กลยุทธ์การลงทุนระยะยาวที่สั้นที่สุดBy ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR
08 ก.ค. 2566 เวลา 22:46 น.
ภาวะที่ดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาอย่างช้าๆ ต่อเนื่องในช่วงเร็วๆนี้ แต่ราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนหลายตัวที่เคยเป็นหุ้น “ดารา” ที่ราคาวิ่งขึ้นไปสูงเป็น “จรวด” ก่อนหน้านี้ กลับตกลงมาแรงต่อเนื่องจนแทบเป็น “หายนะ” ทำให้ผมรู้สึกว่า กลยุทธ์การลงทุน “ระยะยาว” ที่จะสร้างความมั่งคั่งให้กับนักลงทุนอย่างมั่นคงจริงๆ นั้น
คงไม่ใช่การเลือกหุ้นลงทุนในหุ้นที่กำลังวิ่งขึ้นแรงและขายหุ้นก่อนที่มันจะลงไปอย่างหนักซึ่งเป็นกลยุทธ์ของ “นักเทรด” หรือ “นักซื้อขายหุ้น” ไม่ว่าจะเป็นนักเก็งกำไร หรือเป็น Value Investor เพราะผมคิดว่า คนที่ทำแบบนั้นคงจะ “เจ็บตัว” อย่างหนักเพราะขายไม่ทันและขาดทุนไปมาก ซึ่งน่าจะทำให้ผลตอบแทน “ระยะยาวแบบทบต้น” ของเขาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นอาจจะสูงมาก
ผมคิดว่ากลยุทธ์การลงทุนระยะยาวที่จะให้ผลตอบแทนที่ดี มีความมั่นคง และคนลงทุนจะไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดของการขาดทุนอย่างหนักอย่างที่กำลังอาจจะเกิดขึ้นกับนักลงทุนบางคน ในช่วงนี้ควรจะเป็นแนวการลงทุนแบบวอเร็น บัฟเฟตต์ ที่ทุกคนยกย่องชื่นชมว่าเป็นสุดยอดของการลงทุนระยะยาว แต่เป็นกลยุทธ์ที่น้อยคนที่จะใช้หลายคนอาจจะคิดว่ามันยาก และเหนือความสามารถของตนที่จะวิเคราะห์หุ้นได้เก่งขนาดนั้น
อย่างไรก็ตาม ผมเองคิดว่าคนจำนวนมากสามารถเลียนแบบกลยุทธ์ของบัฟเฟตต์ที่จะทำให้สามารถทำผลตอบแทนระยะยาวที่ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ และต่อไปนี้ก็คือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นหลักคิดและวิธีสำหรับการลงทุนระยะยาวที่น่าจะ “ง่ายและสั้นที่สุด” และก็เป็นกลยุทธ์ที่ผมเองใช้มายาวนานกว่า 20 ปีแล้ว
หลักสำคัญข้อแรกก็คือ ต้องพยายามหลีกเลี่ยง “หายนะ” ของการลงทุน ซึ่งก็คือการหลีกเลี่ยงการลงทุนแต่ละครั้งในหุ้นแต่ละตัวที่มีความเสี่ยงสูงเกินไป อาจจะเป็นเพราะตัวธุรกิจที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความผันผวนสูงและขณะที่ซื้อหุ้นนั้นราคาสินค้าอยู่ในภาวะสูงผิดปกติ หรือลงทุนในหุ้นที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปเร็วและสูงกว่าปกติมาก เช่น หุ้นขึ้นไปแล้วเป็น 100% หรือหลายเท่าตัวแล้วในช่วงเวลาอันสั้น เป็นต้น
การกระจายความเสี่ยงของการลงทุน โดยเฉพาะการถือหุ้นจำนวนไม่น้อยกว่า 5-6 ตัวที่เป็นหุ้นหลัก การไม่ถือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเกิน 40-50% ของพอร์ต และการไม่ใช้เงินกู้หรือมาร์จินในการซื้อหุ้นสูงเกินกว่า 20-30% ของพอร์ต จะเป็นการลดโอกาสที่มูลค่าพอร์ตลงทุนจะกลายเป็น “หายนะ” ได้เมื่อเกิดสถานการณ์ที่เลวร้าย
จากประสบการณ์ ผมพบว่าตลาดหุ้นไทยนั้นประสบกับสภาวะเลวร้ายบ่อยมาก และถ้าเราลงทุนต่อเนื่องยาวนาน โอกาสที่จะประสบกับภาวะวิกฤติหุ้นก็สูงมาก แต่ถ้าเรา “เอาตัวรอดได้” เช่นในช่วงวิกฤติที่ตลาดหุ้นตกลงมา 30-40% ขึ้นไป พอร์ตเราก็จะตกลงมาแค่ 10-20% นั่นก็จะทำให้พอร์ตเราให้ผลตอบแทนระยะยาวที่ดีและดีกว่าตลาดมากได้ ซึ่งนั่นก็จะนำเราไปสู่ความมั่งคั่งได้อย่างมั่นคงในระยะยาวอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไปอย่างแน่นอน
หลักสำคัญข้อ 2 ก็คือ ลงทุนในหุ้นของกิจการที่ดีและจะดีต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 5-6 ปีขึ้นไป ซึ่งนั่นก็หมายความว่าบริษัทจะต้องมีความสามารถในการแข่งขันและถ้าจะดีขึ้นไปอีกก็คือ มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนที่คู่แข่งไม่สามารถสร้างได้อย่างน้อยในอีก 5-10 ปีข้างหน้า การประเมินเรื่องนี้จะต้องประเมินอย่างระมัดระวังและแน่ใจจริง ๆ ว่าบริษัทคู่แข่งทั้งปัจจุบันและอนาคตไม่สามารถสู้ได้และก็ไม่สามารถเลียนแบบได้อย่างน้อยในอีก 5-10 ปีข้างหน้า
ความผิดพลาดในการประเมินที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ นักลงทุนมักจะไปดูการเติบโตของยอดขายหรือกำไรว่าเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของบริษัทเหนือคู่แข่ง แต่นี่อาจจะเป็นเรื่องชั่วคราวที่อาจจะเกิดจากกลยุทธ์ทางการตลาดที่ถูกต้องในภาวะนั้นที่คู่แข่งอาจจะยังไม่ตระหนักหรือตามไม่ทัน แต่ในไม่ช้าก็อาจจะเลียนแบบหรือใช้กลยุทธ์แบบนั้นได้ ในกรณีแบบนี้ก็ไม่เข้าข่ายในเรื่องของความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่งอย่างยั่งยืน และถ้าเราเข้าไปลงทุนก็อาจจะเกิดความผิดพลาดได้
สิ่งสำคัญในข้อนี้อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ราคาที่ซื้อหุ้นจะต้องถูกหรือเหมาะสม ซึ่งนี่ก็เป็นประเด็นที่จะต้องระมัดระวังว่าเท่าไรถึงจะถูกหรือเหมาะสม ค่า P/E จากกำไรปกติที่ไม่เกิน 25 เท่าอาจจะเป็นตัวเลขหนึ่งที่จะใช้ อีกตัวเลขหนึ่งที่ผมเองใช้มากกว่าก็คือ Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นโดยเฉพาะในกรณีที่หุ้นยังมีขนาดไม่ใหญ่มาก เช่นเป็นกิจการที่เพิ่งเริ่มต้นไม่นานและกำไรยังไม่สูง แต่ศักยภาพที่จะโตของบริษัทอาจจะสูงมาก เช่น จะขยายไปทั่วประเทศจากที่เคยอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ เป็นต้น ในกรณีแบบนั้น เราก็ต้องวิเคราะห์ไปยาวนานว่าการเติบโตของยอดขายในที่สุดจะเป็นเท่าไรและกำไรควรจะมากขนาดไหนและสุดท้ายค่า P/E เป็นเท่าไร ซึ่งก็จะทำให้รู้ว่า Market Cap. ควรจะมีขนาดไหน
ข้อสุดท้ายก็คือ เมื่อได้หุ้นที่ดีในระยะยาวมากหรือเป็นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” ในราคาถูกหรือยุติธรรมแล้ว ก็ถือหุ้นไว้ให้ยาวที่สุดหรือเรียกว่า “ถือหุ้นตลอดไป” ไม่ขายเป็น 10 ปี ขึ้นไป ไม่ว่าในระหว่างนั้นราคาจะขึ้นหรือลง ซึ่งก็แน่นอนว่าในช่วงเวลาที่ผ่านไป หุ้น 5-10 ตัวที่ “ดีเยี่ยม” ที่ถืออยู่นั้นก็จะมีบางตัวที่มีราคาขึ้นไป บางตัวก็มากกว่าปกติ และก็มีบางตัวที่แย่หรือแย่กว่าปกติ แต่ตราบใดที่พื้นฐานของบริษัทก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ เราก็ไม่ต้องทำอะไร อย่าพยายามขายตัวที่กำไรและเก็บตัวที่ขาดทุน หรือขายตัวที่ขาดทุนและเก็บตัวที่กำไรไว้ สิ่งที่เราต้องดูก็คือ “พอร์ตโดยรวม” ว่าในแต่ละช่วงเวลาเช่น ทุกเดือนหรือทุก 3 เดือน พอร์ตมีกำไรหรือขาดทุนเท่าไร ถ้าเราเลือกหุ้นดีแล้ว โอกาสก็เป็นไปได้ว่าผลตอบแทนของพอร์ตก็จะดูดีกว่าดัชนีหุ้น—โดยเฉพาะในช่วงตลาดหุ้นลง ส่วนในช่วงตลาดหุ้นดี พอร์ตเราก็มักจะดีอยู่แล้ว แต่ถ้าแพ้ตลาดก็ไม่เป็นไร
ประเด็นของหลักการข้อนี้ที่ต้องคำนึงถึงก็คือ เรามักจะไม่ค่อยได้ทำอะไรกับหุ้นเลย โดยเฉพาะถ้าเราไม่ได้บริหารกองทุนรวมที่มีเงินใหม่เข้ามาเติมอยู่เรื่อยๆ ดูเหมือนว่าเราจะต้องอยู่เฉยๆ เป็นส่วนใหญ่ ในช่วงที่ยังต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหุ้น ก็อาจจะเป็นเวลาที่ต้องอ่านหนังสือการลงทุน อย่างไรก็ตาม ถึงจุดหนึ่งเราก็อาจจะเบื่อแล้วเพราะหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนก็จะเริ่มซ้ำถ้าเราอ่านมามากพอ
การศึกษาติดตามหุ้นที่ลงทุนอยู่แล้ว หรือการหาหุ้นใหม่ๆ เพื่อการลงทุนอาจจะเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับนักลงทุนที่เทรดหุ้นแม้ว่าจะไม่ได้เทรดบ่อย แต่สำหรับคนที่ลงทุนระยะยาวจริง ๆ อย่างผมก็ใช้เวลาไม่มาก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ตลาดหุ้นไทยมีหุ้นที่เข้าข่ายหุ้นดีเลิศตัวใหม่ ๆ ก็มีน้อยมาก ดังนั้น เวลาของผมส่วนใหญ่จึงใช้กับการศึกษาความรู้ใหม่ๆ เช่น เรื่องของยีนมนุษย์ ประวัติศาสตร์ การเมืองหรือความรู้ต่างๆ ทางสังคมที่อาจจะมีประโยชน์ต่อการลงทุนอย่างที่เราอาจจะไม่รู้ตัว แต่โดยรวมแล้ว เดี๋ยวนี้ผมรู้สึกว่าตนเองลงทุนแบบ “ขี้เกียจ” มาก ว่าที่จริง ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาผมแทบไม่ได้ทำอะไรกับหุ้นที่ถือมายาวนานแต่ละตัวเกิน 5 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ถือมากว่า 10 ปีแล้วโดยที่แทบไม่ได้ซื้อหรือขายในกรณีของหุ้นไทย
คำถามที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ ถ้าเราขยันและเทรดหุ้นบ้างจะไม่ดีกว่าหรือ หุ้นแต่ละตัวอาจจะมีวงจรชีวิตที่โตเร็วและโตช้าหรือกำลังตกต่ำลง ทำไมเราจะไม่ขายตัวที่มี “ผลตอบแทนต่อความเสี่ยง” หรือ “Risk Reward Ratio” ต่ำ และซื้อตัวที่ให้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่สูงกว่า คำตอบของผมก็คือ เราคงไม่สามารถประเมินได้ละเอียดแบบนั้น ดังนั้น ก็ไม่ควรทำ
สุดท้ายก็คือ เราแน่ใจอย่างไรว่ากลยุทธ์ถือหุ้นตลอดไปนั้น ดีกว่าการเทรดหุ้น คำตอบของผมก็คือ ถ้ามองแบบภาพใหญ่ว่าหุ้นในตลาดนั้น ในระยะยาวจะมีกิจการที่ดีเยี่ยมจริงๆ เพียงไม่เกิน 5% หรือบางทีอาจจะบอกว่ามีแค่ประมาณ 40-50 ตัว หุ้นที่แย่และในที่สุดก็ล้มเหลวไปเลยอาจจะมีเป็น 100 ตัว ที่เหลืออีก 6-700 ตัวเป็นหุ้นปานกลางที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ดังนั้น ถ้าเราเลือกหุ้นที่คาดว่าจะดีแล้วเป็นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด โอกาสก็คือ เราก็จะสามารถเอาชนะดัชนีตลาดในระยะยาว แม้ว่าหุ้นบางตัวเราจะพลาดและขาดทุนหนักไปเลยก็ตาม
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1077566
บทความ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร จาก กรุงเทพธุรกิจ
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
ประเมินกลยุทธ์ VIBy ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR
16 ก.ค. 2566 เวลา 11:58 น
ในช่วง 4-5 ที่ผ่านมานี้ การลงทุนในตลาดหุ้นไทยดูเหมือนจะยากขึ้นทุกที ไม่ใช่เพราะว่าดัชนีหุ้นไทยไม่ไปไหนเลยเพียงอย่างเดียว
แต่เป็นเพราะว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบ VI แนว “ซุปเปอร์สต็อก” ที่ผมใช้มานานและได้ผลดีมากมาตลอดนั้น เริ่มได้ผลน้อยลงมาก เหตุผลสำคัญผมคิดว่าเกิดจากการที่หุ้นซุปเปอร์สต็อกในตลาดหุ้นไทยเดิมนั้น “อิ่มตัว” แล้ว ราคาได้ปรับตัวขึ้นมามากจนราคาไม่ถูกอีกต่อไป บางตัวก็อาจจะเรียกว่าแพงแล้ว
ในขณะเดียวกัน หุ้นซุปเปอร์สต็อก “รุ่นใหม่” ก็หาแทบไม่ได้ในสายตาของผม จริงอยู่ ยังมีกิจการที่ดีเยี่ยมที่อาจจะกำลังเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แต่ราคาหุ้นกลับปรับตัวขึ้นไปสูงกว่าพื้นฐาน นอกจากนั้น การเติบโตระยะยาวมากก็ยังไม่แน่นอน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ
ตลาดหุ้นไทยยังไม่มีหุ้นดิจิทัลหรือไฮเทคที่มีความสามารถและ/หรือความได้เปรียบที่ยั่งยืนจริงๆ ดังนั้น การลงทุนก็เป็นความเสี่ยงเพราะหุ้นมี Margin of Safety ต่ำมาก ผมจึงไม่ลงทุน และก็พลาดที่จะได้ปผลตอบแทนที่รวดเร็วแบบ VI รุ่นใหม่หลายๆ คนทำได้ในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่เจ็บตัวเมื่อหุ้นเหล่านั้นหลายตัวตกลงมาจนแทบหายนะในช่วงเร็วๆนี้
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมาน่าจะอย่างน้อย 5 ปี ของผมต้องถือว่าย่ำแย่ ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 1.8% ต่อปี แม้ว่าจะยังดีกว่าดัชนีตลาดที่ -0.6% ต่อปี แต่ก็ถือว่าเลวร้ายมาก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผลตอบแทนของพอร์ตของผมที่มักจะสามารถเอาชนะดัชนีตลาดได้เกินกว่า 10% ต่อปีแทบทุกปีในอดีตเป็นเวลากว่า 20 ปีนั้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแทบทำไม่ได้ดีกว่าตลาดเลย
หลักการลงทุนแบบ VI ที่ใช้ในตลาดหุ้นไทยและได้ผลดีมายาวนานนั้น สำหรับผมมันแทบจะจบไปแล้ว ตอนนี้ผมแค่คิดว่า ผลดีของการลงทุนแบบ VI ที่ยังเหลืออยู่ก็คือ มันสามารถปกป้องพอร์ตไม่ให้เกิดหายนะรุนแรงได้ และบางทีก็น่าจะยังสามารถรักษาผลตอบแทนระยะยาวหลังจากนี้ได้ปีละ 5-7% แบบทบต้น ซึ่งนั่นก็ดีพอที่จะคงพอร์ตการลงทุนส่วนใหญ่ของผมไว้ในประเทศหรือตลาดหุ้นไทย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมอายุมากแล้ว และก็คงไม่ย้ายไปอยู่ประเทศอื่นไม่ว่าเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นจะแย่แค่ไหน
แต่ก็แน่นอนว่า ผมคงไม่ยอมที่จะลงทุนเงินทั้งหมดในที่ที่จะให้ผลตอบแทนระยะยาวต่ำหรือต่ำมาก ในฐานะของนักลงทุนที่เป็น “นักเลือก” ผมจึงต้องแสวงหาประเทศและตลาดหุ้นที่จะให้ผลตอบแทนสูงและความเสี่ยงต่ำ ซึ่งเมื่อ 6-7 ปีที่แล้วผมก็เริ่มเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามที่ผมวิเคราะห์ดูแล้วว่ามีความคล้ายคลึงกับไทยโดยเฉพาะในช่วงประมาณซัก 15-20 ปีก่อน
โดยเฉพาะในด้านของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ผมค่อยๆ ลงทุนจากเม็ดเงินไม่เกิน 5% และก็ทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวันนี้ ขนาดของพอร์ตการลงทุนในเวียตนามของผมเพิ่มขึ้นจนถึงเกือบ 30% ของความมั่งคั่งไปแล้ว อานิสงส์ส่วนหนึ่งมาจากกำไรที่เพิ่มขึ้นและการเพิ่มเม็ดเงินลงทุนที่ได้จากปันผลของหุ้นไทยที่ยังมีสัดส่วนกว่า 65%
ถึงวันนี้ ผมแทบจะไม่แยกว่าการลงทุนในเวียตนามเป็นเพียง “Alternative Investments” หรือ “การลงทุนทางเลือก” อีกต่อไปแล้ว และลึก ๆ แล้วผมคิดว่ามีโอกาสที่วันหนึ่งมันอาจจะใหญ่กว่าการลงทุนในประเทศไทยก็ได้ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงพอร์ตที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วตามการเติบโตของเศรษฐกิจเวียตนามและการเติบโตของบริษัทหรือหุ้นโดยเฉพาะแนว “ซุปเปอร์สต็อก” ของเวียตนามที่ผมใช้เป็นหลักในการลงทุน
มองจากภาพใหญ่ ตลาดเวียดนามตั้งแต่เปิดในปี 2000 จนถึงวันนี้เป็นเวลา 23 ปี ดัชนีเพิ่มขึ้นจาก 100 จุด เป็น 1,168 จุดเมื่อวันที่ 15 ก.ค.2566 ให้ผลตอบแทนแบบทบต้นถึงปีละ 11.3% เมื่อคิดรวมปันผลก็น่าจะสูงถึง 14-15% นับเป็นผลตอบแทนที่ “สุดยอด” ตลาดหนึ่งของโลก ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีนี้ก็สูงถึงประมาณ 16-17% ไปแล้ว ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นอานิสงส์จากการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามที่โตเร็วระดับต้นๆ ของโลกที่ระดับไม่ต่ำกว่า 6-7% ต่อปี ในช่วงระยะเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 23 ปีเช่นกัน โดยที่การเติบโตระดับนี้ยังได้รับการคาดการณ์ว่าจะดำเนินต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 10 ปีขึ้นไปโดยหน่วยงานการพัฒนาทางเศรษฐกิจระดับโลก เช่น IMF เป็นต้น
กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามของผมนั้น แน่นอนว่าเป็นแบบ VI ตั้งแต่ต้น แต่ในช่วงแรกที่เข้าไปนั้น เนื่องจากยังไม่รู้จักบริษัทจดทะเบียนและถ้ารอศึกษาก็ไม่ทัน ผมจึงใช้สูตรการลงทุนแนวของ Joel Greenblatt ที่เขียนในหนังสือ the Little Book That Beats the Market ซึ่งใช้อัตราส่วนทางการเงินที่แสดงถึงคุณภาพและราคาของหุ้นแบบ VI เป็นตัวคัดหุ้นลงทุน ซึ่งก็ได้เข้าไปลงทุนในหุ้นขนาดเล็กนับร้อยตัวที่ผมยังคงถืออยู่ในขณะนี้ ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ผมไม่ได้ตระหนักก็คือ การขายหุ้นที่จะต้องทำเพื่อปรับพอร์ตทุกปีตามกลยุทธ์นี้ของผมทำไม่ได้ เพราะหุ้นมีขนาดเล็กและสภาพคล่องต่ำเกินไป
กลยุทธ์ต่อมาเมื่อผมเริ่มศึกษาและมีความรู้เกี่ยวกับหุ้นรายตัวมากขึ้นก็คือ การเลือกลงทุนในหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” ของเวียดนาม วิธีเลือกหุ้นส่วนใหญ่ก็เน้นไปที่อุตสาหกรรมและหุ้นที่เคยเป็นซุปเปอร์สต็อกของไทยในอดีตประมาณ 10-20 ปีที่ผ่านมา หุ้นที่เลือกประกอบด้วยหุ้นขนาดใหญ่ 4 ตัว ขนาดกลางประมาณ 4 ตัว และหุ้นขนาดเล็กอีก 2-3 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพิ่งลงทุนในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาและจนถึงทุกวันนี้ก็ยังทยอยลงทุนเพิ่มจนมีสัดส่วนรวมกันมากกว่า 70% ของพอร์ตหุ้นเวียดนามทั้งหมด และก็ถือว่าขณะนี้ พอร์ตการลงทุนในเวียตนามของผมก็สอดคล้องกับกลยุทธ์การเลือกหุ้นและลงทุนระยะยาวของผมแล้ว นั่นก็คือ ส่วนใหญ่หลังจากนี้ก็จะ “ถือ” ไว้เฉย ๆ ไม่ทำอะไรมากเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป
นับจากต้นปีนี้จนถึงวันที่ 15 ก.ค. 66 ผลตอบแทนจากดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามเท่ากับประมาณ 16-17% และเป็นการฟื้นตัวจาก “วิกฤติ” ตลาดหุ้นปีที่แล้ว ที่ดัชนีตกลงประมาณ 30% หุ้นเวียดนามโดยรวมของผมปรับตัวขึ้นมาประมาณ 14-15% โดยที่พอร์ตส่วนที่เป็นหุ้นซุปเปอร์สต็อกนั้น ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าหุ้นขนาดเล็กจำนวนเป็นร้อยตัวที่ถูกเลือก
โดยการกรองด้วยอัตราส่วนการเงินแบบ VI และนี่ก็เป็นความแปลกใจเล็กๆ ของผม แต่ที่จริงนักวิเคราะห์ของเวียตนามได้เคยบอกไว้แล้วว่าในยามที่หุ้นกำลัง Turnaround หรือฟื้นตัวนั้น หุ้นเล็กและ “หุ้นเก็งกำไร” ที่ตกลงไปหนักในปีก่อน จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในช่วงที่หุ้นกำลังฟื้นตัว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ นักลงทุนรายบุคคลมีสัดส่วนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นถึง 90% และพวกเขาชอบเล่นตัวเล็กและเก็งกำไร
และนั่นก็นำมาสู่สิ่งที่ผมจะต้องยอมรับว่า การลงทุนหุ้นซุปเปอร์สต็อกในเวียดนามนั้น ในระยะสั้น อาจจะ 2-3 ปีนี้ อาจจะไม่ใช่การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด เราอาจจะต้องรอจนกว่าตลาดหุ้นเวียดนามจะพัฒนาขึ้นเป็นตลาด “Emerging Market” ที่นักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ต่างชาติสามารถที่จะเข้ามาลงทุนได้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น หุ้นที่เป็นซุปเปอร์สต็อกก็จะเป็นที่ต้องการ และการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นก็จะโดดเด่นและยาวนานเฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทยเมื่อ 10-20 ปีก่อน
ในส่วนของประเทศไทยในปัจจุบัน ผมใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบซุปเปอร์สต็อกประมาณครึ่งหนึ่งของพอร์ต และอีกครึ่งหนึ่งเป็นแบบ “Super Cheap Stock” หรือหุ้นถูกมากที่ไม่ได้มีคุณสมบัติบางอย่างเช่น การเติบโตสูง แต่มีคุณภาพอย่างอื่นดีพอใช้ และราคาหุ้นถูกมาก ผลการลงทุนที่ผ่านมาจากต้นปีนั้นคือ “เสมอตัว” ซึ่งก็ถือว่าไม่เลวเมื่อคำนึงถึงว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลงประมาณเกือบ 10% ผมเองได้แต่หวังว่า ปีนี้ทั้งปีจะ “เอาตัวรอดได้” อีกปีหนึ่ง อานิสงค์จากตลาดหุ้นเวียตนามที่ในระยะหลัง ๆ สร้างผลงานที่ดีต่อเนื่องในขณะที่ตลาดหุ้นไทยนั้นดูเหมือนว่าจะสร้างความผิดหวังปีแล้วปีเล่า
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1078771
16 ก.ค. 2566 เวลา 11:58 น
ในช่วง 4-5 ที่ผ่านมานี้ การลงทุนในตลาดหุ้นไทยดูเหมือนจะยากขึ้นทุกที ไม่ใช่เพราะว่าดัชนีหุ้นไทยไม่ไปไหนเลยเพียงอย่างเดียว
แต่เป็นเพราะว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบ VI แนว “ซุปเปอร์สต็อก” ที่ผมใช้มานานและได้ผลดีมากมาตลอดนั้น เริ่มได้ผลน้อยลงมาก เหตุผลสำคัญผมคิดว่าเกิดจากการที่หุ้นซุปเปอร์สต็อกในตลาดหุ้นไทยเดิมนั้น “อิ่มตัว” แล้ว ราคาได้ปรับตัวขึ้นมามากจนราคาไม่ถูกอีกต่อไป บางตัวก็อาจจะเรียกว่าแพงแล้ว
ในขณะเดียวกัน หุ้นซุปเปอร์สต็อก “รุ่นใหม่” ก็หาแทบไม่ได้ในสายตาของผม จริงอยู่ ยังมีกิจการที่ดีเยี่ยมที่อาจจะกำลังเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แต่ราคาหุ้นกลับปรับตัวขึ้นไปสูงกว่าพื้นฐาน นอกจากนั้น การเติบโตระยะยาวมากก็ยังไม่แน่นอน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ
ตลาดหุ้นไทยยังไม่มีหุ้นดิจิทัลหรือไฮเทคที่มีความสามารถและ/หรือความได้เปรียบที่ยั่งยืนจริงๆ ดังนั้น การลงทุนก็เป็นความเสี่ยงเพราะหุ้นมี Margin of Safety ต่ำมาก ผมจึงไม่ลงทุน และก็พลาดที่จะได้ปผลตอบแทนที่รวดเร็วแบบ VI รุ่นใหม่หลายๆ คนทำได้ในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่เจ็บตัวเมื่อหุ้นเหล่านั้นหลายตัวตกลงมาจนแทบหายนะในช่วงเร็วๆนี้
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมาน่าจะอย่างน้อย 5 ปี ของผมต้องถือว่าย่ำแย่ ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 1.8% ต่อปี แม้ว่าจะยังดีกว่าดัชนีตลาดที่ -0.6% ต่อปี แต่ก็ถือว่าเลวร้ายมาก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผลตอบแทนของพอร์ตของผมที่มักจะสามารถเอาชนะดัชนีตลาดได้เกินกว่า 10% ต่อปีแทบทุกปีในอดีตเป็นเวลากว่า 20 ปีนั้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแทบทำไม่ได้ดีกว่าตลาดเลย
หลักการลงทุนแบบ VI ที่ใช้ในตลาดหุ้นไทยและได้ผลดีมายาวนานนั้น สำหรับผมมันแทบจะจบไปแล้ว ตอนนี้ผมแค่คิดว่า ผลดีของการลงทุนแบบ VI ที่ยังเหลืออยู่ก็คือ มันสามารถปกป้องพอร์ตไม่ให้เกิดหายนะรุนแรงได้ และบางทีก็น่าจะยังสามารถรักษาผลตอบแทนระยะยาวหลังจากนี้ได้ปีละ 5-7% แบบทบต้น ซึ่งนั่นก็ดีพอที่จะคงพอร์ตการลงทุนส่วนใหญ่ของผมไว้ในประเทศหรือตลาดหุ้นไทย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมอายุมากแล้ว และก็คงไม่ย้ายไปอยู่ประเทศอื่นไม่ว่าเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นจะแย่แค่ไหน
แต่ก็แน่นอนว่า ผมคงไม่ยอมที่จะลงทุนเงินทั้งหมดในที่ที่จะให้ผลตอบแทนระยะยาวต่ำหรือต่ำมาก ในฐานะของนักลงทุนที่เป็น “นักเลือก” ผมจึงต้องแสวงหาประเทศและตลาดหุ้นที่จะให้ผลตอบแทนสูงและความเสี่ยงต่ำ ซึ่งเมื่อ 6-7 ปีที่แล้วผมก็เริ่มเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามที่ผมวิเคราะห์ดูแล้วว่ามีความคล้ายคลึงกับไทยโดยเฉพาะในช่วงประมาณซัก 15-20 ปีก่อน
โดยเฉพาะในด้านของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ผมค่อยๆ ลงทุนจากเม็ดเงินไม่เกิน 5% และก็ทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวันนี้ ขนาดของพอร์ตการลงทุนในเวียตนามของผมเพิ่มขึ้นจนถึงเกือบ 30% ของความมั่งคั่งไปแล้ว อานิสงส์ส่วนหนึ่งมาจากกำไรที่เพิ่มขึ้นและการเพิ่มเม็ดเงินลงทุนที่ได้จากปันผลของหุ้นไทยที่ยังมีสัดส่วนกว่า 65%
ถึงวันนี้ ผมแทบจะไม่แยกว่าการลงทุนในเวียตนามเป็นเพียง “Alternative Investments” หรือ “การลงทุนทางเลือก” อีกต่อไปแล้ว และลึก ๆ แล้วผมคิดว่ามีโอกาสที่วันหนึ่งมันอาจจะใหญ่กว่าการลงทุนในประเทศไทยก็ได้ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงพอร์ตที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วตามการเติบโตของเศรษฐกิจเวียตนามและการเติบโตของบริษัทหรือหุ้นโดยเฉพาะแนว “ซุปเปอร์สต็อก” ของเวียตนามที่ผมใช้เป็นหลักในการลงทุน
มองจากภาพใหญ่ ตลาดเวียดนามตั้งแต่เปิดในปี 2000 จนถึงวันนี้เป็นเวลา 23 ปี ดัชนีเพิ่มขึ้นจาก 100 จุด เป็น 1,168 จุดเมื่อวันที่ 15 ก.ค.2566 ให้ผลตอบแทนแบบทบต้นถึงปีละ 11.3% เมื่อคิดรวมปันผลก็น่าจะสูงถึง 14-15% นับเป็นผลตอบแทนที่ “สุดยอด” ตลาดหนึ่งของโลก ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีนี้ก็สูงถึงประมาณ 16-17% ไปแล้ว ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นอานิสงส์จากการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามที่โตเร็วระดับต้นๆ ของโลกที่ระดับไม่ต่ำกว่า 6-7% ต่อปี ในช่วงระยะเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 23 ปีเช่นกัน โดยที่การเติบโตระดับนี้ยังได้รับการคาดการณ์ว่าจะดำเนินต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 10 ปีขึ้นไปโดยหน่วยงานการพัฒนาทางเศรษฐกิจระดับโลก เช่น IMF เป็นต้น
กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามของผมนั้น แน่นอนว่าเป็นแบบ VI ตั้งแต่ต้น แต่ในช่วงแรกที่เข้าไปนั้น เนื่องจากยังไม่รู้จักบริษัทจดทะเบียนและถ้ารอศึกษาก็ไม่ทัน ผมจึงใช้สูตรการลงทุนแนวของ Joel Greenblatt ที่เขียนในหนังสือ the Little Book That Beats the Market ซึ่งใช้อัตราส่วนทางการเงินที่แสดงถึงคุณภาพและราคาของหุ้นแบบ VI เป็นตัวคัดหุ้นลงทุน ซึ่งก็ได้เข้าไปลงทุนในหุ้นขนาดเล็กนับร้อยตัวที่ผมยังคงถืออยู่ในขณะนี้ ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ผมไม่ได้ตระหนักก็คือ การขายหุ้นที่จะต้องทำเพื่อปรับพอร์ตทุกปีตามกลยุทธ์นี้ของผมทำไม่ได้ เพราะหุ้นมีขนาดเล็กและสภาพคล่องต่ำเกินไป
กลยุทธ์ต่อมาเมื่อผมเริ่มศึกษาและมีความรู้เกี่ยวกับหุ้นรายตัวมากขึ้นก็คือ การเลือกลงทุนในหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” ของเวียดนาม วิธีเลือกหุ้นส่วนใหญ่ก็เน้นไปที่อุตสาหกรรมและหุ้นที่เคยเป็นซุปเปอร์สต็อกของไทยในอดีตประมาณ 10-20 ปีที่ผ่านมา หุ้นที่เลือกประกอบด้วยหุ้นขนาดใหญ่ 4 ตัว ขนาดกลางประมาณ 4 ตัว และหุ้นขนาดเล็กอีก 2-3 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพิ่งลงทุนในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาและจนถึงทุกวันนี้ก็ยังทยอยลงทุนเพิ่มจนมีสัดส่วนรวมกันมากกว่า 70% ของพอร์ตหุ้นเวียดนามทั้งหมด และก็ถือว่าขณะนี้ พอร์ตการลงทุนในเวียตนามของผมก็สอดคล้องกับกลยุทธ์การเลือกหุ้นและลงทุนระยะยาวของผมแล้ว นั่นก็คือ ส่วนใหญ่หลังจากนี้ก็จะ “ถือ” ไว้เฉย ๆ ไม่ทำอะไรมากเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป
นับจากต้นปีนี้จนถึงวันที่ 15 ก.ค. 66 ผลตอบแทนจากดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามเท่ากับประมาณ 16-17% และเป็นการฟื้นตัวจาก “วิกฤติ” ตลาดหุ้นปีที่แล้ว ที่ดัชนีตกลงประมาณ 30% หุ้นเวียดนามโดยรวมของผมปรับตัวขึ้นมาประมาณ 14-15% โดยที่พอร์ตส่วนที่เป็นหุ้นซุปเปอร์สต็อกนั้น ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าหุ้นขนาดเล็กจำนวนเป็นร้อยตัวที่ถูกเลือก
โดยการกรองด้วยอัตราส่วนการเงินแบบ VI และนี่ก็เป็นความแปลกใจเล็กๆ ของผม แต่ที่จริงนักวิเคราะห์ของเวียตนามได้เคยบอกไว้แล้วว่าในยามที่หุ้นกำลัง Turnaround หรือฟื้นตัวนั้น หุ้นเล็กและ “หุ้นเก็งกำไร” ที่ตกลงไปหนักในปีก่อน จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในช่วงที่หุ้นกำลังฟื้นตัว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ นักลงทุนรายบุคคลมีสัดส่วนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นถึง 90% และพวกเขาชอบเล่นตัวเล็กและเก็งกำไร
และนั่นก็นำมาสู่สิ่งที่ผมจะต้องยอมรับว่า การลงทุนหุ้นซุปเปอร์สต็อกในเวียดนามนั้น ในระยะสั้น อาจจะ 2-3 ปีนี้ อาจจะไม่ใช่การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด เราอาจจะต้องรอจนกว่าตลาดหุ้นเวียดนามจะพัฒนาขึ้นเป็นตลาด “Emerging Market” ที่นักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ต่างชาติสามารถที่จะเข้ามาลงทุนได้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น หุ้นที่เป็นซุปเปอร์สต็อกก็จะเป็นที่ต้องการ และการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นก็จะโดดเด่นและยาวนานเฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทยเมื่อ 10-20 ปีก่อน
ในส่วนของประเทศไทยในปัจจุบัน ผมใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบซุปเปอร์สต็อกประมาณครึ่งหนึ่งของพอร์ต และอีกครึ่งหนึ่งเป็นแบบ “Super Cheap Stock” หรือหุ้นถูกมากที่ไม่ได้มีคุณสมบัติบางอย่างเช่น การเติบโตสูง แต่มีคุณภาพอย่างอื่นดีพอใช้ และราคาหุ้นถูกมาก ผลการลงทุนที่ผ่านมาจากต้นปีนั้นคือ “เสมอตัว” ซึ่งก็ถือว่าไม่เลวเมื่อคำนึงถึงว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลงประมาณเกือบ 10% ผมเองได้แต่หวังว่า ปีนี้ทั้งปีจะ “เอาตัวรอดได้” อีกปีหนึ่ง อานิสงค์จากตลาดหุ้นเวียตนามที่ในระยะหลัง ๆ สร้างผลงานที่ดีต่อเนื่องในขณะที่ตลาดหุ้นไทยนั้นดูเหมือนว่าจะสร้างความผิดหวังปีแล้วปีเล่า
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1078771
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
ปรับความคิดพิชิตการลงทุน By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR
22 ก.ค. 2566 เวลา 14:39 น.
