5 กลลวงที่อาจซ่อนอยู่ใน “งบการเงิน”

Post Reply
Thanonlongtun post
Posts: 377
Joined: Tue Dec 27, 2022 5:25 pm

5 กลลวงที่อาจซ่อนอยู่ใน งบการเงิน.jpg
5 กลลวงที่อาจซ่อนอยู่ใน งบการเงิน.jpg (486.6 KiB) Viewed 630 times
5 กลลวงที่อาจซ่อนอยู่ใน งบการเงิน.jpg
5 กลลวงที่อาจซ่อนอยู่ใน งบการเงิน.jpg (486.6 KiB) Viewed 630 times
 
5 กลลวงที่อาจซ่อนอยู่ใน “งบการเงิน”⁣

    ทุกวันนี้เราต่างก็เห็นข่าวบริษัทต่าง ๆ ผิดนัดชำระหนี้หรือมีปัญหาสภาพคล่องกันบ่อยครั้ง หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมเราถึงไม่เห็นสัญญาณเตือนจากตัวเลขในงบการเงิน ถึงแม้ว่า 1+1 = 2 แต่กลลวงในงบการเงิน อาจมีอะไรบางกว่าตัวเลขที่ซ่อนอยู่ วันนี้มารู้จักกับ 5 กลลวงที่อาจซ่อนอยู่ใน “งบการเงิน” กันครับ⁣

1. เร่งรับรู้รายได้ให้เร็วกว่าที่ควร⁣
ตามมาตรฐานบัญชีการรับรู้รายได้ จะต้องทยอยรับรู้ตลอดอายุสัญญาที่ได้รับประโยชน์ แต่บางครั้งบริษัทอาจเร่งรับรู้รายได้ในงวดเดียวเพื่อให้ดูว่ามีการเติบโตสูง ทั้งที่จริง ๆ แล้วเป็นการยืมยอดขายในอนาคตมาแสดงในงบการเงินก่อน⁣

ตัวอย่างเช่น บริษัท A ต้องรับรู้รายได้จำนวน 50 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปีหรือเท่ากับปีละ 10 ล้าน แต่บริษัท A นำเสนอทั้งจำนวนเป็นรายได้ในงบการเงินในปีแรกเลย ก็จะทำให้ดูเหมือนมีการเติบโตที่ก้าวกระโดดมากเกินความเป็นจริง⁣

2. รับรู้รายได้ปลอม⁣
ยกตัวอย่างการฝากขาย เช่น บริษัท B นำสินค้าไปฝากขายกับร้านค้า ซึ่งถ้าร้านค้าขายสินค้าไม่ได้ สามารถนำสินค้าส่งคืนให้บริษัท B ได้ ไม่ถือเป็นการซื้อสินค้า⁣

แต่สิ่งที่บริษัท B ทำคือ รับรู้รายได้ทันที หลังจากนำสินค้าไปฝากขายกับร้านค้ารายย่อยทั้งที่ยังขายสินค้าไม่ได้ ทำให้บริษัท B มีการบันทึกรายได้ที่สูงเกินความเป็นจริง หรือเป็นรายได้ปลอมนั่นเอง⁣

3.เลื่อนการรับรู้ค่าใช้จ่ายออกไป⁣
ยกตัวอย่างการคำนวณค่าเสื่อมราคา โดยการยืดอายุการใช้งานสินทรัพย์ออกไปให้นานขึ้น เพื่อจะได้ตัดค่าเสื่อมในแต่ละปีในจำนวนที่ลดลง เช่น มูลค่าสินทรัพย์ 500 ล้านบาท เปลี่ยนอายุการใช้งานสินทรัพย์จาก 20 ปีเป็น 25 ปี ทำให้ค่าเสื่อมราคาลดลงจากปีละ 25 ล้านบาทต่อปี เป็น 20 ล้านบาทต่อปี ส่งผลให้รายได้ตามตัวเลขทางบัญชีสูงขึ้น⁣

4. ไม่เปิดเผยหนี้สินที่ควรเปิดเผย⁣
โดยปกติถ้ามีหนี้สินที่ยังไม่แน่นอนทางบัญชี ซึ่งไม่สามารถรับรู้ในงบดุลได้ บริษัทจะต้องทำการเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน แต่ในบางกรณี บริษัทก็ไม่ทำการเปิดเผย เช่น บริษัทมีคดีความกำลังถูกฟ้องร้อง หนี้ค้ำประกันจากบุคคลภายนอก เปรียบเหมือนกับบริษัทเป็นหนี้แต่ไม่ปรากฏในงบการเงิน⁣

5.เลื่อนการรับรู้รายได้⁣
การชะลอรับคำสั่งซื้อในช่วงใกล้สิ้นงวดบัญชี ให้มีการรับรู้รายได้ในงวดถัดไป วิธีนี้เป็นการวางแผนให้การรับรู้รายได้ของบริษัทไม่สูงหรือต่ำมากเกินไปในแต่ละงวดบัญชี เช่น งวดบัญชีปัจจุบันมีรายได้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่มีรายได้ใหม่เข้ามา โดยในความเป็นจริงจะต้องลงบัญชีในงบการเงินปัจจุบัน แต่ชะลอรับคำสั่งซื้อเพื่อให้รับรู้เป็นรายได้ของงวดถัดไป เพื่อให้ตัวเลขในงบการเงินดูดีขึ้น⁣

ดังนั้น การดูตัวเลขในงบการเงินเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่พออีกต่อไป การหาบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือประเภทธุรกิจเดียวกันมาเป็นคู่เปรียบเทียบ เพื่อดูว่ามีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เรารู้เท่าทันกลลวงของตัวเลขได้⁣

อ้างอิงข้อมูล: 
 
Post Reply