https://www.facebook.com/Tam.eig/videos/119752851144068
—-------
จุดเริ่มต้นของเทรดเดอร์แต่ละท่าน
คุณเบียร์ - คุณซันและคุณเบียร์รู้จักกันครั้งแรกในกลุ่มหนึ่งใน Facebook โดยคุณเบียร์อาสาขาน Trigger ให้กลุ่ม โดยเจอกันจริง ๆ ครั้งแรกที่งานของห้องสมุดมารวย ตอนนั้นเพิ่งเริ่มเข้ามาด้วยพอร์ต 1-2 แสน คุณเบียร์ยังทำงานประจำอยู่ และบอกกับคุณซันว่าอยากเอาดีทางนี้ ไม่นานก็ลาออกแล้วมาลุยกับคุณซัน
คุณเบิร์ท - ทำงานประจำด้านกฎหมายมาก่อน ออกจากงานมาด้วยความรู้สึกอยากสร้างอาชีพ หารายได้ของตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น เห็นว่าตลาดหุ้นใช้ต้นทุนต่ำ เห็นรายการ Super Trader ของคุณซันก็สมัครโดยไม่รู้จักใครมาก่อน คุณเบิร์ททำงานกฎหมายมา อ่านเอกสารเร็ว ก็ช่วยคุณซัน feed ข่าวทุกวัน
คุณเต๋ - เริ่มจากพอร์ตแตกหลังยืมเงินแม่มา 4 ล้านเอาไปเล่น inside หุ้น จนพอร์ตเหลือ 1.3 ล้าน จึงไปเรียนกับคุณซัน ตอนนั้น คุณซันแนะนำให้เอาเงินมาเทรด 500,000 ก่อน แต่พอมา day trade พบว่ายังไม่ใช่ทาง จนได้มาอ่านหนังสือ One Up On Wall Street ของ Peter Lynch ทำให้เปลี่ยน mindset เชื่อว่า fundamental เป็นทางเดียวที่จะทำให้หาหุ้นเติบโต หรือหุ้นเด้งได้
—-------
คุณซัน
จุดเริ่มต้นเข้ามาในตลาดหุ้น
- เข้ามาในตลาดหุ้นตอนอายุ 24 ด้วยเงินเก็บ 200,000 บาท
- ต่อมาตลาดหลักทรัพย์จัดประกวดโครงการ Money Management Ambassador ปี 2003 เห็นรางวัลชิงชนะเลิศ 1,000,000 บาท ตอนนั้นคุณซันเริ่มศึกษาเรื่องหุ้นแล้ว และอยากหาเงินเติมพอร์ต เลยเข้ามาแข่ง ระยะเวลาแข่งขัน 6 เดือน ได้รางวัลที่สอง ได้เงินมา 100,000 บาทมาเติบพอร์ต
- ช่วงนั้นเดินสายเป็นวิทยากรให้ตลาดหลักทรัพย์ ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม อ่านงานเขียนของนักลงทุนชื่อดัง ทั้งไทยและต่างประเทศ ทำให้รู้จักการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
- และตอนนั้นยังเล่นเก็งกำไรไม่เป็น คิดว่าถ้าจะซื้อหุ้นโดยมีเงิน 300,000 บาท ถึงจะได้ผลตอบแทนเยอะ จึงเข้าซื้อหุ้น INTOUCH ด้วยเหตุผลข้อเดียวคือเจ้าของเป็นนายกในสมัยนั้น ปรากฎว่าหุ้นขึ้นแรงในปีต่อมา พอร์ตจาก 300,000 เติบโตเป็น 500,000
- ตอนนั้นรู้ว่าดูหุ้นแล้วสรุก แต่จะเล่นอย่างไรดี จึงเลือกซื้อหุ้นก่อนจะติด Top Gainer แล้วไปขายตอนหุ้นตันนั้นติด Top Gainer แล้ว ตอนนั้นคิดอย่างเดียวคืออยากรวยให้เร็วที่สุด