ตั้งแต่เริ่มเป็น VI เมื่อเกือบ 30 ปี ก่อน ความคิดในการมองโลกของผมหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปมาก แน่นอนว่าไม่ได้เปลี่ยนไปเลยทันทีทุกอย่าง
แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ ในแบบของ “Evolution” หรือเป็น “วิวัฒนาการ” ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปแบบแทบจะไม่รู้ตัวในช่วงแรกๆ จนถึงจุดหนึ่งก็จะพบว่า ตนเองนั้นเปลี่ยนแปลงไปมาก และต่อไปนี้ก็คือ ความคิด 3 เรื่องในการมองโลกที่ไม่เหมือนเดิมเมื่อเริ่มหันมาเป็น “VI พันธุ์แท้”
เรื่องแรกก็คือ สิ่งที่ผมพูดมาบ่อยๆ ว่า ช่วย “เปลี่ยนชีวิต” ของผมมากที่สุด นั่นก็คือ การเปลี่ยนจาก “นักสู้” เป็น “นักเลือก” โดยที่ “นักสู้” ก็คือคนที่ทุ่มเทความพยายามให้กับสิ่งที่ตนเองทำอย่าง “สุดกำลัง” เช่น ถ้าอยากจะประสบความสำเร็จโดยเฉพาะจากการทำงานหาเงินและชื่อเสียง ตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรีหรือก่อนหน้านั้นคือระดับมัธยมศึกษา
ผมก็มุ่งหน้าเรียนในสาขาวิชาที่จะ “ทำเงินมากที่สุด” ในช่วงเวลานั้น เมื่อเรียนจบก็เริ่มทำงานที่ให้รายได้ต่อเดือนสูงสุดเท่าที่จะหาได้ เมื่อเริ่มทำงานก็จะทำอย่างขยันขันแข็งและรับผิดชอบต่องานสูงมาก ทั้งหมดนั้นก็ทำให้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นได้แค่ “วิศวกร” ที่เป็น “ส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่ง” ของโรงงานรุ่นเก่าแบบที่มีปล่องควันและปล่อยมลพิษออกมาค่อนข้างมาก
การ “ต่อสู้” ต่อมาก็คือการปรับความรู้ให้สูงขึ้นและทำงานที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น รวมถึงสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น คือกลายเป็น “นักการเงิน” ที่ให้บริการทำดีลให้กับลูกค้าที่มักจะเป็นธุรกิจรายใหญ่ที่สามารถเลือกใช้ผู้ให้บริการมากมาย การเป็น “นักสู้” ในธุรกิจนี้ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ช่วยให้ประสบความสำเร็จได้มากนักทั้งๆ ที่ต้องทำงาน “แทบตาย”
เหตุผลก็เพราะปัจจัยที่จะทำให้ลูกค้าเลือกนั้น ไม่ใช่เรื่องของสิ่งที่เราเสนอเท่านั้น แต่เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ชื่อเสียงและประสบการณ์ของบริษัท ความสามารถของทีมงานที่ต้องเป็นระดับ “อินเตอร์” และเครือข่ายลูกค้าของบริษัท เป็นต้น ดังนั้น การเป็น “นักสู้” ของเราก็มีประโยชน์น้อยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ
เมื่อประสบกับวิกฤติตลาดหุ้นในปี 2540 ที่ทำให้ต้องตกงานและต้อง “เลือก” ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิต ผมก็เลือกที่จะเป็น “นักลงทุนในตลาดหุ้น” และก็พบว่า ตนเอง “ทำได้ดีมาก” เหตุผลก็เพราะว่า “เรียนมามาก” และมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับเรื่องของเงินตั้งแต่เด็ก เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ เห็นคุณค่าของเงิน เป็นคนประหยัดอดออม ชอบ “ค้าขายและทำธุรกิจ” ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นคนที่ชอบทางด้านของการคิดแบบมีเหตุผล ในขณะที่ไม่เก่งทางด้านสังคมและภาษาและก็ไม่สนใจทำตามคนส่วนใหญ่ ทั้งหมดนั้น เป็น “จุดแข็ง” สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้น
ตั้งแต่นั้นมา ผมก็เปลี่ยนแปลงจาก “นักสู้” เป็น “นักเลือก” ผมคิดว่าถ้าจะประสบความสำเร็จแบบที่ง่ายลงไปมากก็คือ เลือกเรื่องที่จะทำก่อน โดยวิเคราะห์ว่าเรามีจุดแข็งเพียงพอหรือไม่ หลังจากนั้นแล้วค่อย “สู้” ซึ่งประสบการณ์ของผมก็คือ เมื่อเราสู้ในสิ่งที่เรามีจุดแข็ง มีความได้เปรียบที่ยั่งยืน เราจะสู้อย่างสนุกและไม่เหนื่อยหรือท้อแท้ ซึ่งนั่นก็จะนำมาซึ่งความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง
เรื่องที่สองของการปรับเปลี่ยนความคิดก็คือ “ชีวิตคือการต่อสู้” หรือ “การแข่งขัน” และคำว่า “ชีวิต” นี้ รวมไปถึงสัตว์หรือพืช รวมไปถึงชีวิตหลายชีวิตที่มารวมกันเป็นประเทศ เป็นองค์กรเช่น รัฐบาล วัดวาอาราม และที่สำคัญที่สุดในยุคของโลกสมัยใหม่ก็คือ บริษัท และไม่ว่าจะเป็นใครหรือหน่วยงานใด พวกเขาต่างก็กำลัง “แข่งขัน” กับ “คู่แข่ง” เพื่อที่จะ “ชนะ”
แต่ในยามที่เขาไม่สามารถเอาชนะได้อย่างชัดเจน เขาก็มักจะ “ร่วมมือ” คือเข้ามาสนับสนุนกันเป็น “กลุ่ม” โดยมีความเชื่อว่าการร่วมมือจะช่วยให้กลุ่มสามารถต่อสู้หรือแข่งขันเพื่อเอาชนะ “กลุ่มอื่น” ที่เป็น “คู่แข่ง” ได้
การวิเคราะห์พฤติกรรมต่างๆ ของคนหรือองค์กรทางสังคม การเมือง หรือบริษัท นั้น ทุกครั้งผมก็จะมองก่อนว่า เขากำลังต่อสู้หรือแข่งขันกับใคร แต่ละฝ่ายมีจุดแข็งจุดอ่อนตรงไหน และจุดแข็งหรือจุดอ่อนเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ยั่งยืนมากน้อยแค่ไหน และสุดท้ายใครจะเป็นฝ่ายชนะในระยะยาว และก็เช่นเดียวกัน ผมก็มักจะมองว่า ในระยะสั้นนั้น บ่อยครั้งก็จะมีการ “ร่วมมือกัน” เพื่อที่จะต่อสู้กับอีกคนหนึ่งหรืออีกกลุ่มหนึ่งก่อน
รูปแบบพฤติกรรมการร่วมมือและการแข่งขันนั้น เห็นได้ชัดในทางการเมือง ตัวอย่างเช่น ในอดีตนั้น จีนร่วมมือกับโซเวียตรัสเซียเพื่อต้านหรือแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา ต่อมาเมื่อโซเวียตเริ่ม “แพ้” จีนกลับมาร่วมมือกับสหรัฐตั้งแต่ยุคเติ้งเสี่ยวผิง จนถึงปัจจุบันที่จีนพัฒนามาจนถึงจุดที่ใกล้เคียงกับสหรัฐก็กลายเป็นว่าคู่ต่อสู้ของจีนก็คือสหรัฐ และรัสเซียก็กลับมาร่วมมือกับจีน เพราะรัสเซียนั้นไม่สามารถเอาชนะสหรัฐได้แล้ว
การจัดตั้งรัฐบาลของไทยในช่วงนี้เองนั้น ถ้าจะมองไปก็สามารถใช้รูปแบบ หรือโมเดลของการแข่งขันและการร่วมมือดังกล่าวได้ และถ้าวิเคราะห์ให้ดีผมก็พอจะมองออกว่าผลสุดท้ายจะออกมาเป็นอย่างไรตั้งแต่วันเลือกตั้งเสร็จ อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่อยากที่จะพูดถึงในบทความนี้ ซึ่งเน้นเฉพาะวิธีคิดที่อาจจะนำมาใช้ในเรื่องของการลงทุนได้
ข้อสรุปของผมก็คือ ถ้าเราจะวิเคราะห์สิ่งมีชีวิตหรือคนหรือกลุ่มคน เช่น บริษัท เราจำเป็นต้องหาว่าใครคือคู่แข่งหรือคู่ต่อสู้ อย่าเชื่อคำพูดที่ว่า “เราไม่มีคู่แข่ง” หรือเรา “ไม่แข่งกับใคร” หรือแม้แต่ “เราแข่งกับตัวเอง” เพราะความเป็นจริงอาจจะเป็นว่าเราแข่งกับคนหรือบริษัททั้งโลกที่อาจจะอยู่นอกประเทศไทย-และเราไม่รู้
เช่นเดียวกับเรื่องการกระทำหรือนโยบายของประเทศไทยที่นักการเมืองบางคนอาจจะคิดว่าเราจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่จะพัฒนาประเทศหรือดึงชาวต่างประเทศที่มีเทคโนโลยีเข้ามาลงทุน แต่ไม่เคยคิดว่าคู่แข่งของไทยคือใครและเขาได้เปรียบหรือเสียเปรียบเรามากน้อยแค่ไหน แล้วเราจะแพ้หรือชนะในการทำอย่างนั้น คำตอบของผมก็คือ เราแพ้แน่ และคนที่จะชนะก็อาจจะเป็นเวียตนามหรืออินโดนีเซีย เป็นต้น อาจจะเพราะพวกเขาคิดว่าใครคือคู่แข่งและจะเอาชนะได้อย่างไร
แนวความคิดเรื่องที่ 3 ที่ผมคิดว่าสำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของการเลือกหุ้นหรือธุรกิจหรืออะไรก็ตามเพื่อลงทุน นั่นก็คือ คำกล่าวที่ว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” แต่จริงๆ แล้วที่ถูกต้องกว่าน่าจะเป็น “ของฟรีไม่ค่อยมีในโลก” ความหมายของคำนี้ในทางการเงินแล้วก็คือ ของทุกอย่างจะได้มาต้องมี “ต้นทุน” ที่จะต้องจ่ายเสมอ ของบางอย่างที่เราคิดว่าได้มาโดยไม่ต้องจ่ายอะไรเลยนั้น จริงๆ ก็มีต้นทุนที่ซ่อนไว้โดยเราอาจจะไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น เราได้ดูทีวี “ฟรี” แต่ที่จริงเรามักจะต้องดูโฆษณาซึ่งต้องเสียเวลาและจริง ๆ ก็คิดเป็น “ต้นทุน” ได้
ถ้าจะพูดถึงเรื่องการลงทุน เช่น ในตลาดหุ้น คำว่าผลตอบแทนที่เราได้นั้น ต้องมีต้นทุนอยู่แล้วคือค่าของเงินหรือคือดอกเบี้ยที่เราจะต้องเสียอยู่แล้ว และยังมีต้นทุนอีกตัวหนึ่งก็คือ เรื่องของ “ความเสี่ยง” ที่เราจะต้องรับ ซึ่งปกตินั้น ผลตอบแทนที่ได้ก็จะ “สมน้ำสมเนื้อ” อาจจะประมาณ 6-7% ต่อปีในช่วงนี้ แต่หลายคนก็อาจจะบอกว่าตนเองนั้นสามารถทำได้ 20% ต่อปีโดยการเทรดหุ้นที่ยอดเยี่ยม ซึ่งส่วนต่างระหว่าง 20% กับ 7% คือ 13% ก็จะเป็น “ของฟรี”
แต่นักวิชาการที่ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจริง ๆ อาจจะพบว่า ที่ได้ 20% นั้น เป็นเรื่องฟลุ๊กและเกิดขึ้นบางปี แต่ถ้ามองระยะยาว ที่ว่าได้ 20% นั้น ไม่จริง บ่อยครั้งโดยเฉลี่ยนแล้วได้น้อยกว่า 7% ต่อปี ด้วยซ้ำ ถ้าดูจากข้อมูลของประเทศไทยเอง ก็มีช่วงที่ดีกว่าปกติและแย่กว่าปกติมาก แต่คนที่อยู่ในช่วงดี อาจจะเป็น 10 ปีเลย ก็จะพูดว่าเขาได้เงินจากตลาดปีละหลายสิบเปอร์เซ็นต์และแน่นอน เป็นเพราะ “ฝีมือ” ไม่มีคำว่าฟลุ๊ก
แต่เรื่องนี้ผมคิดว่าเราคงต้อง “ฟังหูไว้หู” รอดูไปอีก 10 ปีหรือมากกว่านั้น แล้วก็จะรู้ว่าความจริงคืออะไร อย่ามองการลงทุนในหุ้นว่าเป็นเรื่องที่สามารถสร้างความมั่งคั่งได้มหาศาลและความเสี่ยงน้อย ประสบการณ์ในตลาดหุ้นสหรัฐที่ยาวนานเป็น 100 ปีนั้น คนที่ทำได้มีแค่หยิบมือเดียวและก็พูดซ้ำทุกวันคือวอเร็น บัฟเฟตต์ กับเซียนนักเก็งกำไรบันลือโลก เช่น เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ ที่เคยรวยและดังคล้ายๆ บัฟเฟตต์ แต่เจ๊งและฆ่าตัวตายไปนานมากแล้ว
ข้อสรุปก็คือ ลงทุนในตลาดหุ้นจงอย่าหวังผลตอบแทนสูงเกินกว่าปกติมาก เพราะของฟรีไม่ (ค่อย) มีในโลก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากกว่าก็คือ “อย่าขาดทุน” อย่างที่บัฟเฟตต์เตือนอยู่เสมอ
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1079915
22 ก.ค. 2566 เวลา 14:39 น.
ตั้งแต่เริ่มเป็น VI เมื่อเกือบ 30 ปี ก่อน ความคิดในการมองโลกของผมหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปมาก แน่นอนว่าไม่ได้เปลี่ยนไปเลยทันทีทุกอย่าง
แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ ในแบบของ “Evolution” หรือเป็น “วิวัฒนาการ” ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปแบบแทบจะไม่รู้ตัวในช่วงแรกๆ จนถึงจุดหนึ่งก็จะพบว่า ตนเองนั้นเปลี่ยนแปลงไปมาก และต่อไปนี้ก็คือ ความคิด 3 เรื่องในการมองโลกที่ไม่เหมือนเดิมเมื่อเริ่มหันมาเป็น “VI พันธุ์แท้”
เรื่องแรกก็คือ สิ่งที่ผมพูดมาบ่อยๆ ว่า ช่วย “เปลี่ยนชีวิต” ของผมมากที่สุด นั่นก็คือ การเปลี่ยนจาก “นักสู้” เป็น “นักเลือก” โดยที่ “นักสู้” ก็คือคนที่ทุ่มเทความพยายามให้กับสิ่งที่ตนเองทำอย่าง “สุดกำลัง” เช่น ถ้าอยากจะประสบความสำเร็จโดยเฉพาะจากการทำงานหาเงินและชื่อเสียง ตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรีหรือก่อนหน้านั้นคือระดับมัธยมศึกษา
ผมก็มุ่งหน้าเรียนในสาขาวิชาที่จะ “ทำเงินมากที่สุด” ในช่วงเวลานั้น เมื่อเรียนจบก็เริ่มทำงานที่ให้รายได้ต่อเดือนสูงสุดเท่าที่จะหาได้ เมื่อเริ่มทำงานก็จะทำอย่างขยันขันแข็งและรับผิดชอบต่องานสูงมาก ทั้งหมดนั้นก็ทำให้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นได้แค่ “วิศวกร” ที่เป็น “ส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่ง” ของโรงงานรุ่นเก่าแบบที่มีปล่องควันและปล่อยมลพิษออกมาค่อนข้างมาก
การ “ต่อสู้” ต่อมาก็คือการปรับความรู้ให้สูงขึ้นและทำงานที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น รวมถึงสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น คือกลายเป็น “นักการเงิน” ที่ให้บริการทำดีลให้กับลูกค้าที่มักจะเป็นธุรกิจรายใหญ่ที่สามารถเลือกใช้ผู้ให้บริการมากมาย การเป็น “นักสู้” ในธุรกิจนี้ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ช่วยให้ประสบความสำเร็จได้มากนักทั้งๆ ที่ต้องทำงาน “แทบตาย”
เหตุผลก็เพราะปัจจัยที่จะทำให้ลูกค้าเลือกนั้น ไม่ใช่เรื่องของสิ่งที่เราเสนอเท่านั้น แต่เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ชื่อเสียงและประสบการณ์ของบริษัท ความสามารถของทีมงานที่ต้องเป็นระดับ “อินเตอร์” และเครือข่ายลูกค้าของบริษัท เป็นต้น ดังนั้น การเป็น “นักสู้” ของเราก็มีประโยชน์น้อยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ
เมื่อประสบกับวิกฤติตลาดหุ้นในปี 2540 ที่ทำให้ต้องตกงานและต้อง “เลือก” ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิต ผมก็เลือกที่จะเป็น “นักลงทุนในตลาดหุ้น” และก็พบว่า ตนเอง “ทำได้ดีมาก” เหตุผลก็เพราะว่า “เรียนมามาก” และมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับเรื่องของเงินตั้งแต่เด็ก เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ เห็นคุณค่าของเงิน เป็นคนประหยัดอดออม ชอบ “ค้าขายและทำธุรกิจ” ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นคนที่ชอบทางด้านของการคิดแบบมีเหตุผล ในขณะที่ไม่เก่งทางด้านสังคมและภาษาและก็ไม่สนใจทำตามคนส่วนใหญ่ ทั้งหมดนั้น เป็น “จุดแข็ง” สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้น
ตั้งแต่นั้นมา ผมก็เปลี่ยนแปลงจาก “นักสู้” เป็น “นักเลือก” ผมคิดว่าถ้าจะประสบความสำเร็จแบบที่ง่ายลงไปมากก็คือ เลือกเรื่องที่จะทำก่อน โดยวิเคราะห์ว่าเรามีจุดแข็งเพียงพอหรือไม่ หลังจากนั้นแล้วค่อย “สู้” ซึ่งประสบการณ์ของผมก็คือ เมื่อเราสู้ในสิ่งที่เรามีจุดแข็ง มีความได้เปรียบที่ยั่งยืน เราจะสู้อย่างสนุกและไม่เหนื่อยหรือท้อแท้ ซึ่งนั่นก็จะนำมาซึ่งความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง
เรื่องที่สองของการปรับเปลี่ยนความคิดก็คือ “ชีวิตคือการต่อสู้” หรือ “การแข่งขัน” และคำว่า “ชีวิต” นี้ รวมไปถึงสัตว์หรือพืช รวมไปถึงชีวิตหลายชีวิตที่มารวมกันเป็นประเทศ เป็นองค์กรเช่น รัฐบาล วัดวาอาราม และที่สำคัญที่สุดในยุคของโลกสมัยใหม่ก็คือ บริษัท และไม่ว่าจะเป็นใครหรือหน่วยงานใด พวกเขาต่างก็กำลัง “แข่งขัน” กับ “คู่แข่ง” เพื่อที่จะ “ชนะ”
แต่ในยามที่เขาไม่สามารถเอาชนะได้อย่างชัดเจน เขาก็มักจะ “ร่วมมือ” คือเข้ามาสนับสนุนกันเป็น “กลุ่ม” โดยมีความเชื่อว่าการร่วมมือจะช่วยให้กลุ่มสามารถต่อสู้หรือแข่งขันเพื่อเอาชนะ “กลุ่มอื่น” ที่เป็น “คู่แข่ง” ได้
การวิเคราะห์พฤติกรรมต่างๆ ของคนหรือองค์กรทางสังคม การเมือง หรือบริษัท นั้น ทุกครั้งผมก็จะมองก่อนว่า เขากำลังต่อสู้หรือแข่งขันกับใคร แต่ละฝ่ายมีจุดแข็งจุดอ่อนตรงไหน และจุดแข็งหรือจุดอ่อนเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ยั่งยืนมากน้อยแค่ไหน และสุดท้ายใครจะเป็นฝ่ายชนะในระยะยาว และก็เช่นเดียวกัน ผมก็มักจะมองว่า ในระยะสั้นนั้น บ่อยครั้งก็จะมีการ “ร่วมมือกัน” เพื่อที่จะต่อสู้กับอีกคนหนึ่งหรืออีกกลุ่มหนึ่งก่อน
รูปแบบพฤติกรรมการร่วมมือและการแข่งขันนั้น เห็นได้ชัดในทางการเมือง ตัวอย่างเช่น ในอดีตนั้น จีนร่วมมือกับโซเวียตรัสเซียเพื่อต้านหรือแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา ต่อมาเมื่อโซเวียตเริ่ม “แพ้” จีนกลับมาร่วมมือกับสหรัฐตั้งแต่ยุคเติ้งเสี่ยวผิง จนถึงปัจจุบันที่จีนพัฒนามาจนถึงจุดที่ใกล้เคียงกับสหรัฐก็กลายเป็นว่าคู่ต่อสู้ของจีนก็คือสหรัฐ และรัสเซียก็กลับมาร่วมมือกับจีน เพราะรัสเซียนั้นไม่สามารถเอาชนะสหรัฐได้แล้ว
การจัดตั้งรัฐบาลของไทยในช่วงนี้เองนั้น ถ้าจะมองไปก็สามารถใช้รูปแบบ หรือโมเดลของการแข่งขันและการร่วมมือดังกล่าวได้ และถ้าวิเคราะห์ให้ดีผมก็พอจะมองออกว่าผลสุดท้ายจะออกมาเป็นอย่างไรตั้งแต่วันเลือกตั้งเสร็จ อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่อยากที่จะพูดถึงในบทความนี้ ซึ่งเน้นเฉพาะวิธีคิดที่อาจจะนำมาใช้ในเรื่องของการลงทุนได้
ข้อสรุปของผมก็คือ ถ้าเราจะวิเคราะห์สิ่งมีชีวิตหรือคนหรือกลุ่มคน เช่น บริษัท เราจำเป็นต้องหาว่าใครคือคู่แข่งหรือคู่ต่อสู้ อย่าเชื่อคำพูดที่ว่า “เราไม่มีคู่แข่ง” หรือเรา “ไม่แข่งกับใคร” หรือแม้แต่ “เราแข่งกับตัวเอง” เพราะความเป็นจริงอาจจะเป็นว่าเราแข่งกับคนหรือบริษัททั้งโลกที่อาจจะอยู่นอกประเทศไทย-และเราไม่รู้
เช่นเดียวกับเรื่องการกระทำหรือนโยบายของประเทศไทยที่นักการเมืองบางคนอาจจะคิดว่าเราจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่จะพัฒนาประเทศหรือดึงชาวต่างประเทศที่มีเทคโนโลยีเข้ามาลงทุน แต่ไม่เคยคิดว่าคู่แข่งของไทยคือใครและเขาได้เปรียบหรือเสียเปรียบเรามากน้อยแค่ไหน แล้วเราจะแพ้หรือชนะในการทำอย่างนั้น คำตอบของผมก็คือ เราแพ้แน่ และคนที่จะชนะก็อาจจะเป็นเวียตนามหรืออินโดนีเซีย เป็นต้น อาจจะเพราะพวกเขาคิดว่าใครคือคู่แข่งและจะเอาชนะได้อย่างไร
แนวความคิดเรื่องที่ 3 ที่ผมคิดว่าสำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของการเลือกหุ้นหรือธุรกิจหรืออะไรก็ตามเพื่อลงทุน นั่นก็คือ คำกล่าวที่ว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” แต่จริงๆ แล้วที่ถูกต้องกว่าน่าจะเป็น “ของฟรีไม่ค่อยมีในโลก” ความหมายของคำนี้ในทางการเงินแล้วก็คือ ของทุกอย่างจะได้มาต้องมี “ต้นทุน” ที่จะต้องจ่ายเสมอ ของบางอย่างที่เราคิดว่าได้มาโดยไม่ต้องจ่ายอะไรเลยนั้น จริงๆ ก็มีต้นทุนที่ซ่อนไว้โดยเราอาจจะไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น เราได้ดูทีวี “ฟรี” แต่ที่จริงเรามักจะต้องดูโฆษณาซึ่งต้องเสียเวลาและจริง ๆ ก็คิดเป็น “ต้นทุน” ได้
ถ้าจะพูดถึงเรื่องการลงทุน เช่น ในตลาดหุ้น คำว่าผลตอบแทนที่เราได้นั้น ต้องมีต้นทุนอยู่แล้วคือค่าของเงินหรือคือดอกเบี้ยที่เราจะต้องเสียอยู่แล้ว และยังมีต้นทุนอีกตัวหนึ่งก็คือ เรื่องของ “ความเสี่ยง” ที่เราจะต้องรับ ซึ่งปกตินั้น ผลตอบแทนที่ได้ก็จะ “สมน้ำสมเนื้อ” อาจจะประมาณ 6-7% ต่อปีในช่วงนี้ แต่หลายคนก็อาจจะบอกว่าตนเองนั้นสามารถทำได้ 20% ต่อปีโดยการเทรดหุ้นที่ยอดเยี่ยม ซึ่งส่วนต่างระหว่าง 20% กับ 7% คือ 13% ก็จะเป็น “ของฟรี”
แต่นักวิชาการที่ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจริง ๆ อาจจะพบว่า ที่ได้ 20% นั้น เป็นเรื่องฟลุ๊กและเกิดขึ้นบางปี แต่ถ้ามองระยะยาว ที่ว่าได้ 20% นั้น ไม่จริง บ่อยครั้งโดยเฉลี่ยนแล้วได้น้อยกว่า 7% ต่อปี ด้วยซ้ำ ถ้าดูจากข้อมูลของประเทศไทยเอง ก็มีช่วงที่ดีกว่าปกติและแย่กว่าปกติมาก แต่คนที่อยู่ในช่วงดี อาจจะเป็น 10 ปีเลย ก็จะพูดว่าเขาได้เงินจากตลาดปีละหลายสิบเปอร์เซ็นต์และแน่นอน เป็นเพราะ “ฝีมือ” ไม่มีคำว่าฟลุ๊ก
แต่เรื่องนี้ผมคิดว่าเราคงต้อง “ฟังหูไว้หู” รอดูไปอีก 10 ปีหรือมากกว่านั้น แล้วก็จะรู้ว่าความจริงคืออะไร อย่ามองการลงทุนในหุ้นว่าเป็นเรื่องที่สามารถสร้างความมั่งคั่งได้มหาศาลและความเสี่ยงน้อย ประสบการณ์ในตลาดหุ้นสหรัฐที่ยาวนานเป็น 100 ปีนั้น คนที่ทำได้มีแค่หยิบมือเดียวและก็พูดซ้ำทุกวันคือวอเร็น บัฟเฟตต์ กับเซียนนักเก็งกำไรบันลือโลก เช่น เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ ที่เคยรวยและดังคล้ายๆ บัฟเฟตต์ แต่เจ๊งและฆ่าตัวตายไปนานมากแล้ว
ข้อสรุปก็คือ ลงทุนในตลาดหุ้นจงอย่าหวังผลตอบแทนสูงเกินกว่าปกติมาก เพราะของฟรีไม่ (ค่อย) มีในโลก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากกว่าก็คือ “อย่าขาดทุน” อย่างที่บัฟเฟตต์เตือนอยู่เสมอ
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1079915
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Stocks Challenge-เกมดวลหุ้น By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR
29 ก.ค. 2566 เวลา 15:43 น.
