[TISCO] บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

thanonlongtun_p
Posts: 3145
Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm

Oppday year-end 2023 TISCO บมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป


ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/7306
thanonlongtun_p
Posts: 3145
Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm

Oppday Q1/2024 TISCO บมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป


ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://listed-company-presentation.set ... h/vdo/7308
thanonlongtun_p
Posts: 3145
Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm

20240507 TISCO-01.jpg
20240507 TISCO-01.jpg (304.63 KiB) Viewed 2792 times
20240507 TISCO-01.jpg
20240507 TISCO-01.jpg (304.63 KiB) Viewed 2792 times
 

สรุปคลิป Oppday Q1/2024 TISCO บมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป  

ผลประกอบการ Q1/2024  
  • กำไรสุทธิ 1,733 ล้านบาท -3.3% YoY 
    • จากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลง -5.5% YoY  หลัก ๆ จากค่าธรมเนียม 
    • ECL หรือ ค่าใช้จ่ายสำรอง ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3 เท่า จากงวดที่แล้ว มาจากการตั้งสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงจากสถานการณ์เศรษฐกิจ 
  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 3,395 ล้านบาท +5.4% YoY 
    • จากการเติบโตของสินเชื่อ +7% YoY 
    • อัตรา NIMชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว จากต้นทุนการเงินที่เร่งตัวขึ้น 
  • รายได้จากการดำเนินงานรวม 4,703 ล้านบาท +2.1% YoY 
  • ROAE 16% ลดลงจากงวดก่อนหน้าที่ 16.4% 
 สินเชื่อ 235,218 ล้านบาท +0.2% YTD  
  • สัดส่วน สินเชื่อกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ 25.5% SME 6.4% รายย่อย 68% 
  • โดยในสัดส่วนสินเชื่อรายย่อย มีสัดส่วนของ hire purchase มากสุดที่ 44.5%  รองมาเป็นจำนำทะเบียนที่ 17.8% 
  • Corporate Loan เติบโต 1.8% YTD แตะ 60,000 ล้านบาท 
  • SME เติบโต 10.4% YTD จากสินเชื่อผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ ที่เบิกเพิ่มขึ้นมาช่วง motor show 
  • Retail  -1.3% YTD  จากพอร์ต HP รถใหม่ลดลง -3% ตามยอดขายรถในประเทศที่ลดลง -25% 
 เงินฝากและเงินกู้ยืม 212,124 ล้านบาท -4% YTD  
  • มี Debentures ที่ครบกำหนดอายุไปทำให้มีสัดส่วนลดลงมาอยู่ที่ 1.6% 
  • เงินฝากประจำ 85%
 จำนำทะเบียนผ่านสาขาสมหวัง  
  • พอร์ตสินเชื่อรวม 29,099 ล้านบาท +2.5% YTD 
  • จากการขยายสาขาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัจจุบันมี 674 สาขา เพิ่มขึ้นมา 29 สาขา ณ สิ้นไตรมาส 1 
 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 3,395 ล้านบาท +5.4% YoY   
  • สอดคล้องกับสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น +7% YoY 
  • แต่เรายังได้รับผลกระทบจากต้นทุนการเงิน ที่มีการเร่งตัวเพิ่มขึ้นช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 
  • Yield เพิ่มขึ้นจากการปรับพอร์ตไปที่ HP มากขึ้นแต่การเติบโตยังเป็นไปได้ช้าเทียบกับ ต้นทุนการเงินที่เร่งตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว 
  • ทำให้ NIM หดตัวต่อเนื่อง  เทียบปีที่แล้ว ลดลงมาอีก 0.1% มาอยู่ที่ 4.8% 
  • เทียบปีที่แล้ว load spread ลดลงมาอีก 0.3% มาอยู่ที่ 5.2% 
 รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย 1,307 ล้านบาท -5.5% YoY จากทุกธุรกิจท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง  
  • Banking Fee -2.5% YoY สาเหตุจาก Bancassurrance -3.4% YoY ซึ่งครึ่งหนึ่งเกี่ยวข้องกับสินเชื่อรถยนต์ปล่อยใหม่ จากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ยอดขายลดลงแรง -25% 
  • Brokerage & IB -42% YoY จากภาวะตลาดทุนซบเซา 
  • Asset Management -0.6% YoY 
  • Other Income +47.2% YoY จากพอร์ต mark to market ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 
 คุณภาพสินทรัพย์  
  • NPL 5,341 ล้านบาท 
  • NPL Ratio 2.27% ขยับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 2.22% จากกลยุทธ์ของเรา ที่เน้นการขยายสินเชื่อไปกลุ่ม high yield มากขึ้น และภาวะเศรษฐกิจที่กระทบความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ 
  • Coverage Ratio ปรับลดลงมาอยู่ที่ 177.8% ซึ่งยังอยู่ในระดับสูงเพียงพอต่อความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต 
 เงินกองทุน Capital Adequacy  
  • BIS Ratio ลดลงจากงวดที่แล้วมาอยู่ที่ 20.9% จากการ redeem ตัว sub debt 2,400 ล้านบาท 
  • Tier 1 Ratio 18.8% 
 สรุปภาพรวมผลประกอบการ  Q1/2024  
  • ภาพตลาด ดอกเบี้ยยังขึ้นต่อ ภาวะตลาดทุนที่ซบเซา รายได้ค่าธรรมเนียมยังไม่ค่อยฟื้นตัว เป็นปัจจัยที่ยังคงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว 
  • ตลาดรถยนต์และสินเชื่อที่เกี่ยวกับรถยนต์ ยอดขายรถไตรมาส 1 ปรับตัวลดลงแรง 25% จากปีที่แล้ว 
  • ECL เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า เป็นไปตามแผน คือเพิ่มขึ้นสู่ระดับปกติ 
  • NPL ยังควบคุมได้ดี 
  • ผลกำไรปรับตัวลดลงจากปีที่แล้ว 
  • แต่ยังสามารถรักษา ROE ได้ระดับ 16% 
  • จำนวนพนักงาน 5,507คน 
  • จำนวนสาขา 727สาขา  เพิ่มขึ้นจากปี 2023 ที่ 698 สาขา → จำนวนสาขาสมหวัง 674  สาขา 
 