- ตอนนั้นพอร์ต 500,000 ยังดูกราฟไม่เป็น ตอนนั้นไม่กล้าซื้อหุ้นตัวเดียวแล้ว จึงซื้อหุ้นไม่เกิน 3 ตัว และถ้าตัวไหนซื้อแล้วไม่วิ่ง เรียกได้ว่าปาทิ้งทันที เล่นแบบนี้อยู่ 3-4 ปี อยู่ ๆ กลายเป็นสาย Day Trade เต็มตัวทั้งที่ดูกราฟไม่เป็น ดู Trier อย่างเดียว มารู้ทีหลังว่าวิธีนี้เรียกว่าการ Sculpt หุ้น และยังเป็นวิธีที่ปลอดภัย เพราะเผ่นเร็วตลอดเวลา ทำให้พอร์ตโต แม้จะเก็บคำสั้น ๆ แต่เวลาโดน โดนน้อย และไม่ถือหุ้นข้ามวัน ดังนั้นไม่มีทางที่จะโดนเยอะ ๆ
- ต่อมา Performance เริ่มดี คิดว่าจากพอร์ต 500,000 หากทำได้วันละ 1% คือวันละ 5,000 20 วันก็ 100,000 แล้วก็คือ 20% ต่อเดือน รู้สึกว่าทำได้ จึงยืมเงินที่บ้าน 2,000,000 บาท
- ปั้นจนได้ 7,000,000 บาทด้วยวิธีการ Day Trade ล้วน ๆ และไม่มี Big Short เลย จากนั้นก็คืนเงิน 2,000,000ให้ ที่บ้าน เราเหลืออยู่ 5,000,000 กว่า
พอร์ต 7 ล้าน เหลือ 1.7 ล้าน เพราะ Hamburger Crisis
- เคยอ่านหนังสือว่า ถ้าหุ้นมี margin of safety แปลน่าลงทุน เราก็มองว่าหุ้นปูนซีเมนต์ตอนนั้น พื้นฐานดี (ตอนนั้นก็ยังดูกราฟไม่เป็น) ตอนนั้นหุ้นจาก 300 บาท ลงมาเหลือ 150 บาท เรารู้สึกว่าถูก เพราะหุ้นใหญ่ ราคาลงมา 50% เลยใส่เต็มข้อ ปรากฎว่าหุ้นลงต่อไปอีกเหลือ 70 บาท เรียกไดเว่าพอร์จระเบิด และคุณซันไม่ได้โดนตัวเดียว
- คุณซันให้เป็นทริคเลยว่า เวลาเจอตลาดต้มกบนาน ๆ อย่าคิดว่าราคาที่เราซื้อ มันจะเด้งกลับมา บางตัวกว่าจะเด้งใช้เวลานานมาก
- คุณซันเสริมอีกว่าเคยทำสถิติเอาไว้ว่าถ้าเกิด crisis เข้ามาเมื่อไหร่ ถ้าเป็นสมัยก่อน หุ้น big cap จะลงได้ 50% เป็นเรื่องปกติแต่ปัจจุบันมันไม่เป็นแบบนั้นแล้ว
- ตอนนั้นจำได้ว่าสนใจหุ้น AOT มาก Par 10 บาท ราคาลงจาก 41 เหลือ15 บาท ถ้าดูธุรกิจ จะรู้ว่า AOT ไม่มีคู่แข่ง รายได้มั่นคง เหตุการณ์ตอนนั้น ตัวเลขนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้ลด คิดว่า นี่แหละ margin of safety ของจริง รอบนี้ อยากรวย ยืมเงินป๊าเลย คิดว่าจะเอา 20 ล้านไปอัด margin ซื้อหมดพอร์ต รู้สึกดีใจที่ เราอยู่ในวิกฤตแล้ว แต่สุดท้ายที่บ้านก็ไม่ให้
- ตอนนั้นกลับมานั่งแสกนหุ้นทุกตัว จนไปเจออีกตัว CPN ลงจาก 20 เหลือ 3.7 บาท วันที่ตัดสินใจซื้อคือ 4.7 บาท all in เพราะไปดูรายได้ก็เพิ่มขึ้น แต่ราคาหุ้นลดลงมา 70% รู้สึกว่ารอบนี้เกิดแน่ มั่นใจลึก ๆ
- ตอนนั้นแบ่งเงิน 700,000 มา day trade ประทังชีวิตให้รอด อีก 1,000,000 all in หมดพอร์ต และซื้อในบัญชี margin