วันที่ 1 ม.ค. ปี 2008 บัฟเฟตต์ประกาศ “ท้าพนัน” คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมบริหารกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งเขาบอกว่าตั้งค่าธรรมเนียมการบริหารกองทุน “แพงเกินความสามารถ” และส่วนใหญ่ก็จะใช้สูตร “2-20” คือค่าธรรมเนียมแน่นอนที่ 2% ต่อปีของเงินกองทุนหรือ NAV และอีก 20% ของกำไรในแต่ละปี
โดยที่บัฟเฟตต์ท้าว่า ผลตอบแทนของเฮดจ์ฟันด์จะแพ้ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนอิงดัชนีที่ไม่ต้องมีคนเลือกหุ้น และเขาเลือกกองทุน S&P500 ของแวนการ์ดกรุปที่คิดค่าธรรมเนียม “ต่ำที่สุด” ที่ 0.04% ต่อปี
คนที่รับคำท้าคือ Ted Seides ผู้ก่อตั้งและบริหารกองทุน Protégé ซึ่งเป็น “Fund of Fund” คือกองทุนที่ลงทุนในเฮดจ์ฟันด์อื่น ๆ โดย จะมีการวัดผลตอบแทนเมื่อครบ 10 ปี ตอนสิ้นปี 2017 เงินพนันคือ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และนี่ก็คือเรื่องที่จะ “ท้าพิสูจน์” ว่า ระหว่างการลงทุนแบบ “Active” หรือการลงทุนที่อาศัยการเลือกหุ้นของ “เซียน” ที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสูง กับการลงทุนแบบ “Passive” ที่มีค่าธรรมเนียมการบริหารต่ำ แบบไหนจะให้ผลตอบแทนดีกว่ากันในระยะยาว คือ 10 ปี
การเดิมพันเริ่มขึ้นไม่นาน สถานการณ์ตลาดหุ้นก็พลิกผัน ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติซับไพร์มในปี 2008 ดัชนี S&P ลบไป 37% แต่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ลบลงเพียง 23.9% แต่หลังจากนั้นกองทุน S&P 500 ก็เอาชนะมาได้ทุกปีจนถึงปี 2014 โดยที่ NAV หรือมูลค่าสุทธิของกองทุน S&Pกลับมานำได้ตั้งแต่ปี 2012 หรือพูดง่าย ๆ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ “ชนะ” ในช่วงแรกแค่ 4 ปี
ปี 2015 เฮดจ์ฟันด์กลับมาทำได้ดีกว่า S&P500 ทำผลตอบแทนได้ 1.7% เทียบกับ 1.4% แต่ปี 2016 หุ้นฝั่งบัฟเฟตต์กลับเติบโต 7.1% เทียบกับ 2.2% ของเฮดจ์ฟันด์ พอถึงสิ้นปี 2017 วันสิ้นสุดการแข่งขัน ผลตอบแทนโดยรวมของเฮดจ์ฟันด์คือ 22% ในขณะที่กองทุนดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทนรวมถึง 85.4% เป็นชัยชนะที่ “ขาดลอย” ของการลงทุนแบบ Passive เหนือ Active เงิน 1 ล้านเหรียญที่ได้รับ บัฟเฟตต์ยกให้กับชมรม “เพื่อนของผลตอบแทนรวมสูงสุดสำหรับเด็ก”
ฝ่ายของเฮดจ์ฟันด์นั้นยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ก็บอกว่าน่าจะเป็นผลจากการที่หุ้นสหรัฐดีมากหรืออาจจะเป็นปีทองหลังวิกฤติ ในขณะที่เฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่มีการลงทุนในหุ้นต่างประเทศมาก ไม่ได้เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมอะไรมากนัก
ผมเขียนเรื่องนี้แม้ว่าการเดิมพันจบไปนานแล้ว แต่ก็รู้สึกว่าตอนนี้ในใจผมเกิดความรู้สึก อยากเดิมพันกับความคิดของผมว่า “หุ้นแบบไหนหรือหุ้นที่ไหนจะมีผลงานที่ดีที่สุดในอีก 10 ปีข้างหน้า”
การมีความคิดในเรื่องของการพนันนั้น อาจจะช่วยให้เราตื่นตัวและตระหนักถึงประเด็นได้ดีกว่าการอยู่เฉยๆ นอกจากนั้นมันก็คงสนุกดีถ้ามีคนอื่นมาพนันด้วย อย่างน้อยก็อาจจะช่วยลดความน่าเบื่อหน่ายสำหรับนักลงทุนหลายๆ คนที่ “ไม่รู้จะทำอะไร เล่นไปก็หาวนอนไป” เพราะหุ้นเงียบเหงา ไม่ขึ้นไม่ลงมาหลายปีแล้ว
เดิมพันที่ผมคิดก็คือ ในอีก 10 ปีข้างหน้า ระหว่างกองทุนรวมหุ้นทั้งที่อิงดัชนีและกองทุนแบบแอคทิฟฟันด์ และกองทุนสมมุติที่ผมตั้งขึ้น ดังต่อไปนี้ กองไหนที่จะให้ผลตอบแทนสูงสุด?
กองทุนแรกนั้นผมจะให้เป็นกองทุนอิงดัชนีและคิดคำนวณแบบคร่าวๆ จากตัวดัชนีเลยก็คือ ดัชนี SET หรือดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งล่าสุดวันที่ 29 ก.ค. 2566 อยู่ที่ 1,543 จุด อีก 10 ปีคือ ประมาณวันที่ 29 ก.ค.2576 จะอยู่ที่เท่าไรและให้ผลตอบแทนกี่เปอร์เซ็นต์
กองทุนที่ 2 และ 3 ซึ่งก็คิดจากตัวดัชนีเป็นหลักก็คือ ดัชนี S&P500 ที่เริ่มจาก 4,582 จุด และดัชนี NASDAQ Composite ที่เริ่มที่ 14,316 จุด ในวันเดียวกัน และนี่ก็คือกองทุนของสหรัฐที่เป็นกองทุนของบริษัทที่มักจะมีธุรกิจทั่วโลกและเติบโตไปกับโลก
กองทุนที่ 4 และ 5 ก็คือกองทุนอิงดัชนีของจีนและเวียดนามที่อยู่ใกล้บ้านเราและมีคนไปลงทุนค่อนข้างมากในปัจจุบัน ของจีนนั้นผมจะใช้ตลาดฮ่องกงคือดัชนี HANG SENG ที่ 19, 916 จุด และนี่ก็คือบริษัทของจีนที่กำลังจะก้าวขึ้นมาท้าทายสหรัฐใน 10 ปี รวมถึงราคาหุ้นที่ “ถูกมาก” สำหรับหลาย ๆ คนในปัจจุบัน ในส่วนของเวียดนามก็คือ VN Index ที่ 1,207 จุด ซึ่งก็จะเป็นตัวแทนของประเทศที่กำลังเป็น “ดาวรุ่ง” ในทศวรรษที่กำลังถึงนี้
กองทุนที่ 6 คือกองทุนกึ่ง Active ที่น่าสนใจและมีคนไปลงทุนพอสมควรก็คือ “กองทุน Diamond” ของตลาดหุ้นเวียตนามที่มีราคา 26,290 ด่อง และนี่คือหุ้นเวียตนามที่เป็นที่นิยมสูงมากของนักลงทุนต่างชาติซึ่งทำให้เราหาซื้อหุ้นได้ยากและต้องจ่ายในราคาแพงกว่าราคาตลาด
กองทุนสุดท้ายก็คือกองทุนแบบที่ผมเลือกเองที่ตั้งใจให้เป็นแนวหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” โดยหุ้นที่เลือกประกอบไปด้วยหุ้น 8 ตัวดังต่อไปนี้ คือ หุ้นตัวใหญ่ 4 ตัว ประกอบไปด้วยหุ้น FPT ซึ่งเป็นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ที่ราคาปัจจุบันคือ 84,400 ด่อง หุ้น REE ที่เป็นโฮลดิ้งทำธุรกิจเกี่ยวกับไฟฟ้า น้ำ และระบบไฟฟ้าและความเย็นในอาคารขนาดใหญ่ ที่ 68,000 ด่อง หุ้น MWG ที่ทำธุรกิจค้าปลีกมือถือและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ที่ 54,500 ด่อง และตัว ETF หรือกองทุน Diamond ที่ 26,290 ด่อง โดยที่ทั้ง 4 ตัวนี้ จะมีน้ำหนักตัวละ 20% ของพอร์ต
และหุ้นขนาดกลางอีก 4 ตัวคือ ACV หรือหุ้นสนามบินเกือบทั้งหมดของเวียดนามที่ราคาปัจจุบันที่ 79,600 ด่อง หุ้น VRE หรือหุ้นที่ทำช็อปปิงมอลให้เช่าทั่วประเทศที่ราคา 28,800 ด่อง หุ้น VSH ที่ผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนขนาดใหญ่ ที่ 44,900 ด่อง และหุ้น NT2 ที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ที่ราคา 29,250 ด่อง โดยที่แต่ละตัวจะมีสัดส่วนตัวละ 5% ของพอร์ต
พอร์ตหุ้นซุปเปอร์สต็อกนี้สามารถปรับได้ปีละหนซึ่งผมจะพยายามบอกให้ทราบ แต่ความตั้งใจก็คือ น่าจะคงอยู่ประมาณ 5 ปีโดยที่ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร และจะถือไปจนครบ 10 ปีเพื่อที่จะสรุปว่าพอร์ตโตขึ้นเป็นเท่าไร ซึ่งก็จะเป็นวันที่สรุปว่าพอร์ตไหนใน 7 พอร์ตจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันหรือการเดิมพันการเลือกหุ้นลงทุน
สิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจก็คือ นี่ไม่ใช่การชักชวนให้ซื้อหุ้นหรือกองทุนอะไรทั้งนั้น แม้ว่าผมเองก็ถือหุ้นดังกล่าวอยู่ด้วยอย่างมีนัยสำคัญและใกล้เคียงกับที่เสนอในพอร์ตที่จะใช้เดิมพัน ความเป็นจริงก็คือ หุ้นทั้งหมดนั้นเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่ หลายตัวมีมูลค่าเป็นแสนล้านบาทและทุกตัวมี Free Float สูงมาก การที่จะมีใครไปทำราคาหรือแรงซื้อจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่จะไปทำให้ราคาเบี่ยงเบนไปจากพื้นฐานที่แท้จริงนั้น เป็นไปไม่ได้เลย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ นี่เป็นพอร์ตที่จะถือเป็นระยะเวลายาวนานมาก ไม่มีการซื้อขายในระยะสั้นหรือแม้แต่ในระยะเวลาเป็นปี
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ผมจะไม่พนันกับใครเหมือนอย่างที่บัฟเฟตต์ทำ แต่ที่จริงผมก็พนันอยู่แล้วกับตลาดและตัวหุ้น ถ้าพอร์ตหุ้นที่ผมเลือกโตขึ้นเหนือกว่าพอร์ตอื่น ผมชนะหรือกำไรอยู่แล้ว เช่นเดียวกัน ใครก็ตามที่อยากจะพนัน ก็ทำได้อยู่แล้วโดยการลงทุนในพอร์ตที่เห็นว่าน่าจะชนะในระยะยาว ไม่ต้องมาพนันกับผม
อีกประเด็นหนึ่งก็คือ การวัดผลงานการเดิมพันในครั้งนี้ ผมจะยึดถือผลตอบแทนเป็นเงินบาทเสมอ และเพื่อเป็นสถิติที่ไม่ต้องกลับไปค้นอีก อัตราแลกเปลี่ยนวันนี้คือ 34.44 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ฮ่องกง เท่ากับ 4.37 บาท และเงินเวียตนาม 1 ด่อง เท่ากับ 0.001442 บาท หรือ 1000 ด่องเท่ากับ 1.442 บาท
ว่าที่จริง “เกมดวลหุ้น” ครั้งนี้ทุกคนสามารถที่จะเสนอหุ้นหรือกองทุนอื่นๆ เข้ามาร่วมได้ ตัวอย่างเช่น อาจจะมีคนอยากที่จะ “ท้าทาย” ด้วยหุ้นอินเดียหรืออินโดนีเซีย บางคนอาจจะเสนอหุ้นยักษ์ที่เป็นเมกะเทรนด์โลก 10 ตัวที่มีกองทุนบริหารอยู่ น่าสนุกครับ แม้ว่าอาจจะต้องเล่นหรือรอนานมากกว่าเกมจะจบ
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1081020
29 ก.ค. 2566 เวลา 15:43 น.
วันที่ 1 ม.ค. ปี 2008 บัฟเฟตต์ประกาศ “ท้าพนัน” คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมบริหารกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งเขาบอกว่าตั้งค่าธรรมเนียมการบริหารกองทุน “แพงเกินความสามารถ” และส่วนใหญ่ก็จะใช้สูตร “2-20” คือค่าธรรมเนียมแน่นอนที่ 2% ต่อปีของเงินกองทุนหรือ NAV และอีก 20% ของกำไรในแต่ละปี
โดยที่บัฟเฟตต์ท้าว่า ผลตอบแทนของเฮดจ์ฟันด์จะแพ้ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนอิงดัชนีที่ไม่ต้องมีคนเลือกหุ้น และเขาเลือกกองทุน S&P500 ของแวนการ์ดกรุปที่คิดค่าธรรมเนียม “ต่ำที่สุด” ที่ 0.04% ต่อปี
คนที่รับคำท้าคือ Ted Seides ผู้ก่อตั้งและบริหารกองทุน Protégé ซึ่งเป็น “Fund of Fund” คือกองทุนที่ลงทุนในเฮดจ์ฟันด์อื่น ๆ โดย จะมีการวัดผลตอบแทนเมื่อครบ 10 ปี ตอนสิ้นปี 2017 เงินพนันคือ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และนี่ก็คือเรื่องที่จะ “ท้าพิสูจน์” ว่า ระหว่างการลงทุนแบบ “Active” หรือการลงทุนที่อาศัยการเลือกหุ้นของ “เซียน” ที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสูง กับการลงทุนแบบ “Passive” ที่มีค่าธรรมเนียมการบริหารต่ำ แบบไหนจะให้ผลตอบแทนดีกว่ากันในระยะยาว คือ 10 ปี
การเดิมพันเริ่มขึ้นไม่นาน สถานการณ์ตลาดหุ้นก็พลิกผัน ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติซับไพร์มในปี 2008 ดัชนี S&P ลบไป 37% แต่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ลบลงเพียง 23.9% แต่หลังจากนั้นกองทุน S&P 500 ก็เอาชนะมาได้ทุกปีจนถึงปี 2014 โดยที่ NAV หรือมูลค่าสุทธิของกองทุน S&Pกลับมานำได้ตั้งแต่ปี 2012 หรือพูดง่าย ๆ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ “ชนะ” ในช่วงแรกแค่ 4 ปี
ปี 2015 เฮดจ์ฟันด์กลับมาทำได้ดีกว่า S&P500 ทำผลตอบแทนได้ 1.7% เทียบกับ 1.4% แต่ปี 2016 หุ้นฝั่งบัฟเฟตต์กลับเติบโต 7.1% เทียบกับ 2.2% ของเฮดจ์ฟันด์ พอถึงสิ้นปี 2017 วันสิ้นสุดการแข่งขัน ผลตอบแทนโดยรวมของเฮดจ์ฟันด์คือ 22% ในขณะที่กองทุนดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทนรวมถึง 85.4% เป็นชัยชนะที่ “ขาดลอย” ของการลงทุนแบบ Passive เหนือ Active เงิน 1 ล้านเหรียญที่ได้รับ บัฟเฟตต์ยกให้กับชมรม “เพื่อนของผลตอบแทนรวมสูงสุดสำหรับเด็ก”
ฝ่ายของเฮดจ์ฟันด์นั้นยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ก็บอกว่าน่าจะเป็นผลจากการที่หุ้นสหรัฐดีมากหรืออาจจะเป็นปีทองหลังวิกฤติ ในขณะที่เฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่มีการลงทุนในหุ้นต่างประเทศมาก ไม่ได้เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมอะไรมากนัก
ผมเขียนเรื่องนี้แม้ว่าการเดิมพันจบไปนานแล้ว แต่ก็รู้สึกว่าตอนนี้ในใจผมเกิดความรู้สึก อยากเดิมพันกับความคิดของผมว่า “หุ้นแบบไหนหรือหุ้นที่ไหนจะมีผลงานที่ดีที่สุดในอีก 10 ปีข้างหน้า”
การมีความคิดในเรื่องของการพนันนั้น อาจจะช่วยให้เราตื่นตัวและตระหนักถึงประเด็นได้ดีกว่าการอยู่เฉยๆ นอกจากนั้นมันก็คงสนุกดีถ้ามีคนอื่นมาพนันด้วย อย่างน้อยก็อาจจะช่วยลดความน่าเบื่อหน่ายสำหรับนักลงทุนหลายๆ คนที่ “ไม่รู้จะทำอะไร เล่นไปก็หาวนอนไป” เพราะหุ้นเงียบเหงา ไม่ขึ้นไม่ลงมาหลายปีแล้ว
เดิมพันที่ผมคิดก็คือ ในอีก 10 ปีข้างหน้า ระหว่างกองทุนรวมหุ้นทั้งที่อิงดัชนีและกองทุนแบบแอคทิฟฟันด์ และกองทุนสมมุติที่ผมตั้งขึ้น ดังต่อไปนี้ กองไหนที่จะให้ผลตอบแทนสูงสุด?
กองทุนแรกนั้นผมจะให้เป็นกองทุนอิงดัชนีและคิดคำนวณแบบคร่าวๆ จากตัวดัชนีเลยก็คือ ดัชนี SET หรือดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งล่าสุดวันที่ 29 ก.ค. 2566 อยู่ที่ 1,543 จุด อีก 10 ปีคือ ประมาณวันที่ 29 ก.ค.2576 จะอยู่ที่เท่าไรและให้ผลตอบแทนกี่เปอร์เซ็นต์
กองทุนที่ 2 และ 3 ซึ่งก็คิดจากตัวดัชนีเป็นหลักก็คือ ดัชนี S&P500 ที่เริ่มจาก 4,582 จุด และดัชนี NASDAQ Composite ที่เริ่มที่ 14,316 จุด ในวันเดียวกัน และนี่ก็คือกองทุนของสหรัฐที่เป็นกองทุนของบริษัทที่มักจะมีธุรกิจทั่วโลกและเติบโตไปกับโลก
กองทุนที่ 4 และ 5 ก็คือกองทุนอิงดัชนีของจีนและเวียดนามที่อยู่ใกล้บ้านเราและมีคนไปลงทุนค่อนข้างมากในปัจจุบัน ของจีนนั้นผมจะใช้ตลาดฮ่องกงคือดัชนี HANG SENG ที่ 19, 916 จุด และนี่ก็คือบริษัทของจีนที่กำลังจะก้าวขึ้นมาท้าทายสหรัฐใน 10 ปี รวมถึงราคาหุ้นที่ “ถูกมาก” สำหรับหลาย ๆ คนในปัจจุบัน ในส่วนของเวียดนามก็คือ VN Index ที่ 1,207 จุด ซึ่งก็จะเป็นตัวแทนของประเทศที่กำลังเป็น “ดาวรุ่ง” ในทศวรรษที่กำลังถึงนี้
กองทุนที่ 6 คือกองทุนกึ่ง Active ที่น่าสนใจและมีคนไปลงทุนพอสมควรก็คือ “กองทุน Diamond” ของตลาดหุ้นเวียตนามที่มีราคา 26,290 ด่อง และนี่คือหุ้นเวียตนามที่เป็นที่นิยมสูงมากของนักลงทุนต่างชาติซึ่งทำให้เราหาซื้อหุ้นได้ยากและต้องจ่ายในราคาแพงกว่าราคาตลาด
กองทุนสุดท้ายก็คือกองทุนแบบที่ผมเลือกเองที่ตั้งใจให้เป็นแนวหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” โดยหุ้นที่เลือกประกอบไปด้วยหุ้น 8 ตัวดังต่อไปนี้ คือ หุ้นตัวใหญ่ 4 ตัว ประกอบไปด้วยหุ้น FPT ซึ่งเป็นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ที่ราคาปัจจุบันคือ 84,400 ด่อง หุ้น REE ที่เป็นโฮลดิ้งทำธุรกิจเกี่ยวกับไฟฟ้า น้ำ และระบบไฟฟ้าและความเย็นในอาคารขนาดใหญ่ ที่ 68,000 ด่อง หุ้น MWG ที่ทำธุรกิจค้าปลีกมือถือและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ที่ 54,500 ด่อง และตัว ETF หรือกองทุน Diamond ที่ 26,290 ด่อง โดยที่ทั้ง 4 ตัวนี้ จะมีน้ำหนักตัวละ 20% ของพอร์ต
และหุ้นขนาดกลางอีก 4 ตัวคือ ACV หรือหุ้นสนามบินเกือบทั้งหมดของเวียดนามที่ราคาปัจจุบันที่ 79,600 ด่อง หุ้น VRE หรือหุ้นที่ทำช็อปปิงมอลให้เช่าทั่วประเทศที่ราคา 28,800 ด่อง หุ้น VSH ที่ผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนขนาดใหญ่ ที่ 44,900 ด่อง และหุ้น NT2 ที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ที่ราคา 29,250 ด่อง โดยที่แต่ละตัวจะมีสัดส่วนตัวละ 5% ของพอร์ต
พอร์ตหุ้นซุปเปอร์สต็อกนี้สามารถปรับได้ปีละหนซึ่งผมจะพยายามบอกให้ทราบ แต่ความตั้งใจก็คือ น่าจะคงอยู่ประมาณ 5 ปีโดยที่ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร และจะถือไปจนครบ 10 ปีเพื่อที่จะสรุปว่าพอร์ตโตขึ้นเป็นเท่าไร ซึ่งก็จะเป็นวันที่สรุปว่าพอร์ตไหนใน 7 พอร์ตจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันหรือการเดิมพันการเลือกหุ้นลงทุน
สิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจก็คือ นี่ไม่ใช่การชักชวนให้ซื้อหุ้นหรือกองทุนอะไรทั้งนั้น แม้ว่าผมเองก็ถือหุ้นดังกล่าวอยู่ด้วยอย่างมีนัยสำคัญและใกล้เคียงกับที่เสนอในพอร์ตที่จะใช้เดิมพัน ความเป็นจริงก็คือ หุ้นทั้งหมดนั้นเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่ หลายตัวมีมูลค่าเป็นแสนล้านบาทและทุกตัวมี Free Float สูงมาก การที่จะมีใครไปทำราคาหรือแรงซื้อจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่จะไปทำให้ราคาเบี่ยงเบนไปจากพื้นฐานที่แท้จริงนั้น เป็นไปไม่ได้เลย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ นี่เป็นพอร์ตที่จะถือเป็นระยะเวลายาวนานมาก ไม่มีการซื้อขายในระยะสั้นหรือแม้แต่ในระยะเวลาเป็นปี
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ผมจะไม่พนันกับใครเหมือนอย่างที่บัฟเฟตต์ทำ แต่ที่จริงผมก็พนันอยู่แล้วกับตลาดและตัวหุ้น ถ้าพอร์ตหุ้นที่ผมเลือกโตขึ้นเหนือกว่าพอร์ตอื่น ผมชนะหรือกำไรอยู่แล้ว เช่นเดียวกัน ใครก็ตามที่อยากจะพนัน ก็ทำได้อยู่แล้วโดยการลงทุนในพอร์ตที่เห็นว่าน่าจะชนะในระยะยาว ไม่ต้องมาพนันกับผม
อีกประเด็นหนึ่งก็คือ การวัดผลงานการเดิมพันในครั้งนี้ ผมจะยึดถือผลตอบแทนเป็นเงินบาทเสมอ และเพื่อเป็นสถิติที่ไม่ต้องกลับไปค้นอีก อัตราแลกเปลี่ยนวันนี้คือ 34.44 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ฮ่องกง เท่ากับ 4.37 บาท และเงินเวียตนาม 1 ด่อง เท่ากับ 0.001442 บาท หรือ 1000 ด่องเท่ากับ 1.442 บาท
ว่าที่จริง “เกมดวลหุ้น” ครั้งนี้ทุกคนสามารถที่จะเสนอหุ้นหรือกองทุนอื่นๆ เข้ามาร่วมได้ ตัวอย่างเช่น อาจจะมีคนอยากที่จะ “ท้าทาย” ด้วยหุ้นอินเดียหรืออินโดนีเซีย บางคนอาจจะเสนอหุ้นยักษ์ที่เป็นเมกะเทรนด์โลก 10 ตัวที่มีกองทุนบริหารอยู่ น่าสนุกครับ แม้ว่าอาจจะต้องเล่นหรือรอนานมากกว่าเกมจะจบ
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1081020
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
การอพยพครั้งใหญ่ของ VI By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 06 ส.ค. 2566
สภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่แทบจะไม่ให้ผลตอบแทนติดต่อกันมานับ 10 ปี นั้น ทำให้นักลงทุน VI หลายคนเริ่มย้ายการลงทุนไปยังตลาดหุ้นอื่นมากขึ้นเรื่อย ๆ บางคนและแม้แต่ที่เป็น “VI พันธุ์แท้” ที่เคยประสบความสำเร็จอย่างงดงามและ “รวยไปแล้ว” จากตลาดหุ้นไทย
ขณะนี้มีเงินลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศมากกว่าตลาดหุ้นไทยไปแล้ว ส่วนตัวผมเองก็มีหุ้นต่างประเทศเกือบ 30% แล้วและน่าจะเพิ่มขึ้นไปได้อีก อานิสงส์สำคัญส่วนหนึ่งก็คือ มูลค่าของหุ้นเพิ่มขึ้นตามดัชนีหุ้นต่างประเทศที่ปรับตัวขึ้นเร็วกว่าตลาดหุ้นไทยมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
การ “ย้ายถิ่นฐานไปสู่สถานที่อุดมสมบูรณ์กว่า” ของคนหรือมนุษย์นั้น เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่มีสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ขึ้นในโลก จากประวัติศาสตร์ของคนอย่างพวกเราที่ถูกเรียกว่า “Homo Sapiens” หรือ “มนุษย์ผู้ชาญฉลาด” นั้น พวกเรากำเนิดขึ้นในแอฟริกาและน่าจะอยู่ที่นั่นมาหลายแสนปี แต่แล้ว ในช่วงเวลาน่าจะประมาณ 100,000 ถึง 60,000-70,000 ปี ที่ผ่านมา พวกเราก็เริ่ม “อพยพครั้งใหญ่” ออกจากแอฟริกาและกระจายไปทั่วโลก โดยทวีปสุดท้ายที่ไปถึงน่าจะเป็นอเมริกาเหนือเมื่อประมาณอย่างน้อย 20,000 ปีที่แล้ว เพราะนั่นเป็นสถานที่ที่ “ไปยากที่สุด”
การที่ Homo Sapiens ย้ายถิ่นฐานออกจากแอฟริกานั้น สาเหตุสำคัญก็คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่อาจจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง อาหารที่มีอยู่ไม่พอเลี้ยงคนที่อาจจะมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อานิสงส์จากการที่ Homo Sapiens มีความรู้และความสามารถมากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มสามารถเอาชนะสัตว์อื่นในการแย่งชิงทรัพยากรโดยเฉพาะอาหารที่มักจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศในช่วงเวลานับหมื่นปี
นักลงทุนแบบ VI ของไทยนั้น ได้กำเนิดขึ้นประมาณปี 2540 หลัง “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ที่ก่อให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เลวร้ายกับการลงทุนของนักลงทุนในยุคก่อนหน้านั้นอย่างรุนแรงจนทำให้ “นักเล่นหุ้น” แทบจะ “สูญพันธุ์” แต่สำหรับ “Value Investor” หรือ VI ที่ยึดถือหลักการว่า “ซื้อหุ้น” ก็เหมือนกับ “การลงทุนในธุรกิจ” ช่วงเวลานั้นกลับกลายเป็น “โอกาส” ที่จะได้ซื้อหุ้นหรือซื้อธุรกิจในราคาที่ถูกมาก และ “ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง” ซึ่งจะทำให้สามารถทำกำไรหรือได้ผลตอบแทนการลงทุนที่สูงในอนาคต
คนที่เรียกว่าเป็น “VI” นั้น ถ้าจะพูดกันแบบ “โม้” ก็คงคล้ายกับที่เราตั้งชื่อมนุษย์ปัจจุบันว่า Homo Sapiens ซึ่งหมายถึงคนที่ “ชาญฉลาด” ในขณะที่คนประเภทอื่น เช่น “Homo Neanderthal” ซึ่งเคยอยู่ร่วมโลกกับตนเองมานับแสนปีและจริง ๆ ก็ฉลาดพอกัน กลับไม่ได้ถูกตั้งชื่อแบบนั้นและก็สูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 40,000 ปีที่แล้ว
กล่าวก็คือ พวก VI นั้น มีความภาคภูมิใจว่าตนเองเป็น “นักลงทุนผู้ชาญฉลาด” หรือเป็น “Intelligent Investor” ตามชื่อหนังสือที่เป็น “ไบเบิล” ของพวกตนเขียนโดยเบน เกรแฮม “บิดาของ VI” และถ้าจะตั้ง “ชื่อวิทยาศาสตร์” เลียนแบบ Homo Sapiens นักลงทุน VI ก็อาจจะมีชื่อว่า “Investo Sapiens” ที่เอาชนะนักลงทุน “พันธุ์อื่น” โดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทยในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
ตั้งแต่ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยดูเหมือนว่าจะเข้าสู่ภาวะแวดล้อมที่แย่ลงเรื่อยๆ แต่คนก็อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องความผันผวนเหมือนกับเรื่องของภาวะบรรยากาศของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง “ชั่วคราว” ในช่วงเวลาเป็น “หมื่นปี” ในสมัยที่โลกยังอยู่ในยุคหินที่ Homo Sapiens ต้องเผชิญ กล่าวก็คือ ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยถดถอยลงจากที่เคยสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียนที่ 5-7% ต่อปี เป็นประมาณ 3-4% หรือน้อยกว่าในช่วงเร็วๆ นี้ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไม่ไปไหนมานาน และ VI จำนวนไม่น้อยได้ผลตอบแทนการลงทุนที่น่าผิดหวังมาก ซึ่งทำให้พวกเขาต้องหาทางแก้ไข
