อวสานของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ? By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 23 ก.ย. 2566
การเปลี่ยนแปลงแนวทางการคิดภาษีการลงทุนหุ้นต่างประเทศเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน ซึ่งมีผลสำคัญก็คือ ทำให้คนที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศด้วยตนเองที่เริ่มมีมากขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดว่าการลงทุนหุ้นต่างประเทศนั้น “ไม่เสียภาษี” เหมือนการลงทุนในหุ้นไทย
ถ้าไม่นำเงินกลับมาในปีที่ขายหุ้น นักลงทุนที่ไปนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็หวังที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นไทย และต่างก็คิดว่าเงินที่นำออกไปลงทุนนั้น จะเป็นการลงทุนระยะยาวถึงยาวมาก เป็นการลงทุน
“เพื่อชีวิต” เป็นการลงทุน “เพื่อการเกษียณ” หรืออย่างน้อยก็ลงทุนหลายๆ ปี ต่างก็ “ช็อก” เพราะอยู่ ๆ ก็มีประกาศว่าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2567 เป็นต้นไป คนที่นำเงินที่ได้จากการลงทุนในต่างประเทศกลับมาจะต้องเสียภาษีตามอัตราบุคคลธรรมดา ซึ่งอาจจะเสียภาษีสูงสุดถึง 35%
ที่ทำให้ช็อกกว่าก็คือ เกณฑ์การเสียภาษีใหม่นั้น ถ้าคนที่ไปลงทุนอยู่แล้ว ไม่ต้องการลงทุนต่อและจะนำเงินกลับมาทันทีเพื่อเลี่ยงที่จะเสียภาษีที่จะเริ่มใช้ในต้นปีหน้า ส่วนใหญ่แล้วก็ทำไม่ได้ เพราะถ้าขายปีนี้เพื่อจะนำเงินกลับมาปีหน้าก็ทำไม่ทันแล้ว สรุปก็คือ เงินที่ออกไปแล้ว ตอนนี้ก็เหมือนกับ “ผู้ลี้ภัย” ที่ไม่สามารถกลับประเทศไทยที่เป็นเหมือน “บ้านเกิด” ได้
โดยเฉพาะถ้าออกไปแล้วทำผลตอบแทนได้ดีและมีกำไรมาก เพราะถ้ากลับมาก็อาจจะโดนเก็บภาษีถึง 35% หลายคนที่ประสบปัญหานี้ต่างก็คิดว่า บางที เงินนี้อาจจะต้อง “อยู่นอกประเทศ” ไปเรื่อย ๆ “เอาไว้ใช้เวลาที่ส่งลูกไปเรียนเมืองนอก” หรือไม่ก็หาวิธีที่จะนำเงินกลับมาโดยไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งก็น่าจะมีโอกาสอยู่บ้างเมื่อคิดถึงความก้าวหน้าในเรื่องเทคโนโลยีทางการเงินในปัจจุบัน
สำหรับคนที่ยังไม่ได้ออกไปลงทุนต่างประเทศจริง ๆ จัง ๆ แต่กำลังคิดที่จะไปเพราะเริ่มตระหนักว่า การลงทุนเฉพาะในประเทศไทยนั้น ไม่เพียงพอสำหรับการลงทุนที่จะสร้างผลตอบแทนหรือความมั่งคั่งหรือความมั่นคงทางด้านการเงินเพื่อทำให้ตนเองมีอิสรภาพทางการเงินเพื่อการเกษียณอย่างมีความสุขนั้น ถึงวันนี้ดูเหมือนว่าเส้นทางการลงทุนในต่างประเทศด้วยตนเองนั้น ถูก “ปิด” ลงไปแล้ว แม้ว่าเกณฑ์ใหม่ดังกล่าวจะยังต้องมีการกำหนด “รายละเอียด” อีกมากมายก่อนถึงวันกำหนดใช้
ประเด็นก็คือ ต่อให้หลักเกณฑ์หรือวิธีการกำหนดว่าจะต้องเสียภาษีอย่างไรชัดเจนขึ้น และอาจจะช่วยบรรเทาความยุ่งยากในการกำหนดจำนวนภาษีที่จะต้องจ่ายอย่าง “ยุติธรรม” ขึ้น แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอนาคตจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบ “กระทันหัน” อีก และอาจจะกระทบกับคนที่คิดว่าเขานำเงินออกไปลงทุนเพราะพอใจกับเกณฑ์ดังกล่าวนั้น พูดง่าย ๆ แนวทางที่รัฐบาลทำอยู่นั้น ได้เพิ่ม “Regulatory Risk” หรือ “ความเสี่ยงในด้านการออกกฎเกณฑ์” ของประเทศ ที่ทำให้นักลงทุนไม่อยากมาลงทุนถ้าหุ้นไม่ดีหรือไม่ถูกจริง ๆ ซึ่งนั่นก็จะทำให้การระดมทุนของตลาดทุนด้อยประสิทธิภาพลง
จริงอยู่ที่การลงทุนต่างประเทศสำหรับนักลงทุนรายบุคคลยังเป็นไปได้โดยการลงทุนผ่านกองทุนรวมและเครื่องมือเช่น DR หรือ ETF ที่ออกในประเทศไทยและเป็นเหมือนตัวแทนของหุ้นหรือหลักทรัพย์ในต่างประเทศได้ โดยที่ไม่ต้องเสียภาษีและถูกตีความเหมือนการลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับบริษัทหลักทรัพย์ที่จะเป็นคนเลือกหุ้นหรือกองทุนรวมในต่างประเทศที่เขาคิดว่าเหมาะสมในการลงทุนสำหรับบุคคลทั่วไป และก็มีจำนวนหุ้นและกองทุนที่จำกัดมากและก็มักจะเป็นหุ้นตัวใหญ่มากที่มักจะให้ผลตอบแทนแค่ “ดีพอใช้” ในระยะยาว
แต่สำหรับคนที่เป็น “VI ผู้มุ่งมั่น” หรือเป็นนักลงทุนที่มีความรู้และชาญฉลาดและอยากสร้างความมั่งคั่งเพื่อชีวิตโดยการลงทุนด้วยตนเองแล้ว การ “ตัด” ช่องทาง การลงทุนในตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วโลกอันเนื่องจากอัตราภาษีที่หนักเกินกว่าที่จะรับได้ ก็เหมือนกับการ “ประหาร” ชีวิตการเป็นนักลงทุนของพวกเขา มันคงคล้าย ๆ กับคนที่เป็นนักการเมืองโดยชีวิตจิตใจที่ถูกโทษตัดสิทธิห้ามมีตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต
แล้วคนที่เป็น VI ผู้มุ่งมั่นและได้ออกไปลงทุนในต่างประเทศ บางคนไปถึงครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าของความมั่งคั่งรวมอยู่แล้วจะทำอย่างไร? ที่ยิ่งหนักก็คือ ไปมานานหลายปีและมีกำไรที่ยังไม่ได้ขายมากอยู่แล้วจะทำอย่างไร?
คงไม่มีทางออกแบบเดียวสำหรับทุกคน เพราะแต่ละคนก็อยู่ในสถานะที่แตกต่างกันมาก เช่น 1) ขนาดของพอร์ตหุ้นต่างประเทศไม่เท่ากัน คนที่มีพอร์ตขนาดใหญ่ก็จะปรับได้ยากกว่าคนที่พอร์ตเล็ก 2) กำไรของพอร์ตที่มากหรือน้อย แต่ข้อนี้บางทีก็ต้องดูว่าข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของหุ้นมีครบถ้วนมากน้อยแค่ไหน เพราะผมเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่หรือแม้แต่โบรกเกอร์ก็อาจจะมีไม่ครบ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ หุ้นบางตัวก็มีการแจกหุ้นปันผลให้ เป็นต้น 3) ระยะเวลาที่เริ่มลงทุน ถ้าลงทุนมานานและมีการซื้อๆขายๆ และเปลี่ยนเป็นหุ้นตัวใหม่บ่อยๆ รวมถึงในพอร์ตมีหุ้นจำนวนมาก แบบนี้ก็ทำให้ไม่รู้ว่าเมื่อเอาเงินกลับมาจะประสบกับปัญหาการจ่ายภาษีอย่างไร
นอกจากเรื่องสถานะของพอร์ตแล้ว ก็ยังขึ้นอยู่กับความสามารถและแนวทางการลงทุนของแต่ละคน ประกอบกับสภาวะของตลาดหลักทรัพย์ไทยว่าเขามีมุมมองอย่างไร ถ้าคนที่ไปลงทุนต่างประเทศแล้วพบว่า นั่นคือสิ่งที่เขาจะสามารถทำได้ดีกว่าการลงทุนอยู่แต่ในตลาดไทยมากในภาวะปัจจุบันและอนาคตอาจจะ 10 ปีข้างหน้า แบบนี้เจ้าตัวก็จะต้องคิดว่าตนจะยอมลงทุนเฉพาะในตลาดไทยแห่งเดียวและทิ้งตลาดหุ้นอื่นทั้งหมดหรือไม่ หรือจะต้องยอมลงทุนภายใต้ “ลมต้าน”ซึ่งก็คือต้นทุนทางด้านภาษีหรืออาจจะมีอุปสรรคอย่างอื่นในตลาดหุ้นต่างประเทศ เป็นต้น
ส่วนตัวผมเอง ในฐานะที่เป็น VI พันธุ์แท้ที่มุ่งมั่นที่ยึดหลักการ “ลงทุนเพื่อชีวิต” และได้ผ่านชีวิตการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมายาวนาน รวมถึงได้ไปลงทุนในต่างประเทศมาเกือบ 10 ปี แล้วด้วยขนาดพอร์ตล่าสุดประมาณ 30% ของความมั่งคั่งทั้งหมด มีความเห็นว่า ณ. เวลานี้ เราไม่สามารถที่จะลงทุนเฉพาะในประเทศไทยได้ การลงทุนในต่างประเทศสำหรับผมมีความสำคัญไม่น้อยกว่าประเทศไทยแล้ว อนาคตอาจจะสำคัญยิ่งกว่า ดังนั้น ยังไงก็ต้องลงทุนในต่างประเทศด้วย
ประการต่อมาก็คือ จะต้องลงทุนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และไม่นำเงินกลับมาเลย เพราะจะถูกเก็บภาษีซึ่งจะลดผลตอบแทนไปมาก การ “ทบต้น” เงินลงทุนไปเรื่อย ๆ นั้น มีโอกาสสูงที่พอร์ตนั้นจะโตขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันหนึ่งที่เราอาจจะจำเป็นต้องใช้มันจึงค่อยหาทางว่าจะนำมาใช้ได้อย่างไรที่จะเสียภาษีน้อยที่สุดหรือไม่เสียภาษีเลย เช่น อาจจะเป็นการใช้ในต่างประเทศโดยที่เงินไม่ต้องเข้าประเทศไทยก่อน อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้เรายังอาจจะไม่รู้ว่าทำได้หรือไม่ เพราะเกณฑ์ต่าง ๆ ยังไม่แน่นอน และอนาคตก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้อีก
ในอีกแนวทางหนึ่งก็คือ การยอมจ่ายภาษีรายได้จากปันผลและกำไรจากการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ แต่ใช้วิธีบริหารภาษีให้ต้องจ่ายน้อยที่สุดและจ่ายช้าที่สุด เช่น ไม่ขายหุ้นบ่อยหรือขายหุ้นที่ขาดทุนมาชดเชยกำไรถ้าทำได้ในแต่ละปี เป็นต้น ซึ่งนี่ก็คล้ายๆ กับสิ่งที่บัฟเฟตต์ทำนั่นก็คือ ทบต้นผลกำไรที่ยังไม่รับรู้ไปเรื่อยๆ เพื่อชะลอการจ่ายภาษีไปให้ยาวนานที่สุด แต่ในที่สุดก็จะต้องจ่ายภาษีทั้งหมด แต่อาจจะจ่ายในอีกหลายสิบปีข้างหน้า ในระหว่างนั้น เงินหรือมูลค่าที่ยังค้างอยู่ในบริษัทก็สร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และนี่ก็คือโมเดลของเบิร์กไชร์ที่ทำมานานหลายสิบปีจนถึงวันนี้
ข้อที่ควรคำนึงสำหรับการปรับตัวรับกับอุปสรรคของการลงทุนครั้งนี้ก็คือ แนวโน้มของประเทศไทยที่อาจจะเริ่มเก็บภาษีมากขึ้นเรื่อยๆ ดูเหมือนจะหลีกเลี่ยงได้ยาก และการเก็บนั้นก็จะเน้นไปที่ “คนมีเงิน” หรือทำเงินได้มากนั่นก็คือ กลุ่มคนที่ “ลงทุน” ในธุรกิจใหญ่ ๆ ซึ่งก็คือ บริษัทในตลาดหุ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น ถ้าเราเป็นคนไทยในที่สุดก็ “หนีไม่พ้น” แม้ว่านายกคนใหม่จะประกาศเมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า จะไม่มีการเก็บภาษีหุ้น
ดังนั้น ผมเองคิดว่า ยุคทองของการลงทุนโดยเฉพาะของ VI ไทย ที่ทุกอย่างในประเทศและตลาดหุ้นไทยเอื้ออำนวยคงจะจบลงแล้ว ถ้าจะหา “สวรรค์ใหม่” ก็คงจะต้องไปลงทุนต่างประเทศและยอมเสียภาษีหุ้นเพิ่ม ซึ่งก็อาจจะไม่สามารถสร้างผลตอบแทนสุดยอดแบบที่เคยทำได้อีก
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1090063
บทความ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร จาก กรุงเทพธุรกิจ
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
หุ้นเปลี่ยนชีวิต
By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 30 ก.ย. 2566
นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงทุกคนผมเชื่อว่าจะต้องเคยลงทุนในหุ้นบางตัวที่วงการนักลงทุนผู้มุ่งมั่นเรียกว่าเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต”
นั่นก็คือหุ้นที่เขาลงทุนซื้อแล้ว ราคา หรือมูลค่าของหุ้นปรับตัวขึ้นไปมากแบบ “มโหฬาร=13px” บางทีเป็นหลาย ๆ เท่าหรือถึง 10 เท่าในเวลาไม่นาน อาจจะแค่ปีหรือสองปีหรือบางทีน้อยกว่านั้น แล้วเขาก็ขายไปพร้อม ๆ กับกำไรมหาศาล ไม่ใช่เพราะว่าเขาลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากเพียงอย่างเดียว
.แต่เป็นเพราะเขายังใช้มาร์จินหรือใช้บล็อกเทรดที่ขยายกำไรได้อีกเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัว หลังจากการขายหุ้นออกไป ชีวิตเขาก็เปลี่ยน จากนักลงทุนธรรมดาก็กลายเป็น “เศรษฐี” หุ้นตัวนั้นก็กลายเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ของเขา
หลังจากนั้น หุ้นตัวนั้นก็ตกลงมาอย่างแรง บางทีกลับมาเท่าเดิมตอนที่เขาซื้อหรือต่ำกว่า เพราะสิ่งที่ขับเคลื่อนให้หุ้นขึ้นไปเช่นผลกำไรที่ดีเลิศและเรื่องราวในอนาคตที่สวยหรูไม่ได้ดำเนินต่อไปแต่กลับไปในทางตรงกันข้าม กำไรของบริษัทที่เคยสูงหลุดโลกตกลงมามาก บางทีกลายเป็นขาดทุน อนาคตที่สวยหรูไม่เป็นไปตามที่คนเชื่อ
บางกรณีก็เกิดเหตุการณ์โกงหรือการหลอกลวงที่ปิดไว้ไม่อยู่อีกต่อไป นักลงทุนขาดความมั่นใจขายหุ้นทิ้ง ราคาหุ้นตกลงมาอย่างรุนแรงเกิน 70-80% กลายเป็น “คอร์เนอร์แตก” นักลงทุนจำนวนมากที่ขายหุ้นไม่ทัน รวมถึงนักลงทุนที่ซื้อหุ้นไว้จำนวนมากและใช้มาร์จินแบบเดียวกับคนที่เป็นเศรษฐีไปแล้ว ขาดทุนอย่างหนัก บางคนชีวิตก็เปลี่ยนเหมือนกัน แต่เปลี่ยนจากคน “เคยรวย” เป็นคนธรรมดาหรือเป็นยาจก
ดังนั้น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” นั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นหุ้นที่ดีมาก หรือเป็นหุ้นที่ดีตลอดหรือแม้แต่ดียาวนาน และก็เช่นเดียวกัน หุ้นที่เปลี่ยนชีวิตของคนบางคนก็อาจจะเป็น “หุ้นหายนะ”
สำหรับคนอื่นและอาจจะเป็นคนจำนวนมากด้วยก็ได้ โดยเฉพาะถ้าหุ้นเปลี่ยนชีวิตตัวนั้นไม่ใช่เป็นหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่มีคุณสมบัติสำคัญก็คือ เป็นบริษัทที่มีความเข้มแข็งทางธุรกิจ มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจที่ยั่งยืน มีกำไรที่ดีและเติบโตยาวนาน—เป็น 10 ปีขึ้นไปเป็นอย่างน้อย และหุ้นถูกซื้อใน “ราคาถูก หรือยุติธรรม”
หุ้น “เปลี่ยนชีวิต” ที่เป็นหุ้นของกิจการที่ดีมากในทางธุรกิจและต่อมากลายเป็นหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” นั้น ส่วนใหญ่มากก็มักจะไม่ได้เปลี่ยนชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่เข้าไปซื้อเลย มันจะ “เปลี่ยนชีวิต” เฉพาะคนที่ “มีความเชื่ออย่างแรงกล้า” ในคุณสมบัติของหุ้นตัวนั้นว่ามันจะเป็น “หุ้นซุปเปอร์สต็อก” และผลประกอบการจะดีขึ้นไปเรื่อยๆ ในอัตราที่ดีหรือดีมากต่อไปอีกเป็น 10 ปีเป็นอย่างน้อย
และเขาก็ทุ่มเงินจำนวนมากของเขาเข้าไปซื้อและถือไว้ยาวนาน บ่อยครั้งโดยเฉพาะในช่วงที่พอร์ตการลงทุนยังไม่ใหญ่ เขาจะถือหุ้นตัวนั้นตัวเดียวถึงกว่า 50% ของพอร์ต จากปกติที่เขามักจะมีการกระจายการถือครองหุ้นตัวหลัก ๆ อย่างน้อย 7-10 ตัว ขึ้นไป เป็นต้น
หุ้นเปลี่ยนชีวิตแนวซุปเปอร์สต็อกนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะไม่ได้เปลี่ยนชีวิตให้กับคนที่ลงทุนรวดเร็วขนาดแค่ภายใน 2-3 ปี แต่มักจะใช้เวลาอาจจะ 4-5 ปีขึ้นไปเป็นอย่างน้อย เพราะหุ้นเหล่านั้นเป็นแนว “หุ้นพื้นฐาน” ที่มักจะทำธุรกิจที่สม่ำเสมอและมั่นคงซึ่งก็มักจะส่งผลให้รายได้และกำไรค่อยๆ เติบโตไปปีแล้วปีเล่าในอัตราที่ค่อนข้างสูงประเภทเฉลี่ยปีละ 15-20% เป็นต้น
และในระหว่างนั้น ก็มักจะมีปีที่แย่เพราะเหตุการณ์ที่เศรษฐกิจแย่กว่าปกติ และปีที่ดีพิเศษที่บริษัทจะโตเร็วกว่าปกติขึ้นไปอีก เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร คนที่ลงทุนแล้วกลายเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ก็จะไม่ขายหุ้นทิ้งจนถึงวันหนึ่ง เขาก็จะกลายเป็นเศรษฐีเพราะถือหุ้นตัวนั้น
ในช่วงหลัง ๆ และในตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ที่มาแรงมากและสามารถเปลี่ยนชีวิตได้อย่างรวดเร็วก็คือ “หุ้นดิจิทัล-ไฮเทค ที่ประสบความสำเร็จ” ที่สามารถและกำลัง “เปลี่ยนโลก” ซึ่งอาจจะรวมถึงหุ้นอย่างเทสลาที่เป็นผู้นำรถยนต์ไฟฟ้าจากแบตเตอรี หุ้น NVIDIA ที่เป็นผู้นำทางด้าน AI เป็นต้น
แต่นั่นก็เช่นกัน การเข้าไปซื้อหุ้นลงทุนในหุ้นดิจิทัล-ไฮเทคที่ประสบความสำเร็จแล้ว ส่วนใหญ่ก็ไม่ทำให้เป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” เหตุผลสำคัญก็คือ หุ้นเหล่านั้นมักจะมีราคาสูงมากและอาจจะเกินพื้นฐานไปแล้ว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ราคาหุ้นขึ้นมาเป็นสิบๆ เท่าหรือมากกว่านั้นในเวลาไม่นาน อาจจะแค่ 2-3 ปี ซึ่งคนที่เข้าไปซื้อหุ้นลงทุนก่อนหน้านั้นด้วยเม็ดเงินจำนวนมากและอาจจะมากกว่า 50% ของพอร์ต และถือไว้จนถึงวันนี้ก็อาจจะเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” แต่คนที่เข้าไปซื้อหลังจากนั้นและในราคาที่สูงลิ่วแล้วด้วยเงินจำนวนมาก เขาก็จะไม่ได้อะไรเลย และไม่แน่ว่าถ้าถือต่อไปหุ้นก็อาจจะลงมาหนักและขาดทุนได้
มาดูตัวอย่างของการลงทุนใน “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ของวอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งผมวิเคราะห์เองว่าเป็นหุ้นตัวไหน ในความเป็นจริงตัวบัฟเฟตต์จะบอกได้ดีว่าเขาคิดว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้น “เปลี่ยนชีวิต” เขา บางทีเขาอาจจะบอกว่าเป็นหุ้นขายช็อกโกแล็ตซีแคนดี้ที่เป็นหุ้นตัวเล็กๆ ในพอร์ตของเขาในวันนี้ แต่ตอนที่ซื้อเมื่อหลายสิบปีก่อน ช่วงที่พอร์ตยังไม่ใหญ่และเขาไม่ได้มีชื่อเสียงขนาดนี้ ซีแคนดี้อาจจะเป็นตัวที่ “เปลี่ยนชีวิต” ก็เป็นได้
ผมคิดว่าหุ้นที่เป็นหุ้นเปลี่ยนชีวิตของบัฟเฟตต์ตัวแรกก็คือ หุ้นอเมริกันเอ็กซเพรสหรือ AMEX บริษัทบัตรเครดิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสมัยที่เทคโนโลยีทางการเงินยังไม่แพร่หลายในโลกเมื่อหลายสิบปีก่อน ในวันที่บัฟเฟตต์ซื้อ AMEX มีปัญหาฉาวโฉ่ เกิดการโกงขึ้นในธุรกิจทางการเงินอื่นที่ไม่เกี่ยวกับบัตรเครดิต ทำให้หุ้นตกลงมาอย่างหนัก บัฟเฟตต์คงเห็นว่าธุรกิจบัตรเครดิตนั้นยังปกติและยิ่งใหญ่เหมือนเดิมและจะเติบโตต่อไปอีกมาก เรียกว่าเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” แน่นอน เพราะราคาหุ้นที่ลงมาถูกมาก และปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เกิดครั้งเดียวและแก้ไขได้
มีเรื่องเล่าว่าบัฟเฟตต์ต้องออกไปสำรวจว่าร้านค้าและลูกค้ายังใช้บัตรของเอเม็กหรือเปล่า คำตอบคือ ทุกอย่างปกติ ซึ่งทำให้บัฟเฟตต์ทุ่มซื้อหุ้นเอเม็กจนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และกล้าใช้เงินลงทุนที่คิดแล้วสูงมากเป็นแนว “ตีแตก” ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ในช่วงหนึ่งมูลค่าหุ้นขึ้นไปถึง 50% ของพอร์ตซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนผู้ระมัดระวังพึงต้องหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตาม ภายในเวลาไม่นาน เอเม็กก็ให้ผลตอบแทนที่สูงมากและน่าจะทำให้ขนาดและความมั่งคั่งของพอร์ตของบัฟเฟตต์เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ
หุ้น “เปลี่ยนชีวิต” อีกตัวหนึ่งของบัฟเฟตต์นั้น ผมอยากจะเชื่อว่ามันคือหุ้น “แอปเปิล” ซึ่งบัฟเฟตต์เพิ่งเข้าไปซื้อลงทุนเมื่อไม่นานไม่กี่ปีมานี้เอง และจนถึงวันนี้ เขากลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของบริษัท ที่กลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีและบริษัทที่มีมูลค่าหุ้นที่สูงที่สุดในโลก ประเด็นสำคัญก็คือ บัฟเฟตต์ทุ่มเงินเข้าไปซื้อหุ้นมโหฬารและรวมกับการที่หุ้นปรับตัวขึ้นมามหาศาลในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ได้ทำให้หุ้นแอปเปิลมีมูลค่าสูงถึงกว่า 50% ของพอร์ตหุ้นของบัฟเฟตต์ และนั่นก็มีส่วนทำให้ผลตอบแทนการลงทุนของบัฟเฟตต์ที่ตกต่ำลงมากก่อนหน้านี้เมื่อเทียบกับตลาด กลับมาเป็นเท่ากับหรือดีกว่าตลาดได้ และนั่นก็จะทำให้บัฟเฟตต์ยังเป็น “ตำนานนักลงทุน” ที่ไม่ตกเลยแม้ในยุคใหม่ที่บริษัทเทคกำลังครองเมือง
ส่วนตัวผมเองนั้น หุ้นเปลี่ยนชีวิตของผมเกิดขึ้นน่าจะประมาณสิบกว่าปีมาแล้วที่ผมเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันจากร้านค้าดั้งเดิมเป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่เป็นเครือข่ายทั่วประเทศ อานิสงค์จากการที่ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นถึงจุดที่ต้องการความสะดวกและบริการที่ดี ว่าที่จริง ร้านค้าเกือบทุกประเภทก็กำลังเปลี่ยนแปลงเป็นแบบสมัยใหม่ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าอีกเป็น 10 ขึ้นไปมันจะต้องโตไปเรื่อย ๆ และถ้าเราพบว่าร้านเครือข่ายไหนจะเป็น “ผู้ชนะ” บริษัทนั้นจะต้องรุ่งเรืองไปยาวนานและผลกำไรจะดีขึ้นเรื่อยๆ
ที่สำคัญก็คือ ราคาหุ้นก็ไม่แพงเลย ดังนั้น ความมั่นใจของผมสูงมาก ผมจึงทุ่มซื้อหุ้นในกลุ่มนั้น และในหุ้นตัวหนึ่งที่ผมมั่นใจเป็นพิเศษผมได้ทุ่มเงินประมาณ 50% ของพอร์ตเข้าซื้อและถือยาวมาเรื่อยๆ พร้อมๆ กับการเติบโตของหุ้นขึ้นมากว่า 10 เท่าตัว และมันก็กลายเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ของผม
เมื่อย้อนดู หุ้นตัวนี้ก็ไม่ได้ให้ผลตอบแทนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุด ว่าที่จริงผลตอบแทนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของพอร์ตด้วยซ้ำ แต่เพราะว่าเป็นหุ้นตัวใหญ่มากในพอร์ต ผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าของเงินที่ได้รับจึงมากจนทำให้พอร์ตโตขึ้นจน “ชีวิตเปลี่ยน” ตั้งแต่อาจจะ 10 ปีที่แล้ว
แม้ว่าในวันนี้ หุ้นตัวนี้ก็อาจจะไม่เป็นหุ้นเปลี่ยนชีวิตของใครอีกต่อไป และแม้แต่ตัวผมเอง ความสำคัญของมันก็น้อยลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่ผมเองก็กำลังมองหา “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ตัวต่อไปในตลาดหุ้นเวียตนามที่ผมกำลังสงสัยว่าอาจจะเจอแล้วและก็พยายามเพิ่มการลงทุนให้มากขึ้น
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1091315
By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 30 ก.ย. 2566
นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงทุกคนผมเชื่อว่าจะต้องเคยลงทุนในหุ้นบางตัวที่วงการนักลงทุนผู้มุ่งมั่นเรียกว่าเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต”
นั่นก็คือหุ้นที่เขาลงทุนซื้อแล้ว ราคา หรือมูลค่าของหุ้นปรับตัวขึ้นไปมากแบบ “มโหฬาร=13px” บางทีเป็นหลาย ๆ เท่าหรือถึง 10 เท่าในเวลาไม่นาน อาจจะแค่ปีหรือสองปีหรือบางทีน้อยกว่านั้น แล้วเขาก็ขายไปพร้อม ๆ กับกำไรมหาศาล ไม่ใช่เพราะว่าเขาลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากเพียงอย่างเดียว
.แต่เป็นเพราะเขายังใช้มาร์จินหรือใช้บล็อกเทรดที่ขยายกำไรได้อีกเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัว หลังจากการขายหุ้นออกไป ชีวิตเขาก็เปลี่ยน จากนักลงทุนธรรมดาก็กลายเป็น “เศรษฐี” หุ้นตัวนั้นก็กลายเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ของเขา
หลังจากนั้น หุ้นตัวนั้นก็ตกลงมาอย่างแรง บางทีกลับมาเท่าเดิมตอนที่เขาซื้อหรือต่ำกว่า เพราะสิ่งที่ขับเคลื่อนให้หุ้นขึ้นไปเช่นผลกำไรที่ดีเลิศและเรื่องราวในอนาคตที่สวยหรูไม่ได้ดำเนินต่อไปแต่กลับไปในทางตรงกันข้าม กำไรของบริษัทที่เคยสูงหลุดโลกตกลงมามาก บางทีกลายเป็นขาดทุน อนาคตที่สวยหรูไม่เป็นไปตามที่คนเชื่อ
บางกรณีก็เกิดเหตุการณ์โกงหรือการหลอกลวงที่ปิดไว้ไม่อยู่อีกต่อไป นักลงทุนขาดความมั่นใจขายหุ้นทิ้ง ราคาหุ้นตกลงมาอย่างรุนแรงเกิน 70-80% กลายเป็น “คอร์เนอร์แตก” นักลงทุนจำนวนมากที่ขายหุ้นไม่ทัน รวมถึงนักลงทุนที่ซื้อหุ้นไว้จำนวนมากและใช้มาร์จินแบบเดียวกับคนที่เป็นเศรษฐีไปแล้ว ขาดทุนอย่างหนัก บางคนชีวิตก็เปลี่ยนเหมือนกัน แต่เปลี่ยนจากคน “เคยรวย” เป็นคนธรรมดาหรือเป็นยาจก
ดังนั้น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” นั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นหุ้นที่ดีมาก หรือเป็นหุ้นที่ดีตลอดหรือแม้แต่ดียาวนาน และก็เช่นเดียวกัน หุ้นที่เปลี่ยนชีวิตของคนบางคนก็อาจจะเป็น “หุ้นหายนะ”
สำหรับคนอื่นและอาจจะเป็นคนจำนวนมากด้วยก็ได้ โดยเฉพาะถ้าหุ้นเปลี่ยนชีวิตตัวนั้นไม่ใช่เป็นหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่มีคุณสมบัติสำคัญก็คือ เป็นบริษัทที่มีความเข้มแข็งทางธุรกิจ มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจที่ยั่งยืน มีกำไรที่ดีและเติบโตยาวนาน—เป็น 10 ปีขึ้นไปเป็นอย่างน้อย และหุ้นถูกซื้อใน “ราคาถูก หรือยุติธรรม”
หุ้น “เปลี่ยนชีวิต” ที่เป็นหุ้นของกิจการที่ดีมากในทางธุรกิจและต่อมากลายเป็นหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” นั้น ส่วนใหญ่มากก็มักจะไม่ได้เปลี่ยนชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่เข้าไปซื้อเลย มันจะ “เปลี่ยนชีวิต” เฉพาะคนที่ “มีความเชื่ออย่างแรงกล้า” ในคุณสมบัติของหุ้นตัวนั้นว่ามันจะเป็น “หุ้นซุปเปอร์สต็อก” และผลประกอบการจะดีขึ้นไปเรื่อยๆ ในอัตราที่ดีหรือดีมากต่อไปอีกเป็น 10 ปีเป็นอย่างน้อย
และเขาก็ทุ่มเงินจำนวนมากของเขาเข้าไปซื้อและถือไว้ยาวนาน บ่อยครั้งโดยเฉพาะในช่วงที่พอร์ตการลงทุนยังไม่ใหญ่ เขาจะถือหุ้นตัวนั้นตัวเดียวถึงกว่า 50% ของพอร์ต จากปกติที่เขามักจะมีการกระจายการถือครองหุ้นตัวหลัก ๆ อย่างน้อย 7-10 ตัว ขึ้นไป เป็นต้น
