปรับเป้าในปีนี้ ในแง่ของธุรกิจโรงแรม ยังคงเป้าที่รวม JV ไว้ที่มากกว่า 12,500 ล้านบาท ที่ไม่รวม JV อยู่ประมาณ 10,500 ล้านบาท
- เมื่อรวมสองส่วนถ้าเป็นรายได้ของCENTEL ถ้ารวมJV ปีนี้น่าจะอยู่เป้าหมายอยู่ที่ประมาณ 28,600 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 13% ในกรณีที่ไม่รวม JV อยู่ที่ประมาณ 23,600 ล้านบาท ปรับขึ้นดีขึ้นจากปีที่แล้วมา 5%
Revenue Growth คาดว่าจะประมาณเท่าไหร่ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอาหารพอจะแบ่งคร่าว ๆ ได้หรือไม่ มีแผนในการเปิดโรงแรมและร้านอาหารเพิ่มจํานวนเท่าไหร่ในแต่ละปีข้างหน้า ในร้านอาหารที่เปิดใหม่คาดการณ์รายได้จากส่วนนั้นได้ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ และเป้าหมายของแต่ละปีจะประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ และโรงแรมถ้ามีถ้ามีแผนการเปิดสาขาใหม่ ทําให้ Occupancy Rate และ Room Rate เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
- ในปัจจุบันนี้ อยู่ในระหว่างการอัปเดตแผน Strategy 5 ปี รวมถึงอยู่ระหว่างการจัดทํางบประมาณประจําปีด้วย ในแผนกลยุทธ์ที่ทําในปลายปีที่แล้ว
- ธุรกิจอาหารคาดว่าอยากจะบรรลุยอดขายรวมรวม JV ธุรกิจอาหารประมาณ 25,000 - 26,000 ล้านบาทในปี 2028 อย่างถ้ารีแคปเทียบกับ มีเป้าหมายปีนี้ที่เรียนไปคือ 16,000 ล้านบาท
- ถ้าธุรกิจโรงแรมมีการตั้งเป้าเช่นกันว่าในในการทํากลยุทธ์ 5 ปี ปี 2028 เมื่อปลายปีที่แล้ว เป้าหมายไว้ว่าอยากจะมีรายได้รวม JV มา 21,000 - 22,000 ล้านบาท
- เพราะฉะนั้น ถ้ารวมสองธุรกิจรวมกันในปี 2028 คาดว่าจะมีรายได้ที่รวม JVประมาณ 46,000- 48,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนของธุรกิจอาหารประมาณ 54% ถ้าเทียบกับปีนี้สัดส่วนธุรกิจอาหารอาจจะประมาณ 56% ลดลงเล็กน้อย
- ธุรกิจอาหารที่เติบโตเพิ่มมากขึ้นหลัก ๆ จะมาจากการ Drive Growth JV และ non KFC เป็นหลัก สัดส่วนของKFCคาดว่าน่าจะน้อยลงกว่าระดับที่ 50% ในปัจจุบัน
- แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในรายละเอียด ต้องขออัพเดทท่านในในวาระถัดไป เพราะว่าเดี๋ยวจะมีการอัปเดตอีกทีในช่วงปลายปลายปี
- Piprline ของธุรกิจโรงแรม ชัดเจนว่าในปีหน้าจะมีการเปิดโรงแรมที่เป็นเจ้าของเอง เซ็นทารา แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ 142 ห้อง ปักหมุดไว้เดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า แล้วยังมี Manage Property อีกหลาย ประมาณ 9 ดีล ร่วมกันประมาณ 1,700-1,800 ห้อง หลายภูมิภาคคือไม่ว่าจะเป็นในเวียดนามในเมืองไทย แล้วที่ลาว แต่ยังอยู่ใน AEC
- ในภาพ Outlook 3- 5 ปีข้างหน้า มองว่า SSSG จะประมาณการไว้อยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 3% ต่อปี แล้วภาพรวม Sales Growth จะอยู่ที่ประมาณ 10 -12% ต่อปี จํานวน Outlet ถ้าโดยเฉลี่ย ถ้ารวมJV ด้วย จะเป็นประมาณ 80- 90 Net Growth Per Year ถ้าไม่รวม JV น่าจะอยู่ที่ประมาณ 50-60 Outlet Net Growth Per Year
- สำหรับภาพธุรกิจโรงแรม ปัจจุบันเดือน 7 มี Performance ออกมาแล้ว รายได้รวมที่เห็นทั้งพอร์ตโฟลิโอ รวมดูไบ มีการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยเดือน 7 โตขึ้นประมาณ 2% Gross Operating Profit เป็นไอเทมที่ทางโรงแรมใช้ดูในการประกอบการนี้จะเติบโตเห็นเลขประมาณ 7.5% Margin มีการปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 1.9% ซึ่งภาพรวมทุก Region จะเติบโตมากกว่าปีที่แล้ว อาจจะมีแค่ประเทศไทยที่มีการปิดโรงแรมที่พัทยาไป อาจจะทําให้เลขติดลบเล็กน้อย ส่วน เดือน 8 กับเดือน 9 จะเป็นยอดจอง ในเมืองไทยมีการเติบโตขึ้น มัลดีฟส์อาจจะมีทรงทรง ดูไบอาจจะเป็นทรง ๆ ส่วนญี่ปุ่นจะเป็นลงโลเคชั่นที่ปรับสูงขึ้นมาก เพราะว่าปีที่แล้วเพิ่งเปิดโรงแรม
- สำหรับภาพธุรกิจร้านอาหาร ไตรมาส 3 ภาพรวมของรายได้เดือน 7 เป็นเดือนที่เห็นว่า SSS มีการมีการติดลบ ค่อนข้างเป็นเทรนด์ที่ soft พอสมควรเมื่อเทียบกับ Performanceของเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะแบรนด์หลัก KFC มีภาพติดลบซึ่งมองว่าแนวโน้ม Consumtion ครึ่งปีหลังมีแนวโน้มน่าจะ Soft ลง แต่อย่างไรดีไม่ใช่เป็นภาพที่ติดลบทุกแบรนด์ ในแง่ของ SSS มีปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น เป็นเรื่องของ Consumer Spending Power เทรนด์ Soft อย่างชัดเจน แต่ว่ามันจะมีเรื่องของ product ใหม่ ๆ หรือเรื่องของ promotion ใหม่ ๆ ที่ยังยังสามารถใช้ในการ boost ยอดขายได้เช่น ถึงแม้ KFC จะซอฟต์ แต่ Mister Donut ยังมีเทรนด์ที่บวก เพราะฉะนั้นในแง่ Outlook แม้แนวโน้ม Consumer Spending จะซอฟต์ลงแต่ว่าข่าวดีที่ที่ยังพอมีคือ ราคาวัตถุดิบที่ Secure ได้มาตอนนี้ยังค่อนข้าง Stable ที่มี Concern หลัก ๆ จะเป็นเรื่องของเนื้อวัว อย่างเดียว ซึ่งผลกระทบหลัก ๆ จะไม่ใช่เป็นแบรนด์ใหญ่เพราะฉะนั้น Cost คิดว่ายังสามารถบริหารจัดการ Margin ได้ค่อนข้างดีพอสมควร ถึงแม้ว่าเทรนด์ของ SSS จะมีแนวโน้มที่ Soft ลง ในส่วนเรื่อง Outlet Expansion แบรนด์หลัก ๆ ยังเป็นไปตามแพลน