Q&A  

สัดส่วนพอร์ตรถน้ำมัน และ EV  
  • ปล่อยสินชื่อรถ EV 10-20% ของพอร์ต 
 การแข่งขันที่รุนแรงและปรับลดราคาขาย EV ส่งผลต่อมูลค่าหลักประกันและหนี้เสียหรือไม่  
  • มีผล แต่ไม่มีผลในตัวมันเอง ส่งผลกระทบทางอ้อมคือรถ passenger car ที่ราคาปรับตัวลดลง 
  • คุณภาพพอร์ตสินเชื่อ EV ตอนนี้ค่อนข้างคุณภาพดีมาก รถยึดน้อยมาก  
 ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงนานกว่าที่คาด ส่งผลอย่างไร  
  • ดอกเบี้ยสูง ส่งผลเสียต่อธนาคาร เพราะเราปล่อยสินเชื่อเป็น fix rate เมื่อดอกเบี้ยขึ้น ทำให้ต้นทุนการเงินของเราสูงขึ้น ดังนั้น ดอกเบี้ยสูงนาน ๆ ไม่ดี 
  • อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มุมมองดอกเบี้ยดูดีกว่าคาด เพราะมีทิศทางว่าดอกเบี้ยจะลดลง 
 ภาครัฐขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยลูกค้า ส่งผลอย่างไร  
  • ส่งผลบ้างแต่น้อย 
  • ส่วนใหญ่เราปล่อย Fix Rate เลยส่งผลกระทบน้อย 
 ค่า Fee  
  • เนื่องจากมีการออก IPO หุ้น NEO ทำให้มีค่าธรรมเนียมเข้ามาในไตรมาส 2 
 ผลการดำเนินงานของ บล. และ บลจ. TISCO สภาวะตลาดซบเซา  
  • เรามีผลกระทบค่าธรรมเนียมจากตลาดทุนค่อนข้างมาก  กระทบกำไรธุรกิจหลักทรัพย์ 
  • แต่เรายังให้ความสำคัญเต็มที่กับงาน Research และ Advisory 
  • บลจ. TISCO ได้รับผลกระทบไม่มากนัก ยังทำกำไรได้ดี AUM เติบโต รายได้บริหารจัดการกองทุนยังโตต่อเนื่อง เรามีสัดส่วน PVD ใหญ่มาก ประมาณ 2 ใน 3 
  • เรายังให้ความสำคัญเต็มที่กับธุรกิจนี้ 
 NPL พอร์ตสมหวังปัจจุบันอยู่ที่เท่าไหร่ 
  • ปัจจุบันอยู่ที่ 4% 
  • 6-12 เดือนข้างหน้าอาจเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย 
 NIM ของธนาคาร  
  • ปีนี้คาดว่าจะยังลง 
  • ปีหน้า น่าจะเริ่มไม่ลงต่อ 
  • ต้นทุนการเงินน่าจะพีคช่วง Q3-Q4 ในปีนี้ 
 แนวโน้มไตรมาส 2   
  • จากสภาวะปัจจุบัน ค่อนข้างมีแนวโน้มคล้าย ๆ กันกับไตรมาส 1  
  • คิดว่า ไตรมาส 1 น่าจะ low แล้ว และน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้บ้างช่วงที่เหลือของปี 
 เป้าหมายปีนี้  
  • คาดว่าสินเชื่อเติบโตในอัตราที่ลดลงจากปีที่แล้วที่ 7%  จากตลาดรถยนต์ท่ไม่เอื้ออำนวย 
 NPL เป็นอย่างไรบ้าง  
  •  ปีนี้น่าจะขึ้นไป 2.5 - 2.6 เนื่องจากมีการขยายพอร์ตสินเชื่อไปกลุ่ม high yield มากขึ้น 
  • การตั้งสำรองยังเป็นไปตามแพลน 
 การเปิดสาขาสมหวัง 1 สาขา ใช้เวลาแค่ไหนในการคุ้มทุน  
  • แต่ก่อนตอนเปิดใหม่ ๆ ใช้เวลาเร็วมาก 1-2 ปี  เพราะเปิดหัวเมืองหใญ่
  • ตอนนี้เป็นการเปิดในหัวเมืองรองลงไป ใช้เวลานานขึ้นที่ 3-4 ปี 
  • ยังจำเป็นต้องขยายสาขาเพื่อให้ network เพียงพอที่จะแข่งขันในตลาดได้ 
 Virtual Bank  
  • ไม่ใช่ตลาดที่เราสนใจมากนัก สินเชื่อไม่มีหลักประกัน เราไม่ได้มุ่งเน้น 
 ต้นทุนเงินฝากจะพีคไตรมาสใด  
  • น่าจะไตรมาส 3 ไม่เกินไตรมาส 4  
  • อัตรา 2.5-2.6% 
 
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=SEQvlU2HvvM 

 
 
 
 
thanonlongtun_p
Posts: 3145
Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm

Oppday Q2/2024 TISCO บมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป


ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://www.set.or.th/th/market/product ... y-snapshot
 
thanonlongtun_p
Posts: 3145
Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm

20240805 TISCO-01.jpg
20240805 TISCO-01.jpg (301.42 KiB) Viewed 2513 times
20240805 TISCO-01.jpg
20240805 TISCO-01.jpg (301.42 KiB) Viewed 2513 times
 

สรุปคลิป Oppday Q2/2024 TISCO บมจ. TISCOไฟแนนเชียลกรุ๊ป  

ผลประกอบการของ TISCO งวดครึ่งปีแรกของปี 2024 Image
  • กําไรสุทธิของบริษัทมีจํานวน 3,482 ล้านบาท ปรับลดลง 4.5% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า 
  • กําไรที่ลดลงในงวดนี้หลัก  ๆ มาจาก ECL หรือว่าค่าใช้จ่ายสํารอง สํารองงวดก่อนหน้าอยู่ที่ 91 ล้านบาท ขยับเพิ่มขึ้นมาเป็น 618 ล้านบาทในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ การตั้งสํารองที่สูงขึ้น มาจากการสเต็ปอัพเพื่อตั้งสํารองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ รวมถึงเรามีการตั้งสํารองเพื่อรองรับ NPL ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย 
  • ด้านรายได้รวม จํานวน 9,640 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% YoY รายได้ปรับดีขึ้นทั้งในส่วนของรายได้ดอกเบี้ย แลtรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย 
  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ปรับดีขึ้นมา 3.1% YoY สอดคล้องกับการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อเมื่อเทียบกับ 6 เดือนแรกของปีที่แล้ว 
  • ส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเติบโต 5.5% YoY ในงวดนี้เรามีการรับรู้กําไรจากเงินลงทุน มีรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจ IB เข้ามา รวมถึงธุรกิจ Asset Management ปรับดีขึ้นเช่นเดียวกัน 
  • ในส่วนของค่าใช้จ่ายหรือว่า Operating Expense ลดลงเล็กน้อย 0.9% มาจากค่าใช้จ่ายผันแปรจากในส่วนของค่าใช้จ่ายพนักงาน และ ค่าใช้จ่าย Marketing Expense 
  • ภาพรวมกําไรสุทธิ ROE ปรับลดลงมาจากงวดก่อนมาอยู่ที่ 16.6%  
Balance Sheet Image
  • พอร์ตสินเชื่อ  6 เดือนแรกปรับลดลงมา 0.6% YTD 
  • พอร์ตล่าสุดอยู่ที่ 233,000 ล้านบาท การลดลงของพอร์ตหลัก ๆ มาจากพอร์ตในส่วนของ Retail เป็นหลัก โดยเฉพาะพอร์ต High Purchase New Car ซึ่งเรามีการระมัดระวังและเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อในช่วงที่เศรษฐกิจยังคงเติบโตได้ช้า 
  • ภาพของ Loan Breakdown จะเห็นว่า High Purchase ยังคงเป็นพอร์ตที่มีสัดส่วนมากที่สุด แต่ว่าสัดส่วนลดลงมาแล้ว ตอนนี้เหลืออยู่ที่ 44 % ของทั้งหมด ในอดีตในช่วงที่พีค High Purchase เคยสูงสุดถึง 70% ของพอร์ต 
  • พอร์ตอื่น  ๆ ที่ปรับโตขึ้นมาทดแทนจะเป็น Corporate Loan ตอนนี้ขยายมีสัดส่วนอยู่ที่ 25.6% และ จํานําทะเบียนหรือว่า Auto Cash ตอนนี้สัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเป็น 18.2%
  • เงินฝากและเงินกู้ยืม ปรับลดลงมา 4% YTD ล่าสุด Funding มีจํานวน 212,000 ล้านบาท 
  • เฉพาะเงินฝาก ปรับลดลงมา 0.9% YTD จะสอดคล้องไปกับ Loan ที่หดตัวลง 
  • นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาเรามีหุ้นกู้ที่ครบกําหนดอายุไปด้วย 
  • Composition ของFundingตอนนี้จะเป็นเงินฝากประจําเป็นหลัก สัดส่วนอยู่ที่ 85% เรามี CASA เพียงแค่ 13% แล้ว Debenture ลดลงมาเหลือแค่ 2.5% ของทั้งหมด 
รายละเอียดสินเชื่อ Image
  • 6 เดือนแรกลดลงไป 0.6% หลัก ๆ ในภาพรวมจะมาจากพอร์ต Retail หรือว่าลูกค้ารายย่อย ลดลงไป 2.1% YTD 
  • สินเชื่อที่ลดลงแล้วมีผลกระทบมากที่สุดจะเป็น High Purchase รถใหม่  ลดลงมา 5.5%  ได้รับผลกระทบโดยตรงกับยอดขายรถยนต์ในประเทศที่อ่อนลงมา โดย  6 เดือนแรกลดลงไปกว่า 25%  
  • นอกจากนี้ จะมีพอร์ตของสินเชื่อบ้านปรับลดลงเช่นเดียวกัน ลบ 9.2%  
  • พอร์ตRetailในส่วนที่เป็น High หรือว่าที่มีผลตอบแทนในระดับสูง ยังคงเห็นการเติบโตอยู่ Use Car High Purchase ปรับดีขึ้นมา 4.8%  Motorcycle High Purchase เพิ่มขึ้น 7% และ จํานําทะเบียนเพิ่มขึ้น 1.7%  
  • พอร์ต Cotporate เติบโตเช่นเดียวกันเดือน 6 เดือนแรก เพิ่มมาประมาณ 9,000 ล้านบาทหรือว่า 1.5% YTD มีการเบิกจ่ายเข้ามาของลูกค้าบริษัทในกลุ่มของ Real Estate เป็นหลัก 
  • พอร์ต SME เติบโตได้เช่นเดียวกันเพิ่มขึ้น 8.6% YTD เราเห็นการ Stock Inventory เพิ่มขึ้นของลูกค้าในกลุ่ม Dealer รถยนต์ 
  • หากเจาะในส่วนของจํานําทะเบียนที่เราปล่อยผ่านสาขาสมหวัง เงินสั่งได้  ล่าสุดตอนนี้มีจํานวน 29,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.3% ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา 
  • การเติบโตของสมหวังเป็นไปตามแผนการขยายสาขา ซึ่งเรามีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นมา 89 สาขาในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา  โดยเป้าหมายของปีนี้ยังคงตั้งไว้ที่ 200 สาขาทั่วประเทศ 
  • การขยายสาขาและการเติบโตของพอร์ตในส่วนนี้ เราได้คํานึงถึงความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่ รวมถึงมีการ Utilized สาขาสมหวัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามทวงถามหนี้ด้วย
รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ Image
  • ในช่วงครึ่งปีแรก ปรับดีขึ้น 3.1% YoY เป็นผลมาจากเรื่อง Loan Growth ซึ่ง เติบโต 1.3% YoY  ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยหรือปรับเพิ่มขึ้นมาที่ 13.3% 
  • อย่างไรตาม ทางฝั่งของต้นทุนทางการเงิน ยังคงปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การปรับดอกเบี้ยนโยบาย ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นมากว่า 50% จากงวดที่แล้ว
  • ในแง่ของ Ratio Yield on Loan ยังคงปรับเพิ่มขึ้นได้ เป็นผลมาจากสัดส่วนของ High Yield ที่ขยายตัวแต่ว่า Cost of Fund ยังคงเร่งขึ้นในระดับที่เร็วกว่า ทําให้ Spread และ NIM มีการปรับลดลงไป Spread ลดลง 30 bps มาอยู่ที่ 5.2% ส่วน NIM ลดลง 10 bps มาอยู่ที่ 4.8% 
 