- ตอนนั้นอ่านหนังสือของ ดร.นิเวศน์ ตีแตก: กลยุทธ์เล่นหุ้นในภาวะวิกฤต (แนะนำว่าเป็นหนังสือที่นักลงทุนควรอ่าน) จึงเชื่อวาหุ้นหุ้น CPN ตอนนั้น จะกลับไปเห็น 20 บาทอีก และเมื่อดูพื้นฐานธุรกิจแล้ว เชื่อว่ามี potential to growth เราแค่รอเวลา
- ตอนนั้นเริ่มศึกษาเทคนิคแล้ว ได้เรียนกับลุงโฉลกและอ่านหนังสือ บวกกับความรู้ในโลกออนไลน์เริ่มหาง่ายขึ้น
- CPN กลายเป็นหุ้นสิบเด้ง เราเข้าตอน 4.7 บาท ออกที่ 47 บาท พอร์ตหนึ่งล้านตอนนั้นกระโดดไปเป็น 15 ล้าน short แรกที่ได้
- ช่วงพอร์ตหลักแสนถึงล้านต้น ๆ เป็นช่วงที่เครียดมากเพราะยังไม่ผ่านจุด comfort จะรู้สึกว่ากลัวขาดทุน กลัวไม่มีเงินมาใช้รายเดือน
- อยากให้อดทนรอผ่านช่วงนี้ไปให้ได้และประคองอย่าให้พอร์ตเป็นอะไรจนกว่าจะไปถึง 8 หลัก เราถึงจะรู้สึกอุ่นใจ
คุณเบียร์
ช่วงแรกของการเข้ามาเทรดเต็มตัว
- ตอนช่วงเข้ามาแข่งขันในรายการ super trader เราเป็นคน all in บวกกับที่โชคดีที่ละตัวเข้าข้อ ทำให้ได้เงินมาอีก 200,000
- ตอนนั้นไม่ได้คิดเลยว่าจะมีเงินไปถึงหลักร้อยล้าน คิดแค่ว่าถ้าเราไปแบบนี้ เราน่าจะรอด แต่จะรวยไหมก็ไม่แน่ใจ
- ตอนแข่งเครียดมากจนถึงขั้นอาเจียน เพราะ all in ถ้าพลาด เงินทั้งก้อนก็ไปหมดเลย
- แม้จะนึกย้อนกลับไปแล้วรู้สึกว่าช่วงนั้นเครียดมาก แต่สิ่งที่เราได้โดยไม่รู้ตัวคือการเลือกหุ้นให้คม
- ประเด็นสำคัญสำหรับพอร์ตคนไซส์นี้คือ ต้องเลือกและต้องรอโอกาส เสียให้น้อย ได้ให้เยอะ
- ตอนเริ่มต้น พอร์ตแค่ 2-3 แสน ก็ดูว่าเรามีค่าใช้จ่ายอะไรตัดได้บ้าง อะไรตัดได้ก็ตัดหมด หน้าที่ตอนนั้นคือ ต้องเทรดให้ได้วันละ 500-1,000 หรือยังไงก็ได้ให้สิ้นเดือนมีค่าเช่าบ้าน ผ่อนรถ
- วิธีการทำการบ้านในช่วงแรก คือเอาหุ้นที่เป็น Top Gainer มาเดินถอยหลังและทดลองเทรดไปเรื่อย ๆ พอได้เงินมาก็ดึงออกมาเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน เป็นเงินออมเล็ก ๆ น้อย
- ช่วงพอร์ตโตมาระดับ 5-6 แสน จากตอนแรกเราหาเงินเพื่อตัวเราคนเดียว ใช้หนี้ เป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน และเติมพอร์ตไปข้างหน้า ก็เริ่มช่วยที่บ้าน ส่งเงินให้แม่
- เริ่มเรียนเทรดจากคุณซัน จากครูไก่
- ตอนนั้นมีซื้อหุ้นเหล็กตัวหนึ่ง แต่พลาดไปจากพอร์ตล้านกลับมาเหลือ 400,000 บาท เพราะหุ้นลงมาเยอะ คิดว่าต้องเด้ง จนแม่บอกให้ขายก่อนจะลงไปมากกว่านี้ ปรากฏว่าเราตัดสินใจขาย แต่หุ้นกลับเด้งวันต่อมา
- จังหวะพอร์ต 1,000,000 มีหลายเรื่องเข้ามา ทั้งค่าใช้จ่ายตัวเอง ครอบครัว พอร์ต
- ช่วงแรกก็มีที่เราเอาเงินไปซื้อของแพง ๆ แต่ต่อมาคิดได้ว่า เราต้องเป็นเหมือนปกติที่เราเป็น ช่วงพอร์ตล้านต้น ๆ อย่าพยายามไปขยับ หรือเร่งสร้างอะไร เก็บเงินไว้ก่อน