VI จำนวนมากเริ่มเปลี่ยนแนวทางการลงทุน หลายคนเริ่มหันมา “เก็งกำไร” มากขึ้น เช่น ซื้อขายบ่อยและเร็วขึ้น บางคนก็เล่นหุ้นน้อยตัวและอาจจะเน้นหุ้นที่มีโมเมนตัมคือเป็นหุ้นที่อยู่ในกระแสที่คนสนใจกันมาก การ “คอร์เนอร์หุ้น” ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจมีมากขึ้น เหมือนว่าการลงทุนแบบ VI ดั้งเดิมที่เน้นเรื่องมูลค่าพื้นฐานเปรียบเทียบกับราคาหุ้นและมองหา Margin of Safety หรือส่วนต่างเผื่อความปลอดภัย ที่เป็นหลักการสำคัญที่สุดของ VI นั้น ถูกละเลยไปมาก
กลยุทธ์ใหม่ๆ เหล่านั้นดูเหมือนว่าจะยังใช้ได้สำหรับ VI บางคนที่มีพลังเงินและพอร์ตใหญ่พอที่จะขับเคลื่อนหุ้นได้ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ากลยุทธ์เหล่านี้ก็กำลังได้ผลน้อยลงไปเรื่อย ๆ ปรากฏการณ์ “คอร์เนอร์แตก” ที่หุ้นที่เคยปรับตัวขึ้นไปเร็วมาก ตกลงมาจนแทบเป็นหายนะเมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยถอนตัวจากหุ้นร้อนไปมาก และคิดถึงการลงทุนในตลาดหุ้นอื่นที่ดูมีอนาคตกว่า
นักลงทุน VI เริ่ม “อพยพ” ย้ายการลงทุนไปต่างประเทศตั้งแต่ประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว นำโดย VI รุ่นแรก ๆ ของตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนแนวเฮดจ์ฟันด์ทั้งที่บริหารโดยคนไทยที่ลงทุนเงินของครอบครัวและที่บริหารโดยชาวต่างประเทศที่มองว่าตลาดหุ้นไทยอาจจะถึงจุดที่ “โตช้า” แล้วในส่วนของนักลงทุนส่วนบุคคลนั้น ผมเองเป็นคนแรกๆ ที่ไปพร้อม ๆ กับนักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็น VI รุ่นเก่าและแนว “พันธุ์แท้” ที่เริ่มมองเห็นว่า “หุ้น value” ที่เคยหาได้ง่ายมากนั้น ล้วนมีราคาแพงเกินพื้นฐานไปมาก คุณภาพของหุ้นที่เล่นกันก็ไม่ได้โดดเด่นมากนักแต่มีการชี้นำหรือเชียร์กันหนักมากในสื่อสังคมต่างๆ ที่มีท่วมตลาด ที่สำคัญคือ ราคาหุ้นเหล่านั้นต่างก็วิ่งกันขึ้นเป็นร้อยๆเปอร์เซ็นต์ในเวลาอันสั้น
ตลาดหุ้นเวียดนามดูเหมือนจะเป็นแห่งแรกของการ “อพยพ” ออกจากตลาดหุ้นไทย เวียดนามถูกมองว่าอุดมสมบูรณ์มากสำหรับการลงทุนหาทรัพยากรซึ่งก็คือ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้จากการลงทุน เหตุผลหลักตั้งแต่แรกก็คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีและโครงสร้างพื้นฐานที่จะดีต่อไป เช่น ในเรื่องของคนที่ยังเป็นหนุ่มสาวและมีศักยภาพสูงรวมถึงการที่ประเทศอยู่ใกล้และมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับไทยมาก เป็นเหตุผลสำคัญในช่วงแรกของการลงทุน
หลังจาก “รอบแรก” ของการอพยพไปเวียดนามผ่านไป ความก้าวหน้าของเวียดนามก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ เศรษฐกิจที่เคยดีกลายเป็น “ดารา” และโตเร็วเป็นอันดับต้นของอาเซียนและโลก ถนนทุกสายตอนนี้แทบมุ่งสู่เวียดนาม อานิสงส์ส่วนหนึ่งจากการเป็นตัวเลือกของฝ่าย “โลกเสรี” ที่กำลังมีปัญหากับจีน ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามสะท้อนความก้าวหน้านั้น และวิ่งขึ้นไปอย่างรวดเร็วและสูงมากและสูงกว่าไทยสมัยที่ตลาดเคยรุ่งเรือง นักลงทุนไทยแนว VI รุ่นใหม่เริ่มสนใจลงทุนผ่านกองทุนรวมเวียดนามที่เปิดเพิ่มขึ้นมากมายไม่ต้องพูดถึงกองทุนรวมส่วนบุคคลของกลุ่มคนที่มีความมั่งคั่งสูงที่ซื้อความคิดว่า เวียตนามคือตลาดที่มีอนาคตในระยะยาว
ต่อจากตลาดหุ้นเวียดนาม การอพยพยังดำเนินต่อไปยังตลาดหุ้นอเมริกาสำหรับนักลงทุนรุ่นใหม่โดยเฉพาะที่มีการศึกษาจากต่างประเทศที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและรู้จักบริษัทระดับโลกจำนวนมากที่อยู่ในสหรัฐ แต่สิ่งที่ทำให้คนสนใจลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาจริงๆ น่าจะอยู่ที่ผลตอบแทนตลาดหุ้นอเมริกาโดยเฉพาะในช่วงโควิด19 นั้นเติบโตโดดเด่นมาก ซึ่งทำให้นักลงทุนไทยลดการลงทุนในตลาดไทยลงและหันไปลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาแทน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ โครงสร้างพื้นฐานและต้นทุนในการซื้อขายหุ้นสหรัฐนั้นมีประสิทธิภาพและถูกลงมาก
จีนเป็นอีกแห่งหนึ่งที่นักลงทุนอพยพไปหาการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า คนที่ไปจีนนั้นผมคิดว่าเป็นเพราะหุ้นมีราคา “ถูกมาก” วัดจากมาตรฐานแบบ VI เช่นค่า P/E และ Market Cap. โดยเฉพาะของหุ้นเทคโนโลยีขนาดยักษ์ทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในหุ้นจีนดูเหมือนว่าจะยังไม่ออกผล อานิสงส์ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากนโยบายของรัฐบาลจีนที่ในระยะหลังไม่เอื้ออำนวยกับตลาดทุนนัก ทำให้นักลงทุนหลายคนดูว่าเป็นตลาดที่ยังมีความเสี่ยงสูงเกินไป และคนที่ไปดูเหมือนว่าจะต้องมีความรู้และความเข้าใจมากกว่าคนที่ไปลงทุนในต่างประเทศอื่นๆ
การอพยพจากตลาดหุ้นไทยดูเหมือนว่าจะยังไม่จบ นักลงทุนต่างชาติเองก็ทยอยอพยพออกต่อเนื่องคิดเป็นเงินหลายแสนล้านบาทในช่วงหลายๆปีมานี้ ผมเองก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรที่จะทำให้ไทยเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ในสายตาของนักลงทุนเหมือนดังแต่ก่อน
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1082112
สภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่แทบจะไม่ให้ผลตอบแทนติดต่อกันมานับ 10 ปี นั้น ทำให้นักลงทุน VI หลายคนเริ่มย้ายการลงทุนไปยังตลาดหุ้นอื่นมากขึ้นเรื่อย ๆ บางคนและแม้แต่ที่เป็น “VI พันธุ์แท้” ที่เคยประสบความสำเร็จอย่างงดงามและ “รวยไปแล้ว” จากตลาดหุ้นไทย
ขณะนี้มีเงินลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศมากกว่าตลาดหุ้นไทยไปแล้ว ส่วนตัวผมเองก็มีหุ้นต่างประเทศเกือบ 30% แล้วและน่าจะเพิ่มขึ้นไปได้อีก อานิสงส์สำคัญส่วนหนึ่งก็คือ มูลค่าของหุ้นเพิ่มขึ้นตามดัชนีหุ้นต่างประเทศที่ปรับตัวขึ้นเร็วกว่าตลาดหุ้นไทยมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
การ “ย้ายถิ่นฐานไปสู่สถานที่อุดมสมบูรณ์กว่า” ของคนหรือมนุษย์นั้น เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่มีสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ขึ้นในโลก จากประวัติศาสตร์ของคนอย่างพวกเราที่ถูกเรียกว่า “Homo Sapiens” หรือ “มนุษย์ผู้ชาญฉลาด” นั้น พวกเรากำเนิดขึ้นในแอฟริกาและน่าจะอยู่ที่นั่นมาหลายแสนปี แต่แล้ว ในช่วงเวลาน่าจะประมาณ 100,000 ถึง 60,000-70,000 ปี ที่ผ่านมา พวกเราก็เริ่ม “อพยพครั้งใหญ่” ออกจากแอฟริกาและกระจายไปทั่วโลก โดยทวีปสุดท้ายที่ไปถึงน่าจะเป็นอเมริกาเหนือเมื่อประมาณอย่างน้อย 20,000 ปีที่แล้ว เพราะนั่นเป็นสถานที่ที่ “ไปยากที่สุด”
การที่ Homo Sapiens ย้ายถิ่นฐานออกจากแอฟริกานั้น สาเหตุสำคัญก็คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่อาจจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง อาหารที่มีอยู่ไม่พอเลี้ยงคนที่อาจจะมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อานิสงส์จากการที่ Homo Sapiens มีความรู้และความสามารถมากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มสามารถเอาชนะสัตว์อื่นในการแย่งชิงทรัพยากรโดยเฉพาะอาหารที่มักจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศในช่วงเวลานับหมื่นปี
นักลงทุนแบบ VI ของไทยนั้น ได้กำเนิดขึ้นประมาณปี 2540 หลัง “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ที่ก่อให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เลวร้ายกับการลงทุนของนักลงทุนในยุคก่อนหน้านั้นอย่างรุนแรงจนทำให้ “นักเล่นหุ้น” แทบจะ “สูญพันธุ์” แต่สำหรับ “Value Investor” หรือ VI ที่ยึดถือหลักการว่า “ซื้อหุ้น” ก็เหมือนกับ “การลงทุนในธุรกิจ” ช่วงเวลานั้นกลับกลายเป็น “โอกาส” ที่จะได้ซื้อหุ้นหรือซื้อธุรกิจในราคาที่ถูกมาก และ “ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง” ซึ่งจะทำให้สามารถทำกำไรหรือได้ผลตอบแทนการลงทุนที่สูงในอนาคต
คนที่เรียกว่าเป็น “VI” นั้น ถ้าจะพูดกันแบบ “โม้” ก็คงคล้ายกับที่เราตั้งชื่อมนุษย์ปัจจุบันว่า Homo Sapiens ซึ่งหมายถึงคนที่ “ชาญฉลาด” ในขณะที่คนประเภทอื่น เช่น “Homo Neanderthal” ซึ่งเคยอยู่ร่วมโลกกับตนเองมานับแสนปีและจริง ๆ ก็ฉลาดพอกัน กลับไม่ได้ถูกตั้งชื่อแบบนั้นและก็สูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 40,000 ปีที่แล้ว
กล่าวก็คือ พวก VI นั้น มีความภาคภูมิใจว่าตนเองเป็น “นักลงทุนผู้ชาญฉลาด” หรือเป็น “Intelligent Investor” ตามชื่อหนังสือที่เป็น “ไบเบิล” ของพวกตนเขียนโดยเบน เกรแฮม “บิดาของ VI” และถ้าจะตั้ง “ชื่อวิทยาศาสตร์” เลียนแบบ Homo Sapiens นักลงทุน VI ก็อาจจะมีชื่อว่า “Investo Sapiens” ที่เอาชนะนักลงทุน “พันธุ์อื่น” โดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทยในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
ตั้งแต่ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยดูเหมือนว่าจะเข้าสู่ภาวะแวดล้อมที่แย่ลงเรื่อยๆ แต่คนก็อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องความผันผวนเหมือนกับเรื่องของภาวะบรรยากาศของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง “ชั่วคราว” ในช่วงเวลาเป็น “หมื่นปี” ในสมัยที่โลกยังอยู่ในยุคหินที่ Homo Sapiens ต้องเผชิญ กล่าวก็คือ ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยถดถอยลงจากที่เคยสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียนที่ 5-7% ต่อปี เป็นประมาณ 3-4% หรือน้อยกว่าในช่วงเร็วๆ นี้ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไม่ไปไหนมานาน และ VI จำนวนไม่น้อยได้ผลตอบแทนการลงทุนที่น่าผิดหวังมาก ซึ่งทำให้พวกเขาต้องหาทางแก้ไข
VI จำนวนมากเริ่มเปลี่ยนแนวทางการลงทุน หลายคนเริ่มหันมา “เก็งกำไร” มากขึ้น เช่น ซื้อขายบ่อยและเร็วขึ้น บางคนก็เล่นหุ้นน้อยตัวและอาจจะเน้นหุ้นที่มีโมเมนตัมคือเป็นหุ้นที่อยู่ในกระแสที่คนสนใจกันมาก การ “คอร์เนอร์หุ้น” ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจมีมากขึ้น เหมือนว่าการลงทุนแบบ VI ดั้งเดิมที่เน้นเรื่องมูลค่าพื้นฐานเปรียบเทียบกับราคาหุ้นและมองหา Margin of Safety หรือส่วนต่างเผื่อความปลอดภัย ที่เป็นหลักการสำคัญที่สุดของ VI นั้น ถูกละเลยไปมาก
กลยุทธ์ใหม่ๆ เหล่านั้นดูเหมือนว่าจะยังใช้ได้สำหรับ VI บางคนที่มีพลังเงินและพอร์ตใหญ่พอที่จะขับเคลื่อนหุ้นได้ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ากลยุทธ์เหล่านี้ก็กำลังได้ผลน้อยลงไปเรื่อย ๆ ปรากฏการณ์ “คอร์เนอร์แตก” ที่หุ้นที่เคยปรับตัวขึ้นไปเร็วมาก ตกลงมาจนแทบเป็นหายนะเมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยถอนตัวจากหุ้นร้อนไปมาก และคิดถึงการลงทุนในตลาดหุ้นอื่นที่ดูมีอนาคตกว่า
นักลงทุน VI เริ่ม “อพยพ” ย้ายการลงทุนไปต่างประเทศตั้งแต่ประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว นำโดย VI รุ่นแรก ๆ ของตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนแนวเฮดจ์ฟันด์ทั้งที่บริหารโดยคนไทยที่ลงทุนเงินของครอบครัวและที่บริหารโดยชาวต่างประเทศที่มองว่าตลาดหุ้นไทยอาจจะถึงจุดที่ “โตช้า” แล้วในส่วนของนักลงทุนส่วนบุคคลนั้น ผมเองเป็นคนแรกๆ ที่ไปพร้อม ๆ กับนักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็น VI รุ่นเก่าและแนว “พันธุ์แท้” ที่เริ่มมองเห็นว่า “หุ้น value” ที่เคยหาได้ง่ายมากนั้น ล้วนมีราคาแพงเกินพื้นฐานไปมาก คุณภาพของหุ้นที่เล่นกันก็ไม่ได้โดดเด่นมากนักแต่มีการชี้นำหรือเชียร์กันหนักมากในสื่อสังคมต่างๆ ที่มีท่วมตลาด ที่สำคัญคือ ราคาหุ้นเหล่านั้นต่างก็วิ่งกันขึ้นเป็นร้อยๆเปอร์เซ็นต์ในเวลาอันสั้น
ตลาดหุ้นเวียดนามดูเหมือนจะเป็นแห่งแรกของการ “อพยพ” ออกจากตลาดหุ้นไทย เวียดนามถูกมองว่าอุดมสมบูรณ์มากสำหรับการลงทุนหาทรัพยากรซึ่งก็คือ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้จากการลงทุน เหตุผลหลักตั้งแต่แรกก็คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีและโครงสร้างพื้นฐานที่จะดีต่อไป เช่น ในเรื่องของคนที่ยังเป็นหนุ่มสาวและมีศักยภาพสูงรวมถึงการที่ประเทศอยู่ใกล้และมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับไทยมาก เป็นเหตุผลสำคัญในช่วงแรกของการลงทุน
หลังจาก “รอบแรก” ของการอพยพไปเวียดนามผ่านไป ความก้าวหน้าของเวียดนามก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ เศรษฐกิจที่เคยดีกลายเป็น “ดารา” และโตเร็วเป็นอันดับต้นของอาเซียนและโลก ถนนทุกสายตอนนี้แทบมุ่งสู่เวียดนาม อานิสงส์ส่วนหนึ่งจากการเป็นตัวเลือกของฝ่าย “โลกเสรี” ที่กำลังมีปัญหากับจีน ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามสะท้อนความก้าวหน้านั้น และวิ่งขึ้นไปอย่างรวดเร็วและสูงมากและสูงกว่าไทยสมัยที่ตลาดเคยรุ่งเรือง นักลงทุนไทยแนว VI รุ่นใหม่เริ่มสนใจลงทุนผ่านกองทุนรวมเวียดนามที่เปิดเพิ่มขึ้นมากมายไม่ต้องพูดถึงกองทุนรวมส่วนบุคคลของกลุ่มคนที่มีความมั่งคั่งสูงที่ซื้อความคิดว่า เวียตนามคือตลาดที่มีอนาคตในระยะยาว
ต่อจากตลาดหุ้นเวียดนาม การอพยพยังดำเนินต่อไปยังตลาดหุ้นอเมริกาสำหรับนักลงทุนรุ่นใหม่โดยเฉพาะที่มีการศึกษาจากต่างประเทศที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและรู้จักบริษัทระดับโลกจำนวนมากที่อยู่ในสหรัฐ แต่สิ่งที่ทำให้คนสนใจลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาจริงๆ น่าจะอยู่ที่ผลตอบแทนตลาดหุ้นอเมริกาโดยเฉพาะในช่วงโควิด19 นั้นเติบโตโดดเด่นมาก ซึ่งทำให้นักลงทุนไทยลดการลงทุนในตลาดไทยลงและหันไปลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาแทน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ โครงสร้างพื้นฐานและต้นทุนในการซื้อขายหุ้นสหรัฐนั้นมีประสิทธิภาพและถูกลงมาก
จีนเป็นอีกแห่งหนึ่งที่นักลงทุนอพยพไปหาการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า คนที่ไปจีนนั้นผมคิดว่าเป็นเพราะหุ้นมีราคา “ถูกมาก” วัดจากมาตรฐานแบบ VI เช่นค่า P/E และ Market Cap. โดยเฉพาะของหุ้นเทคโนโลยีขนาดยักษ์ทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในหุ้นจีนดูเหมือนว่าจะยังไม่ออกผล อานิสงส์ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากนโยบายของรัฐบาลจีนที่ในระยะหลังไม่เอื้ออำนวยกับตลาดทุนนัก ทำให้นักลงทุนหลายคนดูว่าเป็นตลาดที่ยังมีความเสี่ยงสูงเกินไป และคนที่ไปดูเหมือนว่าจะต้องมีความรู้และความเข้าใจมากกว่าคนที่ไปลงทุนในต่างประเทศอื่นๆ
การอพยพจากตลาดหุ้นไทยดูเหมือนว่าจะยังไม่จบ นักลงทุนต่างชาติเองก็ทยอยอพยพออกต่อเนื่องคิดเป็นเงินหลายแสนล้านบาทในช่วงหลายๆปีมานี้ ผมเองก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรที่จะทำให้ไทยเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ในสายตาของนักลงทุนเหมือนดังแต่ก่อน
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1082112
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
บริหารเงิน VS บริหารสุขภาพ By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 19 ส.ค. 2566
ถ้าจะถามว่าวัน ๆ หนึ่งผมทำอะไรบ้าง คำตอบของผมก็คือ ส่วนใหญ่มากก็คือ “บริหารเงิน” หรือจริงๆ ก็คือเรื่องของการลงทุน ซึ่งก็รวมถึงการอ่าน พูด และเขียน นอกจากนั้น เวลา “ว่าง” หรือทำอย่างอื่นเช่น การเดินช้อปปิงก็มักจะเป็นเรื่องของการ “คิด” ไปเรื่อย ๆ ในประเด็นที่หลากหลายมาก
ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของมนุษย์และสังคมโดยเฉพาะเรื่องของเหตุผลว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้นในประเทศไทยและในโลก และจะเป็นอย่างไรต่อไป ทั้งหมดนั้นก็มักจะอิงอยู่กับ “พื้นฐานของมนุษย์” ที่ “ถูกควบคุมโดยยีน” และโดยมี “ประวัติศาสตร์” เป็นสิ่งที่จะช่วยยืนยันความคิดนั้น
แต่สิ่งที่ผมทำมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปและผมมีอายุมากขึ้นก็คือ การ “บริหารสุขภาพ” ซึ่งจนถึงวันนี้ก็กลายเป็น “สิ่งสำคัญที่สุด” เพราะโอกาสที่จะเจ็บป่วยหรือตายสูงขึ้นมากเมื่อคนมีอายุมากขึ้นถึงจุดหนึ่ง ถ้าไม่ทำอะไร เราอาจจะป่วยหนักและฟื้นตัวกลับไม่ได้เหมือนตอนที่เป็นหนุ่มสาว ความสุขจะหายไปมากมาย ถ้าไม่ทำอะไรก็อาจจะตายเร็ว และเงินที่มีอยู่ก็ไม่มีความหมายอะไรอีกต่อไป มาดูกันว่าผมมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องของการบริหารสุขภาพอย่างไร
เบื้องต้นเลยผมเห็นว่าการบริหารสุขภาพและการบริหารเงินนั้น เป็นศาสตร์และศิลป์พอๆ กัน นั่นก็คือ จะต้องประกอบไปด้วยหลักการใหญ่และสำคัญๆ ที่เป็นวิทยาศาสตร์ กล่าวคือมีการพิสูจน์หรือมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวางและยาวนานว่าหลักการและวิธีการทำงานในเรื่องการบริหารเงินและการบริหารสุขภาพแบบไหนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลดีและแบบไหนเป็นผลเสียต่อเรื่องการเงินและสุขภาพ
ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นเรื่องของการเงินแล้ว การที่จะลงทุนแล้วให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าก็มักจะต้องมีความเสี่ยงที่สูงขึ้น เช่น ลงทุนในหุ้นก็ต้องเสี่ยงกว่าการฝากเงิน อย่างไรก็ตาม มีวิธีลดความเสี่ยงที่ได้ผลดีก็คือการกระจายความเสี่ยงให้เหมาะสมที่เราพอจะรับได้ หรือในเรื่องของสุขภาพนั้น ศาสตร์ที่ชัดเจนว่าดีต่อสุขภาพแน่นอนก็คือ การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีสารอาหารครบหมู่ อยู่ในที่ๆ มีอากาศบริสุทธ์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนให้เพียงพอ อย่าให้มีน้ำหนักตัวเกิน และมีสภาพจิตที่ดี ไม่เครียดเกินไป
ในด้านของศิลปะนั้น ก็มักจะเป็นเรื่องของการปรับแต่งว่าเราควรจะทำแต่ละเรื่องมากน้อยแค่ไหนและอย่างไร ในเรื่องของการลงทุนก็เช่น จะกระจายความเสี่ยงแค่ไหนที่จะทำให้การลงทุนระยะยาวของเราได้ผลดีที่สุด กล่าวคือ ได้ผลตอบแทนน่าพอใจและความเสี่ยงไม่สูงเกินไป เช่น ไม่เคยขาดทุนเกิน 30% เลยในระยะเวลา 10-20 ปี และผลตอบแทนทบต้นได้ถึงปีละ 12% เป็นต้น โดยที่การกระจายความเสี่ยงนั้น รวมไปถึงการลงทุนในหลายๆหลักทรัพย์ ทั้งที่เป็นหุ้น พันธบัตรและอาจรวมถึงทองและอสังหาริมทรัพย์ด้วย เช่นเดียวกับการลงทุนในต่างประเทศที่อาจจะจำเป็นมากขึ้นทุกที เป็นต้น
ศิลปะของการบริหารสุขภาพนั้น แน่นอนว่าอาจจะรวมไปถึงการกินอาหารเสริมและวิตามิน บางคนก็อาจจะเสริมด้วยฮอร์โมน บางคนก็ดื่มน้ำมากกว่าปกติในบางช่วงเวลา ตาม “หนังสือบางเล่ม” ที่เขียนแนะนำว่าจะก่อให้ผลดีต่อสุขภาพ แต่ทั้งหมดนั้นก็ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ เพราะดูเหมือนว่าจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับจริง ๆ
เรื่องสุขภาพนั้นก็คล้าย ๆ กับเรื่องของการบริหารเงินและการลงทุน ที่แต่ละคนก็มีวิธีและหลักการแตกต่างกันและทุกคนก็ดูเหมือนว่าสามารถที่จะชักชวนให้คนเชื่อว่าวิธีของตนเองนั้นดี “ผมทำมาแล้วได้ผลดีมากและคุณก็ทำได้” โดยที่ความเป็นจริง คนที่ติดตามและอาจจะตามอ่านหนังสือของคนเขียนก็ไม่รู้ว่า เขาทำแล้วรวยจริงไหม? หรือเขาทำแล้วสุขภาพดีขึ้นมากนั้นจริงหรือไม่? บางทีเขาอาจจะ “กุเรื่องขึ้น” เพื่อเขียนหนังสือขายหรือขายคอร์สเรียนราคาแพง หรือตั้งใจชวนให้คนมาซื้ออาหารเสริม หรือช่วยปั่นหุ้นหรือหลักทรัพย์อ้างอิงอะไรก็เป็นได้
แน่นอนว่า การที่จะชักชวนให้คนเชื่อได้จริงๆ ก็คงต้องมี “หลักฐาน” บางอย่างให้เห็นนอกจากการพูดหรือเขียนให้ฟังดูน่าประทับใจ ในเรื่องของการลงทุนนั้น ไม่มีอะไรดีไปกว่าการโชว์ว่า “ผมรวย” จากวิธีการที่ผมทำ เช่น การโชว์พอร์ตลงทุนว่าใหญ่และมีเงินขนาดไหนหรือแสดงกำไรเป็นร้อยๆเปอร์เซ็นต์ในการเทรดฟอร์เร็กซ์หรือเหรียญ เป็นต้น หรือในกรณีของสุขภาพก็จะต้องโชว์ความอ่อนเยาว์กว่าอายุจริงให้เห็นอย่างชัดเจน เป็นต้น
ศิลปะของการบริหารสุขภาพและการเงินหลายๆ เรื่องนั้น ก็อาจจะเป็นเรื่องจริงหรือได้ผลจริงและเกิดขึ้นกับเจ้าตัวคนทำ อย่างน้อยก็เป็นเรื่องของผลระยะสั้นและเป็นเรื่องของ “ความรู้สึก” แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างก็อาจจะกลับมาเหมือนเดิม ดูเหมือนว่าการทำแบบนั้นจะเป็นแฟชั่นที่มาสักพักแล้วก็ไป ตัวอย่างผมคิดว่ามีมากมายและแทบจะตลอดเวลา เช่น
เรื่องของฮอร์โมนเสริมต่างๆ ที่จะทำให้คนมีสุภาพดีและเป็นหนุ่มสาวขึ้น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยในการนอนหลับ โกรทฮอร์โมนที่ทำให้เด็กเติบโตและซ่อมสร้างร่างกายที่สึกหรอ และฮอร์โมนอีกมากมายที่คนเราจะมีน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้น เราจึงควรเติมให้เหมือนกับตอนเป็นหนุ่มสาว ซึ่งจะทำให้เราย้อนวัยกลับเป็นหนุ่มสาวได้ และแนวคิดแบบนี้ก็น่าจะมีส่วนที่ก่อให้เกิด “แพทย์ทางเลือก” แขนงหนึ่งก็คือ เรื่องของ Anti-Ageing หรือ “การแพทย์ชะลอวัย” ที่ร้อนแรงมากมาจนถึงทุกวันนี้
แต่นี่เป็นเรื่องจริงหรือ? ชะลอวัยได้จริงหรือ ผมเองก็ไม่รู้ แต่ก็เคยเข้าไปใช้บริการและก็ยังกินฮอร์โมนบางอย่างอยู่ แม้จะรู้สึกว่าอาจจะไม่มีผลอะไรในระยะยาว ประเด็นก็คือ ก็ยังไม่เห็นข้อเสียอะไร มีแค่เสียเงินบ้างแต่เราก็ไม่เดือดร้อน นี่ก็อาจจะคล้ายๆ กับคนที่ไม่เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริง แต่ก็อยากทำบุญเผื่อไว้ ถ้าเราคิดผิด กลายเป็นว่านรกสวรรค์มีจริง ก็จะได้ปลอดภัยว่าได้ทำบุญไว้แล้ว