หุ้นเปลี่ยนชีวิตแนวซุปเปอร์สต็อกนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะไม่ได้เปลี่ยนชีวิตให้กับคนที่ลงทุนรวดเร็วขนาดแค่ภายใน 2-3 ปี แต่มักจะใช้เวลาอาจจะ 4-5 ปีขึ้นไปเป็นอย่างน้อย เพราะหุ้นเหล่านั้นเป็นแนว “หุ้นพื้นฐาน” ที่มักจะทำธุรกิจที่สม่ำเสมอและมั่นคงซึ่งก็มักจะส่งผลให้รายได้และกำไรค่อยๆ เติบโตไปปีแล้วปีเล่าในอัตราที่ค่อนข้างสูงประเภทเฉลี่ยปีละ 15-20% เป็นต้น
และในระหว่างนั้น ก็มักจะมีปีที่แย่เพราะเหตุการณ์ที่เศรษฐกิจแย่กว่าปกติ และปีที่ดีพิเศษที่บริษัทจะโตเร็วกว่าปกติขึ้นไปอีก เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร คนที่ลงทุนแล้วกลายเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ก็จะไม่ขายหุ้นทิ้งจนถึงวันหนึ่ง เขาก็จะกลายเป็นเศรษฐีเพราะถือหุ้นตัวนั้น
ในช่วงหลัง ๆ และในตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ที่มาแรงมากและสามารถเปลี่ยนชีวิตได้อย่างรวดเร็วก็คือ “หุ้นดิจิทัล-ไฮเทค ที่ประสบความสำเร็จ” ที่สามารถและกำลัง “เปลี่ยนโลก” ซึ่งอาจจะรวมถึงหุ้นอย่างเทสลาที่เป็นผู้นำรถยนต์ไฟฟ้าจากแบตเตอรี หุ้น NVIDIA ที่เป็นผู้นำทางด้าน AI เป็นต้น
แต่นั่นก็เช่นกัน การเข้าไปซื้อหุ้นลงทุนในหุ้นดิจิทัล-ไฮเทคที่ประสบความสำเร็จแล้ว ส่วนใหญ่ก็ไม่ทำให้เป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” เหตุผลสำคัญก็คือ หุ้นเหล่านั้นมักจะมีราคาสูงมากและอาจจะเกินพื้นฐานไปแล้ว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ราคาหุ้นขึ้นมาเป็นสิบๆ เท่าหรือมากกว่านั้นในเวลาไม่นาน อาจจะแค่ 2-3 ปี ซึ่งคนที่เข้าไปซื้อหุ้นลงทุนก่อนหน้านั้นด้วยเม็ดเงินจำนวนมากและอาจจะมากกว่า 50% ของพอร์ต และถือไว้จนถึงวันนี้ก็อาจจะเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” แต่คนที่เข้าไปซื้อหลังจากนั้นและในราคาที่สูงลิ่วแล้วด้วยเงินจำนวนมาก เขาก็จะไม่ได้อะไรเลย และไม่แน่ว่าถ้าถือต่อไปหุ้นก็อาจจะลงมาหนักและขาดทุนได้
มาดูตัวอย่างของการลงทุนใน “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ของวอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งผมวิเคราะห์เองว่าเป็นหุ้นตัวไหน ในความเป็นจริงตัวบัฟเฟตต์จะบอกได้ดีว่าเขาคิดว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้น “เปลี่ยนชีวิต” เขา บางทีเขาอาจจะบอกว่าเป็นหุ้นขายช็อกโกแล็ตซีแคนดี้ที่เป็นหุ้นตัวเล็กๆ ในพอร์ตของเขาในวันนี้ แต่ตอนที่ซื้อเมื่อหลายสิบปีก่อน ช่วงที่พอร์ตยังไม่ใหญ่และเขาไม่ได้มีชื่อเสียงขนาดนี้ ซีแคนดี้อาจจะเป็นตัวที่ “เปลี่ยนชีวิต” ก็เป็นได้
ผมคิดว่าหุ้นที่เป็นหุ้นเปลี่ยนชีวิตของบัฟเฟตต์ตัวแรกก็คือ หุ้นอเมริกันเอ็กซเพรสหรือ AMEX บริษัทบัตรเครดิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสมัยที่เทคโนโลยีทางการเงินยังไม่แพร่หลายในโลกเมื่อหลายสิบปีก่อน ในวันที่บัฟเฟตต์ซื้อ AMEX มีปัญหาฉาวโฉ่ เกิดการโกงขึ้นในธุรกิจทางการเงินอื่นที่ไม่เกี่ยวกับบัตรเครดิต ทำให้หุ้นตกลงมาอย่างหนัก บัฟเฟตต์คงเห็นว่าธุรกิจบัตรเครดิตนั้นยังปกติและยิ่งใหญ่เหมือนเดิมและจะเติบโตต่อไปอีกมาก เรียกว่าเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” แน่นอน เพราะราคาหุ้นที่ลงมาถูกมาก และปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เกิดครั้งเดียวและแก้ไขได้
มีเรื่องเล่าว่าบัฟเฟตต์ต้องออกไปสำรวจว่าร้านค้าและลูกค้ายังใช้บัตรของเอเม็กหรือเปล่า คำตอบคือ ทุกอย่างปกติ ซึ่งทำให้บัฟเฟตต์ทุ่มซื้อหุ้นเอเม็กจนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และกล้าใช้เงินลงทุนที่คิดแล้วสูงมากเป็นแนว “ตีแตก” ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ในช่วงหนึ่งมูลค่าหุ้นขึ้นไปถึง 50% ของพอร์ตซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนผู้ระมัดระวังพึงต้องหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตาม ภายในเวลาไม่นาน เอเม็กก็ให้ผลตอบแทนที่สูงมากและน่าจะทำให้ขนาดและความมั่งคั่งของพอร์ตของบัฟเฟตต์เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ
หุ้น “เปลี่ยนชีวิต” อีกตัวหนึ่งของบัฟเฟตต์นั้น ผมอยากจะเชื่อว่ามันคือหุ้น “แอปเปิล” ซึ่งบัฟเฟตต์เพิ่งเข้าไปซื้อลงทุนเมื่อไม่นานไม่กี่ปีมานี้เอง และจนถึงวันนี้ เขากลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของบริษัท ที่กลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีและบริษัทที่มีมูลค่าหุ้นที่สูงที่สุดในโลก ประเด็นสำคัญก็คือ บัฟเฟตต์ทุ่มเงินเข้าไปซื้อหุ้นมโหฬารและรวมกับการที่หุ้นปรับตัวขึ้นมามหาศาลในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ได้ทำให้หุ้นแอปเปิลมีมูลค่าสูงถึงกว่า 50% ของพอร์ตหุ้นของบัฟเฟตต์ และนั่นก็มีส่วนทำให้ผลตอบแทนการลงทุนของบัฟเฟตต์ที่ตกต่ำลงมากก่อนหน้านี้เมื่อเทียบกับตลาด กลับมาเป็นเท่ากับหรือดีกว่าตลาดได้ และนั่นก็จะทำให้บัฟเฟตต์ยังเป็น “ตำนานนักลงทุน” ที่ไม่ตกเลยแม้ในยุคใหม่ที่บริษัทเทคกำลังครองเมือง
ส่วนตัวผมเองนั้น หุ้นเปลี่ยนชีวิตของผมเกิดขึ้นน่าจะประมาณสิบกว่าปีมาแล้วที่ผมเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันจากร้านค้าดั้งเดิมเป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่เป็นเครือข่ายทั่วประเทศ อานิสงค์จากการที่ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นถึงจุดที่ต้องการความสะดวกและบริการที่ดี ว่าที่จริง ร้านค้าเกือบทุกประเภทก็กำลังเปลี่ยนแปลงเป็นแบบสมัยใหม่ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าอีกเป็น 10 ขึ้นไปมันจะต้องโตไปเรื่อย ๆ และถ้าเราพบว่าร้านเครือข่ายไหนจะเป็น “ผู้ชนะ” บริษัทนั้นจะต้องรุ่งเรืองไปยาวนานและผลกำไรจะดีขึ้นเรื่อยๆ
ที่สำคัญก็คือ ราคาหุ้นก็ไม่แพงเลย ดังนั้น ความมั่นใจของผมสูงมาก ผมจึงทุ่มซื้อหุ้นในกลุ่มนั้น และในหุ้นตัวหนึ่งที่ผมมั่นใจเป็นพิเศษผมได้ทุ่มเงินประมาณ 50% ของพอร์ตเข้าซื้อและถือยาวมาเรื่อยๆ พร้อมๆ กับการเติบโตของหุ้นขึ้นมากว่า 10 เท่าตัว และมันก็กลายเป็น “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ของผม
เมื่อย้อนดู หุ้นตัวนี้ก็ไม่ได้ให้ผลตอบแทนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุด ว่าที่จริงผลตอบแทนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของพอร์ตด้วยซ้ำ แต่เพราะว่าเป็นหุ้นตัวใหญ่มากในพอร์ต ผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าของเงินที่ได้รับจึงมากจนทำให้พอร์ตโตขึ้นจน “ชีวิตเปลี่ยน” ตั้งแต่อาจจะ 10 ปีที่แล้ว
แม้ว่าในวันนี้ หุ้นตัวนี้ก็อาจจะไม่เป็นหุ้นเปลี่ยนชีวิตของใครอีกต่อไป และแม้แต่ตัวผมเอง ความสำคัญของมันก็น้อยลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่ผมเองก็กำลังมองหา “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” ตัวต่อไปในตลาดหุ้นเวียตนามที่ผมกำลังสงสัยว่าอาจจะเจอแล้วและก็พยายามเพิ่มการลงทุนให้มากขึ้น
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1091315
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
เลือดนองตลาดหุ้น By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 07 ต.ค. 2566
ตั้งแต่สิ้นเดือนส.ค. 66 ถึง วันที่ 7 ต.ค. 66 คิดเป็นเวลาเพียง เดือนกว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกลงมาอย่างต่อเนื่องประมาณ 8% ไปแล้ว
อานิสงส์ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการตกลงมาอย่างแรงของดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐเช่น ดัชนี S&P 500 ที่ตกลงมาประมาณ 4.4% และดัชนี NASDAQ ที่ตกลงมาประมาณ 4.3% ในช่วงเวลาเดียวกันโดยที่ดัชนีหุ้นสหรัฐที่ตกลงมาน่าจะมาจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางจนสูงขึ้นไปกว่า 5% ต่อปีไปแล้วและอาจจะมีโอกาสขึ้นต่อในอนาคตอีกด้วยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อที่ยังไม่ลดลงจนถึงจุดที่เหมาะสม
แต่ความแตกต่างของตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ที่ว่า ตั้งแต่ต้นปีมานั้น ดัชนี S&P ยังบวกถึง 12.7% และ NASDAQ ยังบวกถึง 29.3% และยังเป็นระดับดัชนีที่ใกล้เคียงกับระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีมานี้ ในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยนั้นยังต่ำกว่าดัชนีตอนต้นปีอยู่ถึง 13.8% และอยู่ในระดับประมาณเท่ากับเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่ 1,438 จุด สถานการณ์ตลาดหุ้นในช่วงเวลานี้สำหรับทั้งตลาดหุ้นไทยและต่างประเทศเขาเรียกกันว่า “เลือดนองตลาดหุ้น”
เหตุผลของตลาดหุ้นไทยที่ตกลงมา “ตามตลาดหุ้นต่างประเทศ” ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานั้น ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญมากนัก แต่การที่หุ้นแย่มาหลายๆ ปีมาก และในปีนี้ก็แย่กว่าหุ้น “ทั้งโลก” นั้น เป็นเรื่องที่ผมพยายามหาคำตอบว่า ทำไม? ทั้งๆ ที่ตอนต้นปีเราก็ยังมีความหวังกันมากว่าหุ้นไทยน่าจะดีขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากเดิมที่ “ไม่เป็นประชาธิปไตย” มานานถึง 10 ปี กลายเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ และเป็นรัฐบาลที่ “เกื้อหนุนระบบทุนนิยม”
ในการอธิบาย คาดการณ์ และประเมินตลาดหรือดัชนีหุ้นของไทยนั้น ผมเองมักจะใช้ปัจจัยสำคัญ ๆ ที่ผมคิดว่ามีผลต่อดัชนีหุ้นไทยมากที่สุดจากประสบการณ์ของผมประกอบกับเหตุผลทางเศรษฐศาตร์ที่เป็นที่ยอมรับกันมานานดังต่อไปนี้
ปัจจัยแรกก็คือ การปรับตัวขึ้น-ลงของดัชนีหุ้นในแต่ละปีนั้นมักจะขึ้นอยู่กับภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนั้นว่าดีหรือแย่เมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยที่ควรจะเป็นของเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลานั้น ซึ่งในกรณีของปีนี้ดูเหมือนว่าอัตราการเติบโตของไทยจะแย่ลงอานิสงส์จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำลงมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นปีและน่าจะถึงสิ้นปีนี้ และก็มีการคาดการณ์ว่า GDP ของไทยน่าจะโตไม่เกิน 3% จากเดิมที่คิดว่าสูงกว่า ดังนั้น นี่เป็นปัจจัยลบตัวสำคัญตัวแรก
เรื่องที่สองก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่มักจะอิงกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของแบงก์ชาติ ซึ่งก็มักจะอิงไปกับดอกเบี้ยของสหรัฐในระดับหนึ่ง ถ้าปีไหนอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ตลาดหรือดัชนีหุ้นก็มีโอกาสปรับตัวขึ้น เพราะผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยนั้นถือว่ารุนแรงกว่าเรื่องของ GDP ด้วยซ้ำ แต่ถ้าปีไหนอัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นและยังไม่มีแนวโน้มจะลดลง หุ้นก็อาจจะตกแรง และนี่ก็คือสถานการณ์ของไทยที่ล่าสุดมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นและยังไม่มีทีท่าที่จะลดลง ซึ่งก็จะถือว่าปัจจัยตัวนี้ก็เป็นลบต่อดัชนีหุ้น
ประเด็นที่สามซึ่งก็มีผลรุนแรงและอาจจะมีผลโดยตรงต่อหุ้นก็คือ กำไรของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ซึ่งในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมามีกำไรรวมกันประมาณ 5 แสนล้าน ลดลงจากปีที่แล้วที่อยู่ที่ 6 แสนล้านบาทหรือประมาณ 17% ถ้าคิดว่าทั้งปีจะมีกำไร 1 ล้านล้านบาท ก็จะทำให้ปีนี้มีกำไรพอๆ กับปีที่แล้ว ซึ่งก็จะถือว่าไม่มีการเติบโต และนั่นก็ถือว่าเป็นปัจจัยลบอีกตัวหนึ่งแม้ว่าจะลบไม่มาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองย้อนหลังกลับไปประมาณ 5 ปี ก็จะพบอีกว่า กำไรรวมของบริษัทจดทะเบียนก็อยู่ในระดับนี้มาตลอดคือปีละประมาณ 1 ล้านล้านบาทมาไม่น้อยกว่า 5 ปีแล้ว และนั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมในช่วงไม่น้อยกว่า 5 ปีที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยก็ไม่ไปไหน
ปัจจัยที่ 4 คือเรื่องของความถูก-ความแพงของตลาดหุ้น ที่ผมวัดด้วยค่า P/E ตลาด เพราะจากการสังเกตของผมมายาวนาน ปีใดที่เริ่มต้นปีที่ตลาดมีค่า P/E สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงนั้นมาก ดัชนีตลาดในปีนั้นก็มักจะไม่ดี ตรงกันข้าม ถ้าเริ่มด้วยค่า P/E ที่ต่ำมาก เช่นในช่วงหลังวิกฤติตลาดหุ้นที่ทำให้หุ้นตกลงไปมากและค่า P/E ต่ำลงมากเช่น เหลือแค่ 6-7 เท่า ตลาดหุ้นก็จะดี ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปสูงมาก เป็นต้น
ในช่วงปี 2566 น่าจะเกือบทั้งปี ดูเหมือนว่าค่า P/E ของตลาดอยู่ในระดับกลางๆ ที่ประมาณ 17-18 เท่า ไม่ถูกหรือแพงในระดับของตลาดไทยที่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปค่อนข้างต่ำ ดังนั้น ผมคิดว่าปัจจัยตัวนี้เป็นกลาง ไม่บวกหรือลบ
ปัจจัยที่ 5 ซึ่งผมคิดว่ามีผลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยมาช้านานตั้งแต่ผมเริ่มลงทุนก็คือ การซื้อหรือขายหุ้นสุทธิของชาวต่างประเทศ ตั้งแต่ต้นปีมาถึงวันนี้ ชาวต่างชาติขายหุ้นสุทธิไปแล้วประมาณ 160,000 ล้านบาท และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลงมาต่อเนื่อง เป็นปัจจัยลบกับตลาดหุ้นไทย และว่าที่จริงในช่วงประมาณน่าจะเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยเกือบทุกปี คิดรวมแล้วก็เกือบ 1 ล้านล้านบาท และอาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไม 10 ปีที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยจึงไม่ไปไหนเลย
ยังมี “ปัจจัยที่ 6” ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาจจะไม่ได้คาดคิด แต่มีผลรุนแรงทั้งทางบวกและลบต่อดัชนีหุ้นได้ ตัวอย่างเช่น การเกิดวิกฤติซับไพร์มในปี 2008 และเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่เป็นลบต่อดัชนีตลาดหุ้น ตัวอย่างของเหตุการณ์ในทางบวกก็เช่น การลดภาษีนิติบุคคลในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในปี 2555-2556 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าปัจจัยที่ 6 นั้น ส่วนใหญ่น่าจะเป็นลบมากกว่าบวก และในกรณีที่เป็นบวกก็มักจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาก่อนที่จะเกิดผลกระทบ
ผมเองคิดว่าปัจจัยที่ 6 ของตลาดหุ้นไทยที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นในปีนี้ก็คือ เรื่องของกลุ่มหุ้นที่ผมเรียกว่าเป็นหุ้นที่ “ถูกคอร์เนอร์” ซึ่งผมนิยามว่าเป็นหุ้นที่มีราคาแพงมากผิดปกติ เช่น มีค่า “P/E คิดจากกำไรปกติ” สูงเกิน 40-50 เท่าขึ้นไป และเป็นหุ้นที่มี Free Float หรือหุ้นที่อยู่ในมือของ “นักลงทุน” คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำหรือต่ำมาก จนทำให้นักลงทุนบางกลุ่มสามารถกวาดซื้อหุ้นจนทำให้หุ้นถูก “ต้อนเข้ามุม” ดันราคาให้ขึ้นไปสูงมากเกินพื้นฐานที่แท้จริง ซึ่งวันหนึ่ง “คอร์เนอร์” ก็จะ “แตก” และราคาหุ้นก็จะลดลงมาอย่างมาก อย่างน้อยถึง 30% ขึ้นไป โดยที่อาจจะไม่ได้มีเหตุอะไรสำคัญเกิดขึ้นกับบริษัทเลย
ในความเชื่อของผมก็คือ ราคาหรือมูลค่าหุ้นกลุ่มที่ถูกคอร์เนอร์โดยเฉพาะตัวใหญ่ ๆ ในตลาดหุ้นไทยนั้น สูงกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นรวม ๆ แล้วน่าจะไม่ต่ำกว่า 700,000-800,000 ล้านบาท ตัวเลขคร่าวๆ น่าจะประมาณซัก 1 ล้านล้านบาท จากมูลค่าหุ้นรวมทั้งตลาดที่ประมาณ 17.7 ล้านล้านบาทก็คือประมาณ 5% ซึ่งถ้าคอร์เนอร์ “แตก” ดัชนีก็จะลดลงไปได้อีก 5% และนี่ก็คือปัจจัยลบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ว่าที่จริงในช่วงนี้เราก็เริ่มเห็นว่าหุ้นที่ถูกคอร์เนอร์จำนวนมาก โดยเฉพาะหุ้นตัวเล็ก ๆ มีราคาตกลงมามากโดยไม่ได้มีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไร ซึ่งเป็นอาการ “คอร์เนอร์แตก” นั่นเอง
โดยสรุปจากการวิเคราะห์ของผม ในปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นรุนแรง 6 ปัจจัย มีเพียง 1-2 ปัจจัย คือเรื่องของความถูกความแพงที่วัดจากค่า P/E ของตลาดที่ไม่ได้สูงกว่าปกติ และกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่คงจะไม่ถึงกับลดลงเมื่อครบปี ที่ไม่ได้เป็นปัจจัยลบต่อดัชนีตลาดหุ้นในปีนี้
นอกจากนั้นแล้ว ปัจจัยอื่นๆ อีก 4 ปัจจัย ดูเหมือนว่าจะไม่เอื้ออำนวยต่อดัชนีหุ้นเลย กล่าวคือการเติบโตของ GDP ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเหลือแค่ 2.8% อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นถึง 2.5% จากที่ไม่เกิน 2% มานาน และยังไม่สามารถปรับลงได้จนถึงสิ้นปี การขายหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างชาติที่ 1.6 แสนล้านบาท และยังน่าจะขายเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี และสุดท้ายก็คือ ภาวะ “หุ้นคอร์เนอร์แตก” ที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นซึ่งมีศักยภาพที่จะทำให้มูลค่าตลาดหายไปได้อีก 1 ล้านล้านบาท
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1092575
ตั้งแต่สิ้นเดือนส.ค. 66 ถึง วันที่ 7 ต.ค. 66 คิดเป็นเวลาเพียง เดือนกว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกลงมาอย่างต่อเนื่องประมาณ 8% ไปแล้ว
อานิสงส์ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการตกลงมาอย่างแรงของดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐเช่น ดัชนี S&P 500 ที่ตกลงมาประมาณ 4.4% และดัชนี NASDAQ ที่ตกลงมาประมาณ 4.3% ในช่วงเวลาเดียวกันโดยที่ดัชนีหุ้นสหรัฐที่ตกลงมาน่าจะมาจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางจนสูงขึ้นไปกว่า 5% ต่อปีไปแล้วและอาจจะมีโอกาสขึ้นต่อในอนาคตอีกด้วยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อที่ยังไม่ลดลงจนถึงจุดที่เหมาะสม
แต่ความแตกต่างของตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ที่ว่า ตั้งแต่ต้นปีมานั้น ดัชนี S&P ยังบวกถึง 12.7% และ NASDAQ ยังบวกถึง 29.3% และยังเป็นระดับดัชนีที่ใกล้เคียงกับระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีมานี้ ในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยนั้นยังต่ำกว่าดัชนีตอนต้นปีอยู่ถึง 13.8% และอยู่ในระดับประมาณเท่ากับเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่ 1,438 จุด สถานการณ์ตลาดหุ้นในช่วงเวลานี้สำหรับทั้งตลาดหุ้นไทยและต่างประเทศเขาเรียกกันว่า “เลือดนองตลาดหุ้น”
เหตุผลของตลาดหุ้นไทยที่ตกลงมา “ตามตลาดหุ้นต่างประเทศ” ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานั้น ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญมากนัก แต่การที่หุ้นแย่มาหลายๆ ปีมาก และในปีนี้ก็แย่กว่าหุ้น “ทั้งโลก” นั้น เป็นเรื่องที่ผมพยายามหาคำตอบว่า ทำไม? ทั้งๆ ที่ตอนต้นปีเราก็ยังมีความหวังกันมากว่าหุ้นไทยน่าจะดีขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากเดิมที่ “ไม่เป็นประชาธิปไตย” มานานถึง 10 ปี กลายเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ และเป็นรัฐบาลที่ “เกื้อหนุนระบบทุนนิยม”
ในการอธิบาย คาดการณ์ และประเมินตลาดหรือดัชนีหุ้นของไทยนั้น ผมเองมักจะใช้ปัจจัยสำคัญ ๆ ที่ผมคิดว่ามีผลต่อดัชนีหุ้นไทยมากที่สุดจากประสบการณ์ของผมประกอบกับเหตุผลทางเศรษฐศาตร์ที่เป็นที่ยอมรับกันมานานดังต่อไปนี้
ปัจจัยแรกก็คือ การปรับตัวขึ้น-ลงของดัชนีหุ้นในแต่ละปีนั้นมักจะขึ้นอยู่กับภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนั้นว่าดีหรือแย่เมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยที่ควรจะเป็นของเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลานั้น ซึ่งในกรณีของปีนี้ดูเหมือนว่าอัตราการเติบโตของไทยจะแย่ลงอานิสงส์จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำลงมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นปีและน่าจะถึงสิ้นปีนี้ และก็มีการคาดการณ์ว่า GDP ของไทยน่าจะโตไม่เกิน 3% จากเดิมที่คิดว่าสูงกว่า ดังนั้น นี่เป็นปัจจัยลบตัวสำคัญตัวแรก
เรื่องที่สองก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่มักจะอิงกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของแบงก์ชาติ ซึ่งก็มักจะอิงไปกับดอกเบี้ยของสหรัฐในระดับหนึ่ง ถ้าปีไหนอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ตลาดหรือดัชนีหุ้นก็มีโอกาสปรับตัวขึ้น เพราะผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยนั้นถือว่ารุนแรงกว่าเรื่องของ GDP ด้วยซ้ำ แต่ถ้าปีไหนอัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นและยังไม่มีแนวโน้มจะลดลง หุ้นก็อาจจะตกแรง และนี่ก็คือสถานการณ์ของไทยที่ล่าสุดมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นและยังไม่มีทีท่าที่จะลดลง ซึ่งก็จะถือว่าปัจจัยตัวนี้ก็เป็นลบต่อดัชนีหุ้น
ประเด็นที่สามซึ่งก็มีผลรุนแรงและอาจจะมีผลโดยตรงต่อหุ้นก็คือ กำไรของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ซึ่งในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมามีกำไรรวมกันประมาณ 5 แสนล้าน ลดลงจากปีที่แล้วที่อยู่ที่ 6 แสนล้านบาทหรือประมาณ 17% ถ้าคิดว่าทั้งปีจะมีกำไร 1 ล้านล้านบาท ก็จะทำให้ปีนี้มีกำไรพอๆ กับปีที่แล้ว ซึ่งก็จะถือว่าไม่มีการเติบโต และนั่นก็ถือว่าเป็นปัจจัยลบอีกตัวหนึ่งแม้ว่าจะลบไม่มาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองย้อนหลังกลับไปประมาณ 5 ปี ก็จะพบอีกว่า กำไรรวมของบริษัทจดทะเบียนก็อยู่ในระดับนี้มาตลอดคือปีละประมาณ 1 ล้านล้านบาทมาไม่น้อยกว่า 5 ปีแล้ว และนั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมในช่วงไม่น้อยกว่า 5 ปีที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยก็ไม่ไปไหน
ปัจจัยที่ 4 คือเรื่องของความถูก-ความแพงของตลาดหุ้น ที่ผมวัดด้วยค่า P/E ตลาด เพราะจากการสังเกตของผมมายาวนาน ปีใดที่เริ่มต้นปีที่ตลาดมีค่า P/E สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงนั้นมาก ดัชนีตลาดในปีนั้นก็มักจะไม่ดี ตรงกันข้าม ถ้าเริ่มด้วยค่า P/E ที่ต่ำมาก เช่นในช่วงหลังวิกฤติตลาดหุ้นที่ทำให้หุ้นตกลงไปมากและค่า P/E ต่ำลงมากเช่น เหลือแค่ 6-7 เท่า ตลาดหุ้นก็จะดี ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปสูงมาก เป็นต้น
ในช่วงปี 2566 น่าจะเกือบทั้งปี ดูเหมือนว่าค่า P/E ของตลาดอยู่ในระดับกลางๆ ที่ประมาณ 17-18 เท่า ไม่ถูกหรือแพงในระดับของตลาดไทยที่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปค่อนข้างต่ำ ดังนั้น ผมคิดว่าปัจจัยตัวนี้เป็นกลาง ไม่บวกหรือลบ
ปัจจัยที่ 5 ซึ่งผมคิดว่ามีผลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยมาช้านานตั้งแต่ผมเริ่มลงทุนก็คือ การซื้อหรือขายหุ้นสุทธิของชาวต่างประเทศ ตั้งแต่ต้นปีมาถึงวันนี้ ชาวต่างชาติขายหุ้นสุทธิไปแล้วประมาณ 160,000 ล้านบาท และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลงมาต่อเนื่อง เป็นปัจจัยลบกับตลาดหุ้นไทย และว่าที่จริงในช่วงประมาณน่าจะเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยเกือบทุกปี คิดรวมแล้วก็เกือบ 1 ล้านล้านบาท และอาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไม 10 ปีที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยจึงไม่ไปไหนเลย