คุณเบิร์ท
ใช้ทักษะด้านกฎหมายมาปรับใช้ในชีวิตการเทรด
- เคยทำงานกฎหมายมาก่อน หัวหน้าสอนทักษะวิชาชีพนักกฎหมาย นั่นคือ ต้องละเอียดและมีวินัย ซึ่งก็ได้เอาสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้ในชีวิตการเทรด
- ตอนนั้นคิดว่าอะไรที่คนทั่วไปรู้ เราต้องรู้ ตอนนั้นอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับการลงทุนทั้งหมด เพื่อให้เรามีความรู้เสมอเท่ากับคนอื่นในตลาด หลังจากนั้นค่อนไปเจาะไปทางที่ถนัด
- 8-9 ปีที่แล้ว ออกจากงานมาใหม่ ๆ เริ่มต้นด้วยพอร์ตหนึ่งล้านบาท จากความรู้ที่ศึกษามา หากจะปั้นพอร์ตได้เร็วคือกราฟเทคนิค เพราะ VI น่าจะใช้เวลา 5-10 ปี
- ตอนนั้นลองมาคำนวณว่า ถ้าปีนึงเราเทรดเดือนละ 10% เน้นการทบต้น 1 ปี คือ 300% และ 3 ปีคือ 900% จึงคิดว่า สิ่งแรกที่ต้องทำคือทบต้นให้ได้
- อีกอย่างคือรายจ่าย ที่ต้องเคลียให้หมดเพราะเน้นหาเงินเพิ่มในพอร์ตเรื่อย ๆ
- ต้องให้เค้าเข้าใจและสบายใจก่อน เราถึงจะเทรดได้อย่างสบายใจ
- ตอนทำงานประจำ ให้เงินแม่เดือนละ 15,000 บาท พอออกมเทรดให้แม้เดือนละ 30,000 เพื่อให้เค้าสบายใจ เพราะการตัดสินใจการเทรดทุกครั้ง ต้องไม่มีความกังวล
- ยอมรับว่าตอนนั้นหุ้นไทยเป็นตลาด bull หุ้นเก็งกำไรขึ้นมาเยอะ ตัดสินใจเทรดหุ้นเก็งกำไรตามกราฟ ทำให้พอร์ตเติบโตตามเป้า
- ผ่านไปปีที่สองสาม ตลาดเริ่มขึ้นมาเยอะแล้ว การเก็งกำไรทำได้ยากขึ้น มีสินค้าใหม่ในตลาดคือ DW ก็เข้าไปศึกษาและรองเทรด ปั้นพอร์ตจาก 1 ล้านไปถึง 10 ล้าน
- เป็นช่วงโควิด เราเริ่มศึกษาสินค้า future แล้ว เมื่อตลาดขึ้นหรือลงก็สามารถทำกำไรได้
- ตอนนั้นฟังคุณมี่ทิวา ช่วงข่าวโควิดมาแรก ๆ ดูท่าจะไม่ดี ตัดสินใจล้างพอร์ต และ short future ตอนนั้นตลาดลงมาเร็วมาก จาก 1,600 จุดเหลือ 900 จุดในเวลาเพียงหนึ่งเดือน พอร์ตจาก 10 ล้าน เด้งมา 40-50 ล้าน
- ต่อมาอ่านบทความอาจารย์นิเวศน์ ตอนตลาด 900 จุด ดร.เวศน์เขียนบทความประมาณว่าถึงเวลาซื้อหุ้น ทำให้เราเริ่มขึ้นว่าคงถึงเวลากลับตัวแล้ว จึงเล่นฝั่ง Long จากนั้นตลาดหุ้นวิ่งขึ้นจาก 900 จุด ไป 1400 จุด
- เรียกได้ว่าได้มา 2 Short ใหญ่ คือทั้งขาลงและขาขึ้นของตลาดช่วงโควิด
- ตอนนั้นที่ได้ ก็ไม่ได้มีตัวใดตัวหนึ่ง big short ชัดเจน เพราะหมุนกลุ่มเล่นเรื่อย ๆ โดยเน้นที่หุ้นที่ได้รับผลกระทบจากโควิดเยอะ ๆ เช่น หุ้นสนามบิน หุ้นโรงพยาบาล
- แม้จะปั้นพอร์ตให้โตจากการ Leverage แต่เตือนว่ามีความเสี่ยง และต้องมีวินัยในการ Cut Loss