ศิลปะในการบริหารเงินนั้น มีมากเท่าๆ กับ “เซียน” ในตลาดหุ้น ตลาดเงิน หรือตลาดเหรียญต่างๆ ทุกครั้งที่ตลาดซื้อขายบูม ราคาวิ่งขึ้นไปแรงมาก ก็จะมีคนนำเสนอวิธีการลงทุนหรือเทรดตราสารที่ตนเองทำแล้วกำไรได้มหาศาลและรวดเร็ว การไปบรรยายหรือสอนนั้นก็จะเป็นช่องทางที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับ ส่วนเทคนิคหรือวิธีการที่ใช้นั้น บางครั้งก็ไม่ใช่ของจริงหรือบอกไม่หมด ตัวอย่างเช่น ไม่ได้บอกว่าตนเองมีอินไซ้ต์ หรือหุ้นนั้นถูกปั่นหรือถูกคอร์เนอร์ เป็นต้น
ในหลายๆ กรณี เทคนิควิธีก็เป็นสิ่งที่ทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จสูง แต่เมื่อคนทำตามก็อาจจะมีปัญหา อาจจะเป็นเพราะเข้าตลาดในช่วงที่หลักทรัพย์ขึ้นไปมากแล้ว คนที่เข้ามาแทนที่จะเป็น “ผู้ล่า” ก็กลายเป็น “เหยื่อ” เพราะเข้าไปซื้อในช่วงที่ราคาแพงมาก และกระแสของการเก็งกำไรในหลักทรัพย์ดังกล่าวจบลง ดังนั้น ศิลปะในการลงทุนที่มีคนนำเสนอมากมายตลอดเวลาจึงมักจะเป็นเรื่องที่ “ดีชั่วคราว” และถ้าใครทำผิดเวลาก็อาจจะเสียหายหนัก ในขณะที่เซียนที่เสนอหลักการ “รวย” เพราะมีคนมารับต่อหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ขึ้นไปมาก
ในกรณีของเหรียญหรือตราสารที่มีขนาดใหญ่และเทรดกันในระดับโลกนั้น ศิลปะในการลงทุนดูเหมือนว่าแทบจะไม่ช่วยอะไรแม้ว่าตอนที่ทำจะรู้สึกว่าน่าจะดี แต่เป็นเรื่องในอดีตที่เกิดขึ้นแล้ว อนาคตอาจจะเป็นตรงกันข้าม ศาสตร์ของการใช้กราฟในการเล่นตราสารหรือเหรียญนั้นบอกว่า เป็นวิธีที่ไม่ได้ผล ไม่มีหลักฐานว่ามีใครชนะได้จริงในระยะยาว ดังนั้น การเล่นแทบจะไม่ต่างกับการพนันที่มีแต้มต่อติดลบเพราะค่าคอมมิชชั่น การกำไรขาดทุนในระยะสั้นขึ้นอยู่กับโชค ในระยะยาวมีแต่จะขาดทุน คนที่อาจจะได้บ้างก็คือคนที่ขายคอร์สเรียนในราคาแพงแต่ไม่ได้ผลอะไรเลย
จุดยืนของผมในเรื่องของการบริหารการลงทุนนั้นก็คือ ผมสนใจและศึกษาเฉพาะศิลปะของการทำเงินระยะยาว ในส่วนของสุขภาพนั้น ผมสนใจที่จะลองในเรื่องที่คิดว่ามีโอกาสเป็น “ของจริง” แม้ว่าในขณะนี้ผมยังไม่เห็นว่าอะไรจะทำให้สุขภาพดีและหนุ่มขึ้นนอกเหนือจากศาสตร์ 4-5 ข้อที่กล่าว ซึ่งผมก็ทำเกือบทุกข้อแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นเรื่องที่มี “ต้นทุน” สูง ผมก็จะไม่ทำ
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผมก็ยังเชื่อว่าความสำเร็จทางด้านการเงินและสุขภาพที่ดีนั้น นอกจากเรื่องของการบริหารแล้ว ยังขึ้นอยู่กับ “โชคชะตา” ไม่น้อย และนี่ก็ทำให้ผมรู้สึกอิจฉาวอเร็น บัฟเฟตต์ ว่า เขานั้นสุดยอดในด้านการเงินซึ่งน่าจะเกิดจากการบริหาร แต่ในด้านสุขภาพเขาน่าจะบริหารได้ไม่ดีนักเพราะกินแต่แฮมเบอร์เกอร์และโค้กวันละหลายกระป๋อง แต่สุขภาพยังดีเยี่ยมจนถึงวันนี้ที่อายุ 93 ปีแล้วก็ยังไปทำงานทุกวัน เขาบอกว่ามันคงเป็นเรื่องยีนของเขา
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/ ... nt/1084333
ถ้าจะถามว่าวัน ๆ หนึ่งผมทำอะไรบ้าง คำตอบของผมก็คือ ส่วนใหญ่มากก็คือ “บริหารเงิน” หรือจริงๆ ก็คือเรื่องของการลงทุน ซึ่งก็รวมถึงการอ่าน พูด และเขียน นอกจากนั้น เวลา “ว่าง” หรือทำอย่างอื่นเช่น การเดินช้อปปิงก็มักจะเป็นเรื่องของการ “คิด” ไปเรื่อย ๆ ในประเด็นที่หลากหลายมาก
ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของมนุษย์และสังคมโดยเฉพาะเรื่องของเหตุผลว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้นในประเทศไทยและในโลก และจะเป็นอย่างไรต่อไป ทั้งหมดนั้นก็มักจะอิงอยู่กับ “พื้นฐานของมนุษย์” ที่ “ถูกควบคุมโดยยีน” และโดยมี “ประวัติศาสตร์” เป็นสิ่งที่จะช่วยยืนยันความคิดนั้น
แต่สิ่งที่ผมทำมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปและผมมีอายุมากขึ้นก็คือ การ “บริหารสุขภาพ” ซึ่งจนถึงวันนี้ก็กลายเป็น “สิ่งสำคัญที่สุด” เพราะโอกาสที่จะเจ็บป่วยหรือตายสูงขึ้นมากเมื่อคนมีอายุมากขึ้นถึงจุดหนึ่ง ถ้าไม่ทำอะไร เราอาจจะป่วยหนักและฟื้นตัวกลับไม่ได้เหมือนตอนที่เป็นหนุ่มสาว ความสุขจะหายไปมากมาย ถ้าไม่ทำอะไรก็อาจจะตายเร็ว และเงินที่มีอยู่ก็ไม่มีความหมายอะไรอีกต่อไป มาดูกันว่าผมมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องของการบริหารสุขภาพอย่างไร
เบื้องต้นเลยผมเห็นว่าการบริหารสุขภาพและการบริหารเงินนั้น เป็นศาสตร์และศิลป์พอๆ กัน นั่นก็คือ จะต้องประกอบไปด้วยหลักการใหญ่และสำคัญๆ ที่เป็นวิทยาศาสตร์ กล่าวคือมีการพิสูจน์หรือมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวางและยาวนานว่าหลักการและวิธีการทำงานในเรื่องการบริหารเงินและการบริหารสุขภาพแบบไหนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลดีและแบบไหนเป็นผลเสียต่อเรื่องการเงินและสุขภาพ
ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นเรื่องของการเงินแล้ว การที่จะลงทุนแล้วให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าก็มักจะต้องมีความเสี่ยงที่สูงขึ้น เช่น ลงทุนในหุ้นก็ต้องเสี่ยงกว่าการฝากเงิน อย่างไรก็ตาม มีวิธีลดความเสี่ยงที่ได้ผลดีก็คือการกระจายความเสี่ยงให้เหมาะสมที่เราพอจะรับได้ หรือในเรื่องของสุขภาพนั้น ศาสตร์ที่ชัดเจนว่าดีต่อสุขภาพแน่นอนก็คือ การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีสารอาหารครบหมู่ อยู่ในที่ๆ มีอากาศบริสุทธ์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนให้เพียงพอ อย่าให้มีน้ำหนักตัวเกิน และมีสภาพจิตที่ดี ไม่เครียดเกินไป
ในด้านของศิลปะนั้น ก็มักจะเป็นเรื่องของการปรับแต่งว่าเราควรจะทำแต่ละเรื่องมากน้อยแค่ไหนและอย่างไร ในเรื่องของการลงทุนก็เช่น จะกระจายความเสี่ยงแค่ไหนที่จะทำให้การลงทุนระยะยาวของเราได้ผลดีที่สุด กล่าวคือ ได้ผลตอบแทนน่าพอใจและความเสี่ยงไม่สูงเกินไป เช่น ไม่เคยขาดทุนเกิน 30% เลยในระยะเวลา 10-20 ปี และผลตอบแทนทบต้นได้ถึงปีละ 12% เป็นต้น โดยที่การกระจายความเสี่ยงนั้น รวมไปถึงการลงทุนในหลายๆหลักทรัพย์ ทั้งที่เป็นหุ้น พันธบัตรและอาจรวมถึงทองและอสังหาริมทรัพย์ด้วย เช่นเดียวกับการลงทุนในต่างประเทศที่อาจจะจำเป็นมากขึ้นทุกที เป็นต้น
ศิลปะของการบริหารสุขภาพนั้น แน่นอนว่าอาจจะรวมไปถึงการกินอาหารเสริมและวิตามิน บางคนก็อาจจะเสริมด้วยฮอร์โมน บางคนก็ดื่มน้ำมากกว่าปกติในบางช่วงเวลา ตาม “หนังสือบางเล่ม” ที่เขียนแนะนำว่าจะก่อให้ผลดีต่อสุขภาพ แต่ทั้งหมดนั้นก็ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ เพราะดูเหมือนว่าจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับจริง ๆ
เรื่องสุขภาพนั้นก็คล้าย ๆ กับเรื่องของการบริหารเงินและการลงทุน ที่แต่ละคนก็มีวิธีและหลักการแตกต่างกันและทุกคนก็ดูเหมือนว่าสามารถที่จะชักชวนให้คนเชื่อว่าวิธีของตนเองนั้นดี “ผมทำมาแล้วได้ผลดีมากและคุณก็ทำได้” โดยที่ความเป็นจริง คนที่ติดตามและอาจจะตามอ่านหนังสือของคนเขียนก็ไม่รู้ว่า เขาทำแล้วรวยจริงไหม? หรือเขาทำแล้วสุขภาพดีขึ้นมากนั้นจริงหรือไม่? บางทีเขาอาจจะ “กุเรื่องขึ้น” เพื่อเขียนหนังสือขายหรือขายคอร์สเรียนราคาแพง หรือตั้งใจชวนให้คนมาซื้ออาหารเสริม หรือช่วยปั่นหุ้นหรือหลักทรัพย์อ้างอิงอะไรก็เป็นได้
แน่นอนว่า การที่จะชักชวนให้คนเชื่อได้จริงๆ ก็คงต้องมี “หลักฐาน” บางอย่างให้เห็นนอกจากการพูดหรือเขียนให้ฟังดูน่าประทับใจ ในเรื่องของการลงทุนนั้น ไม่มีอะไรดีไปกว่าการโชว์ว่า “ผมรวย” จากวิธีการที่ผมทำ เช่น การโชว์พอร์ตลงทุนว่าใหญ่และมีเงินขนาดไหนหรือแสดงกำไรเป็นร้อยๆเปอร์เซ็นต์ในการเทรดฟอร์เร็กซ์หรือเหรียญ เป็นต้น หรือในกรณีของสุขภาพก็จะต้องโชว์ความอ่อนเยาว์กว่าอายุจริงให้เห็นอย่างชัดเจน เป็นต้น
ศิลปะของการบริหารสุขภาพและการเงินหลายๆ เรื่องนั้น ก็อาจจะเป็นเรื่องจริงหรือได้ผลจริงและเกิดขึ้นกับเจ้าตัวคนทำ อย่างน้อยก็เป็นเรื่องของผลระยะสั้นและเป็นเรื่องของ “ความรู้สึก” แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างก็อาจจะกลับมาเหมือนเดิม ดูเหมือนว่าการทำแบบนั้นจะเป็นแฟชั่นที่มาสักพักแล้วก็ไป ตัวอย่างผมคิดว่ามีมากมายและแทบจะตลอดเวลา เช่น
เรื่องของฮอร์โมนเสริมต่างๆ ที่จะทำให้คนมีสุภาพดีและเป็นหนุ่มสาวขึ้น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยในการนอนหลับ โกรทฮอร์โมนที่ทำให้เด็กเติบโตและซ่อมสร้างร่างกายที่สึกหรอ และฮอร์โมนอีกมากมายที่คนเราจะมีน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้น เราจึงควรเติมให้เหมือนกับตอนเป็นหนุ่มสาว ซึ่งจะทำให้เราย้อนวัยกลับเป็นหนุ่มสาวได้ และแนวคิดแบบนี้ก็น่าจะมีส่วนที่ก่อให้เกิด “แพทย์ทางเลือก” แขนงหนึ่งก็คือ เรื่องของ Anti-Ageing หรือ “การแพทย์ชะลอวัย” ที่ร้อนแรงมากมาจนถึงทุกวันนี้
แต่นี่เป็นเรื่องจริงหรือ? ชะลอวัยได้จริงหรือ ผมเองก็ไม่รู้ แต่ก็เคยเข้าไปใช้บริการและก็ยังกินฮอร์โมนบางอย่างอยู่ แม้จะรู้สึกว่าอาจจะไม่มีผลอะไรในระยะยาว ประเด็นก็คือ ก็ยังไม่เห็นข้อเสียอะไร มีแค่เสียเงินบ้างแต่เราก็ไม่เดือดร้อน นี่ก็อาจจะคล้ายๆ กับคนที่ไม่เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริง แต่ก็อยากทำบุญเผื่อไว้ ถ้าเราคิดผิด กลายเป็นว่านรกสวรรค์มีจริง ก็จะได้ปลอดภัยว่าได้ทำบุญไว้แล้ว
ศิลปะในการบริหารเงินนั้น มีมากเท่าๆ กับ “เซียน” ในตลาดหุ้น ตลาดเงิน หรือตลาดเหรียญต่างๆ ทุกครั้งที่ตลาดซื้อขายบูม ราคาวิ่งขึ้นไปแรงมาก ก็จะมีคนนำเสนอวิธีการลงทุนหรือเทรดตราสารที่ตนเองทำแล้วกำไรได้มหาศาลและรวดเร็ว การไปบรรยายหรือสอนนั้นก็จะเป็นช่องทางที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับ ส่วนเทคนิคหรือวิธีการที่ใช้นั้น บางครั้งก็ไม่ใช่ของจริงหรือบอกไม่หมด ตัวอย่างเช่น ไม่ได้บอกว่าตนเองมีอินไซ้ต์ หรือหุ้นนั้นถูกปั่นหรือถูกคอร์เนอร์ เป็นต้น
ในหลายๆ กรณี เทคนิควิธีก็เป็นสิ่งที่ทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จสูง แต่เมื่อคนทำตามก็อาจจะมีปัญหา อาจจะเป็นเพราะเข้าตลาดในช่วงที่หลักทรัพย์ขึ้นไปมากแล้ว คนที่เข้ามาแทนที่จะเป็น “ผู้ล่า” ก็กลายเป็น “เหยื่อ” เพราะเข้าไปซื้อในช่วงที่ราคาแพงมาก และกระแสของการเก็งกำไรในหลักทรัพย์ดังกล่าวจบลง ดังนั้น ศิลปะในการลงทุนที่มีคนนำเสนอมากมายตลอดเวลาจึงมักจะเป็นเรื่องที่ “ดีชั่วคราว” และถ้าใครทำผิดเวลาก็อาจจะเสียหายหนัก ในขณะที่เซียนที่เสนอหลักการ “รวย” เพราะมีคนมารับต่อหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ขึ้นไปมาก
ในกรณีของเหรียญหรือตราสารที่มีขนาดใหญ่และเทรดกันในระดับโลกนั้น ศิลปะในการลงทุนดูเหมือนว่าแทบจะไม่ช่วยอะไรแม้ว่าตอนที่ทำจะรู้สึกว่าน่าจะดี แต่เป็นเรื่องในอดีตที่เกิดขึ้นแล้ว อนาคตอาจจะเป็นตรงกันข้าม ศาสตร์ของการใช้กราฟในการเล่นตราสารหรือเหรียญนั้นบอกว่า เป็นวิธีที่ไม่ได้ผล ไม่มีหลักฐานว่ามีใครชนะได้จริงในระยะยาว ดังนั้น การเล่นแทบจะไม่ต่างกับการพนันที่มีแต้มต่อติดลบเพราะค่าคอมมิชชั่น การกำไรขาดทุนในระยะสั้นขึ้นอยู่กับโชค ในระยะยาวมีแต่จะขาดทุน คนที่อาจจะได้บ้างก็คือคนที่ขายคอร์สเรียนในราคาแพงแต่ไม่ได้ผลอะไรเลย
จุดยืนของผมในเรื่องของการบริหารการลงทุนนั้นก็คือ ผมสนใจและศึกษาเฉพาะศิลปะของการทำเงินระยะยาว ในส่วนของสุขภาพนั้น ผมสนใจที่จะลองในเรื่องที่คิดว่ามีโอกาสเป็น “ของจริง” แม้ว่าในขณะนี้ผมยังไม่เห็นว่าอะไรจะทำให้สุขภาพดีและหนุ่มขึ้นนอกเหนือจากศาสตร์ 4-5 ข้อที่กล่าว ซึ่งผมก็ทำเกือบทุกข้อแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นเรื่องที่มี “ต้นทุน” สูง ผมก็จะไม่ทำ
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผมก็ยังเชื่อว่าความสำเร็จทางด้านการเงินและสุขภาพที่ดีนั้น นอกจากเรื่องของการบริหารแล้ว ยังขึ้นอยู่กับ “โชคชะตา” ไม่น้อย และนี่ก็ทำให้ผมรู้สึกอิจฉาวอเร็น บัฟเฟตต์ ว่า เขานั้นสุดยอดในด้านการเงินซึ่งน่าจะเกิดจากการบริหาร แต่ในด้านสุขภาพเขาน่าจะบริหารได้ไม่ดีนักเพราะกินแต่แฮมเบอร์เกอร์และโค้กวันละหลายกระป๋อง แต่สุขภาพยังดีเยี่ยมจนถึงวันนี้ที่อายุ 93 ปีแล้วก็ยังไปทำงานทุกวัน เขาบอกว่ามันคงเป็นเรื่องยีนของเขา
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/ ... nt/1084333
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
อาชีพในฝัน- เต้นรำไปทำเงิน By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 26 ส.ค. 2566
ในมุมมองของผมที่เป็น “นักลงทุนอาชีพ” หรือคนที่ทำงานหลักเป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มาหลายสิบปี และก่อนหน้านั้นก็ทำงานเป็นวิศวกรในโรงงาน เป็นพนักงานด้านการวางแผนและบริหารเงินของกิจการให้บริการเงินกู้และเงินร่วมทุนขนาดใหญ่ และต่อมาก็ทำงานในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ให้บริการเป็นที่ปรึกษาและระดมเงินให้กับบริษัทต่างๆ ทั้งที่เป็นบริษัทเอกชนและบริษัทในตลาดหุ้น ผมก็รู้สึกว่า งานแต่ละอาชีพนั้นมีลักษณะและคุณสมบัติไม่เหมือนกัน เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ มีความสุขและความทุกข์ไม่เท่ากัน เช่นเดียวกับที่มีรายได้ที่แตกต่างกัน
เมื่อคิดย้อนกลับไป ถ้าผมรู้ว่าเราควรจะเลือกก่อนว่าอาชีพไหนที่จะให้ความสุขมากกว่าและได้เงินดีกว่า สำหรับคนที่มีคุณสมบัติแบบที่ผมเป็น ผมก็คงจะไม่ทำงานแบบนั้นทั้งหมด ผมคงจะพยายามหา “อาชีพในฝัน” ทำแล้วมีความสุข และได้เงินมากๆ ตั้งแต่แรก ไม่มาเริ่มทำเมื่ออายุกว่า 40 ปี ที่ผม “บังเอิญ” ต้องมาเป็น “นักลงทุนอาชีพ” หลังจากที่ต้องตกงานในวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 และก็พบว่า อาชีพนักลงทุนนั้นก็คือ “อาชีพในฝัน” ที่ทำแล้วมีความสุข อยากทำทุกวัน เหมือนกับที่วอเร็น บัฟเฟตต์พูดว่า เขาแทบจะ “เต้นแท็ปไปทำงาน” ทุกวัน
.แต่สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว การลงทุนก็อาจจะไม่ใช่ “อาชีพในฝัน” ที่ทำแล้วมีความสุขและได้เงินมาก เพราะการทำอาชีพอะไรก็ตาม มันก็จะต้องเหมาะกับคุณสมบัติและนิสัยและความชอบของแต่ละคนด้วย อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของผม งานหรืออาชีพที่ผมคิดว่าน่าจะมีความสุขหรือมีทุกข์น้อยกว่า และคนไม่ต้องมี IQ สูงก็ทำได้ น่าจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
ข้อแรกก็คือ มันต้องเป็นงานที่ “มีความหมาย” หรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือคนอื่น และอย่างน้อยก็ให้ผลตอบแทนที่ดีพอต่อการใช้ชีวิตของเรา นอกจากนั้นสถานที่ทำงานก็ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดี ไม่มีมลพิษที่กระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเรา นี่ก็เป็นเรื่องพื้นฐานเบื้องต้น ซึ่งคิดดูแล้ว สมัยที่ผมเป็นวิศวกรเมื่อเกือบ 50 ปี มันไม่ผ่าน
ข้อต่อมาก็คือ งานต้องเหมาะกับนิสัยและความสามารถของเรา ซึ่งจะช่วยให้เรามีโอกาสประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งโอกาสก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในงานก็คือสิ่งที่จะก่อให้เกิดความสุข และเงินที่จะได้มากขึ้น
ความสุขในอาชีพและการทำงานที่สำคัญมากอย่างหนึ่งก็คือการที่เราจะไม่เครียดหรือมีความกังวลที่มากเกินไปที่มักจะเกิดจากการที่ไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย และถ้าเป้าหมายนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเกินไป อาจจะเป็นเพราะผู้บังคับบัญชามีความเข้มงวดตั้งเป้าหมายสูงเกินไป และ/หรือบริษัทหรือเราไม่ได้มีความได้เปรียบในการแข่งขันเทียบกับคู่แข่ง เราก็จะเครียด กังวล และไม่มีความสุขในการทำงาน หรือถ้าพูดแบบง่ายๆ ก็คือ การถูกวัดผลงานแบบเข้มข้นและโดยผู้บังคับบัญชานั้น เป็นสิ่งที่ทำให้การทำงานมีความสุขน้อยลงมาก
อาชีพที่ทำแล้วมีความสุขก็คือความเป็นอิสระและ/หรือความยืดหยุ่น ซึ่งนี่ก็รวมถึงความเป็นอิสระที่จะสามารถทำงานตามเวลาที่สะดวกของเรา การมีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ และการที่สามารถที่จะได้ผลตอบแทนตามผลงานที่ยุติธรรม เช่น ทำดีหรือทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย เป็นต้น
เพื่อนร่วมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้อาชีพนั้นก่อให้เกิดความสุขหรือความทุกข์มากกว่ากัน อาชีพบางอย่างอาจจะมีการแข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีมากกว่าอาชีพอื่น ดังนั้น เพื่อนร่วมงานก็มักจะเป็นแหล่งที่จะทำให้มีความสุขหรือความทุกข์ที่สำคัญ ในหลายอาชีพนั้น เพื่อนร่วมงานมักจะต้องช่วยกันมากกว่าแข่งขัน บางอาชีพก็เป็นแบบต่างคนต่างทำหน้าที่ ซึ่งก็จะทำให้มีความสุขมากกว่าสำหรับการทำงาน
อาชีพบางอย่างนั้น มีลักษณะที่ก่อให้เกิดความสุขและหลีกเลี่ยงความทุกข์หลายข้อดังที่กล่าวถึง นอกจากนั้นก็ยังให้ผลตอบแทนเป็นตัวเงินที่ดีพอ ดังนั้น ก็จะเป็น “อาชีพในฝัน” สำหรับคนที่อยากทำงานอย่างมีความสุข ตัวอย่างก็น่าจะรวมถึงอาชีพต่อไปนี้ ซึ่งผมเองก็สังเกตพบว่าคนที่ทำก็มักจะมีความสุขและก็ไม่ค่อยที่จะเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนอาชีพบ่อย
กลุ่มแรกก็คือ อาชีพครูอาจารย์และผู้สอนในสาขาวิชาต่าง ๆ เพราะนี่คืออาชีพที่ค่อนข้างอิสระและมีคนนับหน้าถือตา ไม่มีใครมาประเมินผลงานอะไรมากนัก และรายได้นั้นแม้ว่าจะไม่สูงหรือเติบโตมากนัก แต่การหารายได้เพิ่มจากการเป็นครูพิเศษก็ดูเหมือนว่าจะดีทีเดียวเมื่อเทียบกับรายได้จากอาชีพอื่น ว่าที่จริงในปัจจุบันนั้น คนที่มีทักษะหรือความสามารถบางอย่างสามารถที่จะยึดอาชีพเสริมเป็นครูพิเศษหรือติวเตอร์ได้ไม่ยาก เพราะเด็กหรือคนรุ่นใหม่ต่างก็พร้อมจ่ายเงินเรียนรู้ทักษะสารพัดรวมถึงการทำศิลปะ ทำอาหาร เล่นกีฬา และฝึกภาษา เป็นต้น
อาชีพพนักงานบริการบนเครื่องบินเช่น แอร์โฮสเตสหรือนักบิน นี่ก็เป็นอาชีพที่คนทำมักจะมีความสุข อาจจะเนื่องจากได้ท่องเที่ยวด้วย รายได้ดี การทำงานเมื่อทำแล้วเสร็จก็จบเป็นเที่ยว ๆ ไม่ต้องมีความกังวลหรือต้องรับผิดชอบงานต่อเนื่อง และถึงแม้ว่าจะต้อง “ให้บริการ” คนอื่น แต่ก็ดูเหมือนว่าคนรับบริการก็มักจะประพฤติปฏิบัติดีกว่าการรับบริการบนพื้นดิน
อาชีพพิธีกร ผู้ประกาศและนักแสดงในสื่อต่าง ๆ ก็มักจะเป็นอาชีพที่คนทำมีความสุขและมีรายได้ดี จริงอยู่ ไม่ใช่ว่าทุกคนมีความสามารถที่จะทำได้ แต่การฝึกฝนก็ทำได้ไม่ยากเหมือนกับการเป็นวิศวกรหรือวาณิชธนกิจ อาชีพพิธีกรนี้ก็เช่นเดียวกับอาชีพในฝันอื่น ๆ ที่เมื่องานจบแล้วความเครียดก็จบ ไม่ต้องเก็บกลับบ้านไปคิดหรือกังวลอีกต่อไป จริงอยู่ การเป็นนักแสดงก็อาจจะต้องมีการท่องบท แต่ก็เป็นเรื่องที่จะติดอยู่ในสมองในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่น่าจะทำให้ “นอนไม่หลับ” เหมือนงานอื่นในบางอาชีพ
สุดท้ายที่จะพูดถึงและน่าจะเป็น อาชีพในฝันสำหรับคนจำนวนไม่น้อยก็คือ “นักลงทุน” โดยเฉพาะในตลาดหุ้น และสิ่งที่ผมจะเน้นก็คือ เป็น “นักลงทุนระยะยาวแบบ VI” ในแบบของวอเร็น บัฟเฟตต์ และตัวผมเอง ซึ่งก็ยึดถือแบบอย่างของบัฟเฟตต์ โดยที่ความแตกต่างอาจจะมีอยู่บ้างในแง่ที่ว่าบัฟเฟตต์ยังต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นของเบิร์กไชร์จำนวนมาก แต่ผมเองนั้นรับผิดชอบเฉพาะคนในครอบครัว
การเป็นนักลงทุนส่วนบุคคลระยะยาวแบบ VI นั้น เป็นการลงทุนที่มีความสุขด้วยเหตุผลมากมาย แต่จะมีความสุขจริงๆ ในระยะยาวได้จะต้องมีเงื่อนไขว่าเรา “ประสบความสำเร็จ” จนกระทั่ง “มีอิสรภาพทางการเงิน” แล้ว ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เราอาจจะต้องมีเงินเริ่มต้นมากพอที่จะไม่ต้องทำงานอย่างอื่นแต่ก็มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งนั่นก็คือ เราจะต้องมีเงินต้นอย่างน้อย 200 เท่า ของรายจ่ายประจำเดือน เราถึงจะยึดอาชีพเป็นนักลงทุนระยะยาวแบบ VI ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีค่าใช้จ่ายเดือนละ 50,000 บาท เราจะต้องมีเงินต้นถึง 10 ล้านบาท ก่อนที่จะคิดเป็น “นักลงทุนอาชีพ”
ถ้ายังมีไม่ถึง เราจะต้องหาเงินให้ถึง อาจโดยการทำงานประจำอย่างอื่นและมีอาชีพหรืองานเสริมเป็นนักลงทุนสมัครเล่นไปก่อน และถ้าอยากทำงานอย่างมีความสุขก็อาจจะเลือกงานในฝันอย่างอื่นไปก่อน เช่น อาจจะเป็นนักบินหรือแอร์โฮสเตสที่มีรายได้ดีและเก็บเงินให้มากพอแล้วจึงเปลี่ยนมาเป็น VI เต็มตัว เป็นต้น
อาชีพนักลงทุนระยะยาวแบบ VI นั้น ข้อดีก็คือ เราเป็นเจ้านายตนเอง มีอิสระเสรีในการทำอะไรก็ได้ที่เราชอบ ไม่มีเวลาทำงานตายตัว ไม่ต้องเฝ้าหน้าจอหุ้น ว่าที่จริงไม่ว่าเราจะอยู่แห่งไหนของโลก เราก็ซื้อขายหุ้นได้ แต่จริงๆ เราก็ไม่จำเป็นที่จะทำงานตอนตลาดหุ้นเปิด เพราะส่วนใหญ่แล้วเราจะซื้อขายหุ้นน้อยมาก ปีหนึ่งก็ทำไม่กี่ครั้ง แต่เราก็ทำงานทุกวันโดยการศึกษาข้อมูลทั้งในหนังสือและในชีวิตจริง
ข้อเสียของอาชีพ VI ข้อหนึ่งนั้นก็คือ การที่เราจะไม่มี “หัวโขน” ในสังคม เราจะไม่มีสถานะอะไรที่คนทั่วไปจะยกย่องนับถือโดยเฉพาะในสังคมไทยที่ยังอนุรักษ์นิยมและคนคุ้นชินกับตำแหน่งหน้าที่ที่เป็น “ทางการ” และ “อำนาจตามวัฒนธรรมและประเพณี” มากกว่าความสามารถและผลงานที่คนๆ นั้นมอบให้แก่สังคม
จริงอยู่ว่าในภาวะปัจจุบัน นักธุรกิจและเจ้าของกิจการธุรกิจที่ “ร่ำรวย” ก็เป็น “Class” หรือ “ชนชั้นทางสังคม” ที่กำลังได้รับการชื่นชมยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ เทียบเคียงกับคนในกลุ่มที่มี “หัวโขน” แล้ว แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังห่างชั้นจาก “เจ้าของธุรกิจ” มาก แม้ว่า “VI” โดยเนื้อแท้แล้วก็เป็นเจ้าของธุรกิจเช่นเดียวกัน เพียงแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของส่วนใหญ่เท่านั้น
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1085464