ยังมี “ปัจจัยที่ 6” ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาจจะไม่ได้คาดคิด แต่มีผลรุนแรงทั้งทางบวกและลบต่อดัชนีหุ้นได้ ตัวอย่างเช่น การเกิดวิกฤติซับไพร์มในปี 2008 และเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่เป็นลบต่อดัชนีตลาดหุ้น ตัวอย่างของเหตุการณ์ในทางบวกก็เช่น การลดภาษีนิติบุคคลในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในปี 2555-2556 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าปัจจัยที่ 6 นั้น ส่วนใหญ่น่าจะเป็นลบมากกว่าบวก และในกรณีที่เป็นบวกก็มักจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาก่อนที่จะเกิดผลกระทบ
ผมเองคิดว่าปัจจัยที่ 6 ของตลาดหุ้นไทยที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นในปีนี้ก็คือ เรื่องของกลุ่มหุ้นที่ผมเรียกว่าเป็นหุ้นที่ “ถูกคอร์เนอร์” ซึ่งผมนิยามว่าเป็นหุ้นที่มีราคาแพงมากผิดปกติ เช่น มีค่า “P/E คิดจากกำไรปกติ” สูงเกิน 40-50 เท่าขึ้นไป และเป็นหุ้นที่มี Free Float หรือหุ้นที่อยู่ในมือของ “นักลงทุน” คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำหรือต่ำมาก จนทำให้นักลงทุนบางกลุ่มสามารถกวาดซื้อหุ้นจนทำให้หุ้นถูก “ต้อนเข้ามุม” ดันราคาให้ขึ้นไปสูงมากเกินพื้นฐานที่แท้จริง ซึ่งวันหนึ่ง “คอร์เนอร์” ก็จะ “แตก” และราคาหุ้นก็จะลดลงมาอย่างมาก อย่างน้อยถึง 30% ขึ้นไป โดยที่อาจจะไม่ได้มีเหตุอะไรสำคัญเกิดขึ้นกับบริษัทเลย
ในความเชื่อของผมก็คือ ราคาหรือมูลค่าหุ้นกลุ่มที่ถูกคอร์เนอร์โดยเฉพาะตัวใหญ่ ๆ ในตลาดหุ้นไทยนั้น สูงกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นรวม ๆ แล้วน่าจะไม่ต่ำกว่า 700,000-800,000 ล้านบาท ตัวเลขคร่าวๆ น่าจะประมาณซัก 1 ล้านล้านบาท จากมูลค่าหุ้นรวมทั้งตลาดที่ประมาณ 17.7 ล้านล้านบาทก็คือประมาณ 5% ซึ่งถ้าคอร์เนอร์ “แตก” ดัชนีก็จะลดลงไปได้อีก 5% และนี่ก็คือปัจจัยลบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ว่าที่จริงในช่วงนี้เราก็เริ่มเห็นว่าหุ้นที่ถูกคอร์เนอร์จำนวนมาก โดยเฉพาะหุ้นตัวเล็ก ๆ มีราคาตกลงมามากโดยไม่ได้มีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไร ซึ่งเป็นอาการ “คอร์เนอร์แตก” นั่นเอง
โดยสรุปจากการวิเคราะห์ของผม ในปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นรุนแรง 6 ปัจจัย มีเพียง 1-2 ปัจจัย คือเรื่องของความถูกความแพงที่วัดจากค่า P/E ของตลาดที่ไม่ได้สูงกว่าปกติ และกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่คงจะไม่ถึงกับลดลงเมื่อครบปี ที่ไม่ได้เป็นปัจจัยลบต่อดัชนีตลาดหุ้นในปีนี้
นอกจากนั้นแล้ว ปัจจัยอื่นๆ อีก 4 ปัจจัย ดูเหมือนว่าจะไม่เอื้ออำนวยต่อดัชนีหุ้นเลย กล่าวคือการเติบโตของ GDP ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเหลือแค่ 2.8% อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นถึง 2.5% จากที่ไม่เกิน 2% มานาน และยังไม่สามารถปรับลงได้จนถึงสิ้นปี การขายหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างชาติที่ 1.6 แสนล้านบาท และยังน่าจะขายเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี และสุดท้ายก็คือ ภาวะ “หุ้นคอร์เนอร์แตก” ที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นซึ่งมีศักยภาพที่จะทำให้มูลค่าตลาดหายไปได้อีก 1 ล้านล้านบาท
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1092575
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
ลงทุนในหุ้น Top-Ten By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 14 ต.ค. 2566
การลงทุนแบบ “Passive” หรือลงทุนซื้อหุ้นโดยไม่ต้องเลือกหุ้นเป็นรายตัว แต่อาศัยดัชนีหุ้นหรือเงื่อนไขบางอย่างเป็นตัวกำหนดในการซื้อหุ้น ซื้อแล้วก็ถือพอร์ตการลงทุนนั้นไว้ยาวนาน โดยที่อาจจะมีการปรับจำนวนหุ้นบ้างตามระยะเวลาและตามเกณฑ์ที่กำหนด
การทำแบบนี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องใช้เวลาหรือความสามารถในการวิเคราะห์เลือกหุ้น ทำให้ต้นทุนของการลงทุนลดลง นอกจากนั้นก็มักจะช่วยลดความเสี่ยง เพราะมีการกระจายการลงทุนออกไปในหุ้นหลายๆ ตัว ตัวอย่างของการลงทุนแบบ Passive ชัดเจนก็เช่นการลงทุนในกองทุนรวมอิงดัชนีตลาด เช่น ลงทุนใน SET50 หรือดัชนีที่รวมหุ้นใหญ่ที่สุด 50 ตัวในตลาดหลักทรัพย์ไทย หรือลงทุนในดัชนี S&P500 ในตลาดหุ้นสหรัฐ เป็นต้น
สถิติการลงทุนระยะยาวในดัชนีตลาดหุ้นหลักๆ ของประเทศนั้น ดูเหมือนจะดีกว่าการลงทุนแบบที่มีคนหรือ “ผู้เชี่ยวชาญ” เป็นผู้เลือกซื้อ-ขายหุ้น อานิสงส์ ส่วนหนึ่ง เพราะว่าต้นทุนในการจ้าง “เซียนหุ้น” มาบริหารนั้นค่อนข้างจะแพง เช่น ปีละ 2-3% ของมูลค่าหุ้นในพอร์ตในแต่ละปี เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วก็ยังดูเหมือนว่าคนเลือกหุ้นนั้น ไม่ได้เป็นเซียนจริง ทำผลการลงทุนแพ้ “ค่าเฉลี่ย” ซึ่งก็คือตัวดัชนีตลาดหุ้นนั่นเอง
VI และนักลงทุนส่วนบุคคลจำนวนมากนั้น มีความเชื่อว่าตนเองมีความสามารถและมีความยืดหยุ่นและกล้าเสี่ยงกว่านักลงทุนสถาบันที่เป็นมืออาชีพ ดังนั้น เราจึงมักลงทุนเลือกหุ้นเองเป็นรายตัว เรากล้าที่จะลงทุนในหุ้นไม่กี่ตัว เช่น ตัวหลักๆ เพียง 5-6 ตัว ที่เราคิดว่าทำให้พอร์ตมีการกระจายหุ้นเพียงพอและไม่เสี่ยงเกินไป ในขณะที่ผลตอบแทนของเราก็จะเพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญได้
ในกลุ่มของคนที่เป็นนักเลือกหุ้นลงทุนเองนั้น ถ้าจะมีกลุ่มหนึ่งที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นค่อนข้างมากนั้น ผมคิดว่าคือคนที่ “ลงทุนระยะยาวมาก” อย่างวอเร็น บัฟเฟตต์ และตัวผมเองที่ยึดถือหลักการของเขา ที่ซื้อหุ้นแล้วแทบจะไม่ขายหุ้นเลย กล่าวคือ เลือกหุ้นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” ที่มีความเข้มแข็งทางธุรกิจเพราะมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนและเป็นธุรกิจที่จะเติบโตต่อเนื่องไปยาวนาน ดังนั้น พวกเขาจึงมีการเลือกหุ้นลงทุนจำนวนน้อยตัวมาก พอร์ตของบัฟเฟตต์ที่มีมูลค่าเป็นหลายล้านๆ บาทนั้น มีหุ้นนับตัวได้ บัฟเฟตต์เองก็เคยบอกเป็นนัยว่า นักลงทุนส่วนบุคคลนั้น ในชั่วชีวิตเลือกหุ้นลงทุนแค่ 20-30 ตัว ก็พอที่จะเปลี่ยนชีวิตแล้ว
ประสบการณ์ของผมเองนั้นพบว่า ถ้าลงทุนแล้วเลือกหุ้นแบบ “ซุปเปอร์สต็อก” ซัก 10 ตัวซื้อแล้วถือไว้ยาวนานเป็น 10 ปี และเลือกได้ “ถูกตัว” ซัก 2-3 ตัว ผลตอบแทนก็ยอดเยี่ยมและอาจจะเปลี่ยนชีวิตได้เลย โดยที่เรา “แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย” และอาจจะเรียกวิธีการลงทุนแบบนี้ว่าเป็นแนว “กึ่ง Passive” ซึ่งมีการซื้อ-ขายหุ้นน้อยมาก ส่วนตัวผมเองนั้นพบว่า บางปีก็ไม่ได้ทำอะไรเลย ส่วนใหญ่แล้วก็มีการซื้อขายหุ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของพอร์ต จะมีการซื้อขายหุ้นมากหน่อยก็ในปีที่ “สร้างพอร์ตใหม่” โดยเฉพาะในตลาดหุ้นใหม่เช่น ที่ตลาดเวียตนาม เป็นต้น
การถือหุ้นที่เลือกสรรไว้แล้ว ถือยาวนานไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าสถานการณ์ตลาดจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เป็นแนว Passive หรือแนว กึ่ง Passive ดังกล่าวนั้น ผมคิดว่าได้รับความสนใจมากขึ้นมาก อาจจะเนื่องจากว่ามันให้ผลตอบแทนดีกว่าวิธีการลงทุนเลือกหุ้นเองแบบ “Active” หรือแบบซื้อ ๆ ขายๆ หุ้นบ่อยที่ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นสูงสำหรับบุคคลธรรมดา
นอกจากนั้น จังหะการเข้า-ออก ในการซื้อ-ขายหุ้นก็มีโอกาสที่จะผิดพลาด 50-50 ซึ่งทำให้ไม่มีประโยชน์ที่จะทำ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ในตลาดหุ้นปัจจุบันนั้น ดูเหมือนว่าจะมีการซื้อ-ขายหุ้นด้วยหุ่นยนต์หรือ “Robot Trade” มากขึ้นทุกที ซึ่งพวกเขาก็จะได้เปรียบทั้งในเรื่องความเร็วและต้นทุนของการซื้อ-ขายที่สามารถเอาชนะคนเทรดได้มากกว่า
ผมคงไม่พูดถึงการลงทุนแบบ Passive เต็มที่เนื่องจากว่ามีการพูดถึงมากแล้ว แต่เรื่องการลงทุนแนว “กึ่ง Passive” นั้น ผมคิดว่ากำลังมีมากขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ กองทุนที่ลงทุนในหุ้นเทคยักษ์ใหญ่ของโลก 10 ตัว “Mega Ten” หรืออาจจะ 7 ตัวที่เรียกกันว่า “Magnificent 7” ที่เน้นลงทุนใน “หุ้นสุดยอด 7 ตัว” ซึ่งรวมถึงหุ้นอย่างแอปเปิล กูเกิล และไมโครซอฟท์ เป็นต้น
ในตลาดหุ้นเวียนามเอง ก็มีกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่ต่างชาติซื้อได้ยากหรือแพงและมี “Foreign Premium” คือต้องซื้อด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดจำนวนประมาณสิบกว่าตัวที่เรียกว่า “กองทุนไดมอนด์” ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติสามารถซื้อหุ้นเหล่านั้นได้ด้วยราคาปกติ และก็ซื้อทุกตัว ซึ่งก็คล้ายๆ กับการลงทุนในหุ้นที่ดีในสายตาของนักลงทุนต่างประเทศที่เน้นการลงทุนใน “หุ้นพื้นฐาน” ที่ยังมีราคาถูกของเวียดนามก่อนที่ตลาดเวียตนามจะปรับขึ้นเป็น “ตลาดเกิดใหม่” จากที่เป็น “ตลาดชายขอบ” ในปัจจุบัน
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด กองทุนกึ่ง Passive ดังกล่าวทำผลตอบแทนได้ดีมากเมื่อเทียบกับการลงทุนอื่นในช่วงเวลาเดียวกันแม้ว่าช่วงเวลาจะยังไม่ยาวนัก และก็อาจจะยังไม่ใช่เป็นข้อพิสูจน์ว่านี่คือกลยุทธ์ที่ดีจริงๆ อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคนที่ “ซื้อไอเดีย” เรื่องการลงทุนแบบนี้น่าจะยังเติบโตต่อไป คนที่ลงทุนเองก็อาจจะรู้สึกสนุกและตื่นเต้นกว่าการลงทุนในกองทุนอิงดัชนีที่มักจะให้ผลตอบแทนดีเช่นเดียวกัน แต่มักจะไม่ค่อยมี “แจ็คพ็อต” หรือช่วงเวลาที่ดีเยี่ยม แม้ว่าบางครั้งก็อาจจะเจ็บหนักกว่าเหมือนกัน
ถ้าสมมุติว่าเมื่อ 20 ปีก่อน คือเมื่อสิ้นสุดปี 2545 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยฟื้นจาก “วิกฤติต้มยำกุ้ง” อย่างสมบูรณ์แล้ว เศรษฐกิจกลับมาโตถึง 6% ต่อปี และดัชนีตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น 17% ค่า P/E ของตลาดอยู่ที่ 7-8 เท่า และเราตัดสินใจลงทุนในตลาดหุ้นเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะยังเติบโตขึ้นอีกมาก อย่างไรก็ตาม เราแทบไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกหุ้นเลย แต่เราก็เห็นว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศมีความแข็งแกร่งและมั่นคงมาก พวกเขาจะต้องเป็นผู้นำและเติบโตตามการเติบโตของประเทศ ซึ่งจะใหญ่ขึ้นอีกมาก
เราตัดสินใจซื้อหุ้นใหญ่ที่สุด 10 ตัวในวันนั้นและก็ถือยาวมาจนถึงวันนี้โดยไม่ขายเลย และเมื่อได้ปันผลมาก็ซื้อหุ้นตัวเดิมเพิ่มมาตลอด เริ่มต้นโดยการซื้อหุ้นตัวละ 1 ล้านบาทคิดเป็นพอร์ตหุ้น 10 ล้านบาท
หุ้นตัวใหญ่ที่สุดในตลาดในวันนั้นคือหุ้นปูนซีเมนต์ไทยหรือ SCC มีมูลค่าเพียง 144,640 ล้านบาท ถึงวันนี้ตกลงไปเป็นอันดับ 9 มีมูลค่าประมาณ 360,000 ล้านบาท มูลค่าหุ้น SCC จาก 1 ล้านบาทของเรา จะเพิ่มขึ้นมาเป็นประมาณ 4.48 ล้านบาท
หุ้นอันดับ 2 คือ PTT ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นหุ้นใหญ่อันดับ 3 ในตลาดหุ้นจะเติบโตขึ้นจาก 1 ล้านบาทเป็นประมาณ 14.16 ล้านบาท หุ้นอันดับ 3 คือ AIS จาก 1 ล้านบาทเป็น 11.23 ล้านบาท หุ้น PTTEP จาก 1 เป็น 12.71 ล้านบาท
หุ้นธนาคารกรุงไทยหรือ KTB ซึ่งปัจจุบันไม่อยู่ใน 10 อันดับแล้ว จาก 1 ล้านบาทเป็น 6.54 ล้านบาท หุ้นธนาคารกรุงเทพหรือ BBL จาก 1 ล้านเป็น 7.9 ล้านบาท หุ้น ธนาคารกสิกรไทยหรือ KBANK จาก 1 เป็น 8.75 ล้านบาท
หุ้นปูนกลาง SCCC จาก 1 ล้านบาทก็คงเท่าเดิมที่ 1 ล้านบาท หุ้นแลนด์แอนด์เฮ้าส์ LH จาก 1 เป็น 4.1 ล้านบาท และสุดท้ายก็คืออันดับ 10 หุ้นการบินไทย THAI ที่น่าจะกลายเป็น 0 บาท
รวมแล้วพอร์ตหุ้น 10 ล้านบาทที่ถือหุ้นใหญ่ที่สุด 10 ตัวในตลาดหุ้นไทยเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้วมีค่าประมาณ 70.87 หรือประมาณ 70 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนแบบทบต้น 9.9% ต่อปี โดยที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นจาก 356.5 จุดเป็น 1,451 จุด คิดเป็นผลตอบแทน 7% เมื่อรวมปันผลประมาณเกือบ 3% ก็เท่ากับเกือบ 10% ต่อปี แบบทบต้น เท่าๆ กับผลตอบแทนของพอร์ตพอดี อย่างไรก็ตาม ถ้าลงทุนในกองทุนอิงดัชนีก็ยังต้องเสียค่าบริหารและการจัดการซึ่งทำให้ผลตอบแทนลดลง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ในช่วงปี 2545 ผมคิดว่าเรายังไม่มีกองทุนรวมอิงดัชนีด้วยซ้ำ
ข้อสรุปของผมก็คือ การลงทุนด้วยตนเองแบบ “กึ่ง Passive” หรือจะเรียกว่า “กึ่ง Active” ก็ได้ นั้น มีความน่าสนใจ สิ่งสำคัญก็คือ คงต้องเลือกว่าจะทำแบบไหน การลงทุนในหุ้น “ตัวใหญ่ที่สุด 10 ตัว” ในตลาดหุ้นที่ “กำลังโต” เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร การเลือกให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในกรณีของตลาดหุ้นไทยนั้น ภายในเวลา 20 ปี หุ้นก็ยังอยู่ใน “Top Ten” ถึง 4 ตัว แสดงให้เห็นว่าหุ้นยักษ์ของไทยนั้นมีความสามารถและอยู่ได้ยาวมาก อย่างไรก็ตาม อนาคตก็จะต้องดูว่าจะเป็นอย่างไร บางทีการเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามที่ “กำลังโต” อาจจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าก็ได้
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1093720
การลงทุนแบบ “Passive” หรือลงทุนซื้อหุ้นโดยไม่ต้องเลือกหุ้นเป็นรายตัว แต่อาศัยดัชนีหุ้นหรือเงื่อนไขบางอย่างเป็นตัวกำหนดในการซื้อหุ้น ซื้อแล้วก็ถือพอร์ตการลงทุนนั้นไว้ยาวนาน โดยที่อาจจะมีการปรับจำนวนหุ้นบ้างตามระยะเวลาและตามเกณฑ์ที่กำหนด
การทำแบบนี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องใช้เวลาหรือความสามารถในการวิเคราะห์เลือกหุ้น ทำให้ต้นทุนของการลงทุนลดลง นอกจากนั้นก็มักจะช่วยลดความเสี่ยง เพราะมีการกระจายการลงทุนออกไปในหุ้นหลายๆ ตัว ตัวอย่างของการลงทุนแบบ Passive ชัดเจนก็เช่นการลงทุนในกองทุนรวมอิงดัชนีตลาด เช่น ลงทุนใน SET50 หรือดัชนีที่รวมหุ้นใหญ่ที่สุด 50 ตัวในตลาดหลักทรัพย์ไทย หรือลงทุนในดัชนี S&P500 ในตลาดหุ้นสหรัฐ เป็นต้น
สถิติการลงทุนระยะยาวในดัชนีตลาดหุ้นหลักๆ ของประเทศนั้น ดูเหมือนจะดีกว่าการลงทุนแบบที่มีคนหรือ “ผู้เชี่ยวชาญ” เป็นผู้เลือกซื้อ-ขายหุ้น อานิสงส์ ส่วนหนึ่ง เพราะว่าต้นทุนในการจ้าง “เซียนหุ้น” มาบริหารนั้นค่อนข้างจะแพง เช่น ปีละ 2-3% ของมูลค่าหุ้นในพอร์ตในแต่ละปี เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วก็ยังดูเหมือนว่าคนเลือกหุ้นนั้น ไม่ได้เป็นเซียนจริง ทำผลการลงทุนแพ้ “ค่าเฉลี่ย” ซึ่งก็คือตัวดัชนีตลาดหุ้นนั่นเอง
VI และนักลงทุนส่วนบุคคลจำนวนมากนั้น มีความเชื่อว่าตนเองมีความสามารถและมีความยืดหยุ่นและกล้าเสี่ยงกว่านักลงทุนสถาบันที่เป็นมืออาชีพ ดังนั้น เราจึงมักลงทุนเลือกหุ้นเองเป็นรายตัว เรากล้าที่จะลงทุนในหุ้นไม่กี่ตัว เช่น ตัวหลักๆ เพียง 5-6 ตัว ที่เราคิดว่าทำให้พอร์ตมีการกระจายหุ้นเพียงพอและไม่เสี่ยงเกินไป ในขณะที่ผลตอบแทนของเราก็จะเพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญได้
ในกลุ่มของคนที่เป็นนักเลือกหุ้นลงทุนเองนั้น ถ้าจะมีกลุ่มหนึ่งที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นค่อนข้างมากนั้น ผมคิดว่าคือคนที่ “ลงทุนระยะยาวมาก” อย่างวอเร็น บัฟเฟตต์ และตัวผมเองที่ยึดถือหลักการของเขา ที่ซื้อหุ้นแล้วแทบจะไม่ขายหุ้นเลย กล่าวคือ เลือกหุ้นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” ที่มีความเข้มแข็งทางธุรกิจเพราะมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนและเป็นธุรกิจที่จะเติบโตต่อเนื่องไปยาวนาน ดังนั้น พวกเขาจึงมีการเลือกหุ้นลงทุนจำนวนน้อยตัวมาก พอร์ตของบัฟเฟตต์ที่มีมูลค่าเป็นหลายล้านๆ บาทนั้น มีหุ้นนับตัวได้ บัฟเฟตต์เองก็เคยบอกเป็นนัยว่า นักลงทุนส่วนบุคคลนั้น ในชั่วชีวิตเลือกหุ้นลงทุนแค่ 20-30 ตัว ก็พอที่จะเปลี่ยนชีวิตแล้ว
ประสบการณ์ของผมเองนั้นพบว่า ถ้าลงทุนแล้วเลือกหุ้นแบบ “ซุปเปอร์สต็อก” ซัก 10 ตัวซื้อแล้วถือไว้ยาวนานเป็น 10 ปี และเลือกได้ “ถูกตัว” ซัก 2-3 ตัว ผลตอบแทนก็ยอดเยี่ยมและอาจจะเปลี่ยนชีวิตได้เลย โดยที่เรา “แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย” และอาจจะเรียกวิธีการลงทุนแบบนี้ว่าเป็นแนว “กึ่ง Passive” ซึ่งมีการซื้อ-ขายหุ้นน้อยมาก ส่วนตัวผมเองนั้นพบว่า บางปีก็ไม่ได้ทำอะไรเลย ส่วนใหญ่แล้วก็มีการซื้อขายหุ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของพอร์ต จะมีการซื้อขายหุ้นมากหน่อยก็ในปีที่ “สร้างพอร์ตใหม่” โดยเฉพาะในตลาดหุ้นใหม่เช่น ที่ตลาดเวียตนาม เป็นต้น
การถือหุ้นที่เลือกสรรไว้แล้ว ถือยาวนานไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าสถานการณ์ตลาดจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เป็นแนว Passive หรือแนว กึ่ง Passive ดังกล่าวนั้น ผมคิดว่าได้รับความสนใจมากขึ้นมาก อาจจะเนื่องจากว่ามันให้ผลตอบแทนดีกว่าวิธีการลงทุนเลือกหุ้นเองแบบ “Active” หรือแบบซื้อ ๆ ขายๆ หุ้นบ่อยที่ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นสูงสำหรับบุคคลธรรมดา
นอกจากนั้น จังหะการเข้า-ออก ในการซื้อ-ขายหุ้นก็มีโอกาสที่จะผิดพลาด 50-50 ซึ่งทำให้ไม่มีประโยชน์ที่จะทำ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ในตลาดหุ้นปัจจุบันนั้น ดูเหมือนว่าจะมีการซื้อ-ขายหุ้นด้วยหุ่นยนต์หรือ “Robot Trade” มากขึ้นทุกที ซึ่งพวกเขาก็จะได้เปรียบทั้งในเรื่องความเร็วและต้นทุนของการซื้อ-ขายที่สามารถเอาชนะคนเทรดได้มากกว่า
ผมคงไม่พูดถึงการลงทุนแบบ Passive เต็มที่เนื่องจากว่ามีการพูดถึงมากแล้ว แต่เรื่องการลงทุนแนว “กึ่ง Passive” นั้น ผมคิดว่ากำลังมีมากขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ กองทุนที่ลงทุนในหุ้นเทคยักษ์ใหญ่ของโลก 10 ตัว “Mega Ten” หรืออาจจะ 7 ตัวที่เรียกกันว่า “Magnificent 7” ที่เน้นลงทุนใน “หุ้นสุดยอด 7 ตัว” ซึ่งรวมถึงหุ้นอย่างแอปเปิล กูเกิล และไมโครซอฟท์ เป็นต้น
ในตลาดหุ้นเวียนามเอง ก็มีกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่ต่างชาติซื้อได้ยากหรือแพงและมี “Foreign Premium” คือต้องซื้อด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดจำนวนประมาณสิบกว่าตัวที่เรียกว่า “กองทุนไดมอนด์” ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติสามารถซื้อหุ้นเหล่านั้นได้ด้วยราคาปกติ และก็ซื้อทุกตัว ซึ่งก็คล้ายๆ กับการลงทุนในหุ้นที่ดีในสายตาของนักลงทุนต่างประเทศที่เน้นการลงทุนใน “หุ้นพื้นฐาน” ที่ยังมีราคาถูกของเวียดนามก่อนที่ตลาดเวียตนามจะปรับขึ้นเป็น “ตลาดเกิดใหม่” จากที่เป็น “ตลาดชายขอบ” ในปัจจุบัน
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด กองทุนกึ่ง Passive ดังกล่าวทำผลตอบแทนได้ดีมากเมื่อเทียบกับการลงทุนอื่นในช่วงเวลาเดียวกันแม้ว่าช่วงเวลาจะยังไม่ยาวนัก และก็อาจจะยังไม่ใช่เป็นข้อพิสูจน์ว่านี่คือกลยุทธ์ที่ดีจริงๆ อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคนที่ “ซื้อไอเดีย” เรื่องการลงทุนแบบนี้น่าจะยังเติบโตต่อไป คนที่ลงทุนเองก็อาจจะรู้สึกสนุกและตื่นเต้นกว่าการลงทุนในกองทุนอิงดัชนีที่มักจะให้ผลตอบแทนดีเช่นเดียวกัน แต่มักจะไม่ค่อยมี “แจ็คพ็อต” หรือช่วงเวลาที่ดีเยี่ยม แม้ว่าบางครั้งก็อาจจะเจ็บหนักกว่าเหมือนกัน
ถ้าสมมุติว่าเมื่อ 20 ปีก่อน คือเมื่อสิ้นสุดปี 2545 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยฟื้นจาก “วิกฤติต้มยำกุ้ง” อย่างสมบูรณ์แล้ว เศรษฐกิจกลับมาโตถึง 6% ต่อปี และดัชนีตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น 17% ค่า P/E ของตลาดอยู่ที่ 7-8 เท่า และเราตัดสินใจลงทุนในตลาดหุ้นเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะยังเติบโตขึ้นอีกมาก อย่างไรก็ตาม เราแทบไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกหุ้นเลย แต่เราก็เห็นว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศมีความแข็งแกร่งและมั่นคงมาก พวกเขาจะต้องเป็นผู้นำและเติบโตตามการเติบโตของประเทศ ซึ่งจะใหญ่ขึ้นอีกมาก
เราตัดสินใจซื้อหุ้นใหญ่ที่สุด 10 ตัวในวันนั้นและก็ถือยาวมาจนถึงวันนี้โดยไม่ขายเลย และเมื่อได้ปันผลมาก็ซื้อหุ้นตัวเดิมเพิ่มมาตลอด เริ่มต้นโดยการซื้อหุ้นตัวละ 1 ล้านบาทคิดเป็นพอร์ตหุ้น 10 ล้านบาท
หุ้นตัวใหญ่ที่สุดในตลาดในวันนั้นคือหุ้นปูนซีเมนต์ไทยหรือ SCC มีมูลค่าเพียง 144,640 ล้านบาท ถึงวันนี้ตกลงไปเป็นอันดับ 9 มีมูลค่าประมาณ 360,000 ล้านบาท มูลค่าหุ้น SCC จาก 1 ล้านบาทของเรา จะเพิ่มขึ้นมาเป็นประมาณ 4.48 ล้านบาท
หุ้นอันดับ 2 คือ PTT ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นหุ้นใหญ่อันดับ 3 ในตลาดหุ้นจะเติบโตขึ้นจาก 1 ล้านบาทเป็นประมาณ 14.16 ล้านบาท หุ้นอันดับ 3 คือ AIS จาก 1 ล้านบาทเป็น 11.23 ล้านบาท หุ้น PTTEP จาก 1 เป็น 12.71 ล้านบาท
หุ้นธนาคารกรุงไทยหรือ KTB ซึ่งปัจจุบันไม่อยู่ใน 10 อันดับแล้ว จาก 1 ล้านบาทเป็น 6.54 ล้านบาท หุ้นธนาคารกรุงเทพหรือ BBL จาก 1 ล้านเป็น 7.9 ล้านบาท หุ้น ธนาคารกสิกรไทยหรือ KBANK จาก 1 เป็น 8.75 ล้านบาท
หุ้นปูนกลาง SCCC จาก 1 ล้านบาทก็คงเท่าเดิมที่ 1 ล้านบาท หุ้นแลนด์แอนด์เฮ้าส์ LH จาก 1 เป็น 4.1 ล้านบาท และสุดท้ายก็คืออันดับ 10 หุ้นการบินไทย THAI ที่น่าจะกลายเป็น 0 บาท
รวมแล้วพอร์ตหุ้น 10 ล้านบาทที่ถือหุ้นใหญ่ที่สุด 10 ตัวในตลาดหุ้นไทยเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้วมีค่าประมาณ 70.87 หรือประมาณ 70 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนแบบทบต้น 9.9% ต่อปี โดยที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นจาก 356.5 จุดเป็น 1,451 จุด คิดเป็นผลตอบแทน 7% เมื่อรวมปันผลประมาณเกือบ 3% ก็เท่ากับเกือบ 10% ต่อปี แบบทบต้น เท่าๆ กับผลตอบแทนของพอร์ตพอดี อย่างไรก็ตาม ถ้าลงทุนในกองทุนอิงดัชนีก็ยังต้องเสียค่าบริหารและการจัดการซึ่งทำให้ผลตอบแทนลดลง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ในช่วงปี 2545 ผมคิดว่าเรายังไม่มีกองทุนรวมอิงดัชนีด้วยซ้ำ
ข้อสรุปของผมก็คือ การลงทุนด้วยตนเองแบบ “กึ่ง Passive” หรือจะเรียกว่า “กึ่ง Active” ก็ได้ นั้น มีความน่าสนใจ สิ่งสำคัญก็คือ คงต้องเลือกว่าจะทำแบบไหน การลงทุนในหุ้น “ตัวใหญ่ที่สุด 10 ตัว” ในตลาดหุ้นที่ “กำลังโต” เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร การเลือกให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในกรณีของตลาดหุ้นไทยนั้น ภายในเวลา 20 ปี หุ้นก็ยังอยู่ใน “Top Ten” ถึง 4 ตัว แสดงให้เห็นว่าหุ้นยักษ์ของไทยนั้นมีความสามารถและอยู่ได้ยาวมาก อย่างไรก็ตาม อนาคตก็จะต้องดูว่าจะเป็นอย่างไร บางทีการเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามที่ “กำลังโต” อาจจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าก็ได้
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1093720
Last edited by thanonlongtun_p on Mon Oct 30, 2023 5:37 pm, edited 1 time in total.