คุณเต๋
เข้าตลาดมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ปี 2
- จุดเริ่มต้น เข้ามาจากการที่เพื่อนชวนลงทุนในหุ้นตัวหนึ่ง และเป็นหุ้น inside ปรากฎว่าโดนไป 50%
- ตอนเข้ามาเรียนเทรดกับคุณซันแรก ๆ เป็นคนธรรมดาคนหนึ่งที่ฝึกเทรดแล้วไม่เคยรอดเลย ในห้องก็มีแต่คน Day Trade เก่ง ๆ อย่างเช่นคุณเบียร์ คุณเบิร์ท
- จึงกลับมาหาแนวทางของตัวเอง พบว่าเราเป็นสาย VI ต้องเอาหลักการมาจับ ดู Valuation เพราะทำให้เราประเมินเป้าหมายได้
- พอเราไม่เปรียบเทียบกับใครเลย ทำให้สามารถอยู่ในเกมได้นาน
- เราแทบไม่เทรดเลย ซื้อ ถือ พอกำไรก็ขาย จนรู้สึกว่าเป็นแนวทางที่ใช่ คือซื้อหุ้น undervalue แล้วอุ่นใจ
- การลงทุน ต้องหาแนวทางของตัวเองให้เจอ คุณเต๋เจอแนวทางตัวเองเร็ว คือ Day trade ไม่ได้ก็ตัดทิ้งแล้วมาวิ่งในแนวทาง VI คือดู business หา valuation เป็นหลัก
- Short ที่ได้มาเยอะ ๆ คือตอนโควิด ตอนแรกพอร์ตติดลบ 20 ล้าน แต่สุดท้ายก็ถือจนเด้งกลับมาเป็น 40 ล้าน
- คุณเต๋ยึดคติหนึ่งคือ ไม่มีใครรู้จุดต่ำสุด แต่ไม่มีใครมั่นใจ 100% แต่สิ่งที่ทำให้กล้า bet ตอนนั้นคือ หุ้นตัวนั้นลงแรงเกินไปแล้ว มัน undervalue แล้ว เราคิดว่าหุ้นตัวนี้น่าจะเป็น big short เราได้ ก็เข้าไปซื้อ และคิดว่าหุ้นตัวนี้สุดท้ายแล้วจะกลับมาสู่มูลค่าที่ควรจะเป็น สุดท้ายก็ได้ Big Short มา
- ดูงบการเงิน และฟัง opp day
- ถ้าเป็นไปได้ฟัง opp day แบบสด อยากรู้อะไรก็ยิงคำถามไปเลย
เกมเดิมที่เคยใช้ได้ จะใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
- คุณซันเล่าว่า หลายสิ่งหลายอย่างที่ใช้ได้ในอดีต ตอนนี้ก็ยังใช้ได้แต่ประสิทธิภาพน้อยลง และบางอย่างก็ใช้ไม่ได้เลย
- ตอนโควิด หลายตัวเราคิดว่าจะลงมาก ๆ เหมือนปี 51 แต่กลับไม่ลง เพราะสิ่งที่เรารู้ เค้ารู้กันหมดทั้งประเทศแล้ว ต่อให้เกิดวิกฤตอีกรอบ ก็จะลงน้อยมาก เพราะทุกคนรู้กันหมดแล้ว คำถามคือแล้วต่อไปเราจะได้ Big short จากวิกฤตได้ยังไง ต้องคิดไปข้างหน้าแล้ว
- สิ่งหนึ่งที่คิดว่าเทรดเดอร์ต้องมี คือเรื่องของความสามารถในการปรับตัวตลอวดเวลา เพราะเราตอบไปไม่ได้เลยว่า ใน 10 ปีข้างหน้า ตลาดจะเป็นอย่างไร
- สมัยนี้ robot แย่ง order ตลอดเวลา ทำให้หุ้นจะขึ้นไกล ๆ ไม่ได้ เพราะ high frequency trade แย่ง order และ day trade เล่นยากมาก (ซึ่งคุณซันบอกว่า แก้เกมได้โดยปรับให้เป็น timeframe ที่กว้างขึ้น)
