คนธรรมดาอย่างป้าแอนน์ ลงทุนยังไงจากแสนสู่ 700 ล้าน?
Posted: Mon Jul 24, 2023 9:05 am
คนธรรมดาอย่างป้าแอนน์ ลงทุนยังไงจากแสนสู่ 700 ล้าน?
“ป้าแอนน์” หรือ Anne Scheiber เกิดในปี ค.ศ. 1893 เป็นคนอเมริกันเชื้อสายยิว หนึ่งในนักลงทุนตำนานของโลกที่ทำให้หลายคนต้องตกตะลึง เพราะป้าแอนน์เริ่มลงทุนจากเงินเก็บเพียง 5,000 ดอลลาร์ กลายเป็น 22 ล้านดอลลาร์ หรือจากประมาณ 160,000 บาท กลายเป็น 700 ล้านบาท ในระยะเวลาการลงทุน 50 ปี อะไรที่ทำให้คนธรรมดาอย่างป้าแอนน์ประสบความสำเร็จในการลงทุน ไปลองดูกันครับ
1. ไม่ซื้อขายหุ้นบ่อย ๆ ซึ่งก็มาจาก 2 เหตุผล
- ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่มักหวังผลตอบแทนในระยะสั้น เช่น ผลตอบแทนรายวัน รายอาทิตย์ หรือรายเดือน แต่ป้าแอนน์กลับมองการลงทุนเป็นเหมือน “การวางแผนชีวิตในระยะยาว” ที่ต้องการเติบโตไปพร้อมกับบริษัท
- นักลงทุนทั่วไปมักมีแนวคิดว่าตัวเองลงทุนเก่งกว่าคนอื่น และมีความสามารถในการสร้างผลตอบแทนมากกว่าตลาด ทำให้ซื้อ ๆ ขาย ๆ จนขาดทุนในระยะสั้น แต่ป้าแอนน์กลับมี “อีโก้น้อยกว่านักลงทุนทั่ว ๆ ไป” ทำให้เลือกที่จะไม่ซื้อขายบ่อย ๆ แต่ถือยาว ๆ
2. “ลงทุนในสินค้าที่รู้จักดี”
เช่น ชอบดื่มน้ำอัดลม จึงซื้อหุ้น Coca-Cola หรือชอบดูภาพยนต์ จึงซื้อหุ้นของ Columbla Picture เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหุ้นที่ป้าแอนน์ซื้อนั้นไม่ได้เป็นหุ้นที่เดาทางยากเหมือนหุ้นเทคโนโลยี หรือหุ้นที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเงินที่ซับซ้อน แต่เลือกลงทุนในหุ้นตัวเองมีความเข้าใต ซึ่งก็ทำให้มองออกว่าธุรกิจไหนน่าจะมีผลประกอบการกำไรเติบโตในทุก ๆ ปี และน่าลงทุน
3. มีวินัยออมเงิน
สามารถแบ่งเงินมาลงทุนสม่ำเสมอ ทำให้เกิดประโยชน์กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้
4. “อดทนรวย”
ป้าแอนน์เน้นบริษํทที่กำไรมีการเติบโตแบบสม่ำเสมอ และมีการขยายตัวของบริษัทเพิ่มมากขึ้น เพราะมีความเชื่อมั่นว่าถ้าบริษัทเติบโตกำไรก็จะเติบโตตามไปด้วย ถึงแม้ระหว่างทางการลงทุนหุ้นอาจจะราคาตก แต่ถ้าบริษัทมีพื้นฐานแข็งแกร่ง ราคาก็จะกลับมาปกติในที่สุด
5. สนใจสิ่งรอบตัวเสมอ
รวมถึงการใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ช่างสังเกต และค้นคว้าข้อมูลจนกว่าจะพบความจริงในสิ่งที่สงสัย ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติที่นักลงทุนควรมี เพื่อความประสบความสำเร็จในวันข้างหน้า โดยสิ่งที่ป้าแอนน์ทำในทุก ๆ ปี คือ การเข้าร่วมประชุมของบริษัททุกครั้งที่มีโอกาส
ป้าแอนน์เสียชีวิตลงในปี 1995 ด้วยอายุ 101 ปี โดยได้เขียนพินัยกรรมขอบริจาคเงินทั้งหมดให้มหาวิทยาลัยเยชิวา เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ด้อยโอกาสทางสังคม
อ้างอิงข้อมูล