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
ลงทุนหุ้น Top-Ten แห่งอนาคต By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 28 ต.ค. 2566
การลงทุนในหุ้น Top-Ten หรือหุ้นใหญ่ที่สุด 10 ตัวในตลาดแล้วถือไว้ยาวนาน 10-20 ปี โดยไม่ทำอะไรเลย ยกเว้นเมื่อได้รับปันผลก็จะนำเงินนั้นกลับไปลงทุนในหุ้นตัวเดิมไปเรื่อยๆ น่าจะเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีมาก อย่างน้อยก็น่าจะดีไม่แพ้การลงทุนในดัชนีตลาดหุ้น และนั่นก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทยย้อนหลังไป 20 ปี อย่างที่ผมเขียนไว้ในบทความก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตามในวันนี้ ถ้าคิดจะลงทุนหุ้นแนว “Top-Ten” ผมคิดว่าเราควรจะต้องดัดแปลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์และปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้นหลังจากเห็นผลที่เกิดขึ้นแล้ว เหตุผลก็เพราะว่า ข้อแรก เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยผ่านยุคที่เติบโตหรือรุ่งเรืองไปแล้ว การลงทุนแนว “กึ่ง Passive” ในตลาดหุ้นไทยอาจจะไม่ได้ผลดี และข้อสอง เราพบว่าหุ้นบางกลุ่ม เช่น หุ้นที่เป็นแนวโภคภัณฑ์ที่อยู่ใน Top-Ten ให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีในระยะยาวโดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นและการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ลดความสำคัญลงไปเรื่อย ๆ
ความคิดของผมก็คือ เราควรเลือกตลาดหุ้นใหม่ที่กำลังเติบโตเร็ว นั่นก็คือ ตลาดหุ้นเวียดนาม และแทนที่จะเลือกหุ้นใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน 10 ตัว เราควรเลือกหุ้นที่จะ “ใหญ่ที่สุดในอนาคต 10 ตัว” หรือจะเรียกว่า ลงทุนในหุ้น “Future Top-Ten” โดยที่เมื่อเลือกแล้ว เราก็จะถือหุ้นไว้ 10 ปี โดยไม่ทำอะไรเลย ยกเว้นการนำเงินปันผลกลับไปลงทุนในหุ้นตัวเดิมไปเรื่อย ๆ
วิธีเลือกหุ้น Top-Ten ในอนาคต 10 ปีข้างหน้านั้น ถ้าใช้วิธีการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญจะเป็นเรื่องที่ยากมาก ใครจะไปรู้ว่าบริษัทไหนจะโตเร็วเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” และกลายเป็นหุ้น Top Ten ภายใน 10 ปี? และถ้ารู้อย่างนั้นจริง เขาก็คงไม่มาลงทุนแบบกึ่ง Passive แน่
แต่เรารู้ว่าหุ้นที่เป็น Top-Ten อยู่นั้น มักจะมีโอกาสที่จะเป็น Top-Ten ต่อไปในอนาคต เพราะมันตัวใหญ่และมีความได้เปรียบในการแข่งขัน อย่างน้อยในเรื่องของ Economies of Scale หรือการประหยัดในเรื่องของต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะในสังคมของประเทศที่ยังไม่ได้เน้นเรื่องของเทคโนโลยีอย่างเช่น ไทยหรือเวียดนาม ซึ่งสถิติที่พบก็คือ หุ้น Top-Ten ของไทย 10 ตัว มีถึง 4 ตัวที่ยังเป็นหุ้น Top-Ten อยู่หลังจากเวลาผ่านไปถึง 20 ปี
ดังนั้น วิธีที่ง่ายและน่าจะได้ผลดีในการที่จะหาหุ้น Top-Ten แห่งอนาคตก็คือ หาจากหุ้นที่ใหญ่ที่สุด อาจจะประมาณ 20 ตัว โดยเริ่มจากตัวที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน จากนั้นก็ไล่ลงมาเรื่อยๆ แต่ถ้าพบว่าหุ้นตัวนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับหุ้นที่ได้รับการคัดเลือกไปก่อนหน้าแล้ว เราก็ตัดหุ้นตัวนั้นทิ้ง เพราะเราต้องการกระจายความเสี่ยงของพอร์ต ไม่ต้องการให้มีหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกันในหุ้น 10 ตัวของเรา
นอกจากนั้น ถ้าพบว่าหุ้นที่เราจะเลือกเป็นหุ้นที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผลประกอบการผันผวนมากและขึ้นอยู่กับราคาวัตดุดิบมากๆ เช่นเหล็กหรือสินค้าการเกษตรบางอย่าง เราก็จะพิจารณาตัดออก เพราะหุ้นเหล่านั้นในระยะยาวแล้ว ก็ยากที่จะมีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่องและเติบโตกลายเป็นหุ้น Top-Ten ในอีก 10 ปี ข้างหน้า
จากเกณฑ์การคัดเลือกดังกล่าว หุ้นตัวแรกสำหรับการค้นหาหุ้น “Top-Ten แห่งอนาคต” ของตลาดหุ้นเวียดนามก็คือ หุ้น VCB หรือเวียดคอมแบงก์ที่เป็นหุ้นใหญ่ที่สุดของเวียดนามในปัจจุบันด้วย Market Cap. ที่ประมาณ 710,000 ล้านบาท และนั่นทำให้เราต้องตัดหุ้นแบงก์อื่นอีกอย่างน้อย 4 ตัวที่มูลค่าหุ้นติด Top Ten ในปัจจุบันออก
หุ้นตัวที่ 2 ที่ถูกคัดเลือกคือหุ้น VHM หรือหุ้นวินโฮม บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามที่มี Market Cap. ถึง 290,000 ล้านบาท ใหญ่กว่าหุ้นบ้านจัดสรรที่ใหญ่ที่สุดของไทยในปัจจุบันถึง 3 เท่า และผมเชื่อว่ามีโอกาสที่จะยังติด Top-Ten ในอีก 10 ปีข้างหน้า
หุ้นตัวที่ 3 คือหุ้น GAS หรือเปโตรเวียดนามที่คล้ายกับหุ้นปตท. ของไทยที่ปัจจุบันมี Market Cap. อยู่ที่ 286,000 ล้านบาท หุ้นตัวที่ 4 คือหุ้น VNM หรือวินนามิลค์ บริษัทผลิตและขายผลิตภัณฑ์นมที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามที่มีส่วนแบ่งการตลาดครอบงำคู่แข่งอื่นๆ และ ตัวเลือกอันดับ 5 คือหุ้น FPT ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามที่มีความสามารถในการรับจ้างเขียนโปรแกรมขายให้กับบริษัทชั้นนำทั้งโลก โดยที่ปัจจุบัน FPT เป็นหุ้นใหญ่อันดับ 10 ในตลาดและมีมูลค่าหุ้นที่ประมาณ 176,000 ล้านบาท
หุ้นตัวที่ 6 คือหุ้น MSN หรือหุ้นมาซันกรุ้ป ผู้นำด้านการผลิตอาหารเช่น เนื้อสัตว์และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าผู้บริโภคอีกหลายอย่าง และในปัจจุบันใหญ่เป็นอันดับ 12 ของตลาดหุ้น หุ้นตัวที่ 7 คือหุ้น SAB หรือ ซาเบโก้ บริษัทเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามและมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่มเบียร์ช้างของไทยที่มี Market Cap. ประมาณ134,000 ล้านบาท
หุ้นตัวที่ 8 คือหุ้น MWG หรือโมบายเวิลด์ ที่เป็นหุ้นที่บางคนเรียกว่า “ราชันแห่งผู้ค้าปลีก” เพราะคุมตลาดโทรศัพท์มือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้าของเวียดนามกว่า 50% นอกจากนั้น ยังมีร้านค้าปลีกอีกหลายอย่างรวมถึงซุปเปอร์มารเก็ตขนาดเล็กที่กำลังเติบโตในเวียตนาม แต่บริษัทยังมี Market Cap.ที่เล็กประมาณ 98,000 ล้านบาท ในปัจจุบัน อานิสงส์จากกำไรที่ลดลงมากจากธุรกิจมือถือที่ประสบปัญหาหนักเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในปัจจุบัน
หุ้นตัวที่ 9 คือหุ้น VRE หรือวินคอมรีเทล “เจ้าพ่อชอปปิงมอล” คล้าย ๆ หุ้น CPN ของไทย แต่มี Market Cap. 91,000 ล้านบาท หรือเล็กกว่า CPN 3 เท่า และเป็นหุ้นใหญ่อันดับที่ 20 ของเวียดนามในปัจจุบัน
หุ้นตัวสุดท้ายที่ผมคิดว่าจะมีโอกาสติด Top-Ten ในอีก 10 ปีข้างหน้าก็คือหุ้น ACV หรือหุ้นสนามบินหลักๆ ของเวียดนามที่คล้าย ๆ กับหุ้น AOT ของไทยที่ปัจจุบันยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่สามารถซื้อขายในตลาด OTC เหมือนหุ้นในตลาดเหมือนกัน เพียงแต่มีกฎเกณฑ์และมาตรฐานน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี ก็ดงต้องเข้าตลาดแน่นอน เพราะมันเป็นหุ้นที่ใหญ่มากอยู่แล้วตั้งแต่วันนี้ที่ Market Cap. สูงถึงประมาณ 240,000 ล้านบาท
และทั้งหมดนั้นก็คือหุ้นที่ผมคาดว่ามีโอกาสที่จะกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุด 10 ตัวแรกของตลาดหุ้นเวียดนามใน 10 ปีข้างหน้า แน่นอนว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้ว่าจะถูกทั้งหมด แต่ผมเชื่อว่าน่าจะต้องมีอย่างน้อย 5 ตัวที่จะอยู่ใน Top-Ten ส่วนอีก 5 ตัวที่เหลือผมก็คิดว่าส่วนใหญ่น่าจะอยู่ในอันดับสูง เช่น อยู่ในอันดับ Top-Twenty เหตุผลก็คือ มันเป็นหุ้นที่เป็นผู้ชนะและมีขนาดค่อนข้างจะใหญ่มากอยู่แล้วในปัจจุบัน ดังนั้นมันจึงสามารถเติบโตไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของเวียดนามได้ไม่ยาก
และผมก็คิดว่า ผลตอบแทนที่ตามมาจากการลงทุนถือหุ้นตามพอร์ตหุ้น “Top-Ten แห่งอนาคต” กลุ่มนี้ น่าจะให้ผลตอบแทนได้ไม่น้อยกว่าปีละ 10% แบบทบต้น และดีกว่าการลงทุนในกองทุนรวมอิงดัชนีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร โดยที่มีความเสี่ยงของการลงทุนไม่สูงเกินไป และโดยที่เราแทบจะไม่ต้องทำอะไรมาก เช่นเดียวกับไม่ต้องเป็นนักลงทุนที่เก่งฉกาจและทำงานหนักเหมือนอย่าง VI หลาย ๆ คนที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1096000
การลงทุนในหุ้น Top-Ten หรือหุ้นใหญ่ที่สุด 10 ตัวในตลาดแล้วถือไว้ยาวนาน 10-20 ปี โดยไม่ทำอะไรเลย ยกเว้นเมื่อได้รับปันผลก็จะนำเงินนั้นกลับไปลงทุนในหุ้นตัวเดิมไปเรื่อยๆ น่าจะเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีมาก อย่างน้อยก็น่าจะดีไม่แพ้การลงทุนในดัชนีตลาดหุ้น และนั่นก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทยย้อนหลังไป 20 ปี อย่างที่ผมเขียนไว้ในบทความก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตามในวันนี้ ถ้าคิดจะลงทุนหุ้นแนว “Top-Ten” ผมคิดว่าเราควรจะต้องดัดแปลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์และปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้นหลังจากเห็นผลที่เกิดขึ้นแล้ว เหตุผลก็เพราะว่า ข้อแรก เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยผ่านยุคที่เติบโตหรือรุ่งเรืองไปแล้ว การลงทุนแนว “กึ่ง Passive” ในตลาดหุ้นไทยอาจจะไม่ได้ผลดี และข้อสอง เราพบว่าหุ้นบางกลุ่ม เช่น หุ้นที่เป็นแนวโภคภัณฑ์ที่อยู่ใน Top-Ten ให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีในระยะยาวโดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นและการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ลดความสำคัญลงไปเรื่อย ๆ
ความคิดของผมก็คือ เราควรเลือกตลาดหุ้นใหม่ที่กำลังเติบโตเร็ว นั่นก็คือ ตลาดหุ้นเวียดนาม และแทนที่จะเลือกหุ้นใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน 10 ตัว เราควรเลือกหุ้นที่จะ “ใหญ่ที่สุดในอนาคต 10 ตัว” หรือจะเรียกว่า ลงทุนในหุ้น “Future Top-Ten” โดยที่เมื่อเลือกแล้ว เราก็จะถือหุ้นไว้ 10 ปี โดยไม่ทำอะไรเลย ยกเว้นการนำเงินปันผลกลับไปลงทุนในหุ้นตัวเดิมไปเรื่อย ๆ
วิธีเลือกหุ้น Top-Ten ในอนาคต 10 ปีข้างหน้านั้น ถ้าใช้วิธีการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญจะเป็นเรื่องที่ยากมาก ใครจะไปรู้ว่าบริษัทไหนจะโตเร็วเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” และกลายเป็นหุ้น Top Ten ภายใน 10 ปี? และถ้ารู้อย่างนั้นจริง เขาก็คงไม่มาลงทุนแบบกึ่ง Passive แน่
แต่เรารู้ว่าหุ้นที่เป็น Top-Ten อยู่นั้น มักจะมีโอกาสที่จะเป็น Top-Ten ต่อไปในอนาคต เพราะมันตัวใหญ่และมีความได้เปรียบในการแข่งขัน อย่างน้อยในเรื่องของ Economies of Scale หรือการประหยัดในเรื่องของต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะในสังคมของประเทศที่ยังไม่ได้เน้นเรื่องของเทคโนโลยีอย่างเช่น ไทยหรือเวียดนาม ซึ่งสถิติที่พบก็คือ หุ้น Top-Ten ของไทย 10 ตัว มีถึง 4 ตัวที่ยังเป็นหุ้น Top-Ten อยู่หลังจากเวลาผ่านไปถึง 20 ปี
ดังนั้น วิธีที่ง่ายและน่าจะได้ผลดีในการที่จะหาหุ้น Top-Ten แห่งอนาคตก็คือ หาจากหุ้นที่ใหญ่ที่สุด อาจจะประมาณ 20 ตัว โดยเริ่มจากตัวที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน จากนั้นก็ไล่ลงมาเรื่อยๆ แต่ถ้าพบว่าหุ้นตัวนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับหุ้นที่ได้รับการคัดเลือกไปก่อนหน้าแล้ว เราก็ตัดหุ้นตัวนั้นทิ้ง เพราะเราต้องการกระจายความเสี่ยงของพอร์ต ไม่ต้องการให้มีหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกันในหุ้น 10 ตัวของเรา
นอกจากนั้น ถ้าพบว่าหุ้นที่เราจะเลือกเป็นหุ้นที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผลประกอบการผันผวนมากและขึ้นอยู่กับราคาวัตดุดิบมากๆ เช่นเหล็กหรือสินค้าการเกษตรบางอย่าง เราก็จะพิจารณาตัดออก เพราะหุ้นเหล่านั้นในระยะยาวแล้ว ก็ยากที่จะมีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่องและเติบโตกลายเป็นหุ้น Top-Ten ในอีก 10 ปี ข้างหน้า
จากเกณฑ์การคัดเลือกดังกล่าว หุ้นตัวแรกสำหรับการค้นหาหุ้น “Top-Ten แห่งอนาคต” ของตลาดหุ้นเวียดนามก็คือ หุ้น VCB หรือเวียดคอมแบงก์ที่เป็นหุ้นใหญ่ที่สุดของเวียดนามในปัจจุบันด้วย Market Cap. ที่ประมาณ 710,000 ล้านบาท และนั่นทำให้เราต้องตัดหุ้นแบงก์อื่นอีกอย่างน้อย 4 ตัวที่มูลค่าหุ้นติด Top Ten ในปัจจุบันออก
หุ้นตัวที่ 2 ที่ถูกคัดเลือกคือหุ้น VHM หรือหุ้นวินโฮม บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามที่มี Market Cap. ถึง 290,000 ล้านบาท ใหญ่กว่าหุ้นบ้านจัดสรรที่ใหญ่ที่สุดของไทยในปัจจุบันถึง 3 เท่า และผมเชื่อว่ามีโอกาสที่จะยังติด Top-Ten ในอีก 10 ปีข้างหน้า
หุ้นตัวที่ 3 คือหุ้น GAS หรือเปโตรเวียดนามที่คล้ายกับหุ้นปตท. ของไทยที่ปัจจุบันมี Market Cap. อยู่ที่ 286,000 ล้านบาท หุ้นตัวที่ 4 คือหุ้น VNM หรือวินนามิลค์ บริษัทผลิตและขายผลิตภัณฑ์นมที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามที่มีส่วนแบ่งการตลาดครอบงำคู่แข่งอื่นๆ และ ตัวเลือกอันดับ 5 คือหุ้น FPT ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามที่มีความสามารถในการรับจ้างเขียนโปรแกรมขายให้กับบริษัทชั้นนำทั้งโลก โดยที่ปัจจุบัน FPT เป็นหุ้นใหญ่อันดับ 10 ในตลาดและมีมูลค่าหุ้นที่ประมาณ 176,000 ล้านบาท
หุ้นตัวที่ 6 คือหุ้น MSN หรือหุ้นมาซันกรุ้ป ผู้นำด้านการผลิตอาหารเช่น เนื้อสัตว์และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าผู้บริโภคอีกหลายอย่าง และในปัจจุบันใหญ่เป็นอันดับ 12 ของตลาดหุ้น หุ้นตัวที่ 7 คือหุ้น SAB หรือ ซาเบโก้ บริษัทเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามและมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่มเบียร์ช้างของไทยที่มี Market Cap. ประมาณ134,000 ล้านบาท
หุ้นตัวที่ 8 คือหุ้น MWG หรือโมบายเวิลด์ ที่เป็นหุ้นที่บางคนเรียกว่า “ราชันแห่งผู้ค้าปลีก” เพราะคุมตลาดโทรศัพท์มือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้าของเวียดนามกว่า 50% นอกจากนั้น ยังมีร้านค้าปลีกอีกหลายอย่างรวมถึงซุปเปอร์มารเก็ตขนาดเล็กที่กำลังเติบโตในเวียตนาม แต่บริษัทยังมี Market Cap.ที่เล็กประมาณ 98,000 ล้านบาท ในปัจจุบัน อานิสงส์จากกำไรที่ลดลงมากจากธุรกิจมือถือที่ประสบปัญหาหนักเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในปัจจุบัน
หุ้นตัวที่ 9 คือหุ้น VRE หรือวินคอมรีเทล “เจ้าพ่อชอปปิงมอล” คล้าย ๆ หุ้น CPN ของไทย แต่มี Market Cap. 91,000 ล้านบาท หรือเล็กกว่า CPN 3 เท่า และเป็นหุ้นใหญ่อันดับที่ 20 ของเวียดนามในปัจจุบัน
หุ้นตัวสุดท้ายที่ผมคิดว่าจะมีโอกาสติด Top-Ten ในอีก 10 ปีข้างหน้าก็คือหุ้น ACV หรือหุ้นสนามบินหลักๆ ของเวียดนามที่คล้าย ๆ กับหุ้น AOT ของไทยที่ปัจจุบันยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่สามารถซื้อขายในตลาด OTC เหมือนหุ้นในตลาดเหมือนกัน เพียงแต่มีกฎเกณฑ์และมาตรฐานน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี ก็ดงต้องเข้าตลาดแน่นอน เพราะมันเป็นหุ้นที่ใหญ่มากอยู่แล้วตั้งแต่วันนี้ที่ Market Cap. สูงถึงประมาณ 240,000 ล้านบาท
และทั้งหมดนั้นก็คือหุ้นที่ผมคาดว่ามีโอกาสที่จะกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุด 10 ตัวแรกของตลาดหุ้นเวียดนามใน 10 ปีข้างหน้า แน่นอนว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้ว่าจะถูกทั้งหมด แต่ผมเชื่อว่าน่าจะต้องมีอย่างน้อย 5 ตัวที่จะอยู่ใน Top-Ten ส่วนอีก 5 ตัวที่เหลือผมก็คิดว่าส่วนใหญ่น่าจะอยู่ในอันดับสูง เช่น อยู่ในอันดับ Top-Twenty เหตุผลก็คือ มันเป็นหุ้นที่เป็นผู้ชนะและมีขนาดค่อนข้างจะใหญ่มากอยู่แล้วในปัจจุบัน ดังนั้นมันจึงสามารถเติบโตไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของเวียดนามได้ไม่ยาก
และผมก็คิดว่า ผลตอบแทนที่ตามมาจากการลงทุนถือหุ้นตามพอร์ตหุ้น “Top-Ten แห่งอนาคต” กลุ่มนี้ น่าจะให้ผลตอบแทนได้ไม่น้อยกว่าปีละ 10% แบบทบต้น และดีกว่าการลงทุนในกองทุนรวมอิงดัชนีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร โดยที่มีความเสี่ยงของการลงทุนไม่สูงเกินไป และโดยที่เราแทบจะไม่ต้องทำอะไรมาก เช่นเดียวกับไม่ต้องเป็นนักลงทุนที่เก่งฉกาจและทำงานหนักเหมือนอย่าง VI หลาย ๆ คนที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1096000
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
เล่นหุ้นที่เกลียด By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 11 พ.ย. 2566
คนที่ลงทุนหรือเล่นหุ้นมานานมากนั้น ส่วนใหญ่ผมเชื่อว่ามักจะมีความคิดที่ “ฝังใจ” กับหุ้นบางประเภทที่ตนเองเคยประสบและมีประสบการณ์ที่ “ไม่ดี” ซ้ำอยู่หลายหนจนทำให้ “เข็ด”
และหลังจากนั้นก็จะไม่อยากเข้าไปยุ่งด้วยแม้ว่าหุ้น “ตัวใหม่” อาจจะกำลัง “ดูดี” น่าลงทุน เหตุผลรวบยอดที่ใช้ก็คือ เขา “เกลียด” หุ้นที่มีลักษณะแบบนั้น เพราะลงทุนหรือเล่นแล้วก็มักจะขาดทุนหรือหุ้นไม่ไปไหน ตัวอย่างที่เห็นบ่อยๆ ในเว็บบอร์ดสาธารณะเกี่ยวกับหุ้นก็เช่น “กลุ่มหุ้นปันผล” ที่จ่ายหรือกำลังจะจ่ายปันผลงดงามที่มักจะพบคอมเม้นท์ที่ว่า “อยากเอาปันผลไปคืน” หลังจากวัน X-Dividend หรือวันที่ได้รับสิทธิในปันผลไปแล้วและราคาหุ้นตกลงมามากกว่าเงินปันผลที่ได้พอสมควร ซึ่งทำให้ซื้อแล้ว “ขาดทุน”
หุ้นที่ซื้อแล้ว “ขาดทุน” หรือ “ไม่ได้อะไรเลย” แม้ว่าจะวิเคราะห์ดีแล้ว และผลประกอบการก็ออกมา “ดีตามคาด” เป็นหุ้นที่มักทำให้นักลงทุนโดยเฉพาะ VI รู้สึกผิดหวังมากกว่าปกติ และนั่นก็อาจจะไม่ใช่ครั้งเดียว แต่เกิดขึ้นซ้ำๆ จนถึงจุดหนึ่งเราก็จะ “เกลียด” และจะหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้นแบบนั้น ซึ่งก็มีหลายแบบมากดังตัวอย่างต่อไปนี้
กลุ่มแรกก็คือ หุ้นที่ผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเจ้าของเป็นกลุ่มที่ไม่ใคร่จะสนใจนักลงทุนที่เข้ามาซื้อขายหุ้น อาจจะเพราะพวกเขาไม่เห็นประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยเลยเพราะเขาไม่สนใจหรือไม่มีความจำเป็นที่จะต้องระดมเงินอีกต่อไปแล้ว เช่นเดียวกับการที่ไม่คิดจะขายหุ้นซึ่งอาจจะอยู่ในบริษัทโฮลดิ้งหรือกงสีที่เป็นแหล่งของความมั่งคั่งของคนในกลุ่มของตนเองที่เป็นเจ้าของร่วมกัน
ดังนั้น พวกเขาก็อาจจะไม่สนใจที่จะทำให้ราคาหรือมูลค่าของบริษัทเพิ่มขึ้น หรือถ้ากิจการของบริษัทมีกำไรดี เขาก็จะจ่ายปันผลน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะเงินอยู่กับบริษัทที่เขาควบคุมนั้น ดีกว่าต้องจ่ายออกไปให้กับนักลงทุนที่เป็น “คนนอก” หุ้นจึงมักจะไม่ค่อยไปไหน
คนที่เป็น VI รวมถึงผมก็เลยเกลียดหรือไม่ชอบหุ้นที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่สนใจผู้ถือหุ้นรายย่อย และผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มาจากต่างชาติบางประเทศที่มักจะมีประวัติดังกล่าว อย่างไรก็ตาม นานๆ เราก็อาจจะ “เผลอ” เหมือนกันเวลาเจอหุ้นหรือบริษัทที่ “ดี” และน่าสนใจมาก เราก็อาจจะเข้าไปซื้อหรือเก็งกำไร และก็อาจจะพบว่า “ผิดหวังอีกแล้ว ไม่รู้จักจำ” ว่าเจ้าของบริษัทหรือผู้บริหารเป็นใคร
หุ้นที่ผม “เกลียด” กลุ่มที่สองก็คือ หุ้นที่มีความเป็นสินค้าโภคภัณฑ์สูงมาก ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงได้มากเวลาที่อุปสงค์และอุปทานไม่สอดคล้องกันรุนแรง ตัวอย่างเช่น เหล็ก น้ำมัน ยาง ปิโตรเคมี หรือสินค้าบริการอย่างค่าระวางเรือเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ระดับของการไม่ชอบและการหลีกเลี่ยงที่จะไม่เข้าไปลงทุนซื้อขายก็แตกต่างกันบ้างตามความผันผวนของราคาสินค้าและระดับของมาร์จินหรือส่วนต่างราคาซื้อและขายของบริษัทในอุตสาหกรรมแต่ละอย่าง
ธุรกิจที่เกี่ยวกับเหล็กนั้น ผมคิดว่าลำบากมากที่จะทำผลตอบแทนระยะยาวไม่ว่าบริษัทจะดีแค่ไหน ดังนั้น หุ้นเหล็กตัวหนึ่ง ที่แม้ว่าจะ “ยิ่งใหญ่” มากในตลาดหุ้นเวียดนามและทำกำไรได้ดีมากในปัจจุบันผมเองก็จะหลีกเลี่ยง ผมคิดว่า ในระยะยาวแล้ว การถือหุ้นเหล็กคงทำกำไรได้ยาก และถ้าระยะยาว 4-5 ปี ถือไม่ได้ ระยะสั้นแค่ 4-5 นาทีผมก็ไม่ถือ
อย่างไรก็ตาม หุ้นโภคภัณฑ์นั้น บ่อยครั้งก็ให้ผลตอบแทนแบบ “ทะลุฟ้า 4-5 เด้ง” ได้ง่ายๆ และนี่ก็ทำให้เรา “เผลอ” เข้าไปเล่นได้ ผมเองเคยคิดอยู่บ้างเหมือนกันในหุ้นบางตัว แต่ก็ไม่ได้ทำและก็พลาดโอกาสทำเงินไป อย่างไรก็ตาม ผมก็พยายาม “ไม่เสียดาย” เพราะเราไม่อยากรับความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูงและประเมินไม่ได้
ผมจะเล่นต่อเมื่อบริษัทหรือหุ้นที่ทำกิจการโภคภัณฑ์นั้น มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์ของราคาสินค้าในทางเดียวกันหมด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงรวมของบริษัทได้มาก และที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ หุ้นมีราคาที่ “ถูกมากๆ” และต่อให้ปีนั้นจะเป็นปีที่เลวร้ายที่สุด มันก็ยังถูกอยู่ดี เพราะมันจะ “ไม่เจ๊ง” และในไม่ช้ากำไรก็จะกลับมาตามราคาโภคภัณฑ์ที่จะต้องดีขึ้น ตัวอย่างก็เช่น ราคาน้ำมัน เป็นต้น
หุ้นกลุ่มที่ 3 ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานก็คือ กิจการที่อาจจะถูก Disrupt หรือทำลายล้างโดยเทคโนโลยีโดยเฉพาะดิจิทัล ตัวอย่างอาจจะรวมถึงธุรกิจหนังสือ สิ่งพิมพ์ ทีวี และโรงภาพยนตร์ ที่ผมพยายามหลีกเลี่ยง นอกจากนั้นธุรกิจอย่างเช่นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ก็อาจจะกำลังโดนรถไฟฟ้าที่กำลังเข้ามาตีตลาดอย่างรุนแรง ทั้งหมดนั้น จริงๆก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงหรือแค่บางส่วน นอกจากนั้น บริษัทก็อาจจะสามารถปรับตัวและหาตลาดใหม่โดยใช้เทคโนโลยีเองก็ได้ ดังนั้น ถึงผมจะยังไม่ลงทุน ก็จะคอยติดตามว่าพัฒนาการของธุรกิจเป็นอย่างไร ผลประกอบการแย่ลงเรื่อยๆ หรือเริ่มดีขึ้น ที่สำคัญ ราคาหุ้นตกลงมาถึงจุดไหนแล้ว ทั้งหมดนั้นก็อาจจะเป็นโอกาสที่จะลงทุนและทำกำไรได้
หุ้นหรือบริษัทกลุ่มที่ 4 ที่ผมคิดว่านักเล่นหุ้นจำนวนมากอาจจะ “เกลียด” แต่ผมเองคิดว่าน่าสนใจก็คือ หุ้นที่ “ไม่มีเจ้าของ” ซึ่งก็มักจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนมาก และผู้ถือหุ้นที่ถือจำนวนมากก็จะเป็นสถาบันที่ลงทุนโดยมืออาชีพ เช่นเดียวกับผู้บริหารบริษัทก็จะเป็นมืออาชีพที่จะต้องถูกประเมินโดยผู้ถือหุ้นสำหรับผลงานของตนเอง
ประเด็นที่นักเล่นหุ้นเกลียดหุ้นกลุ่มนี้ก็คือการที่หุ้นเหล่านี้มีขนาดใหญ่และมีคนที่พร้อมซื้อขายหุ้นมากเกินไป นอกจากนั้น จำนวนมากก็เป็นนักลงทุนจากต่างประเทศที่มักตัดสินใจซื้อขายหุ้นโดยอิงกับภาวะการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลก นั่นทำให้หุ้นใหญ่ๆ ของไทยปรับตัวขึ้นลงน้อยในแต่ละวันหรือแม้แต่สัปดาห์ เหตุผลก็เพราะว่าคนที่ซื้อขายก็ตัดสินใจโดยอาศัยพื้นฐานกิจการของบริษัทที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงช้า ข่าวดีหรือข่าวร้ายของบริษัทที่เข้ามากระทบนั้น ก็มักจะมีผลไม่มากต่อผลประกอบการโดยรวม ดังนั้นราคาหุ้นจึงไม่ใคร่หวือหวา นักเล่นหุ้นที่เน้นการเก็งกำไรเร็ว ๆ จึงมักจะผิดหวังและ “ไม่อยากรอ” พวกเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงหุ้นเหล่านั้น