ในมุมมองของผมที่เป็น “นักลงทุนอาชีพ” หรือคนที่ทำงานหลักเป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มาหลายสิบปี และก่อนหน้านั้นก็ทำงานเป็นวิศวกรในโรงงาน เป็นพนักงานด้านการวางแผนและบริหารเงินของกิจการให้บริการเงินกู้และเงินร่วมทุนขนาดใหญ่ และต่อมาก็ทำงานในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ให้บริการเป็นที่ปรึกษาและระดมเงินให้กับบริษัทต่างๆ ทั้งที่เป็นบริษัทเอกชนและบริษัทในตลาดหุ้น ผมก็รู้สึกว่า งานแต่ละอาชีพนั้นมีลักษณะและคุณสมบัติไม่เหมือนกัน เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ มีความสุขและความทุกข์ไม่เท่ากัน เช่นเดียวกับที่มีรายได้ที่แตกต่างกัน
เมื่อคิดย้อนกลับไป ถ้าผมรู้ว่าเราควรจะเลือกก่อนว่าอาชีพไหนที่จะให้ความสุขมากกว่าและได้เงินดีกว่า สำหรับคนที่มีคุณสมบัติแบบที่ผมเป็น ผมก็คงจะไม่ทำงานแบบนั้นทั้งหมด ผมคงจะพยายามหา “อาชีพในฝัน” ทำแล้วมีความสุข และได้เงินมากๆ ตั้งแต่แรก ไม่มาเริ่มทำเมื่ออายุกว่า 40 ปี ที่ผม “บังเอิญ” ต้องมาเป็น “นักลงทุนอาชีพ” หลังจากที่ต้องตกงานในวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 และก็พบว่า อาชีพนักลงทุนนั้นก็คือ “อาชีพในฝัน” ที่ทำแล้วมีความสุข อยากทำทุกวัน เหมือนกับที่วอเร็น บัฟเฟตต์พูดว่า เขาแทบจะ “เต้นแท็ปไปทำงาน” ทุกวัน
.แต่สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว การลงทุนก็อาจจะไม่ใช่ “อาชีพในฝัน” ที่ทำแล้วมีความสุขและได้เงินมาก เพราะการทำอาชีพอะไรก็ตาม มันก็จะต้องเหมาะกับคุณสมบัติและนิสัยและความชอบของแต่ละคนด้วย อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของผม งานหรืออาชีพที่ผมคิดว่าน่าจะมีความสุขหรือมีทุกข์น้อยกว่า และคนไม่ต้องมี IQ สูงก็ทำได้ น่าจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
ข้อแรกก็คือ มันต้องเป็นงานที่ “มีความหมาย” หรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือคนอื่น และอย่างน้อยก็ให้ผลตอบแทนที่ดีพอต่อการใช้ชีวิตของเรา นอกจากนั้นสถานที่ทำงานก็ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดี ไม่มีมลพิษที่กระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเรา นี่ก็เป็นเรื่องพื้นฐานเบื้องต้น ซึ่งคิดดูแล้ว สมัยที่ผมเป็นวิศวกรเมื่อเกือบ 50 ปี มันไม่ผ่าน
ข้อต่อมาก็คือ งานต้องเหมาะกับนิสัยและความสามารถของเรา ซึ่งจะช่วยให้เรามีโอกาสประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งโอกาสก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในงานก็คือสิ่งที่จะก่อให้เกิดความสุข และเงินที่จะได้มากขึ้น
ความสุขในอาชีพและการทำงานที่สำคัญมากอย่างหนึ่งก็คือการที่เราจะไม่เครียดหรือมีความกังวลที่มากเกินไปที่มักจะเกิดจากการที่ไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย และถ้าเป้าหมายนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเกินไป อาจจะเป็นเพราะผู้บังคับบัญชามีความเข้มงวดตั้งเป้าหมายสูงเกินไป และ/หรือบริษัทหรือเราไม่ได้มีความได้เปรียบในการแข่งขันเทียบกับคู่แข่ง เราก็จะเครียด กังวล และไม่มีความสุขในการทำงาน หรือถ้าพูดแบบง่ายๆ ก็คือ การถูกวัดผลงานแบบเข้มข้นและโดยผู้บังคับบัญชานั้น เป็นสิ่งที่ทำให้การทำงานมีความสุขน้อยลงมาก
อาชีพที่ทำแล้วมีความสุขก็คือความเป็นอิสระและ/หรือความยืดหยุ่น ซึ่งนี่ก็รวมถึงความเป็นอิสระที่จะสามารถทำงานตามเวลาที่สะดวกของเรา การมีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ และการที่สามารถที่จะได้ผลตอบแทนตามผลงานที่ยุติธรรม เช่น ทำดีหรือทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย เป็นต้น
เพื่อนร่วมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้อาชีพนั้นก่อให้เกิดความสุขหรือความทุกข์มากกว่ากัน อาชีพบางอย่างอาจจะมีการแข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีมากกว่าอาชีพอื่น ดังนั้น เพื่อนร่วมงานก็มักจะเป็นแหล่งที่จะทำให้มีความสุขหรือความทุกข์ที่สำคัญ ในหลายอาชีพนั้น เพื่อนร่วมงานมักจะต้องช่วยกันมากกว่าแข่งขัน บางอาชีพก็เป็นแบบต่างคนต่างทำหน้าที่ ซึ่งก็จะทำให้มีความสุขมากกว่าสำหรับการทำงาน
อาชีพบางอย่างนั้น มีลักษณะที่ก่อให้เกิดความสุขและหลีกเลี่ยงความทุกข์หลายข้อดังที่กล่าวถึง นอกจากนั้นก็ยังให้ผลตอบแทนเป็นตัวเงินที่ดีพอ ดังนั้น ก็จะเป็น “อาชีพในฝัน” สำหรับคนที่อยากทำงานอย่างมีความสุข ตัวอย่างก็น่าจะรวมถึงอาชีพต่อไปนี้ ซึ่งผมเองก็สังเกตพบว่าคนที่ทำก็มักจะมีความสุขและก็ไม่ค่อยที่จะเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนอาชีพบ่อย
กลุ่มแรกก็คือ อาชีพครูอาจารย์และผู้สอนในสาขาวิชาต่าง ๆ เพราะนี่คืออาชีพที่ค่อนข้างอิสระและมีคนนับหน้าถือตา ไม่มีใครมาประเมินผลงานอะไรมากนัก และรายได้นั้นแม้ว่าจะไม่สูงหรือเติบโตมากนัก แต่การหารายได้เพิ่มจากการเป็นครูพิเศษก็ดูเหมือนว่าจะดีทีเดียวเมื่อเทียบกับรายได้จากอาชีพอื่น ว่าที่จริงในปัจจุบันนั้น คนที่มีทักษะหรือความสามารถบางอย่างสามารถที่จะยึดอาชีพเสริมเป็นครูพิเศษหรือติวเตอร์ได้ไม่ยาก เพราะเด็กหรือคนรุ่นใหม่ต่างก็พร้อมจ่ายเงินเรียนรู้ทักษะสารพัดรวมถึงการทำศิลปะ ทำอาหาร เล่นกีฬา และฝึกภาษา เป็นต้น
อาชีพพนักงานบริการบนเครื่องบินเช่น แอร์โฮสเตสหรือนักบิน นี่ก็เป็นอาชีพที่คนทำมักจะมีความสุข อาจจะเนื่องจากได้ท่องเที่ยวด้วย รายได้ดี การทำงานเมื่อทำแล้วเสร็จก็จบเป็นเที่ยว ๆ ไม่ต้องมีความกังวลหรือต้องรับผิดชอบงานต่อเนื่อง และถึงแม้ว่าจะต้อง “ให้บริการ” คนอื่น แต่ก็ดูเหมือนว่าคนรับบริการก็มักจะประพฤติปฏิบัติดีกว่าการรับบริการบนพื้นดิน
อาชีพพิธีกร ผู้ประกาศและนักแสดงในสื่อต่าง ๆ ก็มักจะเป็นอาชีพที่คนทำมีความสุขและมีรายได้ดี จริงอยู่ ไม่ใช่ว่าทุกคนมีความสามารถที่จะทำได้ แต่การฝึกฝนก็ทำได้ไม่ยากเหมือนกับการเป็นวิศวกรหรือวาณิชธนกิจ อาชีพพิธีกรนี้ก็เช่นเดียวกับอาชีพในฝันอื่น ๆ ที่เมื่องานจบแล้วความเครียดก็จบ ไม่ต้องเก็บกลับบ้านไปคิดหรือกังวลอีกต่อไป จริงอยู่ การเป็นนักแสดงก็อาจจะต้องมีการท่องบท แต่ก็เป็นเรื่องที่จะติดอยู่ในสมองในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่น่าจะทำให้ “นอนไม่หลับ” เหมือนงานอื่นในบางอาชีพ
สุดท้ายที่จะพูดถึงและน่าจะเป็น อาชีพในฝันสำหรับคนจำนวนไม่น้อยก็คือ “นักลงทุน” โดยเฉพาะในตลาดหุ้น และสิ่งที่ผมจะเน้นก็คือ เป็น “นักลงทุนระยะยาวแบบ VI” ในแบบของวอเร็น บัฟเฟตต์ และตัวผมเอง ซึ่งก็ยึดถือแบบอย่างของบัฟเฟตต์ โดยที่ความแตกต่างอาจจะมีอยู่บ้างในแง่ที่ว่าบัฟเฟตต์ยังต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นของเบิร์กไชร์จำนวนมาก แต่ผมเองนั้นรับผิดชอบเฉพาะคนในครอบครัว
การเป็นนักลงทุนส่วนบุคคลระยะยาวแบบ VI นั้น เป็นการลงทุนที่มีความสุขด้วยเหตุผลมากมาย แต่จะมีความสุขจริงๆ ในระยะยาวได้จะต้องมีเงื่อนไขว่าเรา “ประสบความสำเร็จ” จนกระทั่ง “มีอิสรภาพทางการเงิน” แล้ว ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เราอาจจะต้องมีเงินเริ่มต้นมากพอที่จะไม่ต้องทำงานอย่างอื่นแต่ก็มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งนั่นก็คือ เราจะต้องมีเงินต้นอย่างน้อย 200 เท่า ของรายจ่ายประจำเดือน เราถึงจะยึดอาชีพเป็นนักลงทุนระยะยาวแบบ VI ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีค่าใช้จ่ายเดือนละ 50,000 บาท เราจะต้องมีเงินต้นถึง 10 ล้านบาท ก่อนที่จะคิดเป็น “นักลงทุนอาชีพ”
ถ้ายังมีไม่ถึง เราจะต้องหาเงินให้ถึง อาจโดยการทำงานประจำอย่างอื่นและมีอาชีพหรืองานเสริมเป็นนักลงทุนสมัครเล่นไปก่อน และถ้าอยากทำงานอย่างมีความสุขก็อาจจะเลือกงานในฝันอย่างอื่นไปก่อน เช่น อาจจะเป็นนักบินหรือแอร์โฮสเตสที่มีรายได้ดีและเก็บเงินให้มากพอแล้วจึงเปลี่ยนมาเป็น VI เต็มตัว เป็นต้น
อาชีพนักลงทุนระยะยาวแบบ VI นั้น ข้อดีก็คือ เราเป็นเจ้านายตนเอง มีอิสระเสรีในการทำอะไรก็ได้ที่เราชอบ ไม่มีเวลาทำงานตายตัว ไม่ต้องเฝ้าหน้าจอหุ้น ว่าที่จริงไม่ว่าเราจะอยู่แห่งไหนของโลก เราก็ซื้อขายหุ้นได้ แต่จริงๆ เราก็ไม่จำเป็นที่จะทำงานตอนตลาดหุ้นเปิด เพราะส่วนใหญ่แล้วเราจะซื้อขายหุ้นน้อยมาก ปีหนึ่งก็ทำไม่กี่ครั้ง แต่เราก็ทำงานทุกวันโดยการศึกษาข้อมูลทั้งในหนังสือและในชีวิตจริง
ข้อเสียของอาชีพ VI ข้อหนึ่งนั้นก็คือ การที่เราจะไม่มี “หัวโขน” ในสังคม เราจะไม่มีสถานะอะไรที่คนทั่วไปจะยกย่องนับถือโดยเฉพาะในสังคมไทยที่ยังอนุรักษ์นิยมและคนคุ้นชินกับตำแหน่งหน้าที่ที่เป็น “ทางการ” และ “อำนาจตามวัฒนธรรมและประเพณี” มากกว่าความสามารถและผลงานที่คนๆ นั้นมอบให้แก่สังคม
จริงอยู่ว่าในภาวะปัจจุบัน นักธุรกิจและเจ้าของกิจการธุรกิจที่ “ร่ำรวย” ก็เป็น “Class” หรือ “ชนชั้นทางสังคม” ที่กำลังได้รับการชื่นชมยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ เทียบเคียงกับคนในกลุ่มที่มี “หัวโขน” แล้ว แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังห่างชั้นจาก “เจ้าของธุรกิจ” มาก แม้ว่า “VI” โดยเนื้อแท้แล้วก็เป็นเจ้าของธุรกิจเช่นเดียวกัน เพียงแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของส่วนใหญ่เท่านั้น
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1085464
Last edited by thanonlongtun_p on Mon Sep 04, 2023 11:10 am, edited 1 time in total.
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
ศิลปะการโกง VI By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 02 ก.ย. 2566
การโกงหรือฉ้อฉลในตลาดหุ้นนั้น เป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่ “VI” หรือนักลงทุนทั่วไปเองต้องระมัดระวังไม่ให้ “ถูกโกง” เพราะความเสียหายนั้นมักจะรุนแรงมาก บางครั้งก็เป็น “หายนะ” เพราะราคาหุ้นอาจจะตกลงมาเกิน 30-40% ขึ้นไป
บางตัวหุ้นอาจจะกลายเป็น 0 เพราะบริษัท “ล้มละลาย” เนื่องจาก “ถูกจับ” ได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว คนก็มักจะไม่รู้ว่าตนเอง “ถูกโกง” โดยคนโกงที่วางแผนการโกงอย่างแนบเนียนจนคนอื่นไม่รู้และไม่มีใครสนใจที่จะตรวจสอบ
การโกงอย่างแนบเนียนและมีศิลปะนั้น หลักการใหญ่ที่สำคัญก็คือ ต้องโกงคนจำนวนมากโดยที่แต่ละคนจะถูกโกงหรือเสียหายไม่มากพอที่จะฟ้องศาลหรือหน่วยงานอื่นที่จะเอาเงินคืน และนั่นก็คือ นักลงทุน หรือคนเล่นหุ้นที่มักจะเสียเงิน หรือได้เงินจำนวนหนึ่งอยู่แล้วเป็นประจำในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
ข้อสองก็คือ จะต้องพยายามทำให้คนถูกโกงไม่รู้ว่าตนเองถูกโกง แต่คิดว่าเป็นความผิดพลาดในการวิเคราะห์และประเมินมูลค่าของหุ้น ที่ดียิ่งกว่าก็คือคิดว่าสถานการณ์แวดล้อมทางเศรษฐกิจและธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปทำให้หุ้นที่ซื้อขาดทุนอย่างหนัก
สุดท้ายก็คือ การโกงนั้นทำได้ง่ายและมักไม่มีคนสงสัย และดังนั้นก็จะไม่มีคนมาจับ หรือถึงจะพยายามจับก็หาหลักฐานยากเพราะอาจจะอยู่ต่างประเทศ หรือถึงเจอก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการโกงอย่างชัดเจน
ทั้งหมดนั้น ก็นำไปสู่การโกงโดยการ “ปั่นหุ้น” ที่ “ดี” ในตลาดหลักทรัพย์ โดยหุ้นที่ “ดี” ดังกล่าวนั้น ก็จะเป็นหุ้นที่เล่นกันในหมู่นักลงทุน “VI ระดับเซียน” อาจจะเพราะว่ามันเป็นหุ้นที่ดีมากในสายตาของ VI ที่วิเคราะห์ดูพื้นฐานของกิจการและข้อมูลผลประกอบการที่ “ดียอดเยี่ยมและเติบโตอย่างน่าทึ่ง” โดยที่ข้อมูลทั้งหมดนั้น อาจจะไม่ใช่ของจริง บริษัทอาจจะเป็นแค่บริษัทที่ดีพอใช้ในอุตสาหกรรมที่โอเค หรือมีอนาคต หรืออาจจะเป็นบริษัทธรรมดาๆ หรือแม้แต่แย่กว่าค่าเฉลี่ยแต่ถูก “แต่ง” ข้อมูลและตัวเลขผลประกอบการจนเลิศเลอเพื่อที่จะ “หลอก VI” ที่ไม่สงสัยเลยเพราะกำลังตื่นเต้นกับบริษัทที่จะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ในอุตสาหกรรม “แห่งอนาคต” ของไทยหรือของโลก
กระบวนการโกงที่สำคัญเริ่มตั้งแต่การเป็นหุ้นหรือเลือกหุ้นของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ถูก Disrupt หรือทำลายโดยเทคโนโลยีใหม่ เป็นอุตสาหกรรมที่ไปได้เรื่อยๆ และยังเติบโตได้โดยเฉพาะบริษัทที่เก่งหรือเหนือกว่าคนอื่น หรือถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีก เป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีเสียเอง และไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผู้บริหารก็จะต้องมีหรือสร้างภาพว่าเป็น “สุดยอด” ในด้านการบริหารและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และเป็นคนที่มีความสามารถในการประชาสัมพันธ์กิจการของบริษัท
กระบวนการที่น่าจะเรียกได้ว่า “โกง” จริงๆ ก็คือ การเพิ่มรายได้และ/หรือ ลดค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มกำไรให้กับบริษัท โดยที่ไม่ได้มาจากผลการปฏิบัติงานจริง หรือบางอย่างก็มาจากผลการปฏิบัติจริง แต่ลงบัญชีในแบบที่เรียกว่ารับรู้รายได้เร็วและรับรู้รายจ่ายช้า ซึ่งก็ทำให้กำไรในตอนต้นสูงมาก แต่กำไรในภายหลังจะลดลงอย่างแรง ซึ่งก็มักจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของกินเงินนักลงทุนจบแล้ว ประเด็นก็คือ วิธีการลงบัญชีแบบนี้จะต้องไม่ผิดหลักการบัญชีมาตรฐานแต่เป็นเรื่องของความเห็นของฝ่ายจัดการของบริษัท
ตัวอย่างอาจจะรวมถึงการลงบัญชีรับรู้รายได้ของการขายสินค้าบริการทั้งก้อนแต่การให้บริการจะทยอยให้ต่อเนื่องเป็นปีหรือหลายปี หรือในกรณีของค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนก็เช่น การไม่ตัดสำรองค่าสินค้าเสื่อมคุณภาพหรือล้าสมัยทันที หรือการสำรองหนี้เสียของสถาบันการเงินที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เป็นต้น
วิธีการเพิ่มรายได้อย่างรวดเร็วอีกทางหนึ่งก็คือการขายสินค้าให้กับบริษัทที่เป็นนอมินีของเจ้าของที่อาจจะอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศซึ่งจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทันที แต่สินค้านั้นอาจจะไปอยู่ในโกดังและจะต้องใช้เวลาขายจริงยาวนานกว่านั้นมาก ลักษณะนี้ก็จะมีจุดที่เป็นข้อสังเกตสำหรับ VI ที่วิเคราะห์หุ้นแบบเข้มข้นที่จะมองเห็นว่าลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ประเด็นแบบนี้ก็มักจะไม่ทำให้เรื่องราวของการเติบโตและทำกำไรของบริษัทด้อยลง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การขายสินค้าล็อตใหญ่ให้กับนอมินีโดยที่แทบไม่มีต้นทุนในการขายและการบริหารของบริษัทเพิ่มขึ้น ก็มักจะทำให้รายได้และกำไรก้าวกระโดดขึ้นด้วย เพราะกำไรต่อยอดขายหรือมาร์จินดีจะดีขึ้น
การลดค่าใช้จ่ายโดยการลดต้นทุนการผลิตสินค้าของบริษัทนั้น ก็สามารถทำได้แบบเดียวกันนั่นก็คือ บริษัทที่เป็นนอมินีของเจ้าของจะมาเป็น Supplier หรือผู้ป้อนวัตถุดิบที่สำคัญบางอย่างให้กับบริษัทแทน Supplier เดิมด้วยราคาที่ต่ำลง ผลก็คือ กำไรของบริษัทก็เพิ่มขึ้น มาร์จินหรือกำไรขั้นต้นและกำไรต่อยอดขายที่เห็นก็จะเพิ่มขึ้น เหนือกว่าบริษัทคู่แข่งอื่นๆ บริษัทดูดีขึ้นและถูกลงความเห็นว่าเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ราคาหุ้นก็จะวิ่งและสูงขึ้นเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ในกรณีแบบนี้ เจ้าของอาจจะต้องยอม “เสียเงิน” ซื้อของแพงแต่ขายถูกให้บริษัท แต่สุดท้ายก็จะได้เงินจากราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นสูงกว่าที่ลงทุนไปมาก
การ “ใส่เงิน” ให้บริษัทโดยการซื้อของบริษัทในราคาแพงและขายของหรือวัตถุดิบราคาถูกซึ่งจะทำให้บริษัทมีกำไรสูงและเร็วกว่าปกตินั้น มีความคุ้มค่ามากเพราะการทำอย่างนั้นจะทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะในธุรกิจที่โดยธรรมชาติมีกำไรขั้นต้นสูง เช่น สินค้า “ฟุ่มเฟือย” หรือ “อาหารและเครื่องดื่ม” เป็นต้น ที่บางที ใส่เงินเข้าไป100 ล้านบาท จะทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น 70-80 ล้านบาท เป็นต้น
และกำไรที่เพิ่มขึ้น 70-80 ล้านบาทนั้น ถ้าหุ้นซึ่งถูกมองว่าเป็นซุปเปอร์สต็อก มีค่า P/E ที่ 100 เท่า มันก็จะทำให้มูลค่าหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้น 7,000-8,000 ล้านบาท เจ้าของที่มีหุ้น 70% ก็จะมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 4,900- 5,600 ล้านบาท หรือเท่ากับว่าเจ้าของกำไรประมาณ 49-56 เท่าของเงินที่ใส่เข้าไปเพื่อสร้างผลงานทำกำไรของบริษัท
ซึ่งสิ่งที่เจ้าของจะทำก็คือ เขาก็จะทยอยขายหุ้นล็อตใหญ่ออกไป โดยส่วนใหญ่ก็คือจะขายให้กับสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ที่ต่างก็อยากได้หุ้นที่อยู่ในเมกะเทรนด์ เป็นบริษัทที่มีผู้บริหารที่สุดยอดและกลยุทธ์ที่สุดเยี่ยม สามารถบริหารทำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วและราคาและมูลค่าหุ้นพุ่งติดจรวด ทำให้กองทุนมีผลงานดีกว่าตลาดมาแล้วพักหนึ่ง และจะดีขึ้นต่อไปในอนาคต—ก่อนที่จะพบว่าหุ้นเริ่มมีปัญหาหลังจากนั้นไม่นานเมื่อเจ้าของเหลือหุ้นน้อยลงมาก และรายได้และกำไรของบริษัทก็เริ่มลดลงพร้อมๆ กับปัญหาสารพัด หุ้นตกลงมาอย่างต่อเนื่องแทบจะไม่เหลือค่าและในที่สุดคนก็อาจจะลืมไปแล้วว่าครั้งหนึ่งมันเคยเป็น “หุ้นนางฟ้า” ที่มูลค่าหุ้นเคยไปแตะหรือเข้าใกล้ “แสนล้านบาท”
เรื่องราวที่ผมพูดทั้งหมดนั้น ไม่ได้เกิดเฉพาะในตลาดหุ้นไทย ว่าที่จริงในตลาดที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐก็เกิดขึ้นมาตลอด จับได้บ้างจับไม่ได้บ้างแต่ก็ทำความเสียหายหนักให้กับนักลงทุนที่ “เชี่ยวชาญมาก” ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ในจีนเองนั้น “VI ระดับเซียน” ของไทยหลายคนก็เคยถูกโกงมาแล้วด้วยข้อมูลและเรื่องราวที่ “ออกแบบมา” เพื่อ “กิน VI” โดยเฉพาะ ดังนั้น อย่า “ใสซื่อ” เวลาวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัวว่ามัน “So Good” จนยอมทุ่มเทซื้อไม่ว่าราคาจะแพงแค่ไหน
ข้อมูลที่ผมคิดว่าจะช่วยให้เราฉุกคิดว่ามันอาจจะ “Too Good to be True” หรือดีเกินที่จะเป็นจริงก็คือ อัตราการทำกำไรต่อยอดขาย ที่มันดีกว่าปกติของบริษัทในหลายๆ ปีที่ผ่านมาและดีกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมมากทั้งๆ ที่คุณภาพของบริษัทไม่ได้ดีสุดยอดและอาจจะพอๆ กับค่าเฉลี่ยโดยที่เราไม่ได้ “ลำเอียง” จะเป็นสิ่งที่เตือนว่ามันอาจจะมีการตกแต่งเพื่อมากินเงินของนักลงทุนรวมถึง VI ที่มักจะถูกครอบงำหรือหมกมุ่นกับการเติบโตของกำไรของกิจการมากเกินไป
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1086611
การโกงหรือฉ้อฉลในตลาดหุ้นนั้น เป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่ “VI” หรือนักลงทุนทั่วไปเองต้องระมัดระวังไม่ให้ “ถูกโกง” เพราะความเสียหายนั้นมักจะรุนแรงมาก บางครั้งก็เป็น “หายนะ” เพราะราคาหุ้นอาจจะตกลงมาเกิน 30-40% ขึ้นไป
บางตัวหุ้นอาจจะกลายเป็น 0 เพราะบริษัท “ล้มละลาย” เนื่องจาก “ถูกจับ” ได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว คนก็มักจะไม่รู้ว่าตนเอง “ถูกโกง” โดยคนโกงที่วางแผนการโกงอย่างแนบเนียนจนคนอื่นไม่รู้และไม่มีใครสนใจที่จะตรวจสอบ
การโกงอย่างแนบเนียนและมีศิลปะนั้น หลักการใหญ่ที่สำคัญก็คือ ต้องโกงคนจำนวนมากโดยที่แต่ละคนจะถูกโกงหรือเสียหายไม่มากพอที่จะฟ้องศาลหรือหน่วยงานอื่นที่จะเอาเงินคืน และนั่นก็คือ นักลงทุน หรือคนเล่นหุ้นที่มักจะเสียเงิน หรือได้เงินจำนวนหนึ่งอยู่แล้วเป็นประจำในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
ข้อสองก็คือ จะต้องพยายามทำให้คนถูกโกงไม่รู้ว่าตนเองถูกโกง แต่คิดว่าเป็นความผิดพลาดในการวิเคราะห์และประเมินมูลค่าของหุ้น ที่ดียิ่งกว่าก็คือคิดว่าสถานการณ์แวดล้อมทางเศรษฐกิจและธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปทำให้หุ้นที่ซื้อขาดทุนอย่างหนัก
สุดท้ายก็คือ การโกงนั้นทำได้ง่ายและมักไม่มีคนสงสัย และดังนั้นก็จะไม่มีคนมาจับ หรือถึงจะพยายามจับก็หาหลักฐานยากเพราะอาจจะอยู่ต่างประเทศ หรือถึงเจอก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการโกงอย่างชัดเจน
ทั้งหมดนั้น ก็นำไปสู่การโกงโดยการ “ปั่นหุ้น” ที่ “ดี” ในตลาดหลักทรัพย์ โดยหุ้นที่ “ดี” ดังกล่าวนั้น ก็จะเป็นหุ้นที่เล่นกันในหมู่นักลงทุน “VI ระดับเซียน” อาจจะเพราะว่ามันเป็นหุ้นที่ดีมากในสายตาของ VI ที่วิเคราะห์ดูพื้นฐานของกิจการและข้อมูลผลประกอบการที่ “ดียอดเยี่ยมและเติบโตอย่างน่าทึ่ง” โดยที่ข้อมูลทั้งหมดนั้น อาจจะไม่ใช่ของจริง บริษัทอาจจะเป็นแค่บริษัทที่ดีพอใช้ในอุตสาหกรรมที่โอเค หรือมีอนาคต หรืออาจจะเป็นบริษัทธรรมดาๆ หรือแม้แต่แย่กว่าค่าเฉลี่ยแต่ถูก “แต่ง” ข้อมูลและตัวเลขผลประกอบการจนเลิศเลอเพื่อที่จะ “หลอก VI” ที่ไม่สงสัยเลยเพราะกำลังตื่นเต้นกับบริษัทที่จะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ในอุตสาหกรรม “แห่งอนาคต” ของไทยหรือของโลก
กระบวนการโกงที่สำคัญเริ่มตั้งแต่การเป็นหุ้นหรือเลือกหุ้นของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ถูก Disrupt หรือทำลายโดยเทคโนโลยีใหม่ เป็นอุตสาหกรรมที่ไปได้เรื่อยๆ และยังเติบโตได้โดยเฉพาะบริษัทที่เก่งหรือเหนือกว่าคนอื่น หรือถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีก เป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีเสียเอง และไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผู้บริหารก็จะต้องมีหรือสร้างภาพว่าเป็น “สุดยอด” ในด้านการบริหารและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และเป็นคนที่มีความสามารถในการประชาสัมพันธ์กิจการของบริษัท
กระบวนการที่น่าจะเรียกได้ว่า “โกง” จริงๆ ก็คือ การเพิ่มรายได้และ/หรือ ลดค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มกำไรให้กับบริษัท โดยที่ไม่ได้มาจากผลการปฏิบัติงานจริง หรือบางอย่างก็มาจากผลการปฏิบัติจริง แต่ลงบัญชีในแบบที่เรียกว่ารับรู้รายได้เร็วและรับรู้รายจ่ายช้า ซึ่งก็ทำให้กำไรในตอนต้นสูงมาก แต่กำไรในภายหลังจะลดลงอย่างแรง ซึ่งก็มักจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของกินเงินนักลงทุนจบแล้ว ประเด็นก็คือ วิธีการลงบัญชีแบบนี้จะต้องไม่ผิดหลักการบัญชีมาตรฐานแต่เป็นเรื่องของความเห็นของฝ่ายจัดการของบริษัท