ธุรกิจที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยImage
  •  เติบโต 5.5% YoY หลัก ๆ มาจากกําไรจากถอนเงินลงทุน ซึ่งจะเป็นการ Mark to Market เข้างบกําไรขาดทุน 
  • นอกจากนี้จะมีในส่วนของธุรกิจหลัก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา TISCO มีรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจ​ IB เข้ามาจากการที่เราเป็น Lead Underwriter ให้กับหุ้น IPO
  • ส่วนธุรกิจ Asset Management เติบโตได้ดีเช่นเดียวกัน ฟื้นขึ้น 0.9% หลัก ๆ มาจากการขยายของ AUM ในกลุ่มของ Provident Fund โดย TISCO เรายังคงมี Market Share สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของอุตสาหกรรม 
  • ด้านธุรกิจที่ยังเห็นการอ่อนลงจะเป็นธุรกิจธนาคารกับธุรกิจหลักทรัพย์ Banking Fee ลดลงไป 0.7% มาจาก Bank Assurance ที่ชะลอลง เป็นผลกระทบมาจากยอดขายรถยนต์ในประเทศที่อ่อนตัวลง มาทำให้เราปล่อยสินเชื่อใหม่ได้น้อยลง รวมถึงรายได้จากส่วนนี้ลดลงไปด้วย 
  • ส่วนธุรกิจหลักทรัพย์ จะเห็นว่า Volume ในตลาดหลักทรัพย์มีการชะลอลงไปค่อนข้างมาก ทําให้ Fee ที่ได้จาก Brokerage ปรับลดลง 
Asset Quality 
  • Image
  • NPL ของ TISCO ล่าสุดอยู่ที่เกือบ 5,700 ล้านบาทคิดเป็น NPL Ratio ที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 2.44% 
  • NPL ที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากแผนการเติบโตสินเชื่อในพอร์ตของHigh Yield เป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงในช่วงที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจยังคงเติบโตได้ช้า รวมถึงหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทําให้ลูกหนี้ประสบปัญหาการชําระเงินเข้ามา
  • NPL ที่เร่งขึ้น ทําให้ Coverage Ratio ปรับลดลงมาอยู่ที่ 162.7% 
ความเพียงพอของเงินกองทุนImage
  • ขยับลดลงมาจากสิ้นปีที่แล้ว แต่ว่ายังถือว่าอยู่สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทย BIS Ratio ลดลงมาเหลือ 20.6% ส่วน Tier1 เหลือ 18.6%  
จํานวนพนักงานและสาขาImage
  • พนักงาน TISCO ทั้งหมดในกลุ่ม มีจํานวนทั้งสิ้น 5,622 คน เพิ่มขึ้น 126 คนในช่วง 6 เดือนแรก หลัก ๆ มาจากการเพิ่มขึ้นของพนักงานในกลุ่มของสมหวังเงินสั่งได้ ซึ่งมาจากการที่เราเปิดสาขาใหม่เข้ามา ช่วงที่ผ่านมาเปิดสาขาใหม่ไป 89 สาขา 
  • Network ของ TISCO เราทั้งหมด ถ้ารวมธนาคารด้วยแล้ว มีจํานวนทั้งสิ้น 787 สาขาทั่วประเทศ 
 