แต่ผมเองกลับชอบ เพราะราคาของหุ้นจะ “ไม่แพง” โดยเฉพาะในยามที่ภาวะเศรษฐกิจไทยไม่ได้เติบโตเร็ว ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่สนใจลงทุนมากนัก และก็อาจจะไม่อยากที่จะถือหุ้นยาวด้วย เพราะมองว่ามีตลาดอื่นที่โตเร็วและเหมาะกับการลงทุนระยะยาวมากกว่า แต่สำหรับผมแล้ว นี่คือกลุ่มที่มีความมั่นคงของผลประกอบการ มีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ กิจการยังสามารถเติบโตได้บ้าง มีค่า P/E ปกติไม่เกิน 10 เท่า และสามารถจ่ายปันผลในอัตราที่สูงมาก เช่น 4-5% ต่อปีขึ้นไปได้ต่อเนื่องยาวนาน ผมก็คิดว่าน่าลงทุนและหวังผลตอบแทนได้อย่างน้อย 6-7% ต่อปีขึ้นไป ซึ่งน่าจะดีกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดในอนาคต
หุ้นกลุ่มสุดท้ายที่ผมเกลียดก็คือ “หุ้นที่มีเจ้ามือ” หรือคนที่คอยดูแลทำราคาหรือเรียกว่าเป็น “Market Maker” หรือในกรณีที่รุนแรงก็คือปั่นหุ้นหรือ “คอร์เนอร์หุ้น” ที่ทำให้ราคาหุ้นผิดธรรมชาติมาก อาจจะสูงกว่าพื้นฐานเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัวได้ในระยะเวลาสั้น ๆ
สิ่งที่จะต้องระวังมากสำหรับหุ้นกลุ่มนี้ก็คือ หลายๆตัวเป็นหุ้นที่อาจจะมีพื้นฐานที่ดี มีสตอรี่หรือเรื่องราวของหุ้นที่น่าสนใจมาก นอกจากนั้นก็อาจจะมีผลประกอบการที่ดูเหมือนจะมีการเติบโตสูงมากและบริษัทเป็น “ผู้ชนะ” คล้ายๆ กับ “ซุปเปอร์สต็อก”
แต่ถ้าวิเคราะห์ดูอย่างรอบคอบและไม่ถูกอิทธิพลของการ “เล่าเรื่อง” ประกอบกับผลประกอบการที่กำลังดีขึ้นมาก และราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นราวกับติดจรวด ก็อาจจะพบว่าบริษัทอาจจะไม่ได้ดีขนาดนั้นในระยะยาว ซึ่งก็จะทำให้ในที่สุด ราคาหุ้นที่ขึ้นไปก็จะตกลงมาอย่างแรงจนทำให้คนที่เข้าไปเล่นขาดทุนได้ทั้งๆที่เคยได้กำไรมโหฬารแต่ไม่ยอมขายเพราะยังเชื่อในตัวหุ้นอยู่
ผมเองพยายามและก็มักจะหลีกเลี่ยงหุ้นเหล่านั้นได้สำเร็จ เพราะเป็นคนที่ยึดมั่นในหลักการสำคัญที่สุดของการลงทุนนั่นก็คือ ถ้าหุ้นมีราคาแพงมากเกินไปมาก ผมไม่ซื้อ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ผมไม่เชื่อสตอรี่ที่ดีเกินไป และก็ไม่ชอบผู้บริหารที่ “โม้” มากเกินไป ดังนั้น เมื่อพบว่าบริษัทมีอาการแบบนั้น ผมก็มักจะหลีกเลี่ยงหุ้น ผมพลาดหุ้นแนวนี้เยอะมากในช่วงอย่างน้อย 6-7 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ถึงวันนี้ก็เห็นแล้วว่า คนที่เข้าไปเล่นหุ้นเหล่านั้นเจ็บตัวกันหนัก หลายคน “คืนเงินกลับไปหมดแล้ว” หลังจากคอร์เนอร์ “แตก” กันเป็นระลอก
กล่าวโดยสรุปทั้งหมดก็คือ โดยปกติแล้ว ผมจะหลีกเลี่ยงหุ้นที่เกลียด และจะซื้อก็ต่อเมื่อหุ้นมีราคาถูกถึงถูกมาก และต้องดูแล้วว่ามันก็ไม่ถึงกับเกลียดมากจนซื้อไม่ได้เลย
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1098359
คนที่ลงทุนหรือเล่นหุ้นมานานมากนั้น ส่วนใหญ่ผมเชื่อว่ามักจะมีความคิดที่ “ฝังใจ” กับหุ้นบางประเภทที่ตนเองเคยประสบและมีประสบการณ์ที่ “ไม่ดี” ซ้ำอยู่หลายหนจนทำให้ “เข็ด”
และหลังจากนั้นก็จะไม่อยากเข้าไปยุ่งด้วยแม้ว่าหุ้น “ตัวใหม่” อาจจะกำลัง “ดูดี” น่าลงทุน เหตุผลรวบยอดที่ใช้ก็คือ เขา “เกลียด” หุ้นที่มีลักษณะแบบนั้น เพราะลงทุนหรือเล่นแล้วก็มักจะขาดทุนหรือหุ้นไม่ไปไหน ตัวอย่างที่เห็นบ่อยๆ ในเว็บบอร์ดสาธารณะเกี่ยวกับหุ้นก็เช่น “กลุ่มหุ้นปันผล” ที่จ่ายหรือกำลังจะจ่ายปันผลงดงามที่มักจะพบคอมเม้นท์ที่ว่า “อยากเอาปันผลไปคืน” หลังจากวัน X-Dividend หรือวันที่ได้รับสิทธิในปันผลไปแล้วและราคาหุ้นตกลงมามากกว่าเงินปันผลที่ได้พอสมควร ซึ่งทำให้ซื้อแล้ว “ขาดทุน”
หุ้นที่ซื้อแล้ว “ขาดทุน” หรือ “ไม่ได้อะไรเลย” แม้ว่าจะวิเคราะห์ดีแล้ว และผลประกอบการก็ออกมา “ดีตามคาด” เป็นหุ้นที่มักทำให้นักลงทุนโดยเฉพาะ VI รู้สึกผิดหวังมากกว่าปกติ และนั่นก็อาจจะไม่ใช่ครั้งเดียว แต่เกิดขึ้นซ้ำๆ จนถึงจุดหนึ่งเราก็จะ “เกลียด” และจะหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้นแบบนั้น ซึ่งก็มีหลายแบบมากดังตัวอย่างต่อไปนี้
กลุ่มแรกก็คือ หุ้นที่ผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเจ้าของเป็นกลุ่มที่ไม่ใคร่จะสนใจนักลงทุนที่เข้ามาซื้อขายหุ้น อาจจะเพราะพวกเขาไม่เห็นประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยเลยเพราะเขาไม่สนใจหรือไม่มีความจำเป็นที่จะต้องระดมเงินอีกต่อไปแล้ว เช่นเดียวกับการที่ไม่คิดจะขายหุ้นซึ่งอาจจะอยู่ในบริษัทโฮลดิ้งหรือกงสีที่เป็นแหล่งของความมั่งคั่งของคนในกลุ่มของตนเองที่เป็นเจ้าของร่วมกัน
ดังนั้น พวกเขาก็อาจจะไม่สนใจที่จะทำให้ราคาหรือมูลค่าของบริษัทเพิ่มขึ้น หรือถ้ากิจการของบริษัทมีกำไรดี เขาก็จะจ่ายปันผลน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะเงินอยู่กับบริษัทที่เขาควบคุมนั้น ดีกว่าต้องจ่ายออกไปให้กับนักลงทุนที่เป็น “คนนอก” หุ้นจึงมักจะไม่ค่อยไปไหน
คนที่เป็น VI รวมถึงผมก็เลยเกลียดหรือไม่ชอบหุ้นที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่สนใจผู้ถือหุ้นรายย่อย และผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มาจากต่างชาติบางประเทศที่มักจะมีประวัติดังกล่าว อย่างไรก็ตาม นานๆ เราก็อาจจะ “เผลอ” เหมือนกันเวลาเจอหุ้นหรือบริษัทที่ “ดี” และน่าสนใจมาก เราก็อาจจะเข้าไปซื้อหรือเก็งกำไร และก็อาจจะพบว่า “ผิดหวังอีกแล้ว ไม่รู้จักจำ” ว่าเจ้าของบริษัทหรือผู้บริหารเป็นใคร
หุ้นที่ผม “เกลียด” กลุ่มที่สองก็คือ หุ้นที่มีความเป็นสินค้าโภคภัณฑ์สูงมาก ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงได้มากเวลาที่อุปสงค์และอุปทานไม่สอดคล้องกันรุนแรง ตัวอย่างเช่น เหล็ก น้ำมัน ยาง ปิโตรเคมี หรือสินค้าบริการอย่างค่าระวางเรือเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ระดับของการไม่ชอบและการหลีกเลี่ยงที่จะไม่เข้าไปลงทุนซื้อขายก็แตกต่างกันบ้างตามความผันผวนของราคาสินค้าและระดับของมาร์จินหรือส่วนต่างราคาซื้อและขายของบริษัทในอุตสาหกรรมแต่ละอย่าง
ธุรกิจที่เกี่ยวกับเหล็กนั้น ผมคิดว่าลำบากมากที่จะทำผลตอบแทนระยะยาวไม่ว่าบริษัทจะดีแค่ไหน ดังนั้น หุ้นเหล็กตัวหนึ่ง ที่แม้ว่าจะ “ยิ่งใหญ่” มากในตลาดหุ้นเวียดนามและทำกำไรได้ดีมากในปัจจุบันผมเองก็จะหลีกเลี่ยง ผมคิดว่า ในระยะยาวแล้ว การถือหุ้นเหล็กคงทำกำไรได้ยาก และถ้าระยะยาว 4-5 ปี ถือไม่ได้ ระยะสั้นแค่ 4-5 นาทีผมก็ไม่ถือ
อย่างไรก็ตาม หุ้นโภคภัณฑ์นั้น บ่อยครั้งก็ให้ผลตอบแทนแบบ “ทะลุฟ้า 4-5 เด้ง” ได้ง่ายๆ และนี่ก็ทำให้เรา “เผลอ” เข้าไปเล่นได้ ผมเองเคยคิดอยู่บ้างเหมือนกันในหุ้นบางตัว แต่ก็ไม่ได้ทำและก็พลาดโอกาสทำเงินไป อย่างไรก็ตาม ผมก็พยายาม “ไม่เสียดาย” เพราะเราไม่อยากรับความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูงและประเมินไม่ได้
ผมจะเล่นต่อเมื่อบริษัทหรือหุ้นที่ทำกิจการโภคภัณฑ์นั้น มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์ของราคาสินค้าในทางเดียวกันหมด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงรวมของบริษัทได้มาก และที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ หุ้นมีราคาที่ “ถูกมากๆ” และต่อให้ปีนั้นจะเป็นปีที่เลวร้ายที่สุด มันก็ยังถูกอยู่ดี เพราะมันจะ “ไม่เจ๊ง” และในไม่ช้ากำไรก็จะกลับมาตามราคาโภคภัณฑ์ที่จะต้องดีขึ้น ตัวอย่างก็เช่น ราคาน้ำมัน เป็นต้น
หุ้นกลุ่มที่ 3 ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานก็คือ กิจการที่อาจจะถูก Disrupt หรือทำลายล้างโดยเทคโนโลยีโดยเฉพาะดิจิทัล ตัวอย่างอาจจะรวมถึงธุรกิจหนังสือ สิ่งพิมพ์ ทีวี และโรงภาพยนตร์ ที่ผมพยายามหลีกเลี่ยง นอกจากนั้นธุรกิจอย่างเช่นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ก็อาจจะกำลังโดนรถไฟฟ้าที่กำลังเข้ามาตีตลาดอย่างรุนแรง ทั้งหมดนั้น จริงๆก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงหรือแค่บางส่วน นอกจากนั้น บริษัทก็อาจจะสามารถปรับตัวและหาตลาดใหม่โดยใช้เทคโนโลยีเองก็ได้ ดังนั้น ถึงผมจะยังไม่ลงทุน ก็จะคอยติดตามว่าพัฒนาการของธุรกิจเป็นอย่างไร ผลประกอบการแย่ลงเรื่อยๆ หรือเริ่มดีขึ้น ที่สำคัญ ราคาหุ้นตกลงมาถึงจุดไหนแล้ว ทั้งหมดนั้นก็อาจจะเป็นโอกาสที่จะลงทุนและทำกำไรได้
หุ้นหรือบริษัทกลุ่มที่ 4 ที่ผมคิดว่านักเล่นหุ้นจำนวนมากอาจจะ “เกลียด” แต่ผมเองคิดว่าน่าสนใจก็คือ หุ้นที่ “ไม่มีเจ้าของ” ซึ่งก็มักจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนมาก และผู้ถือหุ้นที่ถือจำนวนมากก็จะเป็นสถาบันที่ลงทุนโดยมืออาชีพ เช่นเดียวกับผู้บริหารบริษัทก็จะเป็นมืออาชีพที่จะต้องถูกประเมินโดยผู้ถือหุ้นสำหรับผลงานของตนเอง
ประเด็นที่นักเล่นหุ้นเกลียดหุ้นกลุ่มนี้ก็คือการที่หุ้นเหล่านี้มีขนาดใหญ่และมีคนที่พร้อมซื้อขายหุ้นมากเกินไป นอกจากนั้น จำนวนมากก็เป็นนักลงทุนจากต่างประเทศที่มักตัดสินใจซื้อขายหุ้นโดยอิงกับภาวะการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลก นั่นทำให้หุ้นใหญ่ๆ ของไทยปรับตัวขึ้นลงน้อยในแต่ละวันหรือแม้แต่สัปดาห์ เหตุผลก็เพราะว่าคนที่ซื้อขายก็ตัดสินใจโดยอาศัยพื้นฐานกิจการของบริษัทที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงช้า ข่าวดีหรือข่าวร้ายของบริษัทที่เข้ามากระทบนั้น ก็มักจะมีผลไม่มากต่อผลประกอบการโดยรวม ดังนั้นราคาหุ้นจึงไม่ใคร่หวือหวา นักเล่นหุ้นที่เน้นการเก็งกำไรเร็ว ๆ จึงมักจะผิดหวังและ “ไม่อยากรอ” พวกเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงหุ้นเหล่านั้น
แต่ผมเองกลับชอบ เพราะราคาของหุ้นจะ “ไม่แพง” โดยเฉพาะในยามที่ภาวะเศรษฐกิจไทยไม่ได้เติบโตเร็ว ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่สนใจลงทุนมากนัก และก็อาจจะไม่อยากที่จะถือหุ้นยาวด้วย เพราะมองว่ามีตลาดอื่นที่โตเร็วและเหมาะกับการลงทุนระยะยาวมากกว่า แต่สำหรับผมแล้ว นี่คือกลุ่มที่มีความมั่นคงของผลประกอบการ มีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ กิจการยังสามารถเติบโตได้บ้าง มีค่า P/E ปกติไม่เกิน 10 เท่า และสามารถจ่ายปันผลในอัตราที่สูงมาก เช่น 4-5% ต่อปีขึ้นไปได้ต่อเนื่องยาวนาน ผมก็คิดว่าน่าลงทุนและหวังผลตอบแทนได้อย่างน้อย 6-7% ต่อปีขึ้นไป ซึ่งน่าจะดีกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดในอนาคต
หุ้นกลุ่มสุดท้ายที่ผมเกลียดก็คือ “หุ้นที่มีเจ้ามือ” หรือคนที่คอยดูแลทำราคาหรือเรียกว่าเป็น “Market Maker” หรือในกรณีที่รุนแรงก็คือปั่นหุ้นหรือ “คอร์เนอร์หุ้น” ที่ทำให้ราคาหุ้นผิดธรรมชาติมาก อาจจะสูงกว่าพื้นฐานเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัวได้ในระยะเวลาสั้น ๆ
สิ่งที่จะต้องระวังมากสำหรับหุ้นกลุ่มนี้ก็คือ หลายๆตัวเป็นหุ้นที่อาจจะมีพื้นฐานที่ดี มีสตอรี่หรือเรื่องราวของหุ้นที่น่าสนใจมาก นอกจากนั้นก็อาจจะมีผลประกอบการที่ดูเหมือนจะมีการเติบโตสูงมากและบริษัทเป็น “ผู้ชนะ” คล้ายๆ กับ “ซุปเปอร์สต็อก”
แต่ถ้าวิเคราะห์ดูอย่างรอบคอบและไม่ถูกอิทธิพลของการ “เล่าเรื่อง” ประกอบกับผลประกอบการที่กำลังดีขึ้นมาก และราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นราวกับติดจรวด ก็อาจจะพบว่าบริษัทอาจจะไม่ได้ดีขนาดนั้นในระยะยาว ซึ่งก็จะทำให้ในที่สุด ราคาหุ้นที่ขึ้นไปก็จะตกลงมาอย่างแรงจนทำให้คนที่เข้าไปเล่นขาดทุนได้ทั้งๆที่เคยได้กำไรมโหฬารแต่ไม่ยอมขายเพราะยังเชื่อในตัวหุ้นอยู่
ผมเองพยายามและก็มักจะหลีกเลี่ยงหุ้นเหล่านั้นได้สำเร็จ เพราะเป็นคนที่ยึดมั่นในหลักการสำคัญที่สุดของการลงทุนนั่นก็คือ ถ้าหุ้นมีราคาแพงมากเกินไปมาก ผมไม่ซื้อ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ผมไม่เชื่อสตอรี่ที่ดีเกินไป และก็ไม่ชอบผู้บริหารที่ “โม้” มากเกินไป ดังนั้น เมื่อพบว่าบริษัทมีอาการแบบนั้น ผมก็มักจะหลีกเลี่ยงหุ้น ผมพลาดหุ้นแนวนี้เยอะมากในช่วงอย่างน้อย 6-7 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ถึงวันนี้ก็เห็นแล้วว่า คนที่เข้าไปเล่นหุ้นเหล่านั้นเจ็บตัวกันหนัก หลายคน “คืนเงินกลับไปหมดแล้ว” หลังจากคอร์เนอร์ “แตก” กันเป็นระลอก
กล่าวโดยสรุปทั้งหมดก็คือ โดยปกติแล้ว ผมจะหลีกเลี่ยงหุ้นที่เกลียด และจะซื้อก็ต่อเมื่อหุ้นมีราคาถูกถึงถูกมาก และต้องดูแล้วว่ามันก็ไม่ถึงกับเกลียดมากจนซื้อไม่ได้เลย
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1098359
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
บทบาทผู้กำกับตลาดหุ้น
By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 18 พ.ย. 2566
ช่วงเร็วๆนี้ ผู้กำกับหรือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ดูแลและพัฒนาตลาดทุน หรือตลาดหุ้น อาทิเช่น ตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต. ต่างก็ถูกโจมตีจากนักเล่นหุ้นว่าไม่ได้ทำอะไรที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนที่เข้าไปเล่นหุ้นที่กำลังขาดทุนอย่างหนักเพราะตลาดหุ้น “ตกเอาๆ”
อันเนื่องจากการที่ตลาดปล่อยให้มีการทำชอร์ตเซล โดยเฉพาะแบบที่คนทำไม่ได้มีหุ้นหรือที่เรียกว่า “Naked Short” หรือมีการปล่อยให้นักลงทุนบางกลุ่มทำการซื้อขายหุ้นโดยหุ่นยนต์ที่เรียกว่า “Robot Trading” ที่สามารถทำการซื้อขายอย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนการซื้อขายที่ถูกมาก ซึ่งทำให้ได้เปรียบนักลงทุนส่วนบุคคลทั่วไป
ดูเหมือนว่าทั้งผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์และก.ล.ต. ต่างก็แถลงแก้ว่าได้ตรวจสอบดูข้อมูลอย่างละเอียดแล้วพบว่า ไม่มีการทำ Naked Short และการทำชอร์ตเซลที่ต้องยืมหุ้นก็มีระดับปกติ เช่นเดียวกับ Robot Trade ซึ่งก็ทำมานานแล้วก่อนที่ตลาดหุ้นจะตกลงมาแรงในช่วงนี้ ส่วนก.ล.ต. เองก็มองว่า ชอร์ตเซลเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการลงทุน และก็ได้กำหนดแนวทางต่างๆที่เหมาะสม เพื่อควบคุมการทำชอร์ตเซลไม่ให้ตลาดหุ้นผันผวนเกินไป รวมถึงการที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนทราบ
เช่นเดียวกัน การซื้อขายด้วย AI หรือหุ่นยนต์เองนั้น ก็เป็นวิวัฒนาการที่ตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วใช้มานานแล้วและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงตอนนี้มีปริมาณการซื้อขายมากกว่าที่ทำโดยคนไปแล้ว ถ้าไปห้ามก็คงทำให้ตลาดหุ้นไม่พัฒนา ส่วนเรื่องว่าเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะรายย่อยอื่นนั้น แม้ก.ล.ต.จะไม่ได้พูดถึง แต่ก็ได้พูดว่านักลงทุนแต่ละกลุ่มเองนั้นก็มีมุมมองไม่เหมือนกัน นัยยะก็อาจจะเป็นว่า คนที่ลงทุนระยะยาวก็อาจจะไม่ได้คิดว่าการเทรดที่เร็วกว่าโดยหุ่นยนต์เป็นเรื่องที่ทำให้ตนเองเสียเปรียบ พวกเขาอาจจะชอบด้วยซ้ำถ้าทำให้หุ้นมีสภาพคล่องที่ดี เวลาขายจะได้มีคนมารับ เป็นต้น
ผมเองคงไม่ถกเถียงว่าใครผิดหรือถูก เพราะเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่อง “ชั่วคราว” ระยะสั้นที่จะผ่านไปในไม่ช้า โดยเฉพาะถ้าหุ้นเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาก แต่สิ่งที่ผมจะพูดก็คือ บทบาทหรือหน้าที่ที่ผู้กำกับตลาดทุนหรือตลาดหุ้นควรจะต้องทำในระยะยาวคืออะไรที่จะทำให้ตลาดทุนของไทยดีขึ้น และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการระดมทุนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ประเด็นแรกก่อนที่จะเข้าเรื่องก็คือ ผมคิดว่า “ผู้ดูแลหรือกำกับ” ตลาดทุนหรือตลาดหุ้นนั้น ไม่ใช่มีเฉพาะตลาดหุ้นและก.ล.ต. เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหน่วยงานเก็บภาษีการลงทุนในหุ้นและเครื่องมือลงทุนอื่นๆ และที่ขาดไม่ได้ก็คือ รัฐบาลที่เป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย
เรื่องต่อมาที่ควรจะต้องเข้าใจให้ตรงกันก็คือ การกำกับและพัฒนาตลาดทุนและตลาดหุ้นนั้น ผมคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญอย่างน้อย 2 ครั้งใหญ่ๆ คือครั้งแรก ประมาณปี 2530 ที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มสามารถเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้ และครั้งที่สองก็คือเมื่อประมาณ 7-8 ปีมาแล้วหรือประมาณปี 2558 ที่นักลงทุนส่วนบุคคลไทยสามารถนำเงินออกไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศได้ เหตุการณ์ทั้งสองดังกล่าวนั้น ทำให้นิยามของการกำกับและพัฒนาตลาดหุ้นควรจะต้องเปลี่ยนไปนั่นก็คือ
เดิมทีเมื่อเราพูดถึงการพัฒนาตลาดหุ้นหรือตลาดทุนนั้น เราจะพูดถึงสิ่งเดียวคือ “ตลาดหุ้นไทย” โดยปรัชญาหรือนโยบายอะไรต่างก็ผูกอยู่กับตลาด ตัวอย่างเช่นเรื่องภาษีที่บอกว่าถ้าจะพัฒนาตลาดก็จะต้องงดเก็บภาษีบางอย่าง เช่น ภาษีกำไรจากการลงทุน เป็นต้น
แต่ถึงวันนี้ เวลาที่พูดถึงการพัฒนาตลาดทุนหรือตลาดหุ้น ผมคิดว่าเราจะต้องเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอย่างนั่นก็คือ “นักลงทุน” ซึ่งจะมีความสำคัญพอๆกัน หรือมากกว่าตลาดหุ้นด้วยซ้ำ และจะต้องแยกแยะว่า “นักลงทุนไม่ใช่ตลาดหุ้น” นโยบายหรือเกณฑ์อะไรต่างๆที่จะออกมานั้นจะต้องคำนึงถึงนักลงทุนด้วย เพราะบางครั้งนโยบายที่ดีต่อตลาดอาจจะเป็นผลเสียต่อนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนที่ได้ไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ
พูดง่ายๆต่อจากนี้ไป เราต้องคิดว่านักลงทุนมีโอกาสไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ และเราก็ควรจะต้องส่งเสริม อย่าไปคิดว่าถ้าส่งเสริมแล้วพวกเขาก็จะขนเงินไปลงทุนในต่างประเทศซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นไทยเหงาและราคาหุ้นจะตก เราต้องยอมรับความจริงที่ว่า ถ้าพื้นฐานของหุ้นในตลาดไม่ดี มันก็จะต้องตก ฝืนยากมาก เลิกหรืองดเว้นการทำชอร์ตเซลในช่วงนี้อาจช่วยให้หุ้นขึ้นบ้างเหมือนตลาดหุ้นเกาหลีที่กำลังทำอยู่ แต่ถ้าพื้นฐานแย่ลงเพราะเศรษฐกิจไม่ดี หุ้นที่ขึ้นไป “ชั่วคราว” ก็จะตกลงมาใหม่
การส่งเสริมหรืออย่างน้อยไม่ไป “กีดกัน” การลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนนั้น ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีในเชิงเศรษฐกิจ อย่างน้อยมันเป็นโอกาสให้คนที่มีเงินออมไปหาผลตอบแทนที่ดี และในไม่ช้าเขาก็จะนำกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเมื่อเขาคิดว่าหุ้นไทย “น่าลงทุน” อาจจะเพราะว่าเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นแล้ว หรืออาจจะเพราะราคาหุ้นหรือดัชนีตกลงมามากจนคุ้มค่าที่จะลงทุน “แบบ VI” แล้ว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ยังไงเราก็เป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เราก็อยากที่จะมีรายได้หรือได้ผลตอบแทนในประเทศไทยมากกว่าจากต่างประเทศถ้าปัจจัยอย่างอื่นเท่ากันหรือเหมือนกัน
ด้วยหลักการหรือแนวทางการกำกับและพัฒนาโดยคำนึงถึงประเด็นที่ว่าตลาดกับนักลงทุนนั้น ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแล้ว จากนั้นผมคิดว่าเวลาจะกำหนดนโยบายหรือกฎเกณฑ์จะต้องคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้คือ
หนึ่ง กฎเกณฑ์จะต้อง Fair and Transparent หรือยุติธรรมและโปร่งใส ตัวอย่างของความยุติธรรมก็เช่น นักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศควรจะเสียภาษีเหมือนตลาดหุ้นไทย การกำหนดให้กำไรจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาที่สูงสุดถึง 35% เวลานำเงินกลับมาจึง “ไม่แฟร์”
ความโปร่งใสหรือการเปิดเผยข้อมูลให้มากที่สุด ตัวอย่างที่ตลาดเคยทำก็คือ การเปลี่ยนการเปิดเผยชื่อนักลงทุนรายใหญ่จากที่ถือหุ้นถึง 0.5% เป็นเปิดเฉพาะ 10 อันดับแรก ซึ่งเป็นการ “ลด” การเปิดเผยลงนั้น ไม่สอดคล้องกับทิศทางที่ควรจะเป็น แต่ในช่วงนั้นก็มีคนต้านน้อยมาก ตรงกันข้ามกับช่วงนี้ที่ดูเหมือนว่า ตลาดพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลเรื่องการชอร์ตเซลมากขึ้น
สองก็คือเรื่อง Competitiveness หรือความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์ไทยกับต่างประเทศ เหตุผลก็ชัดเจนว่าปัจจุบันตลาดไม่ได้เป็น “ผู้ผูกขาดการลงทุนหุ้นในตลาด” อีกต่อไป ดังนั้น การที่จะออกเกณฑ์อะไรก็ตามก็จะต้องดูว่าออกมาแล้ว นักลงทุนจะยอมรับแค่ไหน เพราะถ้าไม่เป็นผลดีต่อนักลงทุน พวกเขาก็แค่ย้ายไปลงทุนในตลาดอื่น และประเทศก็จะไม่ได้อะไรจากเม็ดเงินที่ออกไปรวมถึงภาษีบางอย่างที่ควรจะได้
สามก็คือ เราจะต้องคำนึงถึง Efficiency หรือความมีประสิทธิภาพของตลาดในการซื้อขายลงทุนในหุ้น ก็อย่างที่ได้กล่าวแล้วในกรณีตัวอย่างของการใช้ AI และ Robot Trade ที่เป็นทิศทางของนักลงทุนระดับโลก ถ้าเราห้าม เขาก็อาจจะไม่มา ปริมาณซื้อขายรายวันน่าจะหายไปมาก ตลาดไทยที่เป็นตลาดหุ้นที่คึกคักก็อาจจะกลายเป็นตลาดหุ้นที่เหงา และValuation หรือการตีมูลค่าก็จะลดลง กระทบไปถึงบริษัทจดทะเบียนที่จะระดมทุนในอนาคต
สุดท้ายที่ผมเห็นว่าเป็นปัญหามากสำหรับตลาดหุ้นไทยก็คือ Predictability นั่นก็คือ นักลงทุนควรจะสามารถคาดการณ์เรื่องของ Regulation หรือกฎเกณฑ์ที่ออกมาได้ในระดับที่ดี นี่เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่านักลงทุนไม่ชอบความเสี่ยงโดยเฉพาะด้านลบ ถ้าคิดว่ามีความเสี่ยงมากเขาก็จะให้มูลค่ากับหุ้นในตลาดนั้นต่ำลง ตัวอย่างเช่น การประกาศเก็บภาษีในตลาดหุ้นโดยเฉพาะที่เป็นแบบ “กระทันหัน” อย่างการเก็บภาษีการลงทุนในต่างประเทศที่ประกาศแล้ว ไม่ให้เวลาปรับตัว คนที่ออกไปลงทุนแล้วถ้านำเงินกลับมาก็จะต้องเสียภาษีทันที เป็นต้น
ตัวอย่างของตลาดหุ้นอื่นเช่น มาเลเซีย เขาให้เวลาหลายปีเพื่อให้โอกาสคนที่ไม่อยากเสียภาษีนำเงินกลับมา ตัวอย่างอีกแห่งหนึ่งก็คือที่ออสเตรเลีย ที่เคยประกาศเก็บภาษีกำไรจากหุ้น สิ่งที่ทำก็คือ เขาให้ปรับต้นทุนใหม่หมดก่อนที่จะเก็บภาษี ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุติธรรมสำหรับคนที่ถือหุ้นมานานและมีกำไรในพอร์ตมากที่จะไม่ต้องเสียภาษีที่เกิดขึ้นในอดีต เป็นต้น
ทั้งหมดนั้นผมก็หวังว่าต่อจากนี้ไป ผู้กำกับและผู้คุมกฎเกี่ยวกับตลาดหุ้นที่รวมไปถึงผู้เก็บภาษีและรัฐบาลจะยึดถือเป็นหลักในการทำงาน ผมเชื่อว่าถ้าทำแบบนั้น ทุกคนเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนก็จะเข้าใจ และก็คงไม่มาประท้วงว่าทำไมผู้กำกับหรือผู้มีอำนาจไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ออกมาอย่างมีเหตุผลที่ถูกต้องเพื่อทำให้ตลาดดีในระยะยาว
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1099509
By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 18 พ.ย. 2566
