วิสัยทัศน์ นโยบายเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย
- ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคและโฆษกคณะกรรมการเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ได้เคยกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของพรรคเพื่อไทยว่าต้องการให้เศรษฐกิจและรายได้ทุกคนเติบโตพร้อมกัน เป็นทุนนิยมที่เท่าเทียม โดยการเพิ่มขนาดเค้ก กระจายรายได้ เริ่มจาก Digital Wallet ซึ่งพรรคตั้งเป้าเปิดตัวคนละ 10,000 บาท ภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 งบประมาณ 5.6 แสนล้านบาท
- มาจากแหล่งเงิน 3 ส่วน ได้แก่
- รายได้ภาษีที่น่าจะเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของเศรษฐกิจปีหน้า คาดว่าจะเก็บรายได้ 2.7 แสนล้านบาท
- รายได้ที่มาจากภาษีจากโครงการ Digital Wallet ที่หมุนกลับมา 1.5 แสนล้านบาท
- จัดสรรแบ่งงบประมาณจากเดิมที่เป็นงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ คาดว่าจะเกลี่ยมาใช้ได้อีก 1.3 - 1.4 แสนล้านบาท
- ทั้งหมดอยู่บนเงื่อนไขว่า เศรษฐกิจต้องโตขึ้นจริง เก็บรายได้มากขึ้นอย่างที่คาดจริง และการหมุนเวียนของ Digital Wallet จะทำให้เกิดภาษีที่กลับเข้ามาสู่ภาครัฐและสามารถไปดึงงบมาสำหรับรายจ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพได้
- วัตถุประสงค์หลัก คือทำทให้ระบบการเงินรองรับเศรษฐกิจแห่งอนาคต ที่ปัจจุบันยังทำได้ไม่เพียงพอและสร้างมาตรการคลังที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ต้องการกระจายรายได้ให้ทั่วถึงทุกชุมชนทุกพื้นที่ ในเวลาที่รวดเร็ว
- ผลลัพธ์อาจต่างไปหากไม่มีการกำหนดรัศมีและระยะเวลา เพราะเงินจะกระจุกอยู่ในเมืองใหญ่ ไม่เกิดการหมุนเวียนของกระแสเงิน ขัดกับความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
- คิดมาแล้วว่าจะกระตุ้นได้ทั้งการบริโภคและบางส่วนอาจนำไปลงทุนได้ การนำไปลงทุนอย่างเช่นคนต่างจังหวัดมักอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ เช่น มีสมาชิก 10 คน หากทุกคนได้เงินดิจิทัลคนละ 10,000 บาท อาจนำเงินมารวมกันเป็นก้อนใหญ่ 100,000 บาทgrnjvซื้อปัจจัยต่อยอดธุรกิจก็ได้ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของรายได้และเศรษฐกิจมากขึ้นในหลายพื้นที่
- นโยบายนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะสร้างประเทศไทยให้มีกำลังซื้อสูงก่อน นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่รัฐบาลมีให้กับนักลงทุนต่างประเทศ เช่น สิทธิประโยชน์ภาษี ทำให้ประเทศไทยสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มากขึ้น
- การใช้นโยบายนี้เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ทำให้นโยบายอื่น ๆ เป็นไปได้อย่างลื่นไหลมากขึ้น
- John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชาวอังกฤษ เคยบอกว่า “รัฐต้องเดินหน้าอัดฉีดเงินเข้าระบบ กระตุ้นเศรษฐกิจ” ซึ่งหลายประเทศใช้วิธีการแบบนี้
- อ.ตั๊ม-พิริยะ สัมพันธารักษ์ แสดงความคิดเห็นว่า เงิน1 0,000 บาทที่รัฐจะจ่ายให้กับประชาชน ไม่ใช่เงินบาท ไม่ใช่เงินเฟียต (Fiat Currency) และไม่ใช่ CBDC แต่เป็น Token ที่ทางพรรคเพื่อไทยในนามรัฐบาลสร้างขึ้นมาและใช้กฎหมายบอกว่ามีค่าเท่ากับ 1 บาท
- เงินดิจิทัล 10,000 บาทนี้ ไม่ใช่ระบบเปิดไม่ใช่ Decentralized ตามที่เข้าใจกันโดยสากล แต่เป็น Token Digital ที่ควบคุมโดยส่วนกลาง (Centralized Digital Token) และใช้เทคโนโลยี Public Key ไม่ใช่ Private Key อีกทั้งไม่สามารถมองได้ด้วยว่าเป็นเงินบาท เพราะสภาพคล่องต่ำกว่าเงินบาทที่สามารถใช้ได้ทั่วไป มีข้อจำกัดการใช้งาน
- การใช้จ่าย Token แบบนี้เป็นทอด ๆ จะสร้างรายได้ให้กับรัฐกลับคืนผ่านภาษี แต่มีเงื่อนไขคือ ผู้คนต้องสามารถเอา Token ที่ออกมานี้ไปจ่ายภาษีได้ด้วย แต่ Token ที่สร้างขึ้นมา ไม่ใช่เงินเฟียตตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อสถานภาพไม่ใช่ จึงไม่สามารถใช้ชำระภาษีได้
- การผลิต Token เพื่อใช้หมุนเวียนในระบบโดยการกำหนดให้มีค่าเหมือนเงินบาท อาจผิดพระราชบัญญัติเงินตราประจำปี 2501ดังนั้น ทางออกเดียวคือหันไปใช้ CBDC ของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงจะสามารถตอบโจทย์ที่ต้องการทั้งหมดได้ไม่ยาก
- นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ในฐานะประธานคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทยชี้แจงว่า เงินดิจิทัลนี้ ไม่ได้เป็นการไปสร้างสกุลเงินใหม่ เงินนี้คือเงินบาทของเรา และการที่ใช้ Blockchain เข้ามา เพราะจะทำให้สามารถกำหนดเงื่อนไขได้ว่า เงินนี้จะสามารถนำไปใช้จ่ายอะไรได้บ้าง และใช้จ่ายแล้วก็ต้องเก็บภาษีคืนมาให้ได้
https://www.youtube.com/watch?v=dkPSBIHd9oI
https://www.youtube.com/watch?v=liA2yE8Hy64