โดยสรุป 
  • Performance ปีนี้ ต้องมีการเป็นไปตามสภาวะตลาดบางส่วน จะเห็นว่าแต่จริงจริงแล้ว Top Line เรายังสามารถเติบโตได้อย่างอ่อน  ๆ แต่ว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการตั้งสํารอง มีการปรับเพิ่มขึ้น อันนี้เป็นไปตามแผนการเพิ่มระดับสํารองขึ้นมาในระดับปกติที่เราแพลนไว้แล้ว อย่างไรตามภาพรวมอาจจะอ่อนไปกว่าความคาดหมายบางส่วน เพราะจริง ๆ แล้วในส่วนของTop Lineเองเราเราประมาณการว่าเราจะ เดิมที่เราประมาณการว่าจะน่าจะสามารถเติบโตได้ดีกว่านี้ ทั้งในส่วนที่เป็น Net Interest Income และ Non Interest Income ด้วย 
  • Net Interest Income เจอปัญหาจากเรื่องของภาวะเศรษฐกิจประกอบกับปัจจัยเรื่องของอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนัก เลยทําให้ยอดขายอย่างที่ทุกท่านทราบว่ายอดขายรถครึ่งปีแรกปีนี้ตกไปถึง 25%  เลยทําให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับสินเชื่อรถยนต์ซึ่งเป็นพอร์ตที่ใหญ่ที่สุดได้รับผลกระทบจากการไม่สามารถเติบโตได้ตามแผน ในขณะที่สินเชื่อที่เป็นHigh Yield ที่เราถึงแม้จะมีการเติบโตอยู่ในทุก ๆ  area ที่เห็นอยู่การเติบโตเป็นไปได้ในอัตราที่น้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเราเองชะลอการเติบโต เนื่องจากว่าสินเชื่อ High Yield เป็นอะไรที่ High Risk ไปด้วย ในภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางแบบนี้ ต้องระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ดังนั้น จะเห็นว่าสินเชื่อจํานําทะเบียนเองเดิมทีเคยประมาณการว่า จะโตได้ถึงเกือบ 10% ผ่านมาครึ่งปี เราโตโดรวมแค่ประมาณ 1-2% เท่านั้นเอง ก็ยังมีทางด้าน Use Car หรือว่า Motorcycle Loan ที่โตมากหน่อย แต่รวมแล้วยังค่อนข้างอ่อนอยู่  ดังนั้น ตัว Top Line หรือ Net Interest Income เลยโตได้เพียงแค่ประมาณ 3%  จากปีที่ผ่านมา 
  • ในส่วนของ Non Interest Income จะเห็นว่ามีการเติบโตอยู่ประมาณ 5% แต่ว่าส่วนหนึ่งจะเป็นอะไรที่ไม่ได้ Recurring ได้ตลอด เพราะว่าเป็นเรื่องของการMark to Market พอร์ตลงทุน ซึ่งมีขึ้นมีลง ในช่วงไตรมาสสองนี้มีการลงทุนต่าง ๆ รวมทั้ง  Position การลงทุนต่างประเทศที่อาจจะมีการ Mark ขึ้นไปบางส่วน ประมาณสักร้อยล้าน ถ้าเกิดเอาร้อยล้าน Extra ที่เห็นอยู่ออกไป จะเห็นว่าจริง ๆ แล้ว  Non Interest Income ก็  Flat เหมือนกัน คือไม่ได้โตจากปีที่แล้ว 
  • ทั้งนี้เพราะเครื่องยนต์สำคัญสองตัวที่เป็นผลักดัน Non Interest Income คือ Bank Assurance Fee กับ Capital Market Fee ค่อนข้างได้รับผลกระทบจากภาวะตลาดค่อนข้างมากถ้ายอดขายรถตกลงเยอะ การปล่อยสินเชื่อใหม่ก็ลดลง การเติบโตทําได้ไม่ไม่มากจริง ๆ เรายังสามารถ รักษาระดับของค่ารายได้จากBank Assuranceไว้ได้ไม่ได้ลบมาก ถือว่าทำได้ดีมากแล้ว เพราะจริง ๆ ยอดขายรถตกไปถึง 25%  ในขณะที่ธุรกิจที่เกี่ยวกับเรื่องของตลาดทุน ได้รับผลกระทบจากภาวะตลาดที่ซบเซาอย่างมาก  
  • อีกปัจจัยหนึ่งคือเรื่องของ ECL มาจากสองส่วน ส่วนหนึ่งคือส่วนที่เราแพลนอยู่แล้วว่าถึงแม้ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากความคาดหมาย ECL จะต้องเพิ่มขึ้นในปีนี้ เพราะว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ECL อยู่ในระดับตำ่กว่าปกติ เนื่องจากว่าเรามีสํารองส่วนเกินอยู่เป็นจํานวนมากจากการที่ตั้งไว้สําหรับภาวะวิกฤตโควิดในปี 2020 - 2021 แล้วเงินสํารองส่วนไม่ได้ใช้ คือความเสี่ยงไม่ได้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเราเลยค่อย ๆ ลดระดับเงินสํารองส่วนเกินในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งจะทําให้ระดับ ECL ที่เห็นว่าค่อนข้างต่ำเป็นพิเศษในปี 2022 - 2023 จริง  ๆ แล้วช่วงนั้น ECL ต่ำลงไปถึงเพียงแค่ประมาณสัก 25 basis point ของสินเชื่อรวม 
  • ปีนี้เองเราเริ่มขยับ ECL ขึ้นมา ครึ่งปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 60 basis point เพื่อที่จะขยับแล้วปรับตัวเองกลับไปสู่การระดับการตั้งสํารองปกติ ซึ่งน่าจะกลับไปสู่จุดนั้นอย่างเต็มรูปแบบภายในปีหน้า  อีกส่วนหนึ่งที่ทําให้ ECL จะมีการตั้งเพิ่มสูงขึ้นคือว่า NPL มีการปรับเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้จะยังไม่มากถ้าเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม NPL ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำแล้วเราแพลนไว้แล้วว่าว่าเทรนด์ของ NPL น่าจะมีการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากว่าเรามีการเข้าไปใน High Yield Busness มากขึ้น แต่ว่าในช่วงที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ามีความเปราะบางของเศรษฐกิจค่อนข้างมากในกลุ่มลูกค้าที่เปราะบางต่าง ๆ โดยเฉพาะตลาดสินเชื่อประเภทรถยนต์ที่มีภาวะราคาตกต่ำของราคารถยนต์ค่อนข้างมาก ยังไม่ได้เป็นอะไรที่น่ากังวลขนาดนั้น แต่ว่าส่งผลให้เกิดขึ้นสองเรื่องคือว่า ระดับการตั้งสํารองจึงต้องสูงกว่าที่คาดหมายไว้เล็กน้อย อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องของการปล่อยสินเชื่อ High Yield เราเลยต้องเริ่มมีการแต่เบรก ไม่กล้าที่จะปล่อยแรงเกินไปซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาของ NPLมากขึ้นในอนาคต อันนี้จะเป็นภาวะปัจจุบันที่เกิดขึ้น 
Q&A