ช่วงเร็วๆนี้ ผู้กำกับหรือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ดูแลและพัฒนาตลาดทุน หรือตลาดหุ้น อาทิเช่น ตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต. ต่างก็ถูกโจมตีจากนักเล่นหุ้นว่าไม่ได้ทำอะไรที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนที่เข้าไปเล่นหุ้นที่กำลังขาดทุนอย่างหนักเพราะตลาดหุ้น “ตกเอาๆ”
อันเนื่องจากการที่ตลาดปล่อยให้มีการทำชอร์ตเซล โดยเฉพาะแบบที่คนทำไม่ได้มีหุ้นหรือที่เรียกว่า “Naked Short” หรือมีการปล่อยให้นักลงทุนบางกลุ่มทำการซื้อขายหุ้นโดยหุ่นยนต์ที่เรียกว่า “Robot Trading” ที่สามารถทำการซื้อขายอย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนการซื้อขายที่ถูกมาก ซึ่งทำให้ได้เปรียบนักลงทุนส่วนบุคคลทั่วไป
ดูเหมือนว่าทั้งผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์และก.ล.ต. ต่างก็แถลงแก้ว่าได้ตรวจสอบดูข้อมูลอย่างละเอียดแล้วพบว่า ไม่มีการทำ Naked Short และการทำชอร์ตเซลที่ต้องยืมหุ้นก็มีระดับปกติ เช่นเดียวกับ Robot Trade ซึ่งก็ทำมานานแล้วก่อนที่ตลาดหุ้นจะตกลงมาแรงในช่วงนี้ ส่วนก.ล.ต. เองก็มองว่า ชอร์ตเซลเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการลงทุน และก็ได้กำหนดแนวทางต่างๆที่เหมาะสม เพื่อควบคุมการทำชอร์ตเซลไม่ให้ตลาดหุ้นผันผวนเกินไป รวมถึงการที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนทราบ
เช่นเดียวกัน การซื้อขายด้วย AI หรือหุ่นยนต์เองนั้น ก็เป็นวิวัฒนาการที่ตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วใช้มานานแล้วและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงตอนนี้มีปริมาณการซื้อขายมากกว่าที่ทำโดยคนไปแล้ว ถ้าไปห้ามก็คงทำให้ตลาดหุ้นไม่พัฒนา ส่วนเรื่องว่าเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะรายย่อยอื่นนั้น แม้ก.ล.ต.จะไม่ได้พูดถึง แต่ก็ได้พูดว่านักลงทุนแต่ละกลุ่มเองนั้นก็มีมุมมองไม่เหมือนกัน นัยยะก็อาจจะเป็นว่า คนที่ลงทุนระยะยาวก็อาจจะไม่ได้คิดว่าการเทรดที่เร็วกว่าโดยหุ่นยนต์เป็นเรื่องที่ทำให้ตนเองเสียเปรียบ พวกเขาอาจจะชอบด้วยซ้ำถ้าทำให้หุ้นมีสภาพคล่องที่ดี เวลาขายจะได้มีคนมารับ เป็นต้น
ผมเองคงไม่ถกเถียงว่าใครผิดหรือถูก เพราะเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่อง “ชั่วคราว” ระยะสั้นที่จะผ่านไปในไม่ช้า โดยเฉพาะถ้าหุ้นเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาก แต่สิ่งที่ผมจะพูดก็คือ บทบาทหรือหน้าที่ที่ผู้กำกับตลาดทุนหรือตลาดหุ้นควรจะต้องทำในระยะยาวคืออะไรที่จะทำให้ตลาดทุนของไทยดีขึ้น และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการระดมทุนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ประเด็นแรกก่อนที่จะเข้าเรื่องก็คือ ผมคิดว่า “ผู้ดูแลหรือกำกับ” ตลาดทุนหรือตลาดหุ้นนั้น ไม่ใช่มีเฉพาะตลาดหุ้นและก.ล.ต. เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหน่วยงานเก็บภาษีการลงทุนในหุ้นและเครื่องมือลงทุนอื่นๆ และที่ขาดไม่ได้ก็คือ รัฐบาลที่เป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย
เรื่องต่อมาที่ควรจะต้องเข้าใจให้ตรงกันก็คือ การกำกับและพัฒนาตลาดทุนและตลาดหุ้นนั้น ผมคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญอย่างน้อย 2 ครั้งใหญ่ๆ คือครั้งแรก ประมาณปี 2530 ที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มสามารถเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้ และครั้งที่สองก็คือเมื่อประมาณ 7-8 ปีมาแล้วหรือประมาณปี 2558 ที่นักลงทุนส่วนบุคคลไทยสามารถนำเงินออกไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศได้ เหตุการณ์ทั้งสองดังกล่าวนั้น ทำให้นิยามของการกำกับและพัฒนาตลาดหุ้นควรจะต้องเปลี่ยนไปนั่นก็คือ
เดิมทีเมื่อเราพูดถึงการพัฒนาตลาดหุ้นหรือตลาดทุนนั้น เราจะพูดถึงสิ่งเดียวคือ “ตลาดหุ้นไทย” โดยปรัชญาหรือนโยบายอะไรต่างก็ผูกอยู่กับตลาด ตัวอย่างเช่นเรื่องภาษีที่บอกว่าถ้าจะพัฒนาตลาดก็จะต้องงดเก็บภาษีบางอย่าง เช่น ภาษีกำไรจากการลงทุน เป็นต้น
แต่ถึงวันนี้ เวลาที่พูดถึงการพัฒนาตลาดทุนหรือตลาดหุ้น ผมคิดว่าเราจะต้องเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอย่างนั่นก็คือ “นักลงทุน” ซึ่งจะมีความสำคัญพอๆกัน หรือมากกว่าตลาดหุ้นด้วยซ้ำ และจะต้องแยกแยะว่า “นักลงทุนไม่ใช่ตลาดหุ้น” นโยบายหรือเกณฑ์อะไรต่างๆที่จะออกมานั้นจะต้องคำนึงถึงนักลงทุนด้วย เพราะบางครั้งนโยบายที่ดีต่อตลาดอาจจะเป็นผลเสียต่อนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนที่ได้ไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ
พูดง่ายๆต่อจากนี้ไป เราต้องคิดว่านักลงทุนมีโอกาสไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ และเราก็ควรจะต้องส่งเสริม อย่าไปคิดว่าถ้าส่งเสริมแล้วพวกเขาก็จะขนเงินไปลงทุนในต่างประเทศซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นไทยเหงาและราคาหุ้นจะตก เราต้องยอมรับความจริงที่ว่า ถ้าพื้นฐานของหุ้นในตลาดไม่ดี มันก็จะต้องตก ฝืนยากมาก เลิกหรืองดเว้นการทำชอร์ตเซลในช่วงนี้อาจช่วยให้หุ้นขึ้นบ้างเหมือนตลาดหุ้นเกาหลีที่กำลังทำอยู่ แต่ถ้าพื้นฐานแย่ลงเพราะเศรษฐกิจไม่ดี หุ้นที่ขึ้นไป “ชั่วคราว” ก็จะตกลงมาใหม่
การส่งเสริมหรืออย่างน้อยไม่ไป “กีดกัน” การลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนนั้น ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีในเชิงเศรษฐกิจ อย่างน้อยมันเป็นโอกาสให้คนที่มีเงินออมไปหาผลตอบแทนที่ดี และในไม่ช้าเขาก็จะนำกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเมื่อเขาคิดว่าหุ้นไทย “น่าลงทุน” อาจจะเพราะว่าเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นแล้ว หรืออาจจะเพราะราคาหุ้นหรือดัชนีตกลงมามากจนคุ้มค่าที่จะลงทุน “แบบ VI” แล้ว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ยังไงเราก็เป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เราก็อยากที่จะมีรายได้หรือได้ผลตอบแทนในประเทศไทยมากกว่าจากต่างประเทศถ้าปัจจัยอย่างอื่นเท่ากันหรือเหมือนกัน
ด้วยหลักการหรือแนวทางการกำกับและพัฒนาโดยคำนึงถึงประเด็นที่ว่าตลาดกับนักลงทุนนั้น ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแล้ว จากนั้นผมคิดว่าเวลาจะกำหนดนโยบายหรือกฎเกณฑ์จะต้องคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้คือ
หนึ่ง กฎเกณฑ์จะต้อง Fair and Transparent หรือยุติธรรมและโปร่งใส ตัวอย่างของความยุติธรรมก็เช่น นักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศควรจะเสียภาษีเหมือนตลาดหุ้นไทย การกำหนดให้กำไรจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาที่สูงสุดถึง 35% เวลานำเงินกลับมาจึง “ไม่แฟร์”
ความโปร่งใสหรือการเปิดเผยข้อมูลให้มากที่สุด ตัวอย่างที่ตลาดเคยทำก็คือ การเปลี่ยนการเปิดเผยชื่อนักลงทุนรายใหญ่จากที่ถือหุ้นถึง 0.5% เป็นเปิดเฉพาะ 10 อันดับแรก ซึ่งเป็นการ “ลด” การเปิดเผยลงนั้น ไม่สอดคล้องกับทิศทางที่ควรจะเป็น แต่ในช่วงนั้นก็มีคนต้านน้อยมาก ตรงกันข้ามกับช่วงนี้ที่ดูเหมือนว่า ตลาดพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลเรื่องการชอร์ตเซลมากขึ้น
สองก็คือเรื่อง Competitiveness หรือความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์ไทยกับต่างประเทศ เหตุผลก็ชัดเจนว่าปัจจุบันตลาดไม่ได้เป็น “ผู้ผูกขาดการลงทุนหุ้นในตลาด” อีกต่อไป ดังนั้น การที่จะออกเกณฑ์อะไรก็ตามก็จะต้องดูว่าออกมาแล้ว นักลงทุนจะยอมรับแค่ไหน เพราะถ้าไม่เป็นผลดีต่อนักลงทุน พวกเขาก็แค่ย้ายไปลงทุนในตลาดอื่น และประเทศก็จะไม่ได้อะไรจากเม็ดเงินที่ออกไปรวมถึงภาษีบางอย่างที่ควรจะได้
สามก็คือ เราจะต้องคำนึงถึง Efficiency หรือความมีประสิทธิภาพของตลาดในการซื้อขายลงทุนในหุ้น ก็อย่างที่ได้กล่าวแล้วในกรณีตัวอย่างของการใช้ AI และ Robot Trade ที่เป็นทิศทางของนักลงทุนระดับโลก ถ้าเราห้าม เขาก็อาจจะไม่มา ปริมาณซื้อขายรายวันน่าจะหายไปมาก ตลาดไทยที่เป็นตลาดหุ้นที่คึกคักก็อาจจะกลายเป็นตลาดหุ้นที่เหงา และValuation หรือการตีมูลค่าก็จะลดลง กระทบไปถึงบริษัทจดทะเบียนที่จะระดมทุนในอนาคต
สุดท้ายที่ผมเห็นว่าเป็นปัญหามากสำหรับตลาดหุ้นไทยก็คือ Predictability นั่นก็คือ นักลงทุนควรจะสามารถคาดการณ์เรื่องของ Regulation หรือกฎเกณฑ์ที่ออกมาได้ในระดับที่ดี นี่เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่านักลงทุนไม่ชอบความเสี่ยงโดยเฉพาะด้านลบ ถ้าคิดว่ามีความเสี่ยงมากเขาก็จะให้มูลค่ากับหุ้นในตลาดนั้นต่ำลง ตัวอย่างเช่น การประกาศเก็บภาษีในตลาดหุ้นโดยเฉพาะที่เป็นแบบ “กระทันหัน” อย่างการเก็บภาษีการลงทุนในต่างประเทศที่ประกาศแล้ว ไม่ให้เวลาปรับตัว คนที่ออกไปลงทุนแล้วถ้านำเงินกลับมาก็จะต้องเสียภาษีทันที เป็นต้น
ตัวอย่างของตลาดหุ้นอื่นเช่น มาเลเซีย เขาให้เวลาหลายปีเพื่อให้โอกาสคนที่ไม่อยากเสียภาษีนำเงินกลับมา ตัวอย่างอีกแห่งหนึ่งก็คือที่ออสเตรเลีย ที่เคยประกาศเก็บภาษีกำไรจากหุ้น สิ่งที่ทำก็คือ เขาให้ปรับต้นทุนใหม่หมดก่อนที่จะเก็บภาษี ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุติธรรมสำหรับคนที่ถือหุ้นมานานและมีกำไรในพอร์ตมากที่จะไม่ต้องเสียภาษีที่เกิดขึ้นในอดีต เป็นต้น
ทั้งหมดนั้นผมก็หวังว่าต่อจากนี้ไป ผู้กำกับและผู้คุมกฎเกี่ยวกับตลาดหุ้นที่รวมไปถึงผู้เก็บภาษีและรัฐบาลจะยึดถือเป็นหลักในการทำงาน ผมเชื่อว่าถ้าทำแบบนั้น ทุกคนเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนก็จะเข้าใจ และก็คงไม่มาประท้วงว่าทำไมผู้กำกับหรือผู้มีอำนาจไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ออกมาอย่างมีเหตุผลที่ถูกต้องเพื่อทำให้ตลาดดีในระยะยาว
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1099509
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Animal Spirits หรือ คิดด้วยเหตุผล
By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 16 ธ.ค. 2566
ทฤษฎีสองเรื่องที่พยายามจะอธิบายเรื่องของ "เศรษฐกิจและตลาดหุ้น" ซึ่งขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง และคนที่เป็น “บิดา” ของทั้งสองทฤษฎีต่างก็ได้รับรางวัลโนเบลทั้งคู่
เคยสงสัยไหมว่าราคาหรือดัชนีตลาดหุ้นของแต่ละประเทศทำไมมีความแตกต่างกันมาก และการปรับตัวก็แตกต่างกัน อย่างตลาดหุ้นจีนนั้น ราคาก็ถูกมากไม่น่าเชื่อ ค่า PE ของตลาดถ้าเข้าใจไม่ผิดก็อยู่ที่ประมาณ 10 เท่าบวกลบ แต่พอเราซื้อเข้าไปเพราะคิด “แบบ VI” หรือคิดแบบวิเคราะห์พื้นฐานแล้วคุ้มค่าแน่นอน ราคาและดัชนีหุ้นกลับลดลงไปอีกมาก
ส่วนหุ้นอเมริกานั้น ค่า PE สูงกว่ามาก และราคาก็ขึ้นมาสูงจนเกือบ “All Time High” ที่ไม่น่าจะถูกเลย “VI พันธุ์แท้” ก็มักจะรับไม่ได้ แต่นักลงทุนซึ่งรวมถึง “VI รุ่นใหม่” ซื้อ หุ้นก็วิ่งต่อไปอีกมาก
ที่นักลงทุนเจ็บตัวหนักก็คือดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ “ปรับตัวลดลงทุกวัน” หุ้นดี ๆ จำนวนมากตกลงมาต่ำกว่าอดีตมากมายและเราก็ไม่เห็นว่าบริษัทจะแย่ลง พวกเขาก็ยังอยู่อย่างแข็งแกร่ง มีกำไรที่ดีและจ่ายปันผลงดงามเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยที่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็คงไม่สูงไปกว่า 1-4% อย่างที่เห็นในวันนี้ แต่พอเราซื้อไปหลังจากที่มันตกลงมามากและนานแล้ว ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหนนอกจากตกลงต่อไปอีก
คำถามสำคัญก็คือ ตกลงราคาและดัชนีตลาดหุ้นในแต่ละแห่งนั้น มีความเหมาะสมหรือไม่ มันสะท้อนถึง “คุณค่าที่แท้จริง” ของกิจการโดยเฉลี่ยไหม? อะไรหรือปัจจัยอะไรเป็นตัวกำหนดราคาและดัชนีตลาดหุ้น
มีทฤษฎีสองเรื่องที่พยายามจะอธิบายเรื่องของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ซึ่งขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง และคนที่เป็น “บิดา” ของทั้งสองทฤษฎีต่างก็ได้รับรางวัลโนเบลทั้งคู่
ทฤษฎีแรกนั้น เป็นของ Eugene Fama “ซือแป๋” ด้านตลาดหุ้นที่ได้สร้างทฤษฎีการลงทุนสมัยใหม่ที่เรียกว่า “Efficient Market Hypothesis” หรือ “ตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพ” ที่บอกว่านักลงทุนทุกคนเป็นคนที่มีเหตุมีผลและมีข้อมูลสมบูรณ์ในการตัดสินใจลงทุน เขาจะเลือกลงทุนตามพื้นฐานของธุรกิจ และเมื่อคนทุกคนหรือคนส่วนใหญ่คิดและทำแบบนี้ หุ้นก็จะปรับตัวไปตามแรงซื้อและแรงขายของแต่ละคนที่อาจจะคิดไม่เหมือนกัน แต่ในที่สุดราคาก็ปรับตัวจนสมดุลและตรงกับพื้นฐานทางธุรกิจที่แท้จริง และเมื่อมีข้อมูลใหม่ ราคาหุ้นก็จะปรับตัวไปอีก ทุก ๆ วินาที โดยที่เราไม่สามารถคาดได้ อย่างไรก็ตาม ราคาที่เราเห็นในกระดานจะสะท้อนราคาที่เหมาะสมเสมอ
และไม่ว่าใครจะอ้างว่าตัวเองเก่งแค่ไหนหรือใช้เทคนิคอะไร เช่น VI หรือเทคนิคอล ก็ไม่สามารถที่จะซื้อหุ้นถูก ขายหุ้นแพง ทำกำไรสูงกว่าที่ควรเป็นได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน พูดง่าย ๆ ในบางช่วงบางตอนอาจจะกำไรสูงกว่าปกติได้ แต่ในระยะยาวแล้ว ผลตอบแทนก็มักจะกลับมาสู่ปกติ เช่น ผลตอบแทนทบต้นในตลาดหุ้นอย่างอเมริกาในช่วง 30 ปี ก็คือ ไม่เกินปีละ 10% หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีใครเป็น “เซียน” จริง มีแต่คนที่ “ฟลุ้ก” ในช่วงไม่กี่ปีและก็กลายเป็น “เซียน” เช่น เคที วูด จากกองทุน Ark Invest ที่ทำผลตอบแทนมหาศาลในช่วง 2-3 ปีแล้วก็ขาดทุนมหาศาลหลังจากนั้นที่ “โชคไม่ดี” เป็นต้น
ทฤษฎีที่สองนั้น จริง ๆ เสนอเป็นครั้งแรกโดย John Maynard Keynes “บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค” ซึ่งก็เป็นนักเล่นหุ้นตัวยง “ระดับเซียน” ด้วย
เคนบอกว่า คนตัดสินใจทางการเงินซึ่งรวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์หรือหุ้นในช่วงที่เกิดความเครียดหรือวิกฤติทางเศรษฐกิจหรือภายใต้ความไม่แน่นอนสูงด้วย “Animal Spirits” หรือ “สัญชาติญาณของสัตว์” นั่นก็คือการใช้อารมณ์ เช่น ความกลัว ความกล้าและพฤติกรรมอื่น ๆ ซึ่งการทำแบบนั้น ก็จะกระทบกับเรื่องของความมั่นใจของการบริโภค ซึ่งก็จะกระทบไปยังเศรษฐกิจโดยรวมในที่สุด
ตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น ถ้าคน “กลัว” ว่าเศรษฐกิจจะแย่ ความมั่นใจของคนก็ลดลงและ พวกเขาก็จะลดการใช้จ่ายลงตาม “Animal Spirits” เศรษฐกิจก็จะแย่ลงไปอีก ดังนั้น รัฐบาลก็ควรที่จะทุ่มการใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็จะไปเปลี่ยนภาพหรืออารมณ์ของคนให้มีความมั่นใจ และเมื่อมั่นใจพวกเขาก็จะกลับมาใช้จ่ายมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะเดินหน้า หลังจากที่เคนเสนอไอเดียนี้ในปี 1936 รัฐบาลต่าง ๆ ที่ประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลัง “มหาวิกฤติปี 1929 ในตลาดหุ้นสหรัฐ” ก็เริ่มเข้ามาแก้ปัญหาโดยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอย่างมหาศาลและยังทำต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
เมื่อประมาณกว่า 10 ปีมาแล้ว Robert Shiller ได้เสนอแนวคิดใหม่ที่อิงมาจาก เคน เรื่อง Animal Spirits และได้อธิบายเรื่องของราคาหลักทรัพย์หรือหุ้นใหม่ว่า ราคาของหุ้นนั้น ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎี Efficient Market ที่ว่านักลงทุนแต่ละคนตัดสินใจโดยอิสระและอิงจากการวิเคราะห์พื้นฐานเป็นหลัก หากแต่ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์และอิงอยู่กับความคิดว่าคนอื่นคิดอย่างไร
โดยยกตัวอย่างเปรียบเทียบของเคนเรื่องการตัดสินในการประกวดนางงามที่อาศัยเสียงโหวตของคนที่เข้าร่วมการแข่งขัน และคนที่เลือกนางงามได้ถูกต้องก็จะได้รับรางวัล ซึ่งในกรณีแบบนี้ นางงามที่มีหน้าตารูปร่างสวยที่สุด “สำหรับเขา” ก็จะไม่ถูกเลือก แต่เขาจะเลือกผู้เข้าประกวดที่เขาคิดว่า “คนส่วนใหญ่” จะชอบและเลือกคน ๆ นั้นเป็นนางงามที่ “มงลง” เพราะนั่นจะทำให้เขาชนะและได้รางวัลในการเลือกนางงามครั้งนี้
และนั่นก็คือ “จิตวิทยา” ของการเลือกหุ้นลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน และนั่นก็คือสิ่งที่กำหนดราคาของหุ้นไฮเทคในช่วงปี 2000 และอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นฟองสบู่ในปี 2005 ก่อนที่จะเกิดวิกฤติซับไพร์มในปี 2008 นั่นก็คือ คนมักตัดสินการเลือกหุ้นลงทุนโดยใช้อารมณ์ซึ่งก็เป็นเรื่องของพฤติกรรมทางการเงินหรือ Behavioral Finance ที่ในระยะหลังกลายเป็นหัวข้อการเรียนและการวิจัยที่โดดเด่นเหนือแนวคิดเรื่องของ Efficient Market และก็มีส่วนทำให้ Robert Shiller ได้รับรางวัลโนเบลเช่นเดียวกับเคนและฟามาในสาขาเศรษฐศาสตร์
ความคิดของผมเองนั้น ผมคิดว่าจิตวิทยามีส่วนอย่างมากต่อการลงทุนในตลาดหุ้นโดยเฉพาะในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่กี่ปี ก็อย่างที่เราเห็นหุ้นบางกลุ่มโดยเฉพาะในหุ้นขนาดเล็กหรือกลางที่มีราคาปรับตัวขึ้นอย่าง “เวอร์สุด ๆ” และกลายเป็น “ขวัญใจ” ของนักลงทุนทั่วไปรวมถึง VI “ระดับเซียน” จำนวนมาก แม้ว่าในยามที่ตลาดหลักทรัพย์โดยรวมแทบจะไม่ไปไหนหรือลดลงด้วยซ้ำ ซึ่งผมคิดว่าการตัดสินใจของนักลงทุนแบบนั้นเป็นเรื่องของ Animal Spirits มากกว่าเรื่องของการวิเคราะห์และลงทุนด้วยเหตุผลแบบ VI
อย่างไรก็ตาม ก็อย่างที่กล่าว เมื่อความกลัวเข้ามาแทนที่ Animal Spirits ก็แสดงออกมาในด้านตรงกันข้าม หุ้นที่เคยขึ้นไปมากจนเกินพื้นฐานไปมากก็ตกลงมาแทบจะกลายเป็นหายนะ ทั้ง ๆ ที่บริษัทเหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ได้มีพื้นฐานอะไรที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญอะไรเลย อาจจะมีบ้างที่กำไรลดน้อยถอยลง แต่นั่นก็เป็นเรื่องปกติสำหรับธุรกิจที่ไม่ได้แข็งแกร่งและเติบโตระยะยาวอยู่แล้ว ดังนั้น ผมจึงสรุปว่าคนที่เข้าไปเล่นหุ้นในกลุ่มที่มีอาการแบบนั้น ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล และทุกคนก็คิดและทำตาม ๆ กัน และอาจจะ “กลัวตกรถ” เป็นต้น
ผมยังคิดว่าการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในตลาดหุ้นและเรื่องอื่น ๆ สำหรับคนที่เข้าไปทำหรือเข้าไปร่วมซื้อขายโดยอาศัยการวิเคราะห์ “ยีน” ของมนุษย์น่าจะดีและสะดวกยิ่งกว่าการวิเคราะห์ด้านของจิตวิทยาด้วย เหตุผลก็คือ ยีนนั้น อยู่เบื้องหลังอารมณ์และความคิดของเราในทุกสิ่ง การศึกษาและเข้าใจยีนจะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมอย่างลึกซึ้งและนำไปใช้ได้ทันที
ยิ่งไปกว่านั้น การลงทุนในหลาย ๆ กรณีนั้น การปล่อยให้เราปฏิบัติตาม “ยีน” โดยที่เราไม่ได้ตระหนัก มักจะเป็นข้อเสียหายของการลงทุน ตัวอย่างที่ชัดเจนก็เช่น เกิดเหตุการณ์ที่คนทั่วไปกลัวว่าจะเกิดวิกฤติและเรารีบขายหุ้นไปแต่มาพบภายหลังว่าเป็นการขายในราคาที่ต่ำเกินไปมาก เป็นต้น
ที่จริงเหตุผลหลักในการเรียนรู้เรื่องยีนและพฤติกรรมหรืออารมณ์ที่ตามมาก็เพื่อที่เราจะได้ปฏิเสธหรือฝืนความต้องการของยีน และใช้การคิดตรึกตรองของสมองและความเป็นเหตุเป็นผลมาแทนที่ในการลงทุน นั่นจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จที่มากกว่า
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1103922
By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 16 ธ.ค. 2566
ทฤษฎีสองเรื่องที่พยายามจะอธิบายเรื่องของ "เศรษฐกิจและตลาดหุ้น" ซึ่งขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง และคนที่เป็น “บิดา” ของทั้งสองทฤษฎีต่างก็ได้รับรางวัลโนเบลทั้งคู่
เคยสงสัยไหมว่าราคาหรือดัชนีตลาดหุ้นของแต่ละประเทศทำไมมีความแตกต่างกันมาก และการปรับตัวก็แตกต่างกัน อย่างตลาดหุ้นจีนนั้น ราคาก็ถูกมากไม่น่าเชื่อ ค่า PE ของตลาดถ้าเข้าใจไม่ผิดก็อยู่ที่ประมาณ 10 เท่าบวกลบ แต่พอเราซื้อเข้าไปเพราะคิด “แบบ VI” หรือคิดแบบวิเคราะห์พื้นฐานแล้วคุ้มค่าแน่นอน ราคาและดัชนีหุ้นกลับลดลงไปอีกมาก
ส่วนหุ้นอเมริกานั้น ค่า PE สูงกว่ามาก และราคาก็ขึ้นมาสูงจนเกือบ “All Time High” ที่ไม่น่าจะถูกเลย “VI พันธุ์แท้” ก็มักจะรับไม่ได้ แต่นักลงทุนซึ่งรวมถึง “VI รุ่นใหม่” ซื้อ หุ้นก็วิ่งต่อไปอีกมาก
ที่นักลงทุนเจ็บตัวหนักก็คือดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ “ปรับตัวลดลงทุกวัน” หุ้นดี ๆ จำนวนมากตกลงมาต่ำกว่าอดีตมากมายและเราก็ไม่เห็นว่าบริษัทจะแย่ลง พวกเขาก็ยังอยู่อย่างแข็งแกร่ง มีกำไรที่ดีและจ่ายปันผลงดงามเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยที่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็คงไม่สูงไปกว่า 1-4% อย่างที่เห็นในวันนี้ แต่พอเราซื้อไปหลังจากที่มันตกลงมามากและนานแล้ว ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหนนอกจากตกลงต่อไปอีก
คำถามสำคัญก็คือ ตกลงราคาและดัชนีตลาดหุ้นในแต่ละแห่งนั้น มีความเหมาะสมหรือไม่ มันสะท้อนถึง “คุณค่าที่แท้จริง” ของกิจการโดยเฉลี่ยไหม? อะไรหรือปัจจัยอะไรเป็นตัวกำหนดราคาและดัชนีตลาดหุ้น
มีทฤษฎีสองเรื่องที่พยายามจะอธิบายเรื่องของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ซึ่งขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง และคนที่เป็น “บิดา” ของทั้งสองทฤษฎีต่างก็ได้รับรางวัลโนเบลทั้งคู่
ทฤษฎีแรกนั้น เป็นของ Eugene Fama “ซือแป๋” ด้านตลาดหุ้นที่ได้สร้างทฤษฎีการลงทุนสมัยใหม่ที่เรียกว่า “Efficient Market Hypothesis” หรือ “ตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพ” ที่บอกว่านักลงทุนทุกคนเป็นคนที่มีเหตุมีผลและมีข้อมูลสมบูรณ์ในการตัดสินใจลงทุน เขาจะเลือกลงทุนตามพื้นฐานของธุรกิจ และเมื่อคนทุกคนหรือคนส่วนใหญ่คิดและทำแบบนี้ หุ้นก็จะปรับตัวไปตามแรงซื้อและแรงขายของแต่ละคนที่อาจจะคิดไม่เหมือนกัน แต่ในที่สุดราคาก็ปรับตัวจนสมดุลและตรงกับพื้นฐานทางธุรกิจที่แท้จริง และเมื่อมีข้อมูลใหม่ ราคาหุ้นก็จะปรับตัวไปอีก ทุก ๆ วินาที โดยที่เราไม่สามารถคาดได้ อย่างไรก็ตาม ราคาที่เราเห็นในกระดานจะสะท้อนราคาที่เหมาะสมเสมอ
และไม่ว่าใครจะอ้างว่าตัวเองเก่งแค่ไหนหรือใช้เทคนิคอะไร เช่น VI หรือเทคนิคอล ก็ไม่สามารถที่จะซื้อหุ้นถูก ขายหุ้นแพง ทำกำไรสูงกว่าที่ควรเป็นได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน พูดง่าย ๆ ในบางช่วงบางตอนอาจจะกำไรสูงกว่าปกติได้ แต่ในระยะยาวแล้ว ผลตอบแทนก็มักจะกลับมาสู่ปกติ เช่น ผลตอบแทนทบต้นในตลาดหุ้นอย่างอเมริกาในช่วง 30 ปี ก็คือ ไม่เกินปีละ 10% หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีใครเป็น “เซียน” จริง มีแต่คนที่ “ฟลุ้ก” ในช่วงไม่กี่ปีและก็กลายเป็น “เซียน” เช่น เคที วูด จากกองทุน Ark Invest ที่ทำผลตอบแทนมหาศาลในช่วง 2-3 ปีแล้วก็ขาดทุนมหาศาลหลังจากนั้นที่ “โชคไม่ดี” เป็นต้น
ทฤษฎีที่สองนั้น จริง ๆ เสนอเป็นครั้งแรกโดย John Maynard Keynes “บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค” ซึ่งก็เป็นนักเล่นหุ้นตัวยง “ระดับเซียน” ด้วย