- การที่หุ้นจะเคลื่อนตัวได้ บางคนบอกเพราะ fundamental บางคนบอกเพราะ technical แต่จริง ๆ แล้วหุ้นเคลื่อนตัวเพราะมนุษย์ technical มาทีหลัง และ fundamental เป็นตัวคอนเฟิน์ม
- ทำให้ทุกวันนี้ คุณซันบอกว่าให้ความสำคัญในเรื่องของ จิตวิทยา / money game/ smart money ค่อนข้างมาก เพราะบริบทตลาดเปลี่ยนไปแล้วจริง ๆ
- อะไรที่ทำซ้ำ ๆ แล้วได้ตังค์ สุดท้ายไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็แค่ stop loss
- หลายคนอาจมองคุณซันเป็น day trade แต่จริง ๆ คุณซันเป็น VI ที่เล่นได้ทุกแบบ แต่สิ่งสำคัญคือการบาานซ์ว่า จะเอาเงินไปใส่พอร์ตไหน ในช่วงเวลาใด คุณซันย้ำคำว่า portfolio structuring บ่อย ๆ ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
Unfair Advantage ในตลาดหุ้น
- คุณซันเล่าถึงกลไกลที่เรียกว่า naked short ที่มีโบรคสถาบันบางแห่งทำได้โดยไม่ต้องมีหุ้น ทุกวันนี้ตลาดหุ้นมี unfair advantage ที่เราเล่นคนละเกมกับพวกเขา พวกเขาคือคนสร้างเกม ส่วนเราคือคนเล่นเกม ดังนั้น บริบทปัจจุบันของตลาดทุนมันเปลี่ยนไปหมดแล้วจากสิบปีที่ผ่านมา
- คุณเบียร์เสริมว่าในตลาดหุ้น ทุกวันนี้ยิ่งเทรดยิ่งรู้สึกว่ าสิ่งที่คิดไว้ตอนแรกกับสิ่งที่เราเจอ มันไม่ใช่เลย ไม่มีหุ้นตัวไหนดีหรือแย่ที่สุด ทุกอย่างเหมือนเป็นเกม
- คุณซันเสริมว่า ตลาดหุ้นเป็น zero sum game เป็น วงการชนเผ่า วงการมาเฟีย และเราเหมือนเป็นสงครามระหว่างแก๊ง ถ้าเดินไปตัวเปล่าในยุคนี้ก็ตาย
วิธีคิดหรือวิธีการเทรดเปลี่ยนไปอย่างไรจากเมื่อก่อน
- คุณเบียร์ เล่าว่าช่วงนี้ตลาดเทรดยากมาก ทุกวันนี้ แค่ประคองพอร์ต รอตลาดกลับมา คนที่เอาตัวรอดในตลาดช่วงนี้ได้ถือว่าเก่งมาก แนะให้ประคองพอร์ต ดูตามดูอารมณ์ตลาด โฉบในระยะที่เรามีเป้าหมายชัดเจนว่าจะไปตรงนั้นได้อย่างไร ดังนั้นการเทรดช่วงนี้ คือเป็นมุมมองว่าจะอยู่ให้รอดได้อย่างไรมากกว่า
- แนวทางการเทรดช่วงนี้ของคุณเบียร์ คือ ดึงกำไรออกมาไว้ในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากขึ้น และคิดว่าที่เราได้มาก ตลาดไม่มีทางเอากลับไปได้
- คุณซันกล่าวว่า สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้และปรับตัวตลอดเวลา เพราะเพราะเกมเปลี่ยนตลอดเวลา บางอย่างใช้ได้ ต่อไปอาจใช้ไม่ได้ สิ่งเดียวที่ยึดเหนี่ยวได้คือตัวเราเอง ที่ต้องมี money management นอกนั้นเราคุมอะไรไม่ได้เลย
- คุณเบิร์ทเสริมว่า ทุกวันนี้องค์ความรู้ต้องไปไกลกว่าเดิม จากที่ดูแค่กราฟ ต้องเอาพื้นฐานมา support ด้วย