บริษัทมีความกังวลในช่วงที่เหลือของปีนี้เรื่องอะไรบ้าง 
  • ต้องบอกว่าเรื่องที่กังวลมีให้มีหลายเรื่อง ในขาที่เป็นเรื่องของธุรกิจเองมีความกังวลว่าสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ในการเติบโตค่อนข้างที่จะชะลอมากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้สินเชื่อยังเติบโตได้ไม่ค่อยดี ในขณะที่ภาวะตลาดทุนปีนี้เป็นปีที่น่าจะเป็นปีที่สามแล้วนะ ที่ตลาดทุนซบเซาขนาดนี้ ซึ่งถ้าคนที่เกาะติดกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนจะพบว่า จริง ๆ แล้วในอดีต จะมี Cycle ของปีที่ดี แล้วปีที่ไม่ดี อย่างมากไม่ดีอยู่แค่ซักสองปีแล้วกลับมาดีอะไรอย่างงี้ แต่ช่วงนี้เป็นช่วงที่ตลาดทุน ย่ำแย่เป็นเวลาที่ค่อนข้างต่อเนื่อง อันนี้เป็นเป็นปัจจัยแรกที่กังวล 
  • อันที่สองคือเรื่องของตลาดรถยนต์ อันนี้ยังมีความกังวลอยู่ เพราะว่า ยอดขายรถยนตฺยังไม่ฟื้นตัวเท่าไหร่ การที่มีรถ EV  จากจีนเข้ามาเยอะ ๆ  มีการกระตุ้น Sentiment เรื่องของการซื้อรถ EV ในช่วงสั้น ๆ อย่างไรตามปรากฏว่าพอหลังจากนั้นผู้บริโภค มองเห็นลักษณะของการซื้อขายในตลาดรถยนต์ต่าง ๆ แล้วกลายเป็นว่าทําให้มีการดีเลย์กันการซื้อเข้าไปเพิ่มอีก ทําให้ยอดขายรถดูไม่กระเตื้อง แล้วที่สําคัญที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมดนี้คือเรื่องของภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ว่ายังจะอ่อนอ่อนแออย่างนี้ต่อไปหรือเปล่า ครึ่งปีแรก เรามีผลกระทบจากเรื่องของการเบิกจ่ายภาครัฐซึ่งน่าจะเริ่มดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี แต่อย่างไรตาม ปัจจัยภายนอกเอง และเครื่องยนต์หลายอย่างในประเทศยังไม่ค่อยมีโมเมนตัมที่ดีเท่าไหร่ 
  • เพราะฉะนั้นอันนี้เองจะส่งผลกับเรื่องของ Asset Quality ด้วยว่า จะสามารถรักษาได้หรือไม่ อันนี้จะเป็น concern ที่มองไปในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ 
ธุรกิจสมหวัง  มีการเติบโตมากกว่านี้ได้ไหม ดูเติบโตน้อยกว่าคู่แข่ง
  • เป็นไปได้ แต่ว่าเนื่องจากว่าเรา concern ในเรื่องของคุณภาพสินทรัพย์ ในช่วงที่มีการเร่งขยายตัวจะมี NPL สูงขึ้นด้วยเช่นกัน เราเลยต้องกลับมาพิจารณากันอีกทีว่าการเติบโตในอัตราที่สูงกว่านี้จะเป็นไปได้ไหม ถ้าเป็นไปได้ เราต้องปรับในเรื่องของกระบวนการติดตามหนี้ให้มากกว่านี้ได้อย่างไร เพื่อที่จะดูแลไม่ให้คุณภาพสินทรัพย์เกินไปกว่าเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้ ในจุดนี้เองต้องเรียนอย่างหนึ่งว่า ถึงแม้เราจะอยู่ในตลาดที่มีคู่แข่งที่เป็น Non Baank ให้ดูหลากหลาย บางครั้งอาจจะเทียบตรง  ๆไม่ได้เพราะว่าแต่ละคนค่อนข้างที่จะมี Target Section ไม่เหมือนกัน 
  • อีกส่วนหนึ่งคือว่าการบริหารจัดการ Loan Portfloio รวมทั้งการจัดการหนี้เสียอะไรต่าง ๆ ของแต่ละคน หรือ Non Bank จะมีกระบวนการไม่เหมือนกัน ขณะที่เราค่อนข้างมีมาตรฐานในแง่ของการของการจัดชั้นกันสํารองอะไรต่าง ๆใช้มาตรฐานเดียวกับธนาคาร 100%เพราะฉะนั้นการเทียบ  Apple to Apple อาจจะไม่ค่อย reflect มากนัก  
ธุรกิจตลาดทุนมีความผันผวน ธุรกิจ Asset Manaement ยังมีการเติบโตตามเป้าของปีนี้หรือไม่ 
  • จริง ๆ ตัวนี้เป็นที่เราค่อนข้างภาคภูมิใจ ที่ในภาวะตลาดที่ยากลําบากขนาดนี้ยังสามารถเติบโตได้เล็ก ๆ แล้วยังดูทิศทางว่ายังจะสามารถ built growth ได้เล็กน้อยต่อไป 