เคนบอกว่า คนตัดสินใจทางการเงินซึ่งรวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์หรือหุ้นในช่วงที่เกิดความเครียดหรือวิกฤติทางเศรษฐกิจหรือภายใต้ความไม่แน่นอนสูงด้วย “Animal Spirits” หรือ “สัญชาติญาณของสัตว์” นั่นก็คือการใช้อารมณ์ เช่น ความกลัว ความกล้าและพฤติกรรมอื่น ๆ ซึ่งการทำแบบนั้น ก็จะกระทบกับเรื่องของความมั่นใจของการบริโภค ซึ่งก็จะกระทบไปยังเศรษฐกิจโดยรวมในที่สุด
ตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น ถ้าคน “กลัว” ว่าเศรษฐกิจจะแย่ ความมั่นใจของคนก็ลดลงและ พวกเขาก็จะลดการใช้จ่ายลงตาม “Animal Spirits” เศรษฐกิจก็จะแย่ลงไปอีก ดังนั้น รัฐบาลก็ควรที่จะทุ่มการใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็จะไปเปลี่ยนภาพหรืออารมณ์ของคนให้มีความมั่นใจ และเมื่อมั่นใจพวกเขาก็จะกลับมาใช้จ่ายมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะเดินหน้า หลังจากที่เคนเสนอไอเดียนี้ในปี 1936 รัฐบาลต่าง ๆ ที่ประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลัง “มหาวิกฤติปี 1929 ในตลาดหุ้นสหรัฐ” ก็เริ่มเข้ามาแก้ปัญหาโดยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอย่างมหาศาลและยังทำต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
เมื่อประมาณกว่า 10 ปีมาแล้ว Robert Shiller ได้เสนอแนวคิดใหม่ที่อิงมาจาก เคน เรื่อง Animal Spirits และได้อธิบายเรื่องของราคาหลักทรัพย์หรือหุ้นใหม่ว่า ราคาของหุ้นนั้น ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎี Efficient Market ที่ว่านักลงทุนแต่ละคนตัดสินใจโดยอิสระและอิงจากการวิเคราะห์พื้นฐานเป็นหลัก หากแต่ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์และอิงอยู่กับความคิดว่าคนอื่นคิดอย่างไร
โดยยกตัวอย่างเปรียบเทียบของเคนเรื่องการตัดสินในการประกวดนางงามที่อาศัยเสียงโหวตของคนที่เข้าร่วมการแข่งขัน และคนที่เลือกนางงามได้ถูกต้องก็จะได้รับรางวัล ซึ่งในกรณีแบบนี้ นางงามที่มีหน้าตารูปร่างสวยที่สุด “สำหรับเขา” ก็จะไม่ถูกเลือก แต่เขาจะเลือกผู้เข้าประกวดที่เขาคิดว่า “คนส่วนใหญ่” จะชอบและเลือกคน ๆ นั้นเป็นนางงามที่ “มงลง” เพราะนั่นจะทำให้เขาชนะและได้รางวัลในการเลือกนางงามครั้งนี้
และนั่นก็คือ “จิตวิทยา” ของการเลือกหุ้นลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน และนั่นก็คือสิ่งที่กำหนดราคาของหุ้นไฮเทคในช่วงปี 2000 และอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นฟองสบู่ในปี 2005 ก่อนที่จะเกิดวิกฤติซับไพร์มในปี 2008 นั่นก็คือ คนมักตัดสินการเลือกหุ้นลงทุนโดยใช้อารมณ์ซึ่งก็เป็นเรื่องของพฤติกรรมทางการเงินหรือ Behavioral Finance ที่ในระยะหลังกลายเป็นหัวข้อการเรียนและการวิจัยที่โดดเด่นเหนือแนวคิดเรื่องของ Efficient Market และก็มีส่วนทำให้ Robert Shiller ได้รับรางวัลโนเบลเช่นเดียวกับเคนและฟามาในสาขาเศรษฐศาสตร์
ความคิดของผมเองนั้น ผมคิดว่าจิตวิทยามีส่วนอย่างมากต่อการลงทุนในตลาดหุ้นโดยเฉพาะในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่กี่ปี ก็อย่างที่เราเห็นหุ้นบางกลุ่มโดยเฉพาะในหุ้นขนาดเล็กหรือกลางที่มีราคาปรับตัวขึ้นอย่าง “เวอร์สุด ๆ” และกลายเป็น “ขวัญใจ” ของนักลงทุนทั่วไปรวมถึง VI “ระดับเซียน” จำนวนมาก แม้ว่าในยามที่ตลาดหลักทรัพย์โดยรวมแทบจะไม่ไปไหนหรือลดลงด้วยซ้ำ ซึ่งผมคิดว่าการตัดสินใจของนักลงทุนแบบนั้นเป็นเรื่องของ Animal Spirits มากกว่าเรื่องของการวิเคราะห์และลงทุนด้วยเหตุผลแบบ VI
อย่างไรก็ตาม ก็อย่างที่กล่าว เมื่อความกลัวเข้ามาแทนที่ Animal Spirits ก็แสดงออกมาในด้านตรงกันข้าม หุ้นที่เคยขึ้นไปมากจนเกินพื้นฐานไปมากก็ตกลงมาแทบจะกลายเป็นหายนะ ทั้ง ๆ ที่บริษัทเหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ได้มีพื้นฐานอะไรที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญอะไรเลย อาจจะมีบ้างที่กำไรลดน้อยถอยลง แต่นั่นก็เป็นเรื่องปกติสำหรับธุรกิจที่ไม่ได้แข็งแกร่งและเติบโตระยะยาวอยู่แล้ว ดังนั้น ผมจึงสรุปว่าคนที่เข้าไปเล่นหุ้นในกลุ่มที่มีอาการแบบนั้น ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล และทุกคนก็คิดและทำตาม ๆ กัน และอาจจะ “กลัวตกรถ” เป็นต้น
ผมยังคิดว่าการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในตลาดหุ้นและเรื่องอื่น ๆ สำหรับคนที่เข้าไปทำหรือเข้าไปร่วมซื้อขายโดยอาศัยการวิเคราะห์ “ยีน” ของมนุษย์น่าจะดีและสะดวกยิ่งกว่าการวิเคราะห์ด้านของจิตวิทยาด้วย เหตุผลก็คือ ยีนนั้น อยู่เบื้องหลังอารมณ์และความคิดของเราในทุกสิ่ง การศึกษาและเข้าใจยีนจะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมอย่างลึกซึ้งและนำไปใช้ได้ทันที
ยิ่งไปกว่านั้น การลงทุนในหลาย ๆ กรณีนั้น การปล่อยให้เราปฏิบัติตาม “ยีน” โดยที่เราไม่ได้ตระหนัก มักจะเป็นข้อเสียหายของการลงทุน ตัวอย่างที่ชัดเจนก็เช่น เกิดเหตุการณ์ที่คนทั่วไปกลัวว่าจะเกิดวิกฤติและเรารีบขายหุ้นไปแต่มาพบภายหลังว่าเป็นการขายในราคาที่ต่ำเกินไปมาก เป็นต้น
ที่จริงเหตุผลหลักในการเรียนรู้เรื่องยีนและพฤติกรรมหรืออารมณ์ที่ตามมาก็เพื่อที่เราจะได้ปฏิเสธหรือฝืนความต้องการของยีน และใช้การคิดตรึกตรองของสมองและความเป็นเหตุเป็นผลมาแทนที่ในการลงทุน นั่นจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จที่มากกว่า
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1103922
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
เผชิญหน้าเหยื่อ “ไลน์ ดร.นิเวศน์”
By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 23 ธ.ค. 2566
ประกาศที่ตรงนี้ว่า "ดร.นิเวศน์" ไม่มีเว็บหรือไลน์อะไรทั้งสิ้น ที่เห็นนั้นของปลอมหมด ไม่ต้องไปเชื่อว่าผมต้อง “ตีสองหน้า” ผมลงทุนมาหลายสิบปี ประสบความสำเร็จมีความมั่งคั่งสูงเกินกว่าที่จะมาทำเงินจากการแนะนำลงทุนให้คนทั่วไปที่เข้ามาร่วมเป็นกลุ่มเพื่อหวัง "ผลตอบแทน" ที่ผิดปกติและไม่จริง
เมื่อ 2-3 วันก่อนมีคนกดออดเข้ามาพบผมที่บ้านแล้วเล่าว่าเป็นแฟนคลับและสมาชิกการลงทุนในไลน์และคุยกับผมมาตลอดเกือบทุกวัน ที่มาก็เพื่อที่จะมาพบ “ตัวจริง ๆ” เพื่อ “เติมเต็มความมั่นใจ” ว่า จะยอมจ่ายเงิน “ค่าปรับ” ให้กับหน่วยงานตลาดหุ้นของฮ่องกงจำนวนประมาณ 2 ล้านบาท เพื่อที่จะสามารถถอนเงินจากพอร์ตหุ้นตลาดฮ่องกงของตนเองที่ตอนนี้เพิ่มขึ้นมามหาศาลจากเงินต้นที่ทยอยลงไปรวมกันประมาณ 5 ล้านบาท กลายเป็นประมาณ 300 ล้านบาทเข้าไปแล้ว
เธอหรือต่อไปนี้จะเรียกว่าคุณดาว เล่าว่า ได้เข้าร่วมกลุ่มไลน์แนะนำการลงทุนของ “ดร.นิเวศน์” ซึ่งปัจจุบันที่เห็นก็มีสมาชิกประมาณ 40-50 คน ลดลงจากอดีตบ้าง โดยที่เธอเข้าไปลงทุนผ่าน “แอ็ปของกลุ่ม” ซึ่งจะนำเงินไปลงทุนในตลาดฮ่องกง โดยได้รับการแนะนำจากดร.และผู้ช่วยตลอดเวลาในการเลือกหุ้นซึ่งจะมีหุ้นใหม่ ๆ แทบจะ “วันละตัว” รวมถึงการใช้เครื่องมือการเงินที่ซับซ้อนอย่างเรื่อง “เลเวอเรจ” ที่จะทำให้กำไรมหาศาลเป็นต้น
ดาวเริ่มลงทุนโดยการทยอยขายสลากออมสินและสลากธกส. ที่เคยได้รับผลตอบแทนที่ดีในอดีตที่เธออาจจะยัง “ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน” และเป็นช่วงที่ยังทำงานประจำ แต่ตอนนี้เธอเกษียณแล้ว จึงถึงเวลาที่จะต้องลงทุนเพื่อเก็บเงินใว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิต นอกจากสลากแล้ว เธอก็จำนำทองแท่งที่เคยซื้อเก็บไว้เพื่อนำเงินมาลงทุนในหุ้นฮ่องกงด้วย ทั้งหมดนั้นรวมแล้วน่าจะประมาณ 5 ล้านบาท
ดาวไม่เคยถอนเงินลงทุนเลย เหตุผลก็เพราะว่า “กำไรที่เห็น” จากรายงานที่ได้รับนั้น มันมหาศาลมากและดาวก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ดร.แนะนำว่าต้องปล่อยให้เงินทบต้นไปเรื่อย ๆ แล้วก็จะรวย จนมาถึงวันหนึ่ง ดาวอาจจะเริ่มไม่สบายใจและอาจจะอยากถอนเงินบางส่วน ก็เกิดประเด็นขึ้นว่าผู้คุมกฎของฮ่องกงตรวจสอบพบความไม่ชอบมาพากลของการเทรดหุ้นคุณดาว ซึ่งอาจเป็นการปั่นหุ้น จึงตั้งค่าปรับจำนวนประมาณ 2 ล้านบาทไทย ก่อนที่จะยอมปล่อยหุ้นหรือเงินที่อยู่ในพอร์ต และนั่นก็นำมาสู่การอยากเจอดร.นิเวศน์ และก็เกิดอาการ “ช็อก” ว่าผมไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วยเลย คนที่ดาวคุยมาตลอดนั้นไม่รู้ว่าเป็นใคร
ประวัติคุณดาวแบบคร่าว ๆ ที่ผมคุยด้วยสั้น ๆ นั้น ก็คือ อายุเท่า ๆ กับผมคือ 70 ปีแล้ว แต่ก็ยังดูแข็งแรงมาก เพิ่งจะเกษียณจากงานพยาบาลไม่กี่เดือน เคยทำงานพยาบาลทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนชื่อดังหลายแห่งรวมถึงที่อยู่ใกล้บ้านผมด้วย
ตอนเป็นเด็ก เกิดในครอบครัวที่มีลูกเยอะมากเพราะเป็นรุ่นเบบี้บูมเมอร์ ครอบครัวอยู่ต่างจังหวัดและยากจน แต่คุณดาวเป็นคนที่เรียนเก่งระดับ “เหรียญทอง” ของโรงเรียนและได้ทุนเรียนพยาบาลในสังกัดของรัฐจนจบปริญญาตรี
ดาวเป็น “นักสู้” ที่ทำงานหนักประหยัดอดออม และแม้ว่าจะเป็นคนที่ดูแลพ่อแม่เป็นหลัก ก็ยังมีเงินเหลือเก็บออมในรูปทรัพย์สินต่าง ๆ เช่นบ้าน อาคารพาณิชย์ให้เช่า ทอง และเงินฝากในรูปสลากของธนาคารของรัฐบาล คิดเป็นมูลค่ารวมน่าจะไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าดาวเป็นโสดไม่ได้แต่งงานซึ่งจำเป็นที่จะต้องเก็บออมและลงทุนเพื่อดูแลตนเองหลังเกษียณ
ดาวรู้จัก ดร.นิเวศน์ ผ่านสื่อต่าง ๆ และเมื่อได้อ่านหนังสือเรื่อง “เด็กวัดดอน” ที่ “ดร.นิเวศน์” ส่งให้เมื่อเข้ามาร่วมในไลน์กลุ่มลงทุนเธอก็ “ปลื้มสุด ๆ” และคิดว่า “ชีวิตดาวเหมือนชีวิตดร.นิเวศน์” ถึงตอนนี้คุณดาวก็พร้อมที่จะรับคำแนะนำทุกอย่างจากอาจารย์และก็คงไม่สงสัยเลยว่าคนที่คุยด้วยเป็นประจำแต่ไม่เคยเจอตัวจริงนั้น เป็นสิบแปดมงกุฎ
หลังจากพบกับผมแล้ว คุณดาวก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป พูดเข้าไปในกลุ่มก็เจอคนที่แก้ต่างให้ว่า ดร.จะเปิดเผยตัวตนไม่ได้ ยอมรับไม่ได้ว่าทำการเทรดหุ้นแบบนี้คือ “เทรดระดับสถาบัน” ต้องทำเป็นความลับ พูดง่าย ๆ เวลาพูดออกสื่อก็บอกว่าไม่มีไม่ทำ แต่จริง ๆ แล้วทำอย่างลับ ๆ พวกเราต้องเข้าใจ
ผมเองแนะนำว่าให้แจ้งความตำรวจจับฐานหลอกลวงเลย แต่นั่นก็จะเป็นภาระที่ค่อนใหญ่สำหรับตัวคนเดียวที่จะต้องทำเรื่องหาหลักฐานมากมาย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เงินก็คงไม่ได้คืน นอกจากนั้นดาวรู้สึก “อายมาก” ถ้าเปิดเผยเรื่องออกมา นึกถึงพี่น้อง ญาติมิตร เพื่อนและคนรู้จัก คงจะมาสมน้ำหน้า
ที่ยังโชคดีอยู่บ้างก็คือ ส่วนตัวคุณดาวก็ยังเหลือทรัพย์สินประมาณหนึ่งที่น่าจะเลี้ยงตนเองต่อไปได้ ว่าที่จริงก็ยังแข็งแร็งพอที่จะกลับไปทำงานได้ถ้าจำเป็น
เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงเรื่องที่ได้ฟังจากเพื่อนว่า แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยดังของรัฐก็ยังเคยถูกโกงจากการฝากเงินกับสหกรณ์ที่มีชื่อเสียงมากจนแทบหมดตัวหลังจากที่ตนเองเกษียณแล้ว เพราะเชื่อว่า จะต้องหาช่องทางการออมเงินที่ “ได้ดอกเบี้ยสูง” แต่ “ไม่เสี่ยง” โดยการหลงเชื่อคนที่เข้ามาชักชวนให้ลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่าที่ควรจะเป็น
เช่นเดียวกัน ญาติทางฝ่ายภรรยาผมคนหนึ่งก็เคยถูกหลอกให้เข้าร่วมเวบหรือ “ไลน์ดร.นิเวศน์” และสูญเสียเงินไปหลายแสนบาทจนต้องมาขอความช่วยเหลือภรรยาผม ผมเองก็ยังงงว่าทำไมตอนที่จะเข้าไปร่วมทำไมไม่ถามก่อนว่าผมมีไลน์แบบนั้นจริงไหมก่อนที่จะเข้าไปลงทุน
ปรากฎการณ์การโกงผ่านสื่อดิจิทัลนั้น ผมคิดว่ามีเพิ่มขึ้นมหาศาล เรียกว่าแทบจะดิสรัปช่องทางการโกงแบบอื่นได้เลยนั้น เป็นวิธีการโกงที่ได้ผลตอบแทนสูงมาก และผมคิดว่ามีความเสี่ยงที่จะถูกจับและลงโทษต่ำมาก อานิสงค์จากการที่ทางการไม่ตระหนักและตามไม่ทันพัฒนาการนี้ ซึ่งในทาง “ยีนศาสตร์” ที่ผมมักใช้ในการวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ มันจะบอกว่า คนก็จะโกงมากขึ้น เพราะทำแล้วคุ้ม หรือเรียกว่า Risk/ Reward ดีมาก
เฉพาะเว็บหรือไลน์ปลอมที่ใช้ชื่อผมนั้น ล่าสุดดูเหมือนว่าจะไม่น้อยกว่าหลายสิบแห่ง บางคนบอกว่ามีเป็นร้อย และแน่นอน ไม่ใช่ผมคนเดียวแต่มีนักลงทุนหรือคนที่อยู่ในแวดวงการลงทุนซึ่งรวมไปถึงเจ้าของหรือผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนบางคนก็ถูกปลอมเพื่อหลอกให้คนเข้าไปลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นหลักทรัพย์ปลอม หุ้นปลอม แพลตฟอร์มที่ใช้ซื้อขายหลักทรัพย์ปลอม ทุกอย่างปลอมหมด
แต่คนที่เข้าไปร่วมเป็นสมาชิกกลับไม่รู้ ส่วนสำคัญก็คือ ไม่เข้าใจเรื่องของตลาดทุนและตราสารต่าง ๆ เลย สนใจเพียงว่าจะหาผลตอบแทนที่ดีได้อย่างไร บางคนก็เกิดจากความโลภ แต่จำนวนมากนั้นแค่หวังจะให้มีเงินพอใช้หลังเกษียณ แต่พอเข้าไปซักพักก็อาจจะกลายเป็นความโลภ เพราะถูกหลอกด้วยตัวเลขที่ถูกปั้นแต่งขึ้น
ในช่วงแรกที่เริ่มมีการปลอมไลน์หรือเพจนั้น ผมเคยไปแจ้งความสถานีตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวันว่าผมไม่เกี่ยวและไม่เคยมีไลน์หรือเว็บสาธารณะ ผมเกรงว่าถ้ามีการจับไลน์ปลอมนั้นผมอาจจะต้องเสียเวลาไปให้การเป็นพยานโดยที่ผมไม่ได้ทำอะไรเลย อยู่เฉย ๆ นั่นคือเมื่อ 1-2 ปีมาแล้ว ถึงวันนี้เว็บและไลน์ปลอมมีเป็นร้อย ผมเองก็ยังเหมือนเดิมคือไม่มีเว็บและไลน์ของตนเอง ผมเป็นคนโลว์เท็คและไม่ใช้เครื่องมือเหล่านั้นเพื่อติดต่อกับใคร และก็ไม่แจ้งตำรวจอีกต่อไปแล้วเพราะเสียเวลา
ผมประกาศที่ตรงนี้เลยว่าผมไม่มีเว็บหรือไลน์อะไรทั้งสิ้น ที่เห็นนั้นของปลอมหมด และไม่ต้องไปเชื่อว่าผมต้อง “ตีสองหน้า” ผมลงทุนมาหลายสิบปีและประสบความสำเร็จมีความมั่งคั่งสูงเกินกว่าที่จะมาทำเงินจากการแนะนำการลงทุนให้คนทั่วไปที่เข้ามาร่วมเป็นกลุ่มเพื่อหวังผลตอบแทนที่ผิดปกติและไม่จริง แน่นอนว่าผมยังให้ความรู้ดังเช่นที่ผมทำมาตลอดหลายสิบปี และเป็น คนหน้าเดิมและหน้าเดียว ไม่มีทางที่ผมจะเปลี่ยนหน้าเป็นอย่างอื่น
เขียนมาถึงตรงนี้ผมเองก็หวังว่า ถ้ามีการจับเว็บหรือไลน์ปลอมใช้ชื่อผม ทางตำรวจจะไม่มาถามอะไรผมเลย เพราะผมไม่เกี่ยว ผมควรจะอยู่ได้อย่างสงบตามที่ควรจะเป็น และนี่ก็คงเหมือนกับการแจ้งบันทึกลงประจำวัน “ผ่านสื่อ” แทนที่จะต้องไปสถานีตำรวจซึ่งน่าจะได้ผลดีกว่าและไม่ทำให้ตำรวจต้องมาเสียเวลา ขณะเดียวกันคนที่อ่านก็จะได้รู้และไม่หลงกลไปกับคนโกงกลุ่มนี้
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/ ... nt/1105140
By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 23 ธ.ค. 2566
ประกาศที่ตรงนี้ว่า "ดร.นิเวศน์" ไม่มีเว็บหรือไลน์อะไรทั้งสิ้น ที่เห็นนั้นของปลอมหมด ไม่ต้องไปเชื่อว่าผมต้อง “ตีสองหน้า” ผมลงทุนมาหลายสิบปี ประสบความสำเร็จมีความมั่งคั่งสูงเกินกว่าที่จะมาทำเงินจากการแนะนำลงทุนให้คนทั่วไปที่เข้ามาร่วมเป็นกลุ่มเพื่อหวัง "ผลตอบแทน" ที่ผิดปกติและไม่จริง
เมื่อ 2-3 วันก่อนมีคนกดออดเข้ามาพบผมที่บ้านแล้วเล่าว่าเป็นแฟนคลับและสมาชิกการลงทุนในไลน์และคุยกับผมมาตลอดเกือบทุกวัน ที่มาก็เพื่อที่จะมาพบ “ตัวจริง ๆ” เพื่อ “เติมเต็มความมั่นใจ” ว่า จะยอมจ่ายเงิน “ค่าปรับ” ให้กับหน่วยงานตลาดหุ้นของฮ่องกงจำนวนประมาณ 2 ล้านบาท เพื่อที่จะสามารถถอนเงินจากพอร์ตหุ้นตลาดฮ่องกงของตนเองที่ตอนนี้เพิ่มขึ้นมามหาศาลจากเงินต้นที่ทยอยลงไปรวมกันประมาณ 5 ล้านบาท กลายเป็นประมาณ 300 ล้านบาทเข้าไปแล้ว
เธอหรือต่อไปนี้จะเรียกว่าคุณดาว เล่าว่า ได้เข้าร่วมกลุ่มไลน์แนะนำการลงทุนของ “ดร.นิเวศน์” ซึ่งปัจจุบันที่เห็นก็มีสมาชิกประมาณ 40-50 คน ลดลงจากอดีตบ้าง โดยที่เธอเข้าไปลงทุนผ่าน “แอ็ปของกลุ่ม” ซึ่งจะนำเงินไปลงทุนในตลาดฮ่องกง โดยได้รับการแนะนำจากดร.และผู้ช่วยตลอดเวลาในการเลือกหุ้นซึ่งจะมีหุ้นใหม่ ๆ แทบจะ “วันละตัว” รวมถึงการใช้เครื่องมือการเงินที่ซับซ้อนอย่างเรื่อง “เลเวอเรจ” ที่จะทำให้กำไรมหาศาลเป็นต้น
ดาวเริ่มลงทุนโดยการทยอยขายสลากออมสินและสลากธกส. ที่เคยได้รับผลตอบแทนที่ดีในอดีตที่เธออาจจะยัง “ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน” และเป็นช่วงที่ยังทำงานประจำ แต่ตอนนี้เธอเกษียณแล้ว จึงถึงเวลาที่จะต้องลงทุนเพื่อเก็บเงินใว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิต นอกจากสลากแล้ว เธอก็จำนำทองแท่งที่เคยซื้อเก็บไว้เพื่อนำเงินมาลงทุนในหุ้นฮ่องกงด้วย ทั้งหมดนั้นรวมแล้วน่าจะประมาณ 5 ล้านบาท
ดาวไม่เคยถอนเงินลงทุนเลย เหตุผลก็เพราะว่า “กำไรที่เห็น” จากรายงานที่ได้รับนั้น มันมหาศาลมากและดาวก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ดร.แนะนำว่าต้องปล่อยให้เงินทบต้นไปเรื่อย ๆ แล้วก็จะรวย จนมาถึงวันหนึ่ง ดาวอาจจะเริ่มไม่สบายใจและอาจจะอยากถอนเงินบางส่วน ก็เกิดประเด็นขึ้นว่าผู้คุมกฎของฮ่องกงตรวจสอบพบความไม่ชอบมาพากลของการเทรดหุ้นคุณดาว ซึ่งอาจเป็นการปั่นหุ้น จึงตั้งค่าปรับจำนวนประมาณ 2 ล้านบาทไทย ก่อนที่จะยอมปล่อยหุ้นหรือเงินที่อยู่ในพอร์ต และนั่นก็นำมาสู่การอยากเจอดร.นิเวศน์ และก็เกิดอาการ “ช็อก” ว่าผมไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วยเลย คนที่ดาวคุยมาตลอดนั้นไม่รู้ว่าเป็นใคร
ประวัติคุณดาวแบบคร่าว ๆ ที่ผมคุยด้วยสั้น ๆ นั้น ก็คือ อายุเท่า ๆ กับผมคือ 70 ปีแล้ว แต่ก็ยังดูแข็งแรงมาก เพิ่งจะเกษียณจากงานพยาบาลไม่กี่เดือน เคยทำงานพยาบาลทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนชื่อดังหลายแห่งรวมถึงที่อยู่ใกล้บ้านผมด้วย
ตอนเป็นเด็ก เกิดในครอบครัวที่มีลูกเยอะมากเพราะเป็นรุ่นเบบี้บูมเมอร์ ครอบครัวอยู่ต่างจังหวัดและยากจน แต่คุณดาวเป็นคนที่เรียนเก่งระดับ “เหรียญทอง” ของโรงเรียนและได้ทุนเรียนพยาบาลในสังกัดของรัฐจนจบปริญญาตรี
ดาวเป็น “นักสู้” ที่ทำงานหนักประหยัดอดออม และแม้ว่าจะเป็นคนที่ดูแลพ่อแม่เป็นหลัก ก็ยังมีเงินเหลือเก็บออมในรูปทรัพย์สินต่าง ๆ เช่นบ้าน อาคารพาณิชย์ให้เช่า ทอง และเงินฝากในรูปสลากของธนาคารของรัฐบาล คิดเป็นมูลค่ารวมน่าจะไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าดาวเป็นโสดไม่ได้แต่งงานซึ่งจำเป็นที่จะต้องเก็บออมและลงทุนเพื่อดูแลตนเองหลังเกษียณ
ดาวรู้จัก ดร.นิเวศน์ ผ่านสื่อต่าง ๆ และเมื่อได้อ่านหนังสือเรื่อง “เด็กวัดดอน” ที่ “ดร.นิเวศน์” ส่งให้เมื่อเข้ามาร่วมในไลน์กลุ่มลงทุนเธอก็ “ปลื้มสุด ๆ” และคิดว่า “ชีวิตดาวเหมือนชีวิตดร.นิเวศน์” ถึงตอนนี้คุณดาวก็พร้อมที่จะรับคำแนะนำทุกอย่างจากอาจารย์และก็คงไม่สงสัยเลยว่าคนที่คุยด้วยเป็นประจำแต่ไม่เคยเจอตัวจริงนั้น เป็นสิบแปดมงกุฎ
หลังจากพบกับผมแล้ว คุณดาวก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป พูดเข้าไปในกลุ่มก็เจอคนที่แก้ต่างให้ว่า ดร.จะเปิดเผยตัวตนไม่ได้ ยอมรับไม่ได้ว่าทำการเทรดหุ้นแบบนี้คือ “เทรดระดับสถาบัน” ต้องทำเป็นความลับ พูดง่าย ๆ เวลาพูดออกสื่อก็บอกว่าไม่มีไม่ทำ แต่จริง ๆ แล้วทำอย่างลับ ๆ พวกเราต้องเข้าใจ
ผมเองแนะนำว่าให้แจ้งความตำรวจจับฐานหลอกลวงเลย แต่นั่นก็จะเป็นภาระที่ค่อนใหญ่สำหรับตัวคนเดียวที่จะต้องทำเรื่องหาหลักฐานมากมาย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เงินก็คงไม่ได้คืน นอกจากนั้นดาวรู้สึก “อายมาก” ถ้าเปิดเผยเรื่องออกมา นึกถึงพี่น้อง ญาติมิตร เพื่อนและคนรู้จัก คงจะมาสมน้ำหน้า
ที่ยังโชคดีอยู่บ้างก็คือ ส่วนตัวคุณดาวก็ยังเหลือทรัพย์สินประมาณหนึ่งที่น่าจะเลี้ยงตนเองต่อไปได้ ว่าที่จริงก็ยังแข็งแร็งพอที่จะกลับไปทำงานได้ถ้าจำเป็น
เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงเรื่องที่ได้ฟังจากเพื่อนว่า แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยดังของรัฐก็ยังเคยถูกโกงจากการฝากเงินกับสหกรณ์ที่มีชื่อเสียงมากจนแทบหมดตัวหลังจากที่ตนเองเกษียณแล้ว เพราะเชื่อว่า จะต้องหาช่องทางการออมเงินที่ “ได้ดอกเบี้ยสูง” แต่ “ไม่เสี่ยง” โดยการหลงเชื่อคนที่เข้ามาชักชวนให้ลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่าที่ควรจะเป็น
เช่นเดียวกัน ญาติทางฝ่ายภรรยาผมคนหนึ่งก็เคยถูกหลอกให้เข้าร่วมเวบหรือ “ไลน์ดร.นิเวศน์” และสูญเสียเงินไปหลายแสนบาทจนต้องมาขอความช่วยเหลือภรรยาผม ผมเองก็ยังงงว่าทำไมตอนที่จะเข้าไปร่วมทำไมไม่ถามก่อนว่าผมมีไลน์แบบนั้นจริงไหมก่อนที่จะเข้าไปลงทุน
ปรากฎการณ์การโกงผ่านสื่อดิจิทัลนั้น ผมคิดว่ามีเพิ่มขึ้นมหาศาล เรียกว่าแทบจะดิสรัปช่องทางการโกงแบบอื่นได้เลยนั้น เป็นวิธีการโกงที่ได้ผลตอบแทนสูงมาก และผมคิดว่ามีความเสี่ยงที่จะถูกจับและลงโทษต่ำมาก อานิสงค์จากการที่ทางการไม่ตระหนักและตามไม่ทันพัฒนาการนี้ ซึ่งในทาง “ยีนศาสตร์” ที่ผมมักใช้ในการวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ มันจะบอกว่า คนก็จะโกงมากขึ้น เพราะทำแล้วคุ้ม หรือเรียกว่า Risk/ Reward ดีมาก
เฉพาะเว็บหรือไลน์ปลอมที่ใช้ชื่อผมนั้น ล่าสุดดูเหมือนว่าจะไม่น้อยกว่าหลายสิบแห่ง บางคนบอกว่ามีเป็นร้อย และแน่นอน ไม่ใช่ผมคนเดียวแต่มีนักลงทุนหรือคนที่อยู่ในแวดวงการลงทุนซึ่งรวมไปถึงเจ้าของหรือผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนบางคนก็ถูกปลอมเพื่อหลอกให้คนเข้าไปลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นหลักทรัพย์ปลอม หุ้นปลอม แพลตฟอร์มที่ใช้ซื้อขายหลักทรัพย์ปลอม ทุกอย่างปลอมหมด
แต่คนที่เข้าไปร่วมเป็นสมาชิกกลับไม่รู้ ส่วนสำคัญก็คือ ไม่เข้าใจเรื่องของตลาดทุนและตราสารต่าง ๆ เลย สนใจเพียงว่าจะหาผลตอบแทนที่ดีได้อย่างไร บางคนก็เกิดจากความโลภ แต่จำนวนมากนั้นแค่หวังจะให้มีเงินพอใช้หลังเกษียณ แต่พอเข้าไปซักพักก็อาจจะกลายเป็นความโลภ เพราะถูกหลอกด้วยตัวเลขที่ถูกปั้นแต่งขึ้น
ในช่วงแรกที่เริ่มมีการปลอมไลน์หรือเพจนั้น ผมเคยไปแจ้งความสถานีตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวันว่าผมไม่เกี่ยวและไม่เคยมีไลน์หรือเว็บสาธารณะ ผมเกรงว่าถ้ามีการจับไลน์ปลอมนั้นผมอาจจะต้องเสียเวลาไปให้การเป็นพยานโดยที่ผมไม่ได้ทำอะไรเลย อยู่เฉย ๆ นั่นคือเมื่อ 1-2 ปีมาแล้ว ถึงวันนี้เว็บและไลน์ปลอมมีเป็นร้อย ผมเองก็ยังเหมือนเดิมคือไม่มีเว็บและไลน์ของตนเอง ผมเป็นคนโลว์เท็คและไม่ใช้เครื่องมือเหล่านั้นเพื่อติดต่อกับใคร และก็ไม่แจ้งตำรวจอีกต่อไปแล้วเพราะเสียเวลา
ผมประกาศที่ตรงนี้เลยว่าผมไม่มีเว็บหรือไลน์อะไรทั้งสิ้น ที่เห็นนั้นของปลอมหมด และไม่ต้องไปเชื่อว่าผมต้อง “ตีสองหน้า” ผมลงทุนมาหลายสิบปีและประสบความสำเร็จมีความมั่งคั่งสูงเกินกว่าที่จะมาทำเงินจากการแนะนำการลงทุนให้คนทั่วไปที่เข้ามาร่วมเป็นกลุ่มเพื่อหวังผลตอบแทนที่ผิดปกติและไม่จริง แน่นอนว่าผมยังให้ความรู้ดังเช่นที่ผมทำมาตลอดหลายสิบปี และเป็น คนหน้าเดิมและหน้าเดียว ไม่มีทางที่ผมจะเปลี่ยนหน้าเป็นอย่างอื่น
เขียนมาถึงตรงนี้ผมเองก็หวังว่า ถ้ามีการจับเว็บหรือไลน์ปลอมใช้ชื่อผม ทางตำรวจจะไม่มาถามอะไรผมเลย เพราะผมไม่เกี่ยว ผมควรจะอยู่ได้อย่างสงบตามที่ควรจะเป็น และนี่ก็คงเหมือนกับการแจ้งบันทึกลงประจำวัน “ผ่านสื่อ” แทนที่จะต้องไปสถานีตำรวจซึ่งน่าจะได้ผลดีกว่าและไม่ทำให้ตำรวจต้องมาเสียเวลา ขณะเดียวกันคนที่อ่านก็จะได้รู้และไม่หลงกลไปกับคนโกงกลุ่มนี้
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/ ... nt/1105140
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
การปรับตัวครั้งใหญ่ในปี 2567 ?