- คุณเต๋แนะนำว่าให้ศึกษา business model และเข้าไปดูของจริงเสมือนเป็นลูกค้า ต่างประเทศเขาก็ทำกันแบบนี้ เพราะสุดท้ายงบการเงินจะบอกแค่อดีตที่ผ่านมา แต่ส่ิงที่จะบอกว่าอนาคตเป็นอย่างไร คือลงไปดูธุรกิจจริง ๆ
คุณซันเสริมถึงนักลงทุนรายย่อยว่า นักลงทุนแบ่งเป็น 6 Levels
- Level 1 นักลงทุนที่ไม่รู้อะไรสักอย่างเลย เข้ามาด้วยความโลภล้วน ๆ และมักเข้ามาตอนตลาด bullish ที่ใส่เงินมา ตลาดก็วิ่ง ใช้หูในการเทรด คือใครว่าตัวไหนดี ก็วิ่งเข้าไปแต่กลุ่มนี้ตายก่อนเพราะไม่มีความรู้อะไรเลย
- Level 2 นักลงทุนที่มีความรู้พื้นฐาน แม้จะครึ่ง ๆ กลาง ๆ แต่พอมีแรงต้าน สามารถชนะได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มขึ้น มีวินัย และมี money management
- Level 3 นักลงทุนที่เริ่มมีความเชี่ยวชาญ เก่งด้านใดด้านหนึ่ง เริ่มเอาตัวรอดได้ แต่ไม่รวยและหา big short ไม่เจอ
- Level 4 นักลงทุนที่สามารถ ประสานความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และสามารถลงทุนเป็นอาชีพ และอยู่ได้
- Level 5 นักลงทุนที่เริ่มปั้นพอร์ตให้โต
- Level 6 ที่นักลงทุน Level 1-5 แพ้เสมอ คือคนสร้างเกม ผู้สร้างเกมไม่ผิด แต่รายย่อยอยู่เกมของพวกเขา
- คุณซันทิ้งท้ายว่า เราจะอยู่รอดและอยู่ในเติบโตในตลาดได้อย่างไรในยุคนี้ ก็มีหลายทางให้เดิน อาจจะหาหุ้นปันผลเพื่อให้ได้ Passive Income หรือหุ้น Growth แบบนักลงทุน VI หรือจะเทรดแบบ Trend Follow / Swing Trade / Day Trade สิ่งสำคัญคือต้องหาตัวเองให้เจอ
Q&A
Q: เป็นนักลงทุนมือใหม่ แบ่งเงินไปลงทุนอย่างไร
- คุณเบียร์แนะนำว่าถ้าเรายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ให้ศึกษาและเริ่มจากลงทุนให้น้อยที่สุด อาจจะ 10% ก่อน และลองเทียบหุ้นที่เราลงทุนกับภาพตลาดดูว่าเราชนะเกมนั้นแล้วหรือยังแล้วค่อย ๆ เพิ่มสัดส่วนการลงทุนให้มากขึ้น
- ส่วนตัวคุณซันชอบหุ้นที่มีเจ้าเพราะถ้าไม่มีหุ้นจะอยู่กับที่ จะเป็นหุ้นที่น่าเบื่อ ถ้าเข้าใจกลไกลของเจ้า เราจะพาตัวไปกับเค้าได้ พอร์ตเล็ก หาก all in จะเป็นวิธีการปั้นพอร์ตที่เร็วมาก (แต่พอร์ตใหญ่ห้าม all in เด็ดขาดเพราะจะมีผลต่อการตัดสินใจของเจ้า) ดังนั้น ถ้าเห็นการเคลื่อนที่ของราคา และพอมองออกว่าเกมยังไม่จบ เราชนะเค้าไม่ได้ แต่ยังมีทางให้เราตามเค้าไปได้
- คุณเบิร์ทโตมาจาก หุ้นและการ leverage product future แต่ย้ำว่ามีความเสี่ยงสูงมาก