  • ตัวสําคัญเลยที่เป็นหนุนรายได้ใน ธุรกิจ Asset Management คือ ธุรกิจ Provident Fund Management เพราะว่า บลจ. มีไซส์ของProvident Fund  ใหญ่ที่สุดน่าจะเกินครึ่งของ AUM ที่บริหารทั้งหมด แล้วAssetส่วนนี้ค่อนข้างที่จะผันผวนน้อยกว่า Asset ประเภทอื่น หรือธุรกิจประเภทอื่น สามารถเติบโตได้แม้ภาวะตลาดทุนไม่ค่อยดีแล้ว 
  • แต่ถามว่าเติบโตตามเป้าหมาย อันนี้ต้องบอกว่าไม่ เพราะว่าจริง ๆ เป้าหมายเราเราคาดหวังการเติบโตมากกว่านี้ โดยเฉพาะธุรกิจการเติบโตจากธุรกิจประเภท Mutual Fund ถ้าในปีที่ตลาดทุนดี เราจะมีค่าธรรมเนียมจากธุรกิจนั้นเพิ่มขึ้นมาอีกมากกว่านี้เยอะ เพราะฉะนั้น เดิมทีเราคาดหมายการเติบโตของ Asset Manaement  ถึงใกล้ใกล้ 10%  แต่ว่าปีนี้เนื่องจากภาวะแย่ เลยแค่ทรง ๆ ตัว บวกให้เล็กน้อย 
ประมาณนั้น มาตรการคืนรถจบหนี้ 
  • ภาพใหญ่ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงและยังสามารถติดตามหนี้ส่วนที่ขาดจากกระบวนการยึดรถได้ ในเคสที่ไม่สามารถทําได้ อันนั้นน่าจะเป็น specific ของแต่ละเคสที่มี Development ในแง่ของกระบวนการติดตามที่ผิดพลาดอะไรต่าง  ๆ ซึ่งไม่ใช่ภาพรวมของของตลาด ซึ่งตรงอันนี้ยังยังสามารถติดตามหาหนี้ส่วนที่เหลือจาก จากค่าขาดราคาได้ตามปกติ 
ในปีนี้จะมีการปันผลอย่างไรบ้าง 
  • คงพูดได้ในแง่ของทิศทาง ปัจจุบันเรายังมี BIS Ratio / Tier1 Ratio นี้ค่อนข้างที่จะสูงคือ BIS Ratio เกิน 20  Tier1 คือ 18  ซึ่งจะสูงกว่า Minimum ค่อนข้างเยอะ ดังนั้น ไอ เดียคือว่าผลกําไรที่ทํามายังสามารถนํามาจ่ายปันผลได้เกือบทั้งหมด เพราะว่าเราไม่มีความที่จะต้องเก็บผลกําไรเอาไว้ เพื่อเสริมเงินกองทุนเข้าไปอีกจากระดับที่ค่อนข้างจะสูงอยู่แล้ว 
  • ในขณะที่ loan growth เอง ยังค่อนข้างต่ำ เรียกว่าปีนี้ไม่มี loan growth เลย เพราะฉะนั้น ไอเดียคือ กําไรเท่าไหร่ ยังสามารถเอากําไรมาจ่ายผลปันผลได้หมด เพราะฉะนั้นจะจ่ายได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับผลกําไรในแต่ละปี อันนี้คงให้เป็นไอเดียในลักษณะนั้น ทิศทางนี้คงน่าจะอยู่ไปอีกซักระยะนึง เพราะว่าเรายังไม่เห็นการว่า loan growth จะกลับมาได้อย่างแรงหรือว่ามีนัยยะสําคัญได้เร็วนัก เต็มที่คงจะเป็น Single Digit อยู่ไม่ว่าจะเป็นปีนี้หรือปีหน้า เพราะฉะนั้นในแง่ของความจําเป็นในแง่ของการเสริมสร้างเงินกองทุนเข้าไปอีก จากผลกําไรในแต่ละปีน่าจะมีน้อย 
NPL ยังขึ้นต่อไหม 
  • ยังขึ้นต่อ แต่สิ่งที่เราพยายามคือว่าเนื่องจากว่าเรายังมีstrategyในการขยายธุรกิจในกลุ่มที่เป็นHigh Yield อยู่ เพราะเพราะถึงแม้ว่า High Yield Business จะมีความเสี่ยงมากกว่า แต่ว่า Risk Adjust Return แล้ว ยังให้ ROE ดีกว่า เพราะฉะนั้นยังมีทิศทางในการขยาย High Yield Business  มากกว่า
  • ดังนั้นถ้าเกิดว่าขยายมิกซ์ High Yield  มากขึ้น NPL ย่อมต้องเพิ่มขึ้น แต่เราคงพยายามคอนโทรลไม่ให้ขึ้นอย่างรวดเร็ว ขึ้นให้เหมาะสมกับ Prifile ที่เปลี่ยนแปลงไป 
  • นั่นคือว่าการขึ้นของ NPL  ต้องสอดคล้องกับ Margin ที่เราสามารถ maintain หรือขยายได้จากการที่ไปที่ High Yield  ถึงจะถึงจะชดเชยกัน 
  • ง่าย ๆ ถ้าสมมุติว่า NPLเพิ่มขึ้นอีก จุดสอง นั่นหมายถึงว่า Spread เราควรที่จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยจุดสอง อันนี้คิดแบบง่าย ๆ แต่ว่าเอาในรายละเอียดจะมีวิธีการคิดที่ ซับซ้อนมากกว่านั้น เพราะฉะนั้น จะไม่มีคําว่าแล้วขึ้นไปถึงเท่าไหร่ คือขึ้นอยู่กับ Profile ที่ต้องการ 