By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 06 ม.ค. 2567
ถ้าพูดตามตรง ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป ผมคิดว่าตัวเองอยู่ในโหมดของการ รักษาความมั่งคั่ง และพยายามสร้างผลตอบแทนที่ “สมเหตุผล” หมดยุคที่จะทำเงินจากการลงทุนแบบง่าย ๆ และสูงอย่างไม่น่าเชื่อไปแล้ว เพราะ “น่านน้ำ” ของตลาดหุ้นเปลี่ยนไปแล้ว
ปี 2567 เพิ่งจะเริ่มต้น แต่ความรู้สึกของผมก็คือ ปีนี้อาจจะเป็นปีที่ผมอาจจะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแนวทางการลงทุนที่เคยทำมายาวนานหลายสิบปีและแทบจะไม่เคยเปลี่ยนเลย การที่ผมคิดอย่างนั้นก็เพราะว่า “น่านน้ำของการลงทุน” หรือสภาพแวดล้อมของการลงทุนที่ผมคุ้นชินมานาน “เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ” เฉพาะอย่างยิ่งก็คือประเด็นของภาษีที่นักลงทุนส่วนบุคคลจะต้องถูกเก็บถ้านำเงินไปลงทุนในตลาดต่างประเทศที่สูงได้ถึง 35% ของกำไรจากการลงทุนเมื่อนำเงินกลับประเทศไทย
สำหรับผมแล้ว อัตราภาษีในระดับนั้น เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในการลงทุนหุ้น ถ้าเราจะต้องเสียภาษีในระดับนั้น โอกาสที่จะลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนหลังภาษีที่ดีพอก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศซึ่งไม่เสียภาษีกำไรจากการลงทุน
จริงอยู่ มีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงภาษีหลายทางเช่น ไม่นำเงินกลับประเทศไทยเลย และหวังว่าเงินนั้นจะอยู่และถูกนำไปใช้ในต่างประเทศ “ตลอดกาล” ซึ่งสำหรับหลายคนแล้วก็คิดว่าเป็นไปได้เช่น “เก็บเอาไว้ใช้เวลาลูกต้องเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ” หรือ “เงินก้อนนี้จะไม่จำเป็นต้องใช้เลยในประเทศไทย เพราะมีเงินรายได้และการลงทุนในประเทศไทยเพียงพออยู่แล้ว” หรือ “ถ้าปีไหนจะนำเงินกลับเข้าไทย ก็ไปอยู่ต่างประเทศชั่วคราวซึ่งทำให้อยู่ในไทยไม่เกิน 180 วัน ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเสียภาษี” เป็นต้น
แต่สำหรับผมแล้ว นั่นเป็นวิธีที่ไม่แน่นอนและมีโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้สูง บางทีอาจจะแค่ภายใน 2-3 ปี เกณฑ์ก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็นว่า ต่อไปนี้ หุ้นต่างประเทศหรือพอร์ตหุ้นต่างประเทศที่มีกำไร ไม่ว่าจะนำเงินกลับไทยหรือไม่ก็จะต้องเสียภาษีเป็นรายปี เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะว่าตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป
ข้อมูลทางการเงินและการลงทุนของเราที่เกิดขึ้นในต่างประเทศจะถูกรายงานถึงทางการไทยตลอดเวลาจาก “ความร่วมมือระดับนานาชาติ” ดังนั้น รัฐไทยจึงสามารถ เก็บภาษีรายได้จากคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน และไทยก็พร้อมจะเก็บภาษี “คนรวย” ที่เอาเงินไปลงทุนต่างประเทศที่ในอดีต “ไม่ต้องจ่ายภาษี” ให้ประเทศไทย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมคิดว่าการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศในฐานะบุคคลธรรมดาจึงน่าจะจบแล้ว เพราะ “ไม่คุ้ม” แต่ถ้าจะลงทุนเฉพาะในตลาดหุ้นไทย “ต้นทุน” ที่อาจจะใหญ่กว่าเรื่องภาษีด้วยซ้ำก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่อาจจะต่ำกว่าการลงทุนในต่างประเทศมาก เหตุผลก็ชัดเจนว่ามาจากการที่เศรษฐกิจไทยเติบโตช้ากว่ามากและอาจจะช้าลงไปเรื่อย ๆ เมื่อปัจจัยด้านประชากรของไทยแก่ตัวเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ต้องนับปัญหาทางด้านรัฐศาสตร์การเมืองที่เป็นอุปสรรคที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้
ทิศทางที่ผมคิดและอาจจะต้องเริ่มทำก็คือ ปรับการลงทุนในต่างประเทศแบบ “หน้ามือเป็นหลังมือ” เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษี ด้านหนึ่งก็คือ เปลี่ยนจากการใช้บุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีทุกปี แต่ในอัตราที่ยอมรับได้คือ 20% ในกรณีแบบนี้ ก็จะต้องมั่นใจว่าตนเองสามารถสร้างผลตอบแทนในตลาดต่างประเทศนั้นที่กำลังเติบโตเร็วและสามารถเลือกหุ้นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” ที่ให้ผลตอบแทนสูงมากในระยะยาวได้
ในกรณีของหุ้นต่างประเทศที่เป็นตลาดพัฒนาแล้วหรือเป็นตลาดใหญ่มาก ตัวอย่าง เช่นหุ้นดิจิทัลหรือหุ้นเทคโนโลยีระดับโลก หุ้นเหล่านั้นในระยะหลังก็มีบริษัทหลักทรัพย์จัดตั้งเป็นกองทุนรวม หรือการทำ DR ซึ่งเป็นตัวแทนหุ้นในต่างประเทศแต่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการลงทุน ก็อาจจะเป็นวิธีการลงทุนหุ้นต่างประเทศอีกกลุ่มหนึ่งของผม
พูดง่าย ๆ ก็คือ ซื้อกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ หรือ DR ในหุ้นต่างประเทศที่เป็นหุ้นยอดนิยมระดับโลกที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งแม้ว่าจะมีต้นทุนเพิ่มเป็นค่าบริหารหรือค่าจัดการบ้างแต่ก็น่าจะคุ้ม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมคิดว่าบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ก็น่าจะเสนอผลิตภัณฑ์และหลักทรัพย์ต่าง ๆ ในต่างประเทศที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะปี 2566 ที่กองทุนหุ้นต่างประเทศโดยเฉพาะจากตลาดอเมริกาหลายกองสร้างผลตอบแทนให้กับคนที่ถือหน่วยน่าประทับใจมาก
แต่กองทุนรวมหรือ DR ที่ผมจะลงทุนนั้น เนื่องจากมันอาจจะไม่ใช่ “ซุปเปอร์สต็อก” ที่สามารถซื้อและถือไว้ยาวนานและให้ผลตอบแทนดีเลิศได้ ผมเองคิดว่าเป็นไปได้มากที่ถ้าผมลงทุนซื้อ ก็จะต้องคอยดูว่าจะต้องขายเมื่อถึงเวลาอันควร ลักษณะนี้จึงเป็นการ “เทรด” หรือพิจารณาจังหวะในการซื้อ-ขาย ด้วย เพียงแต่จะไม่ใช่การซื้อและขายอย่างรวดเร็วกินส่วนต่างเพียงเล็กน้อย แต่จะเป็นการดู “รอบ” ระยะยาวว่าหุ้นหรือกองทุนนั้นน่าจะอยู่ในช่วง “ขาขึ้น” หรือ “ขาลง” หรือการ “อิ่มตัว” ทางธุรกิจ ประกอบกับเรื่องของราคาหรือความถูกความแพงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ทางด้านพื้นฐานนั่นเอง
ในส่วนของหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเองนั้น ผมคิดว่ามีโอกาสที่อาจจะมีสัดส่วนน้อยลงจนต่ำกว่า 50% ของพอร์ตโดยรวมถ้าดูแล้วพื้นฐานทางเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นในระยะยาวไม่เอื้อให้บริษัทจดทะเบียนเติบโตเร็วอย่างที่ควรจะเป็นได้ ซึ่งด้วยค่า PE ณ. สิ้นปี 2566 ที่ยังค่อนข้างสูงแม้ว่าราคาหุ้นในปี 2566 จะตกลงมามากที่สุดในโลกตลาดหนึ่ง ทำให้ปี 2567 อาจจะกลายเป็นปีที่พอร์ตลงทุนส่วนที่เป็นต่างประเทศเพิ่มขึ้นไปอีกทั้ง ๆ ที่เกิดปัญหาเรื่องภาษีและดัชนีหุ้นปรับตัวแพงขึ้นโดยเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นไทย
ทั้งหมดที่ผมคิดว่าจะลงทุน ไม่ว่าจะเป็นตลาดต่างประเทศเกิดใหม่ ตลาดต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว และตลาดหุ้นไทยเดิม กลยุทธ์การลงทุนในปี 2567 และน่าจะปีต่อ ๆ ไปของผมดูเหมือนว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นแนว Semi-Active หรือ Semi-passive มากขึ้น นั่นก็คือ ลงทุนในกองทุนรวมหลาย ๆ รูปแบบ หรือลงทุนใน Dr หุ้นต่างประเทศที่บริษัทหลักทรัพย์คัดสรรออกมาทำเป็น DR ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย การเลือกหุ้นแบบรายตัวที่มีการวิเคราะห์และประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนแบบเดิมน่าจะน้อยลงมาก
เช่นเดียวกัน การเลือกหุ้นตัวเล็ก ๆ ที่มีโอกาสเติบโตเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่ได้ผลตอบแทนมหาศาลในระยะยาวก็คงมีน้อยมาก เช่นเดียวกับการคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดมาก ๆ เช่นสูงกว่าดัชนีอ้างอิงถึง 10% ในระยะยาวก็เป็นไปไม่ได้แล้ว
พอร์ตแบบ Semi-Active นั้น ถ้าได้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดซัก 2-3% ในระยะยาวก็ “หรูมาก” แล้ว เช่นเดียวกับผลตอบแทนระยะยาวปีละ 10% ก็แทบจะเป็น “ความฝัน” ถ้าทำได้
ถ้าจะพูดตามตรง ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป ผมคิดว่าตัวเองอยู่ในโหมดของการ รักษาความมั่งคั่งและพยายามสร้างผลตอบแทนที่ “สมเหตุผล” หมดยุคที่จะทำเงินจากการลงทุนแบบง่าย ๆ และสูงอย่างไม่น่าเชื่อไปแล้ว เพราะ “น่านน้ำ” ของตลาดหุ้นเปลี่ยนไปแล้ว เช่นเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจในตัวหุ้นและการเลือกหุ้นที่มีอยู่ก็แทบจะใช้ไม่ได้แล้วในตลาดหุ้นไทย การนำความรู้ไปใช้ในตลาดหุ้นต่างประเทศก็มีข้อจำกัดมากและมาพร้อมกับอุปสรรคทางด้านต้นทุนภาษี
ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ก็เป็นไปได้ว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวผมเอง คนอื่นโดยเฉพาะที่เป็นคน “รุ่นใหม่” อาจจะไม่เห็นด้วยและยังคิดว่าตนเองสามารถสร้าง “ผลตอบแทนมหัศจรรย์” แบบเดียวกับที่ “เซียน VI” รุ่นก่อนหลาย ๆ คนทำได้ ผมคงไม่เถียงอะไรทั้งนั้น และเชื่อจริง ๆ ว่าคนรุ่นใหม่นั้นเก่งกว่าคนรุ่นเก่าอย่างผมแน่ แต่สิ่งที่พวกเขาอาจจะไม่มีก็คือ “โชค” และ “น่านน้ำ” ที่อุดมสมบูรณ์ของตลาดหุ้นไทยในอดีต และคู่แข่งที่ยังแทบจะไม่สนใจเลือกหุ้นแบบ VI เลย ดังนั้น โอกาสของคนรุ่นใหม่จึงไม่แน่นอนและความเสี่ยงก็สูงขึ้นมาก
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1107132
By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 06 ม.ค. 2567
ถ้าพูดตามตรง ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป ผมคิดว่าตัวเองอยู่ในโหมดของการ รักษาความมั่งคั่ง และพยายามสร้างผลตอบแทนที่ “สมเหตุผล” หมดยุคที่จะทำเงินจากการลงทุนแบบง่าย ๆ และสูงอย่างไม่น่าเชื่อไปแล้ว เพราะ “น่านน้ำ” ของตลาดหุ้นเปลี่ยนไปแล้ว
ปี 2567 เพิ่งจะเริ่มต้น แต่ความรู้สึกของผมก็คือ ปีนี้อาจจะเป็นปีที่ผมอาจจะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแนวทางการลงทุนที่เคยทำมายาวนานหลายสิบปีและแทบจะไม่เคยเปลี่ยนเลย การที่ผมคิดอย่างนั้นก็เพราะว่า “น่านน้ำของการลงทุน” หรือสภาพแวดล้อมของการลงทุนที่ผมคุ้นชินมานาน “เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ” เฉพาะอย่างยิ่งก็คือประเด็นของภาษีที่นักลงทุนส่วนบุคคลจะต้องถูกเก็บถ้านำเงินไปลงทุนในตลาดต่างประเทศที่สูงได้ถึง 35% ของกำไรจากการลงทุนเมื่อนำเงินกลับประเทศไทย
สำหรับผมแล้ว อัตราภาษีในระดับนั้น เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในการลงทุนหุ้น ถ้าเราจะต้องเสียภาษีในระดับนั้น โอกาสที่จะลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนหลังภาษีที่ดีพอก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศซึ่งไม่เสียภาษีกำไรจากการลงทุน
จริงอยู่ มีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงภาษีหลายทางเช่น ไม่นำเงินกลับประเทศไทยเลย และหวังว่าเงินนั้นจะอยู่และถูกนำไปใช้ในต่างประเทศ “ตลอดกาล” ซึ่งสำหรับหลายคนแล้วก็คิดว่าเป็นไปได้เช่น “เก็บเอาไว้ใช้เวลาลูกต้องเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ” หรือ “เงินก้อนนี้จะไม่จำเป็นต้องใช้เลยในประเทศไทย เพราะมีเงินรายได้และการลงทุนในประเทศไทยเพียงพออยู่แล้ว” หรือ “ถ้าปีไหนจะนำเงินกลับเข้าไทย ก็ไปอยู่ต่างประเทศชั่วคราวซึ่งทำให้อยู่ในไทยไม่เกิน 180 วัน ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเสียภาษี” เป็นต้น
แต่สำหรับผมแล้ว นั่นเป็นวิธีที่ไม่แน่นอนและมีโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้สูง บางทีอาจจะแค่ภายใน 2-3 ปี เกณฑ์ก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็นว่า ต่อไปนี้ หุ้นต่างประเทศหรือพอร์ตหุ้นต่างประเทศที่มีกำไร ไม่ว่าจะนำเงินกลับไทยหรือไม่ก็จะต้องเสียภาษีเป็นรายปี เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะว่าตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป
ข้อมูลทางการเงินและการลงทุนของเราที่เกิดขึ้นในต่างประเทศจะถูกรายงานถึงทางการไทยตลอดเวลาจาก “ความร่วมมือระดับนานาชาติ” ดังนั้น รัฐไทยจึงสามารถ เก็บภาษีรายได้จากคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน และไทยก็พร้อมจะเก็บภาษี “คนรวย” ที่เอาเงินไปลงทุนต่างประเทศที่ในอดีต “ไม่ต้องจ่ายภาษี” ให้ประเทศไทย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมคิดว่าการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศในฐานะบุคคลธรรมดาจึงน่าจะจบแล้ว เพราะ “ไม่คุ้ม” แต่ถ้าจะลงทุนเฉพาะในตลาดหุ้นไทย “ต้นทุน” ที่อาจจะใหญ่กว่าเรื่องภาษีด้วยซ้ำก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่อาจจะต่ำกว่าการลงทุนในต่างประเทศมาก เหตุผลก็ชัดเจนว่ามาจากการที่เศรษฐกิจไทยเติบโตช้ากว่ามากและอาจจะช้าลงไปเรื่อย ๆ เมื่อปัจจัยด้านประชากรของไทยแก่ตัวเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ต้องนับปัญหาทางด้านรัฐศาสตร์การเมืองที่เป็นอุปสรรคที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้
ทิศทางที่ผมคิดและอาจจะต้องเริ่มทำก็คือ ปรับการลงทุนในต่างประเทศแบบ “หน้ามือเป็นหลังมือ” เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษี ด้านหนึ่งก็คือ เปลี่ยนจากการใช้บุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีทุกปี แต่ในอัตราที่ยอมรับได้คือ 20% ในกรณีแบบนี้ ก็จะต้องมั่นใจว่าตนเองสามารถสร้างผลตอบแทนในตลาดต่างประเทศนั้นที่กำลังเติบโตเร็วและสามารถเลือกหุ้นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” ที่ให้ผลตอบแทนสูงมากในระยะยาวได้
ในกรณีของหุ้นต่างประเทศที่เป็นตลาดพัฒนาแล้วหรือเป็นตลาดใหญ่มาก ตัวอย่าง เช่นหุ้นดิจิทัลหรือหุ้นเทคโนโลยีระดับโลก หุ้นเหล่านั้นในระยะหลังก็มีบริษัทหลักทรัพย์จัดตั้งเป็นกองทุนรวม หรือการทำ DR ซึ่งเป็นตัวแทนหุ้นในต่างประเทศแต่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการลงทุน ก็อาจจะเป็นวิธีการลงทุนหุ้นต่างประเทศอีกกลุ่มหนึ่งของผม
พูดง่าย ๆ ก็คือ ซื้อกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ หรือ DR ในหุ้นต่างประเทศที่เป็นหุ้นยอดนิยมระดับโลกที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งแม้ว่าจะมีต้นทุนเพิ่มเป็นค่าบริหารหรือค่าจัดการบ้างแต่ก็น่าจะคุ้ม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมคิดว่าบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ก็น่าจะเสนอผลิตภัณฑ์และหลักทรัพย์ต่าง ๆ ในต่างประเทศที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะปี 2566 ที่กองทุนหุ้นต่างประเทศโดยเฉพาะจากตลาดอเมริกาหลายกองสร้างผลตอบแทนให้กับคนที่ถือหน่วยน่าประทับใจมาก
แต่กองทุนรวมหรือ DR ที่ผมจะลงทุนนั้น เนื่องจากมันอาจจะไม่ใช่ “ซุปเปอร์สต็อก” ที่สามารถซื้อและถือไว้ยาวนานและให้ผลตอบแทนดีเลิศได้ ผมเองคิดว่าเป็นไปได้มากที่ถ้าผมลงทุนซื้อ ก็จะต้องคอยดูว่าจะต้องขายเมื่อถึงเวลาอันควร ลักษณะนี้จึงเป็นการ “เทรด” หรือพิจารณาจังหวะในการซื้อ-ขาย ด้วย เพียงแต่จะไม่ใช่การซื้อและขายอย่างรวดเร็วกินส่วนต่างเพียงเล็กน้อย แต่จะเป็นการดู “รอบ” ระยะยาวว่าหุ้นหรือกองทุนนั้นน่าจะอยู่ในช่วง “ขาขึ้น” หรือ “ขาลง” หรือการ “อิ่มตัว” ทางธุรกิจ ประกอบกับเรื่องของราคาหรือความถูกความแพงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ทางด้านพื้นฐานนั่นเอง
ในส่วนของหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเองนั้น ผมคิดว่ามีโอกาสที่อาจจะมีสัดส่วนน้อยลงจนต่ำกว่า 50% ของพอร์ตโดยรวมถ้าดูแล้วพื้นฐานทางเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นในระยะยาวไม่เอื้อให้บริษัทจดทะเบียนเติบโตเร็วอย่างที่ควรจะเป็นได้ ซึ่งด้วยค่า PE ณ. สิ้นปี 2566 ที่ยังค่อนข้างสูงแม้ว่าราคาหุ้นในปี 2566 จะตกลงมามากที่สุดในโลกตลาดหนึ่ง ทำให้ปี 2567 อาจจะกลายเป็นปีที่พอร์ตลงทุนส่วนที่เป็นต่างประเทศเพิ่มขึ้นไปอีกทั้ง ๆ ที่เกิดปัญหาเรื่องภาษีและดัชนีหุ้นปรับตัวแพงขึ้นโดยเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นไทย
ทั้งหมดที่ผมคิดว่าจะลงทุน ไม่ว่าจะเป็นตลาดต่างประเทศเกิดใหม่ ตลาดต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว และตลาดหุ้นไทยเดิม กลยุทธ์การลงทุนในปี 2567 และน่าจะปีต่อ ๆ ไปของผมดูเหมือนว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นแนว Semi-Active หรือ Semi-passive มากขึ้น นั่นก็คือ ลงทุนในกองทุนรวมหลาย ๆ รูปแบบ หรือลงทุนใน Dr หุ้นต่างประเทศที่บริษัทหลักทรัพย์คัดสรรออกมาทำเป็น DR ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย การเลือกหุ้นแบบรายตัวที่มีการวิเคราะห์และประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนแบบเดิมน่าจะน้อยลงมาก
เช่นเดียวกัน การเลือกหุ้นตัวเล็ก ๆ ที่มีโอกาสเติบโตเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่ได้ผลตอบแทนมหาศาลในระยะยาวก็คงมีน้อยมาก เช่นเดียวกับการคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดมาก ๆ เช่นสูงกว่าดัชนีอ้างอิงถึง 10% ในระยะยาวก็เป็นไปไม่ได้แล้ว
พอร์ตแบบ Semi-Active นั้น ถ้าได้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดซัก 2-3% ในระยะยาวก็ “หรูมาก” แล้ว เช่นเดียวกับผลตอบแทนระยะยาวปีละ 10% ก็แทบจะเป็น “ความฝัน” ถ้าทำได้
ถ้าจะพูดตามตรง ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป ผมคิดว่าตัวเองอยู่ในโหมดของการ รักษาความมั่งคั่งและพยายามสร้างผลตอบแทนที่ “สมเหตุผล” หมดยุคที่จะทำเงินจากการลงทุนแบบง่าย ๆ และสูงอย่างไม่น่าเชื่อไปแล้ว เพราะ “น่านน้ำ” ของตลาดหุ้นเปลี่ยนไปแล้ว เช่นเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจในตัวหุ้นและการเลือกหุ้นที่มีอยู่ก็แทบจะใช้ไม่ได้แล้วในตลาดหุ้นไทย การนำความรู้ไปใช้ในตลาดหุ้นต่างประเทศก็มีข้อจำกัดมากและมาพร้อมกับอุปสรรคทางด้านต้นทุนภาษี
ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ก็เป็นไปได้ว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวผมเอง คนอื่นโดยเฉพาะที่เป็นคน “รุ่นใหม่” อาจจะไม่เห็นด้วยและยังคิดว่าตนเองสามารถสร้าง “ผลตอบแทนมหัศจรรย์” แบบเดียวกับที่ “เซียน VI” รุ่นก่อนหลาย ๆ คนทำได้ ผมคงไม่เถียงอะไรทั้งนั้น และเชื่อจริง ๆ ว่าคนรุ่นใหม่นั้นเก่งกว่าคนรุ่นเก่าอย่างผมแน่ แต่สิ่งที่พวกเขาอาจจะไม่มีก็คือ “โชค” และ “น่านน้ำ” ที่อุดมสมบูรณ์ของตลาดหุ้นไทยในอดีต และคู่แข่งที่ยังแทบจะไม่สนใจเลือกหุ้นแบบ VI เลย ดังนั้น โอกาสของคนรุ่นใหม่จึงไม่แน่นอนและความเสี่ยงก็สูงขึ้นมาก
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1107132