- ส่วนที่คุณเบียร์ โตมาจากหุ้นเก็งกำไร หุ้น event และ money game คุณเบียร์มองว่า สำหรับตัวคุณเบียร์เอง การลงทุนเริ่มต้นจากปีนี้ คือการเอาเงินที่สร้างมา ไปลงทุนสะสมในสินทรัพย์ที่มั่นใจว่าเราจะได้ผลตอบแทนกลับมา ผันผวนน้อย เรารู้ดีว่าการลงทุนที่ดี คือการลงทุนระยะยาว ผันผวนน้อย แต่เพราะที่ผ่านมายังพอร์ตเล็ก จึงจำเป็นต้องเก็งกำไร แต่ต่อไปเราต้องมั่นใจได้ว่า ต่อให้ตลาดล้ม เรายังอยู่ได้
- คุณซันบอกว่า ขึ้นอยู่กับตัวเรา ยาก ไม่ได้แปลว่าจะทำได้ไม่ได้ ตลาดมีช่วงที่ยากและไม่ยาก ตอนนี้ยาก ก็ไม่ได้หมายความว่าอนาคตจะยาก ณ วันที่พี่ ๆ เทรดเดอร์เริ่มต้น ตอนนั้นก็ไม่ได้ง่าย แต่ก็ขึ้นมาได้ถึงจุดนี้
- คุณเต๋ เปรียบเทียบว่า การเฝ้าหน้าจอช่วยให้เทรดเดอร์คมขึ้น เก่งขึ้น แต่สำหรับ VI คือการเอาเวลาที่เฝ้าหน้าจอไปอ่านหนังสือ หาความรู้ ติดตามข่าวสาร และศึกษาจากคนที่เก่งกว่าเรา
- คุณเบิร์ทบอกว่าตันเองจะไม่ปล่อยให้พอร์ตลงไปลึก ๆ หากเป็น future จะตั้ง circuit breaker ไว้ที่ 20% คือถ้ามี 100 หายไป 20 ก็อาจต้องจัดพอร์ตใหม่ ส่วนหุ้นรายตัวเต็มที่จะให้ลงไป 20-30% เพราะเชื่อว่าพอร์ตเราจะโตได้ ต้องไม่โดนเยอะ และเมื่อได้ต้องได้โดย cover ที่ cut ไป และหาก cut เยอะ ๆ จิตใจเราจะเสีย โอกาสกลับมาจะยาก เลยจะไม่ปล่อยลึก โดยจะตี trend line ถ้าหักหัวก็ทยอยออก
ทิ้งท้าย
คุณเบียร์
- คนที่เข้ามาก่อน ยังไงก็ได้เปรียบคนที่เข้ามาทีหลัง แต่จะเสียเปรียบทันที หากประเมินศักยภาพของตัวเองผิด ตลาดนี้ยิ่งอยู่ จะเข้าใจเกม ดังนั้น ต้องยืนระยะให้นานที่สุด อย่ามีอีโก้ และต้องเข้าใจเกม
- ถ้าเราตั้งใจ มุ่งมั่น และมีวินัยมากพอก็ไม่ต้องกลัว และนอกจากการจัดสรรเงิน การออมเงินแลว การใช้จ่ายช่วงสร้างตัวก็สำคัญ อย่าเพิ่งใช้จ่ายไปกับอของฟุ่มเฟือย ให้ค่อย ๆ เติบโตเป็นขั้นบันได ยืนระยะในตลาดให้ได้นานที่สุด
- ที่สุดของการลงทุน คือความสุข เราไม่จำเป็นต้องรวยที่สุด หรือเก่งที่สุด แต่คือการที่เรามีเงินดูแลครอบครัว มีเพื่อน ๆ ที่ลงทุนไปด้วยกัน การลงทุนคือการตอบโจทย์ตัวเราเอง และทำให้เรามีความสุข ถ้าลงทุนแล้วทุกข์ก็ไม่ควรลงทุน
- จริง ๆ แล้วคุณซันเป็นคนหนึ่งที่ทำผิดพลาดมาตลอดชีวิต แต่ไม่เคยท้อ และไม่มีอีโก้ คุณซันชอบคุยกับหลาย ๆ คน เพราะแต่ละคนก็เก่งและมีข้อดีของตัวเอง ดังนั้นทุกคนเป็นอาจารย์คุณจะสอนคุณซันได้หมด และทุกคนมีจุดแข็ง จุดอ่อน ไม่มีใคร perfect ภาพที่ทุกคนเห็นคุณ ๆ เทรดเดอร์ในวันนี้อาจเป็นภาพความสำเร็จ แต่เบื้องหลังเราทุกคนก็เคยผิดพลาด เพียงแต่ไม่ได้มาบอกว่าเหนื่อยหรือท้อ และ การตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องดี แต่ให้จินตนาการในภาพฝันที่เราอยากจะเป็น ไม่ใช่เพ้อฝัน และเก็บเลเวลไปเรื่อย ๆ