  • แต่เราจะหยุดเมื่อไหร่ จริง  ๆ ในช่วงที่ผ่านมาเรามีการ pull back เรื่องของของการขยายสินเชื่อ High Yield ลงบ้าง เนื่องจากว่า  NPL ที่เพิ่มขึ้นบางส่วนในบาง Segment ดูที่จะมากไปกว่า Yield ที่สามาารถเพิ่มขึ้นได้กับพอร์ตโฟลิโอ เพราะฉะนั้น ตรงนั้นเราเองต้องชะลอกลับมาบางส่วน 
  • แต่ว่า ในทิศทางแล้ว ยังมีความคุ้มค่าในการขยายสินเชื่อ High Yield แต่ว่าต้องระมัดระวังมากขึ้นในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน 
การแข่งขันและลดราคาของ EV อย่างรุนแรง ส่งผลกระทบอย่างไรต่อบริษัทบ้าง 
  • ยอดขายรถที่ตกลง ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องภาวะเศรษฐกิจตรง  ๆ เพราะว่าในเซ็กเมนต์ที่เกี่ยวกับเรื่องของปิกอัพ ไม่มีอีวีมาเกี่ยว ยอดขายรถตกลงค่อนข้างเยอะ 
  • แต่ว่าในส่วนที่เป็น passenger car อันนี้ผมว่ามีผลกับโครงสร้างของตลาดอย่างมาก plaer เก่า  ๆ ถูก effect แรง แล้วมีคนใหม่เข้ามา  ในขณะที่ยอดขายรวม อาจจะไม่ได้ดีขนาดนั้น คือผู้ซื้ออาจจะมีกําลังซื้อมากกว่านี้ แต่ว่าเนื่องจากว่าEVเข้ามาทําแล้วแข่งกันลดราคา เลยมีการชะลอการซื้อออกไปอีก ทําให้ยอดขายรถถูกซ้ำเติมทําให้ระดับปัจจุบัน ตกต่ำค่อนข้างมาก อีกส่วนหนึ่งคือราคารถเก่าตกลงสูงสุดตั้งแต่ในช่วงต้นปีแต่ในช่วงนี้เริ่มฟื้นขึ้นมาบ้าง แต่ว่าความเสี่ยงต่อไปพี่ต้องมองดูว่าอาจจะเป็นยังไงคือว่าราคารถเก่าของ EV เองที่จะออกมามากขึ้นจะมีผลกระทบอย่างไร  
 ปัญหาความเชื่อมั่นของนักลงทุนปัจจุบันเยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องธรรมาภิบาล ผู้บริหาร การออกหุ้นกู้ การนําหุ้นไปเป็นหลักประกันเพื่อนําเงินมาใช้ เป็นต้น ท่านผู้บริหารมีวิธีแนะนํานักลงทุนให้สังเกตเพื่อให้รู้ทันผู้บริหารที่ขาดธรรมาภิบาลได้อย่างไรบ้าง 
  • อันนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายหนในตลาด จะว่าส่วนหนึ่งเป็นโชค ส่วนหนึ่งก็เป็นทีมงานเอง ที่ทำให้ที่ผ่านมาเราไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเคสต่าง ๆ ที่ออกกันมาทั้งในส่วนที่เป็นการปล่อยสินเชื่อหรือว่าลงทุนโดยตรง หรือว่าการบริหารเงินของลูกค้าภายใต้บลจ.เราไม่ได้มี exposure ในส่วนนั้น  
  • ผมว่าจุดหลัก ๆ ที่สําคัญคือต้องดู character  ของผู้บริหารว่ามีลักษณะ short term หรือ long term อีกส่วน บางครั้งบริษัที่ Fancy มากเกินไป โฆษณาตัวเองมากเกินไปอันนี้อาจจะต้องสังเกต สงสัย ไม่ได้บอกว่าคนที่โฆษณาตัวเองทุกคนจะไม่ดี แค่บอกว่าต้องสงสัยว่าทําไมต้องโฆษณาเองมาก เพราะอาจมีประเด็นแอบแฝงกันอยู่ 
  • ดังนั้นอาจจะต้องดูลักษณะพวกนี้เป็นหลักก่อน นอกนั้นคือเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ลงไปที่ฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน มองทิศทางของธุรกิจที่เป็นระยะยาวมากหน่อย 
  • โดยปกติแล้วบริษัทที่จะ Success ในเวลาอันรวดเร็วอย่างมาก อาจจะมีความแปลก ๆ กันอยู่ว่าจะสามารถ success กันได้ต่อไปในระยะยาวรึเปล่า งั้นบริษัทที่มี Track Record เป็นระยะเวลายาวนาน แล้วมีความมีเสถียรภาพของฐานะการเงิน ผลการดําเนินงานน่าจะเป็นอะไรที่น่าเชื่อถือได้มากกว่า 
 ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=slItXgO36NY  
 
 
 
thanonlongtun_p
Posts: 3145
Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm

Oppday Q3/2024 TISCO บมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
https://www.set.or.th/th/market/product ... y-snapshot
Post Reply