ตัวอย่างอาจจะรวมถึงการลงบัญชีรับรู้รายได้ของการขายสินค้าบริการทั้งก้อนแต่การให้บริการจะทยอยให้ต่อเนื่องเป็นปีหรือหลายปี หรือในกรณีของค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนก็เช่น การไม่ตัดสำรองค่าสินค้าเสื่อมคุณภาพหรือล้าสมัยทันที หรือการสำรองหนี้เสียของสถาบันการเงินที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เป็นต้น
วิธีการเพิ่มรายได้อย่างรวดเร็วอีกทางหนึ่งก็คือการขายสินค้าให้กับบริษัทที่เป็นนอมินีของเจ้าของที่อาจจะอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศซึ่งจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทันที แต่สินค้านั้นอาจจะไปอยู่ในโกดังและจะต้องใช้เวลาขายจริงยาวนานกว่านั้นมาก ลักษณะนี้ก็จะมีจุดที่เป็นข้อสังเกตสำหรับ VI ที่วิเคราะห์หุ้นแบบเข้มข้นที่จะมองเห็นว่าลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ประเด็นแบบนี้ก็มักจะไม่ทำให้เรื่องราวของการเติบโตและทำกำไรของบริษัทด้อยลง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การขายสินค้าล็อตใหญ่ให้กับนอมินีโดยที่แทบไม่มีต้นทุนในการขายและการบริหารของบริษัทเพิ่มขึ้น ก็มักจะทำให้รายได้และกำไรก้าวกระโดดขึ้นด้วย เพราะกำไรต่อยอดขายหรือมาร์จินดีจะดีขึ้น
การลดค่าใช้จ่ายโดยการลดต้นทุนการผลิตสินค้าของบริษัทนั้น ก็สามารถทำได้แบบเดียวกันนั่นก็คือ บริษัทที่เป็นนอมินีของเจ้าของจะมาเป็น Supplier หรือผู้ป้อนวัตถุดิบที่สำคัญบางอย่างให้กับบริษัทแทน Supplier เดิมด้วยราคาที่ต่ำลง ผลก็คือ กำไรของบริษัทก็เพิ่มขึ้น มาร์จินหรือกำไรขั้นต้นและกำไรต่อยอดขายที่เห็นก็จะเพิ่มขึ้น เหนือกว่าบริษัทคู่แข่งอื่นๆ บริษัทดูดีขึ้นและถูกลงความเห็นว่าเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ราคาหุ้นก็จะวิ่งและสูงขึ้นเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ในกรณีแบบนี้ เจ้าของอาจจะต้องยอม “เสียเงิน” ซื้อของแพงแต่ขายถูกให้บริษัท แต่สุดท้ายก็จะได้เงินจากราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นสูงกว่าที่ลงทุนไปมาก
การ “ใส่เงิน” ให้บริษัทโดยการซื้อของบริษัทในราคาแพงและขายของหรือวัตถุดิบราคาถูกซึ่งจะทำให้บริษัทมีกำไรสูงและเร็วกว่าปกตินั้น มีความคุ้มค่ามากเพราะการทำอย่างนั้นจะทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะในธุรกิจที่โดยธรรมชาติมีกำไรขั้นต้นสูง เช่น สินค้า “ฟุ่มเฟือย” หรือ “อาหารและเครื่องดื่ม” เป็นต้น ที่บางที ใส่เงินเข้าไป100 ล้านบาท จะทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น 70-80 ล้านบาท เป็นต้น
และกำไรที่เพิ่มขึ้น 70-80 ล้านบาทนั้น ถ้าหุ้นซึ่งถูกมองว่าเป็นซุปเปอร์สต็อก มีค่า P/E ที่ 100 เท่า มันก็จะทำให้มูลค่าหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้น 7,000-8,000 ล้านบาท เจ้าของที่มีหุ้น 70% ก็จะมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 4,900- 5,600 ล้านบาท หรือเท่ากับว่าเจ้าของกำไรประมาณ 49-56 เท่าของเงินที่ใส่เข้าไปเพื่อสร้างผลงานทำกำไรของบริษัท
ซึ่งสิ่งที่เจ้าของจะทำก็คือ เขาก็จะทยอยขายหุ้นล็อตใหญ่ออกไป โดยส่วนใหญ่ก็คือจะขายให้กับสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ที่ต่างก็อยากได้หุ้นที่อยู่ในเมกะเทรนด์ เป็นบริษัทที่มีผู้บริหารที่สุดยอดและกลยุทธ์ที่สุดเยี่ยม สามารถบริหารทำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วและราคาและมูลค่าหุ้นพุ่งติดจรวด ทำให้กองทุนมีผลงานดีกว่าตลาดมาแล้วพักหนึ่ง และจะดีขึ้นต่อไปในอนาคต—ก่อนที่จะพบว่าหุ้นเริ่มมีปัญหาหลังจากนั้นไม่นานเมื่อเจ้าของเหลือหุ้นน้อยลงมาก และรายได้และกำไรของบริษัทก็เริ่มลดลงพร้อมๆ กับปัญหาสารพัด หุ้นตกลงมาอย่างต่อเนื่องแทบจะไม่เหลือค่าและในที่สุดคนก็อาจจะลืมไปแล้วว่าครั้งหนึ่งมันเคยเป็น “หุ้นนางฟ้า” ที่มูลค่าหุ้นเคยไปแตะหรือเข้าใกล้ “แสนล้านบาท”
เรื่องราวที่ผมพูดทั้งหมดนั้น ไม่ได้เกิดเฉพาะในตลาดหุ้นไทย ว่าที่จริงในตลาดที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐก็เกิดขึ้นมาตลอด จับได้บ้างจับไม่ได้บ้างแต่ก็ทำความเสียหายหนักให้กับนักลงทุนที่ “เชี่ยวชาญมาก” ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ในจีนเองนั้น “VI ระดับเซียน” ของไทยหลายคนก็เคยถูกโกงมาแล้วด้วยข้อมูลและเรื่องราวที่ “ออกแบบมา” เพื่อ “กิน VI” โดยเฉพาะ ดังนั้น อย่า “ใสซื่อ” เวลาวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัวว่ามัน “So Good” จนยอมทุ่มเทซื้อไม่ว่าราคาจะแพงแค่ไหน
ข้อมูลที่ผมคิดว่าจะช่วยให้เราฉุกคิดว่ามันอาจจะ “Too Good to be True” หรือดีเกินที่จะเป็นจริงก็คือ อัตราการทำกำไรต่อยอดขาย ที่มันดีกว่าปกติของบริษัทในหลายๆ ปีที่ผ่านมาและดีกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมมากทั้งๆ ที่คุณภาพของบริษัทไม่ได้ดีสุดยอดและอาจจะพอๆ กับค่าเฉลี่ยโดยที่เราไม่ได้ “ลำเอียง” จะเป็นสิ่งที่เตือนว่ามันอาจจะมีการตกแต่งเพื่อมากินเงินของนักลงทุนรวมถึง VI ที่มักจะถูกครอบงำหรือหมกมุ่นกับการเติบโตของกำไรของกิจการมากเกินไป
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1086611
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
Macro Investing-สไตล์ VI By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR09 ก.ย. 2566
สมัยเริ่มเป็น VI ใหม่ๆ คือประมาณ 30 ปีมาแล้ว ผมเชื่อในหลักการลงทุนแบบที่เรียกว่า “Bottom Up” คือการลงทุนที่เน้นที่ตัวกิจการเป็นหลัก และไม่ได้สนใจเรื่องของภาพใหญ่หรือที่เรียกว่าภาพ “Macro” ที่บอกว่าเราควรต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ภาพของเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมก่อนว่าเอื้ออำนวยแค่ไหน
จากนั้นจึงมาดูตัวบริษัทว่าเราควรลงทุนหรือไม่ บางคนเรียกการมองหาหุ้นแบบนี้ว่า “Top Down” โดยที่แนวความคิดแบบนี้มาจากความเชื่อที่ว่า ถ้าภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไม่เอื้ออำนวย โอกาสที่บริษัทจะเจริญรุ่งเรืองก็จะยาก
แนวความคิดเรื่องการลงทุนโดยไม่ต้องสนใจภาวะเศรษฐกิจเลยนั้น VI จำนวนมาก รวมถึงผมด้วยในยุคบุกเบิกของการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ผมคิดว่าสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งมาจากหนังสือการลงทุนยอดนิยมของปีเตอร์ลินช์ 2 เล่มนั่นก็คือ “One Up on Wall Street” และ “Beating the Street” ซึ่งปีเตอร์ลินช์บอกว่าการเลือกหุ้นลงทุนของเขานั้น เขาแทบไม่อ่านและไม่สนใจเรื่องของการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจเลย เขาบอกว่ามันไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้น เราควรมองแต่เฉพาะตัวกิจการว่ามันจะเติบโตไปได้มากน้อยแค่ไหน ดูจากสินค้าและความนิยมของลูกค้าในท้องตลาด พูดง่าย ๆ ฟังจาก “ชาวบ้าน” ดีกว่าฟังนักเศรษฐศาสตร์
ถัดจากปีเตอร์ ลินช์ หนังสือที่เขียนเกี่ยวกับแนวคิดและการลงทุนของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็ตามมา ดูเหมือน ว่าบัฟเฟตต์เองนั้น ก็แทบไม่ได้ใส่ใจกับภาวะเศรษฐกิจหรือภาพใหญ่อะไรทั้งสิ้น จริงอยู่ บัฟเฟตต์พูดตลอดมาว่าเขา “เชื่อมั่นในสหรัฐ” และเตือนว่า “อย่ามาพนันตรงกันข้ามกับอเมริกา” เวลาพูดถึง “ภาพใหญ่” พูดง่ายๆ เศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐนั้น สุดยอด
แต่ในการลงทุนของบัฟเฟตต์เองนั้น เขาก็แทบจะไม่สนใจว่าเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลาจะเป็นอย่างไร เศรษฐกิจดี เขาก็ซื้อหุ้น เศรษฐกิจเลวร้าย เขาก็ยิ่งซื้อหุ้นมากขึ้น ว่าที่จริงเขาก็ซื้อหุ้นมาตลอดไม่ต่ำกว่า 70 ปีแล้ว ในขณะที่ขายหุ้นน้อยกว่ามาก เพราะเขาซื้อหุ้นแล้วเก็บยาว กลยุทธ์หลักก็คือ ซื้อแล้วถือ แทบจะไม่ขายเลย ยกเว้นว่าพื้นฐานของกิจการจะเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามหุ้นของ บัฟเฟตต์ส่วนใหญ่มากเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่มักจะไม่เปลี่ยนแปลง หุ้นอย่างโค๊กนั้น เขาถือมาตั้งแต่ 35 ปีที่แล้ว และโค๊กก็ไม่เคยเปลี่ยน ยังเป็นน้ำอัดลมที่ขายดีที่สุดในโลกที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันนี้
ผมเชื่อเรื่องการลงทุนแบบ Bottom Up มานานและก็ทำกำไรจากการลงทุนมาอย่างดีมากจนถึงช่วงเร็วๆ นี้ แต่แล้ว สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของไทยก็ดูเหมือนจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ประชากรของไทยก็เริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว ตลาดหุ้นสะท้อนภาพนั้นในช่วงประมาณ 8-9 ปีที่ผ่านมาโดยการที่ดัชนีตลาดหุ้นไม่ปรับตัวขึ้นเลย เช่นเดียวกับการเติบโตของผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตน้อยมาก นั่นทำให้ผมเริ่มคิดว่า “ภาพใหญ่” น่าจะมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า “ภาพเล็ก” ผมเปรียบเทียบว่า ประเทศก็เหมือนน้ำ บริษัทเหมือนปลา ถ้าน้ำไม่ดี ปลาก็มักจะอยู่ยาก ไม่ต้องพูดว่าจะแข็งแรงเติบโต
ผมเริ่มตระหนักว่า ภาพใหญ่นั้นน่าจะเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะภาพใหญ่ “ระยะยาว” ถึง “ยาวมาก” ที่เป็นช่วงระยะเวลาที่เราจะลงทุน “ตลอดชีวิต” ดังนั้น การวิเคราะห์ภาพการเติบโตระยะยาวทางเศรษฐกิจของประเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพราะถ้าเราไม่รู้หรือไม่ตระหนักและเน้นแต่การเลือกหุ้นที่ดี เป็นหุ้น “VI” ที่เก่งกว่าหุ้นอื่นและเอาชนะหุ้นอื่นได้ เราก็อาจจะพลาด ประการแรกก็คือ ถึงมันจะเป็นบริษัทที่ดีหรือดีมาก แต่มันก็อาจจะทำได้แค่ดีพอใช้ในสถานการณ์ที่เหมือนกับการ “ว่ายน้ำสวนกระแส” หรือประการที่สองก็คือ ต่อให้มันดีมาก แต่ตลาดอาจจะกำลังเล็กลง หุ้นก็คงไปไหนไม่ได้ไกล-ในระยะยาว
ผมคิดว่า การที่วอร์เรน บัฟเฟตต์และปีเตอร์ ลินช์ประสบความสำเร็จสูงมากทั้งๆที่ไม่ได้สนใจเรื่องเศรษฐกิจและสนใจแต่เรื่องของหุ้นนั้น เป็นเพราะเศรษฐกิจสหรัฐระยะยาวถึงยาวมากนั้น ดีและเติบโตมาตลอด ไม่ได้เหมือนกับประเทศพัฒนาแล้วอีกหลายๆ ประเทศที่รวมถึงญี่ปุ่นที่เมื่อโตถึงจุดหนึ่งก็เริ่มชะลอตัวและโตช้าลงมากหรือไม่โตเลยอย่างถาวร เหตุผลอาจจะเป็นเพราะว่าสหรัฐมีระบบการเมืองและการปกครองที่เน้นความเป็นทุนนิยม มีเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตยสูง และที่สำคัญก็คือ มีประชากรเพิ่มขึ้นตลอดเวลาเนื่องจากการอพยพของคนจากต่างประเทศทั่วโลก ดังนั้น จึงไม่จำเป็นที่เราจะต้องกังวลกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจสั้น ๆ ที่มีขึ้นและลงตลอดเวลา
VI ไทยนั้น “โชคดี” ที่กำเนิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยกำลังโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เป็น “ทศวรรษทอง” ของไทย เราไม่จำเป็นที่จะต้องคิดถึงภาวการณ์ทางเศรษฐกิจเลย แต่ถึงตอนนี้ผมคิดว่าเรากำลังอยู่ในช่วง “ถดถอยลงอย่างถาวร” ถ้าไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างถึงแก่น และถ้าทำไม่ได้ เราก็จะตกอยู่ในภาวะ “ทศวรรษที่หายไป” อีกหนึ่งทศวรรษหลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นนิ่งมา 10 ปีแล้ว
การวิเคราะห์เรื่องภาพใหญ่ของประเทศไทยในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา นำให้ผมย้ายการลงทุนบางส่วนสู่ตลาดหุ้นเวียดนามที่ผมมองว่ากำลังเข้าสู่ “ทศวรรษทองของเวียดนาม” ทั้งในทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้น แม้ว่าเวลานั้น แทบจะไม่มีคนรู้จักหรือสนใจที่จะไป เพราะมันเป็น “ตลาดชายขอบ” ที่ยังไม่มีอะไรพร้อมรวมถึงกฎระเบียบในการซื้อขายในตลาดหุ้น
ว่าที่จริง แม้แต่สภาพสถานะการเงินการคลังของประเทศก็ยังไม่เสถียร ค่าเงินตกลงมาเกิน 30% และทุนสำรองก็ยังต่ำมาก อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงจนแทบจะไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ทั้งหมดนั้นเป็น “ภาพเล็ก” ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปตาม “ภาพใหญ่” ของประเทศเวียดนามที่พร้อมจะเข้ามาเป็นผู้เล่นทางเศรษฐกิจ “ระดับโลก” ในระยะยาว
ปัจจัยในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของเวียดนามแทบทุกอย่าง อยู่ในระดับต้นๆ เปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ซึ่งก็ดึงดูดเม็ดเงินจากบริษัทชั้นนำทั่วโลกเข้ามาลงทุนโดยเฉพาะในการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งนั่นก็นำมาซึ่งการเติบโตของรายได้ของคนเวียตนามที่ก่อให้เกิดการบริโภคในประเทศที่เติบโตสูงยิ่งกว่า และนั่นก็นำมาสู่บริษัทขนาดใหญ่และบริษัทในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
การเลือกหุ้นเวียดนามของผมเองก็เน้นไปที่ “ภาพใหญ่” มากกว่าที่จะไปค้นหาหุ้นเป็นรายตัว เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพราะว่าผมไม่มีความสามารถและ/หรือมีแรงพอที่จะเข้าไปศึกษาและตรวจสอบรายละเอียดของหุ้นแต่ละตัวได้ ว่าที่จริง ผมเคยไปเวียดนามแค่ 2-3 ครั้งในรอบ 7-8 ปีที่ผ่านมา วิธีการที่ผมใช้ในการเลือกก็คือการดูว่าในอนาคต ไม่เกิน 10 ปีนับจากวันนี้ จะมีบริษัทในอุตสาหกรรมไหนที่จะรุ่งเรืองขึ้นมาก และบริษัทไหนน่าจะเป็น “ผู้ชนะ” และมันจะมีขนาดใหญ่แค่ไหนเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของเวียตนามในขณะนั้น ซึ่งผมก็มองว่าจะใหญ่กว่าประเทศไทยในวันนี้
ผมเลือกลงทุนในหุ้นค้าปลีกสมัยใหม่ที่ “โดดเด่นที่สุด” เลือกหุ้นห้างช้อปปิงมอลที่จะโตขึ้นมากตามความร่ำรวยของผู้คน เลือกหุ้นสนามบินที่เป็นเจ้าของสนามบินเกือบทั้งประเทศ เลือกหุ้นพลังงานไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งที่ใช้พลังงานถ่านหิน แก๊ซธรรมชาติ เขื่อน และพลังงานทางเลือก ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีกเป็นสิบๆ ปี เลือกหุ้นโรงพยาบาลเอกชนที่ยังเล็กมากและเพิ่งจะเกิดตามความมั่งคั่งของคน และเลือกหุ้นเทคโนโลยีดิจิทัลขนาดใหญ่ที่สุดที่เวียตนามมีและอาจจะเติบโตขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกได้ อานิสงค์จากความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ของคนเวียตนาม เป็นต้น
และทั้งหมดนั้นก็เป็นการลงทุนแบบ Macro ของผมในตลาดหุ้นเวียดนามโดยที่ตัดรายละเอียดของบริษัทไปมาก จริงอยู่ การศึกษารายละเอียดแบบ Bottom Up นั้นมีประโยชน์แน่นอน แต่ในกรณีของเวียดนามนั้น ผมคิดว่าส่วนใหญ่ อาจจะ 8-90% ผลก็จะออกมาว่าผมจะ “ได้หุ้นตัวเดียวกัน” โดยดูหรือวิเคราะห์หุ้นจากภาพใหญ่เป็นหลัก
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1087779
สมัยเริ่มเป็น VI ใหม่ๆ คือประมาณ 30 ปีมาแล้ว ผมเชื่อในหลักการลงทุนแบบที่เรียกว่า “Bottom Up” คือการลงทุนที่เน้นที่ตัวกิจการเป็นหลัก และไม่ได้สนใจเรื่องของภาพใหญ่หรือที่เรียกว่าภาพ “Macro” ที่บอกว่าเราควรต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ภาพของเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมก่อนว่าเอื้ออำนวยแค่ไหน
จากนั้นจึงมาดูตัวบริษัทว่าเราควรลงทุนหรือไม่ บางคนเรียกการมองหาหุ้นแบบนี้ว่า “Top Down” โดยที่แนวความคิดแบบนี้มาจากความเชื่อที่ว่า ถ้าภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไม่เอื้ออำนวย โอกาสที่บริษัทจะเจริญรุ่งเรืองก็จะยาก
แนวความคิดเรื่องการลงทุนโดยไม่ต้องสนใจภาวะเศรษฐกิจเลยนั้น VI จำนวนมาก รวมถึงผมด้วยในยุคบุกเบิกของการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ผมคิดว่าสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งมาจากหนังสือการลงทุนยอดนิยมของปีเตอร์ลินช์ 2 เล่มนั่นก็คือ “One Up on Wall Street” และ “Beating the Street” ซึ่งปีเตอร์ลินช์บอกว่าการเลือกหุ้นลงทุนของเขานั้น เขาแทบไม่อ่านและไม่สนใจเรื่องของการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจเลย เขาบอกว่ามันไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้น เราควรมองแต่เฉพาะตัวกิจการว่ามันจะเติบโตไปได้มากน้อยแค่ไหน ดูจากสินค้าและความนิยมของลูกค้าในท้องตลาด พูดง่าย ๆ ฟังจาก “ชาวบ้าน” ดีกว่าฟังนักเศรษฐศาสตร์
ถัดจากปีเตอร์ ลินช์ หนังสือที่เขียนเกี่ยวกับแนวคิดและการลงทุนของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็ตามมา ดูเหมือน ว่าบัฟเฟตต์เองนั้น ก็แทบไม่ได้ใส่ใจกับภาวะเศรษฐกิจหรือภาพใหญ่อะไรทั้งสิ้น จริงอยู่ บัฟเฟตต์พูดตลอดมาว่าเขา “เชื่อมั่นในสหรัฐ” และเตือนว่า “อย่ามาพนันตรงกันข้ามกับอเมริกา” เวลาพูดถึง “ภาพใหญ่” พูดง่ายๆ เศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐนั้น สุดยอด
แต่ในการลงทุนของบัฟเฟตต์เองนั้น เขาก็แทบจะไม่สนใจว่าเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลาจะเป็นอย่างไร เศรษฐกิจดี เขาก็ซื้อหุ้น เศรษฐกิจเลวร้าย เขาก็ยิ่งซื้อหุ้นมากขึ้น ว่าที่จริงเขาก็ซื้อหุ้นมาตลอดไม่ต่ำกว่า 70 ปีแล้ว ในขณะที่ขายหุ้นน้อยกว่ามาก เพราะเขาซื้อหุ้นแล้วเก็บยาว กลยุทธ์หลักก็คือ ซื้อแล้วถือ แทบจะไม่ขายเลย ยกเว้นว่าพื้นฐานของกิจการจะเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามหุ้นของ บัฟเฟตต์ส่วนใหญ่มากเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่มักจะไม่เปลี่ยนแปลง หุ้นอย่างโค๊กนั้น เขาถือมาตั้งแต่ 35 ปีที่แล้ว และโค๊กก็ไม่เคยเปลี่ยน ยังเป็นน้ำอัดลมที่ขายดีที่สุดในโลกที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันนี้
ผมเชื่อเรื่องการลงทุนแบบ Bottom Up มานานและก็ทำกำไรจากการลงทุนมาอย่างดีมากจนถึงช่วงเร็วๆ นี้ แต่แล้ว สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของไทยก็ดูเหมือนจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ประชากรของไทยก็เริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว ตลาดหุ้นสะท้อนภาพนั้นในช่วงประมาณ 8-9 ปีที่ผ่านมาโดยการที่ดัชนีตลาดหุ้นไม่ปรับตัวขึ้นเลย เช่นเดียวกับการเติบโตของผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตน้อยมาก นั่นทำให้ผมเริ่มคิดว่า “ภาพใหญ่” น่าจะมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า “ภาพเล็ก” ผมเปรียบเทียบว่า ประเทศก็เหมือนน้ำ บริษัทเหมือนปลา ถ้าน้ำไม่ดี ปลาก็มักจะอยู่ยาก ไม่ต้องพูดว่าจะแข็งแรงเติบโต
ผมเริ่มตระหนักว่า ภาพใหญ่นั้นน่าจะเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะภาพใหญ่ “ระยะยาว” ถึง “ยาวมาก” ที่เป็นช่วงระยะเวลาที่เราจะลงทุน “ตลอดชีวิต” ดังนั้น การวิเคราะห์ภาพการเติบโตระยะยาวทางเศรษฐกิจของประเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพราะถ้าเราไม่รู้หรือไม่ตระหนักและเน้นแต่การเลือกหุ้นที่ดี เป็นหุ้น “VI” ที่เก่งกว่าหุ้นอื่นและเอาชนะหุ้นอื่นได้ เราก็อาจจะพลาด ประการแรกก็คือ ถึงมันจะเป็นบริษัทที่ดีหรือดีมาก แต่มันก็อาจจะทำได้แค่ดีพอใช้ในสถานการณ์ที่เหมือนกับการ “ว่ายน้ำสวนกระแส” หรือประการที่สองก็คือ ต่อให้มันดีมาก แต่ตลาดอาจจะกำลังเล็กลง หุ้นก็คงไปไหนไม่ได้ไกล-ในระยะยาว
ผมคิดว่า การที่วอร์เรน บัฟเฟตต์และปีเตอร์ ลินช์ประสบความสำเร็จสูงมากทั้งๆที่ไม่ได้สนใจเรื่องเศรษฐกิจและสนใจแต่เรื่องของหุ้นนั้น เป็นเพราะเศรษฐกิจสหรัฐระยะยาวถึงยาวมากนั้น ดีและเติบโตมาตลอด ไม่ได้เหมือนกับประเทศพัฒนาแล้วอีกหลายๆ ประเทศที่รวมถึงญี่ปุ่นที่เมื่อโตถึงจุดหนึ่งก็เริ่มชะลอตัวและโตช้าลงมากหรือไม่โตเลยอย่างถาวร เหตุผลอาจจะเป็นเพราะว่าสหรัฐมีระบบการเมืองและการปกครองที่เน้นความเป็นทุนนิยม มีเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตยสูง และที่สำคัญก็คือ มีประชากรเพิ่มขึ้นตลอดเวลาเนื่องจากการอพยพของคนจากต่างประเทศทั่วโลก ดังนั้น จึงไม่จำเป็นที่เราจะต้องกังวลกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจสั้น ๆ ที่มีขึ้นและลงตลอดเวลา
VI ไทยนั้น “โชคดี” ที่กำเนิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยกำลังโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เป็น “ทศวรรษทอง” ของไทย เราไม่จำเป็นที่จะต้องคิดถึงภาวการณ์ทางเศรษฐกิจเลย แต่ถึงตอนนี้ผมคิดว่าเรากำลังอยู่ในช่วง “ถดถอยลงอย่างถาวร” ถ้าไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างถึงแก่น และถ้าทำไม่ได้ เราก็จะตกอยู่ในภาวะ “ทศวรรษที่หายไป” อีกหนึ่งทศวรรษหลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นนิ่งมา 10 ปีแล้ว
การวิเคราะห์เรื่องภาพใหญ่ของประเทศไทยในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา นำให้ผมย้ายการลงทุนบางส่วนสู่ตลาดหุ้นเวียดนามที่ผมมองว่ากำลังเข้าสู่ “ทศวรรษทองของเวียดนาม” ทั้งในทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้น แม้ว่าเวลานั้น แทบจะไม่มีคนรู้จักหรือสนใจที่จะไป เพราะมันเป็น “ตลาดชายขอบ” ที่ยังไม่มีอะไรพร้อมรวมถึงกฎระเบียบในการซื้อขายในตลาดหุ้น
ว่าที่จริง แม้แต่สภาพสถานะการเงินการคลังของประเทศก็ยังไม่เสถียร ค่าเงินตกลงมาเกิน 30% และทุนสำรองก็ยังต่ำมาก อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงจนแทบจะไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ทั้งหมดนั้นเป็น “ภาพเล็ก” ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปตาม “ภาพใหญ่” ของประเทศเวียดนามที่พร้อมจะเข้ามาเป็นผู้เล่นทางเศรษฐกิจ “ระดับโลก” ในระยะยาว
ปัจจัยในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของเวียดนามแทบทุกอย่าง อยู่ในระดับต้นๆ เปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ซึ่งก็ดึงดูดเม็ดเงินจากบริษัทชั้นนำทั่วโลกเข้ามาลงทุนโดยเฉพาะในการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งนั่นก็นำมาซึ่งการเติบโตของรายได้ของคนเวียตนามที่ก่อให้เกิดการบริโภคในประเทศที่เติบโตสูงยิ่งกว่า และนั่นก็นำมาสู่บริษัทขนาดใหญ่และบริษัทในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
การเลือกหุ้นเวียดนามของผมเองก็เน้นไปที่ “ภาพใหญ่” มากกว่าที่จะไปค้นหาหุ้นเป็นรายตัว เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพราะว่าผมไม่มีความสามารถและ/หรือมีแรงพอที่จะเข้าไปศึกษาและตรวจสอบรายละเอียดของหุ้นแต่ละตัวได้ ว่าที่จริง ผมเคยไปเวียดนามแค่ 2-3 ครั้งในรอบ 7-8 ปีที่ผ่านมา วิธีการที่ผมใช้ในการเลือกก็คือการดูว่าในอนาคต ไม่เกิน 10 ปีนับจากวันนี้ จะมีบริษัทในอุตสาหกรรมไหนที่จะรุ่งเรืองขึ้นมาก และบริษัทไหนน่าจะเป็น “ผู้ชนะ” และมันจะมีขนาดใหญ่แค่ไหนเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของเวียตนามในขณะนั้น ซึ่งผมก็มองว่าจะใหญ่กว่าประเทศไทยในวันนี้
ผมเลือกลงทุนในหุ้นค้าปลีกสมัยใหม่ที่ “โดดเด่นที่สุด” เลือกหุ้นห้างช้อปปิงมอลที่จะโตขึ้นมากตามความร่ำรวยของผู้คน เลือกหุ้นสนามบินที่เป็นเจ้าของสนามบินเกือบทั้งประเทศ เลือกหุ้นพลังงานไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งที่ใช้พลังงานถ่านหิน แก๊ซธรรมชาติ เขื่อน และพลังงานทางเลือก ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีกเป็นสิบๆ ปี เลือกหุ้นโรงพยาบาลเอกชนที่ยังเล็กมากและเพิ่งจะเกิดตามความมั่งคั่งของคน และเลือกหุ้นเทคโนโลยีดิจิทัลขนาดใหญ่ที่สุดที่เวียตนามมีและอาจจะเติบโตขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกได้ อานิสงค์จากความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ของคนเวียตนาม เป็นต้น
และทั้งหมดนั้นก็เป็นการลงทุนแบบ Macro ของผมในตลาดหุ้นเวียดนามโดยที่ตัดรายละเอียดของบริษัทไปมาก จริงอยู่ การศึกษารายละเอียดแบบ Bottom Up นั้นมีประโยชน์แน่นอน แต่ในกรณีของเวียดนามนั้น ผมคิดว่าส่วนใหญ่ อาจจะ 8-90% ผลก็จะออกมาว่าผมจะ “ได้หุ้นตัวเดียวกัน” โดยดูหรือวิเคราะห์หุ้นจากภาพใหญ่เป็นหลัก
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1087779
-
- Posts: 3145
- Joined: Mon Apr 17, 2023 1:05 pm
หลักคิดของนักเลือกหุ้นระดับเซียน By ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR 16 ก.ย. 2566
ผมเป็นคนที่ชอบอ่าน Quote หรือ “คำคม” ของคนที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะในเรื่องที่ผมสนใจ ผมคิดว่ามันให้ข้อคิดที่ดีและทำให้เราจำได้เวลาที่ผมประสบกับเรื่องนั้น
ผมจะได้คิดตรึกตรองอย่างลึกซึ้งขึ้น และ “คำคม” เกี่ยวกับการลงทุนก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมชอบและก็มักจะจำได้ แม้ว่าจะไม่ตรงกับคำพูดของคนนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ผมก็มักจะจำเนื้อหาหลักของมันได้ ลองมาดูกันว่า “เซียนหุ้น” หรือนักเลือกหุ้นชั้นนำเขาพูดหรือคิดอะไรกันบ้าง
คนแรกที่ผมคิดและจดจำเสมอเวลาจะลงทุนในหุ้นแต่ละตัวก็คือคำคมของ วอเร็น บัฟเฟตต์ที่ว่า “กฎข้อแรกของการลงทุนก็คือ อย่าขาดทุน และกฎข้อสองของการลงทุนก็คือ อย่าลืมกฎข้อแรก และนั่นก็คือกฎทั้งหมดที่มี” นี่เป็นกฎที่ดูไม่ได้มีอะไรโดดเด่น เพียงแต่เป็นการเล่นคำ อย่างไรก็ตาม เพราะมันเป็นคำพูดของบัฟเฟตต์ เซียนหุ้นหมายเลข 1 ของโลก มันจึงมีความหมายและกลายเป็นคำคมที่คนรู้จักมากที่สุด-แม้ว่าน้อยคนจะปฏิบัติติตามจริง ๆ
สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่านี่เป็นหลักการที่ผมยึดถือมากที่สุด ผมเชื่อว่าเขาพูดอย่างมีความหมายและจริงจัง เบื้องหลังของมันก็คือ การลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์ของบัฟเฟตต์ทุกครั้งจะต้องมีการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะในด้านที่ว่ามันจะมีโอกาสผิดพลาดและทำให้ขาดทุนในระยะยาวหรือไม่ ถ้ามี เขาก็จะไม่ซื้อ แม้ว่าโอกาสที่จะกำไรมหาศาลจะสูงกว่า และนั่นก็เป็นเหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งว่าเขาจะลงทุนในหุ้นจำนวนน้อยตัวมากเมื่อเทียบกับนักลงทุนอื่นที่มีพอร์ตใหญ่เช่นกัน และก็แทบจะไม่ขายหุ้นเลยหลังจากซื้อแล้ว
สิ่งที่ทำให้ผมเชื่อหลักคิดของบัฟเฟตต์ข้อนี้ก็คือ สถิติการลงทุนของบัฟเฟตต์ในช่วงเวลากว่า 70 ปี ของเขานั้น มีหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่เขาลงทุนและต้องขายขาดทุนน้อยมาก ส่วนใหญ่แล้วหุ้นแต่ละตัวจะกำไรมหาศาลเนื่องจากเขาถือมายาวนาน แน่นอนว่ามีหุ้นหลายตัวที่ “น่าผิดหวัง”และเขาต้องขายออกไป แต่ที่ขาดทุนจริงๆ นั้นมักจะมีน้อย เหตุผลก็คือ ในหลายกิจการที่เขาไม่แน่ใจในผลประกอบการของบริษัทเนื่องจากอาจจะกำลังประสบปัญหาในยามที่เศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมกำลังตกต่ำ เช่นหุ้นสถาบันการเงินหรือหุ้นการบินบางตัว เขาก็มักจะเลือกลงทุนในพันธบัตรที่สามารถแปลงเป็นหุ้นได้ ซึ่งถ้าบริษัทไม่ฟื้นตัวดีแต่ก็ไม่ถึงกับเจ๊ง เขาก็สามารถถอนทุนออกมาโดยการไม่แปลงสภาพเป็นหุ้นและรับดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูงแทน
หลักคิดที่สอง ก็คือของ จอร์จ โซรอส ซึ่งก็ถือว่าเป็น “เซียนนักเก็งกำไรบันลือโลก” คำคมของเขาที่นักเก็งกำไรทั่วโลกยึดถือก็คือ “มันไม่ใช่เรื่องที่คุณจะถูกหรือผิดในการเลือกหลักทรัพย์ลงทุน แต่เป็นเรื่องว่าคุณจะกำไรเท่าไรถ้าคุณถูก และจะขาดทุนเท่าไรเมื่อคุณเลือกผิด”
ความหมายของโซรอสก็คือ คุณจะขาดทุนหุ้นกี่ตัวและกำไรกี่ตัวก็ไม่สำคัญ ถ้าเวลาที่ขาดทุนนั้นก็อย่าขาดทุนมาก คืออย่าไปเล่นมากถ้ายังไม่แน่ใจ เช่น ซื้อไปแล้วหุ้นก็ไม่ได้วิ่งไปไหนหรือซื้อแล้วหุ้นตกลงไปด้วยซ้ำ ในกรณีแบบนี้ ไม่ต้องคิดซื้อถัวเพื่อลดต้นทุนอะไรทั้งสิ้น ต้องขายทันที แต่ถ้าซื้อแล้วหุ้นวิ่งขึ้นไปแรงและมีปริมาณการซื้อขายหุ้นสูงขึ้นชัดเจน ก็จะต้อง “อัดเต็มแม็ก” ทำกำไรจากหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้นอย่างมหาศาลมากกว่าการขาดทุนที่ซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์ผิดพลาดหลายๆ ตัว
และนั่นก็คือแนวทางการเลือกหรือเล่นหุ้นหรือหลักทรัพย์ของโซรอสที่มีเรื่องเล่าว่า เวลาที่ลูกน้องเสนอจะซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์ตัวไหน โซรอสจะลองทดสอบดูว่าหุ้นจะดีจริงหรือเปล่าโดยการชอร์ตหรือขายหุ้นตัวนั้นก่อนแบบทุ่มเข้าไปล็อตหนึ่ง ถ้าหุ้นตกอาจจะเพราะไม่ค่อยมีคนรับพอ เขาก็จะถอยจากหุ้นตัวนั้น อาจจะโดยการปิดชอร์ต และทำกำไรเล็กน้อย แต่ถ้าหุ้นไม่ตกและกลับปรับตัวขึ้นไปซึ่งก็จะทำให้เขาขาดทุนเล็กน้อยเมื่อต้องซื้อหุ้นตัวนั้นกลับ แต่หลังจากนั้น เขาก็จะซื้อหุ้นตัวนั้นแบบ “จัดเต็ม” และหวังว่าหุ้นจะวิ่งขึ้นไปอย่างแรง ทำกำไรได้มหาศาล
หลักคิดที่สาม เป็นของชาลี มังเกอร์ คู่หู วอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งมีชื่อเสียงว่าเป็นคน “ปากจัด” ไม่แคร์ใครหรือต้องรักษาภาพลักษณ์ของตนเอง “ซิกเนเจอร์” ของเขาก็คือ ลงทุนแต่ใน “หุ้นที่ดีเยี่ยม” ในแง่ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท และที่จริงก็เป็นคนที่โน้มน้าวให้บัฟเฟตต์เปลี่ยนแนวทางการลงทุนที่เป็นแบบ VI ของเบน เกรแฮมที่เน้นหุ้นถูกมาก มาเป็นแบบ “ซุปเปอร์สต็อก” ที่เน้นบริษัทที่ดีเยี่ยม ในราคาที่ยุติธรรม เช่นหุ้นของ “ซีแคนดี้” บริษัทช็อกโกแล็ตยอดนิยมในแคลิฟอร์เนีย เมื่อหลายสิบปีก่อนที่ก็ยังอยู่ในพอร์ตของเบิร์กไชร์และบัฟเฟตต์ยังพูดถึงบ่อย ๆ จนทุกวันนี้
คำคมของชาลี มังเกอร์ที่เข้าใจว่าเพิ่งจะพูดไม่นาน แต่ก็น่าจะเป็นหลักคิดของเขามาหลายสิบปีแล้วและผมก็ขอลอกจากเวบไซต์ “คลับ VI” ก็คือ “เขา (เบน เกรแฮม) ทำเงินได้หลายต่อหลายล้านเหรียญจากการลงทุนเน้นมูลค่า ในบริษัทห่วยๆ ซึ่งราคาถูกมากๆ .. แต่การเฝ้ามองบริษัทห่วยๆ ที่คุณไม่ชอบ มันไม่น่าอภิรมย์เอาซะเลย .. สู้มองบริษัทที่คุณชื่นชมประสบความสำเร็จขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ได้หรอก มันสนุกกว่ากันตั้งเยอะเมื่อเทียบกับการมองคนทุเรศ ๆ บริหารบริษัทราคาถูกๆ แบบผิดๆ ถูกๆ”
หลักคิดที่สี่ เป็นของ ปีเตอร์ ลินช์ ซึ่งผมอยากจะเรียกว่าเป็น “Wisdom of the Mass” หรือเป็น “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” ในการเลือกบริษัทหรือหุ้นที่จะลงทุน พวกเขาเหล่านั้น ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นหรือหุ้นอะไรเลย แต่เป็นคนที่ทำงานหรือซื้อสินค้าและบริการที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นคนที่มีข้อมูลที่ดีที่สุดในการวิเคราะห์หรือประเมินว่าหุ้นตัวไหนกำลังดีหรือแย่
พวกเขาอาจจะเป็นเด็กที่กำลังเห่อรองเท้าคู่ใหม่ของไนกี้ หรือเป็นผู้หญิงที่อาจจะเป็นภรรยาเราที่มาคุยว่าชอบเสื้อผ้าหรือเครื่องสำอางของยี่ห้อไหน หรือเป็นเพื่อนร่วมงานที่กำลังนิยมกินอาหารภัตตาคารใหม่ที่กำลังเติบโตกระจายไปทั่วประเทศ เป็นต้น คำคมของเขาสั้น ๆ ก็คือ “ถ้าคุณเป็นคนขับรถบรรทุก คุณก็มีความได้เปรียบในฐานะนักลงทุนที่สุดแล้ว” เพราะคุณจะรู้ว่าสินค้าอะไรที่ขายดีที่สุด
หลักคิดที่ห้า เป็นของ เรย์ ดาลิโอ “นักลงทุนจอมหลักการ” ตามชื่อหนังสือที่เขาเขียนเรื่อง “Principles” หลักคิดของเขาก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนหลักการที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม มันจะเคลื่อนไหวเป็นคลื่นระยะยาวที่ขึ้นๆลงๆ ตัวอย่างเช่น ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การเคลื่อนไหวของเงินตราของประเทศผู้นำของโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าเขาจะทำนายว่าสหรัฐกำลังเสื่อมลงและประเทศกำลังพัฒนาอย่างจีนจะมีบทบาทมากขึ้น เขาพูดว่าระเบียบของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปจากการที่สหรัฐเป็นผู้กำหนดจะกลายเป็นโลกที่สหรัฐก็เป็นแค่ผู้เล่นหนึ่ง ดังนั้น การหาหุ้นลงทุนนั้นก็จะต้องมองไปในภาพใหญ่และต้องดูว่าที่ไหนหรือประเทศไหนจะเป็นแหล่งลงทุนที่ดีในอนาคต
ส่วนตัวผมเองนั้น ไม่ได้เชื่อตามการวิเคราะห์ภาพใหญ่ของ เรย์ ดาลิโอ แต่ก็คิดแบบเดียวกันในเรื่องของความจำเป็นที่จะต้อง “อยู่ในตลาดหรือที่ที่ถูกต้อง” ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งในช่วงอาจจะ 10 ปีนี้ ของผมก็คือเวียดนาม แต่ของเขาอาจจะเป็นจีน
หลักคิดในการลงทุนของเซียนนักเลือกหุ้นทั้ง 5 คน นี้ ครอบคลุมหลักการใหญ่ ๆ ของแทบทุกสไตล์การลงทุนหลักๆ ของโลกในทางปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่แนวทาง VI ก็คือ แนวของ วอเร็น บัฟเฟตต์-ชาลี มังเกอร์ ซึ่งผมคิดว่าเราควรจะเรียกเป็นคู่แบบนี้ เหตุผลเพราะว่าความคิดของการลงทุนแบบ “ซุปเปอร์สต็อก” นั้น เป็นความคิดเริ่มต้นโดย มังเกอร์ที่บัฟเฟตต์ยอมรับและนำมาใช้และกลายเป็นซิกเนเจอร์ของเบิร์กไชร์ ไม่ใช่ของบัฟเฟตต์คนเดียว
หลักการลงทุนแบบ “เก็งกำไร” ที่ “มีหลักการ” และไม่ได้เป็นแค่การสุ่มเสี่ยงและขึ้นอยู่กับสถานการณ์แบบจอร์จ โซรอส นั้น ผมคิดว่าเป็นแนวทางให้กับ “นักเก็งกำไร” ที่หวังจะประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ และอาจจะไม่ได้เสี่ยงมากอย่างที่นักลงทุนอื่นเข้าใจ เหนือสิ่งอื่นใด โซรอสไม่ได้ “เล่นทุกวัน” และ “เล่นน้อยๆ” อย่างที่นักลงทุนแบบ “แมงเม่า” ทำ เขาเลือกเล่นและ “กินคำโต” ที่มั่นใจมาก เพราะวิเคราะห์มาแล้วอย่างดี
ปีเตอร์ ลินช์ นั้น เหมาะกับ VI ที่เน้นแนวเทรดหุ้นที่มีความขยันหาข้อมูลและหวังได้ผลตอบแทนที่ดีโดยที่มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ พวกเขาลงทุนในหุ้นหลายๆ ตัวมากซึ่งเท่ากับลดความเสี่ยงของพอร์ตลงโดยที่ผลตอบแทนสูงกว่ามาตรฐานหรือดัชนีได้
สุดท้ายคือ เรย์ ดาลิโอ ที่มองภาพใหญ่และความจริงของชีวิตและประเทศที่จะดำเนินไป ซึ่งจะช่วยให้เราไม่ติดกับอยู่ในภาพเล็กที่เราอาจจะคุ้นเคยและ “ไม่ตั้งคำถาม” จนถึงเวลาที่มันสายเกินไปก่อนที่จะทำอะไร
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1088914
ผมเป็นคนที่ชอบอ่าน Quote หรือ “คำคม” ของคนที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะในเรื่องที่ผมสนใจ ผมคิดว่ามันให้ข้อคิดที่ดีและทำให้เราจำได้เวลาที่ผมประสบกับเรื่องนั้น
ผมจะได้คิดตรึกตรองอย่างลึกซึ้งขึ้น และ “คำคม” เกี่ยวกับการลงทุนก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมชอบและก็มักจะจำได้ แม้ว่าจะไม่ตรงกับคำพูดของคนนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ผมก็มักจะจำเนื้อหาหลักของมันได้ ลองมาดูกันว่า “เซียนหุ้น” หรือนักเลือกหุ้นชั้นนำเขาพูดหรือคิดอะไรกันบ้าง
คนแรกที่ผมคิดและจดจำเสมอเวลาจะลงทุนในหุ้นแต่ละตัวก็คือคำคมของ วอเร็น บัฟเฟตต์ที่ว่า “กฎข้อแรกของการลงทุนก็คือ อย่าขาดทุน และกฎข้อสองของการลงทุนก็คือ อย่าลืมกฎข้อแรก และนั่นก็คือกฎทั้งหมดที่มี” นี่เป็นกฎที่ดูไม่ได้มีอะไรโดดเด่น เพียงแต่เป็นการเล่นคำ อย่างไรก็ตาม เพราะมันเป็นคำพูดของบัฟเฟตต์ เซียนหุ้นหมายเลข 1 ของโลก มันจึงมีความหมายและกลายเป็นคำคมที่คนรู้จักมากที่สุด-แม้ว่าน้อยคนจะปฏิบัติติตามจริง ๆ
สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่านี่เป็นหลักการที่ผมยึดถือมากที่สุด ผมเชื่อว่าเขาพูดอย่างมีความหมายและจริงจัง เบื้องหลังของมันก็คือ การลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์ของบัฟเฟตต์ทุกครั้งจะต้องมีการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะในด้านที่ว่ามันจะมีโอกาสผิดพลาดและทำให้ขาดทุนในระยะยาวหรือไม่ ถ้ามี เขาก็จะไม่ซื้อ แม้ว่าโอกาสที่จะกำไรมหาศาลจะสูงกว่า และนั่นก็เป็นเหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งว่าเขาจะลงทุนในหุ้นจำนวนน้อยตัวมากเมื่อเทียบกับนักลงทุนอื่นที่มีพอร์ตใหญ่เช่นกัน และก็แทบจะไม่ขายหุ้นเลยหลังจากซื้อแล้ว
สิ่งที่ทำให้ผมเชื่อหลักคิดของบัฟเฟตต์ข้อนี้ก็คือ สถิติการลงทุนของบัฟเฟตต์ในช่วงเวลากว่า 70 ปี ของเขานั้น มีหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่เขาลงทุนและต้องขายขาดทุนน้อยมาก ส่วนใหญ่แล้วหุ้นแต่ละตัวจะกำไรมหาศาลเนื่องจากเขาถือมายาวนาน แน่นอนว่ามีหุ้นหลายตัวที่ “น่าผิดหวัง”และเขาต้องขายออกไป แต่ที่ขาดทุนจริงๆ นั้นมักจะมีน้อย เหตุผลก็คือ ในหลายกิจการที่เขาไม่แน่ใจในผลประกอบการของบริษัทเนื่องจากอาจจะกำลังประสบปัญหาในยามที่เศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมกำลังตกต่ำ เช่นหุ้นสถาบันการเงินหรือหุ้นการบินบางตัว เขาก็มักจะเลือกลงทุนในพันธบัตรที่สามารถแปลงเป็นหุ้นได้ ซึ่งถ้าบริษัทไม่ฟื้นตัวดีแต่ก็ไม่ถึงกับเจ๊ง เขาก็สามารถถอนทุนออกมาโดยการไม่แปลงสภาพเป็นหุ้นและรับดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูงแทน
หลักคิดที่สอง ก็คือของ จอร์จ โซรอส ซึ่งก็ถือว่าเป็น “เซียนนักเก็งกำไรบันลือโลก” คำคมของเขาที่นักเก็งกำไรทั่วโลกยึดถือก็คือ “มันไม่ใช่เรื่องที่คุณจะถูกหรือผิดในการเลือกหลักทรัพย์ลงทุน แต่เป็นเรื่องว่าคุณจะกำไรเท่าไรถ้าคุณถูก และจะขาดทุนเท่าไรเมื่อคุณเลือกผิด”
ความหมายของโซรอสก็คือ คุณจะขาดทุนหุ้นกี่ตัวและกำไรกี่ตัวก็ไม่สำคัญ ถ้าเวลาที่ขาดทุนนั้นก็อย่าขาดทุนมาก คืออย่าไปเล่นมากถ้ายังไม่แน่ใจ เช่น ซื้อไปแล้วหุ้นก็ไม่ได้วิ่งไปไหนหรือซื้อแล้วหุ้นตกลงไปด้วยซ้ำ ในกรณีแบบนี้ ไม่ต้องคิดซื้อถัวเพื่อลดต้นทุนอะไรทั้งสิ้น ต้องขายทันที แต่ถ้าซื้อแล้วหุ้นวิ่งขึ้นไปแรงและมีปริมาณการซื้อขายหุ้นสูงขึ้นชัดเจน ก็จะต้อง “อัดเต็มแม็ก” ทำกำไรจากหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้นอย่างมหาศาลมากกว่าการขาดทุนที่ซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์ผิดพลาดหลายๆ ตัว
และนั่นก็คือแนวทางการเลือกหรือเล่นหุ้นหรือหลักทรัพย์ของโซรอสที่มีเรื่องเล่าว่า เวลาที่ลูกน้องเสนอจะซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์ตัวไหน โซรอสจะลองทดสอบดูว่าหุ้นจะดีจริงหรือเปล่าโดยการชอร์ตหรือขายหุ้นตัวนั้นก่อนแบบทุ่มเข้าไปล็อตหนึ่ง ถ้าหุ้นตกอาจจะเพราะไม่ค่อยมีคนรับพอ เขาก็จะถอยจากหุ้นตัวนั้น อาจจะโดยการปิดชอร์ต และทำกำไรเล็กน้อย แต่ถ้าหุ้นไม่ตกและกลับปรับตัวขึ้นไปซึ่งก็จะทำให้เขาขาดทุนเล็กน้อยเมื่อต้องซื้อหุ้นตัวนั้นกลับ แต่หลังจากนั้น เขาก็จะซื้อหุ้นตัวนั้นแบบ “จัดเต็ม” และหวังว่าหุ้นจะวิ่งขึ้นไปอย่างแรง ทำกำไรได้มหาศาล
หลักคิดที่สาม เป็นของชาลี มังเกอร์ คู่หู วอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งมีชื่อเสียงว่าเป็นคน “ปากจัด” ไม่แคร์ใครหรือต้องรักษาภาพลักษณ์ของตนเอง “ซิกเนเจอร์” ของเขาก็คือ ลงทุนแต่ใน “หุ้นที่ดีเยี่ยม” ในแง่ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท และที่จริงก็เป็นคนที่โน้มน้าวให้บัฟเฟตต์เปลี่ยนแนวทางการลงทุนที่เป็นแบบ VI ของเบน เกรแฮมที่เน้นหุ้นถูกมาก มาเป็นแบบ “ซุปเปอร์สต็อก” ที่เน้นบริษัทที่ดีเยี่ยม ในราคาที่ยุติธรรม เช่นหุ้นของ “ซีแคนดี้” บริษัทช็อกโกแล็ตยอดนิยมในแคลิฟอร์เนีย เมื่อหลายสิบปีก่อนที่ก็ยังอยู่ในพอร์ตของเบิร์กไชร์และบัฟเฟตต์ยังพูดถึงบ่อย ๆ จนทุกวันนี้
คำคมของชาลี มังเกอร์ที่เข้าใจว่าเพิ่งจะพูดไม่นาน แต่ก็น่าจะเป็นหลักคิดของเขามาหลายสิบปีแล้วและผมก็ขอลอกจากเวบไซต์ “คลับ VI” ก็คือ “เขา (เบน เกรแฮม) ทำเงินได้หลายต่อหลายล้านเหรียญจากการลงทุนเน้นมูลค่า ในบริษัทห่วยๆ ซึ่งราคาถูกมากๆ .. แต่การเฝ้ามองบริษัทห่วยๆ ที่คุณไม่ชอบ มันไม่น่าอภิรมย์เอาซะเลย .. สู้มองบริษัทที่คุณชื่นชมประสบความสำเร็จขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ได้หรอก มันสนุกกว่ากันตั้งเยอะเมื่อเทียบกับการมองคนทุเรศ ๆ บริหารบริษัทราคาถูกๆ แบบผิดๆ ถูกๆ”
หลักคิดที่สี่ เป็นของ ปีเตอร์ ลินช์ ซึ่งผมอยากจะเรียกว่าเป็น “Wisdom of the Mass” หรือเป็น “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” ในการเลือกบริษัทหรือหุ้นที่จะลงทุน พวกเขาเหล่านั้น ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นหรือหุ้นอะไรเลย แต่เป็นคนที่ทำงานหรือซื้อสินค้าและบริการที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นคนที่มีข้อมูลที่ดีที่สุดในการวิเคราะห์หรือประเมินว่าหุ้นตัวไหนกำลังดีหรือแย่
พวกเขาอาจจะเป็นเด็กที่กำลังเห่อรองเท้าคู่ใหม่ของไนกี้ หรือเป็นผู้หญิงที่อาจจะเป็นภรรยาเราที่มาคุยว่าชอบเสื้อผ้าหรือเครื่องสำอางของยี่ห้อไหน หรือเป็นเพื่อนร่วมงานที่กำลังนิยมกินอาหารภัตตาคารใหม่ที่กำลังเติบโตกระจายไปทั่วประเทศ เป็นต้น คำคมของเขาสั้น ๆ ก็คือ “ถ้าคุณเป็นคนขับรถบรรทุก คุณก็มีความได้เปรียบในฐานะนักลงทุนที่สุดแล้ว” เพราะคุณจะรู้ว่าสินค้าอะไรที่ขายดีที่สุด
หลักคิดที่ห้า เป็นของ เรย์ ดาลิโอ “นักลงทุนจอมหลักการ” ตามชื่อหนังสือที่เขาเขียนเรื่อง “Principles” หลักคิดของเขาก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนหลักการที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม มันจะเคลื่อนไหวเป็นคลื่นระยะยาวที่ขึ้นๆลงๆ ตัวอย่างเช่น ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การเคลื่อนไหวของเงินตราของประเทศผู้นำของโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าเขาจะทำนายว่าสหรัฐกำลังเสื่อมลงและประเทศกำลังพัฒนาอย่างจีนจะมีบทบาทมากขึ้น เขาพูดว่าระเบียบของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปจากการที่สหรัฐเป็นผู้กำหนดจะกลายเป็นโลกที่สหรัฐก็เป็นแค่ผู้เล่นหนึ่ง ดังนั้น การหาหุ้นลงทุนนั้นก็จะต้องมองไปในภาพใหญ่และต้องดูว่าที่ไหนหรือประเทศไหนจะเป็นแหล่งลงทุนที่ดีในอนาคต
ส่วนตัวผมเองนั้น ไม่ได้เชื่อตามการวิเคราะห์ภาพใหญ่ของ เรย์ ดาลิโอ แต่ก็คิดแบบเดียวกันในเรื่องของความจำเป็นที่จะต้อง “อยู่ในตลาดหรือที่ที่ถูกต้อง” ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งในช่วงอาจจะ 10 ปีนี้ ของผมก็คือเวียดนาม แต่ของเขาอาจจะเป็นจีน
หลักคิดในการลงทุนของเซียนนักเลือกหุ้นทั้ง 5 คน นี้ ครอบคลุมหลักการใหญ่ ๆ ของแทบทุกสไตล์การลงทุนหลักๆ ของโลกในทางปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่แนวทาง VI ก็คือ แนวของ วอเร็น บัฟเฟตต์-ชาลี มังเกอร์ ซึ่งผมคิดว่าเราควรจะเรียกเป็นคู่แบบนี้ เหตุผลเพราะว่าความคิดของการลงทุนแบบ “ซุปเปอร์สต็อก” นั้น เป็นความคิดเริ่มต้นโดย มังเกอร์ที่บัฟเฟตต์ยอมรับและนำมาใช้และกลายเป็นซิกเนเจอร์ของเบิร์กไชร์ ไม่ใช่ของบัฟเฟตต์คนเดียว
หลักการลงทุนแบบ “เก็งกำไร” ที่ “มีหลักการ” และไม่ได้เป็นแค่การสุ่มเสี่ยงและขึ้นอยู่กับสถานการณ์แบบจอร์จ โซรอส นั้น ผมคิดว่าเป็นแนวทางให้กับ “นักเก็งกำไร” ที่หวังจะประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ และอาจจะไม่ได้เสี่ยงมากอย่างที่นักลงทุนอื่นเข้าใจ เหนือสิ่งอื่นใด โซรอสไม่ได้ “เล่นทุกวัน” และ “เล่นน้อยๆ” อย่างที่นักลงทุนแบบ “แมงเม่า” ทำ เขาเลือกเล่นและ “กินคำโต” ที่มั่นใจมาก เพราะวิเคราะห์มาแล้วอย่างดี
ปีเตอร์ ลินช์ นั้น เหมาะกับ VI ที่เน้นแนวเทรดหุ้นที่มีความขยันหาข้อมูลและหวังได้ผลตอบแทนที่ดีโดยที่มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ พวกเขาลงทุนในหุ้นหลายๆ ตัวมากซึ่งเท่ากับลดความเสี่ยงของพอร์ตลงโดยที่ผลตอบแทนสูงกว่ามาตรฐานหรือดัชนีได้
สุดท้ายคือ เรย์ ดาลิโอ ที่มองภาพใหญ่และความจริงของชีวิตและประเทศที่จะดำเนินไป ซึ่งจะช่วยให้เราไม่ติดกับอยู่ในภาพเล็กที่เราอาจจะคุ้นเคยและ “ไม่ตั้งคำถาม” จนถึงเวลาที่มันสายเกินไปก่อนที่จะทำอะไร
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1088914