Page 1 of 1

สรุปคลิป มนุษย์เงินเดือนสู่เทรดเดอร์พอร์ต 9 หลัก-สูตรปั้นพอร์ต "เบิร์ท มานิตย์" I TNN Wealth Guide I 03-05-65

Posted: Thu Jun 15, 2023 4:46 pm
by thanonlongtun_p
สรุปคลิป มนุษย์เงินเดือนสู่เทรดเดอร์พอร์ต 9 หลัก-สูตรปั้นพอร์ต "เบิร์ท มานิตย์" I TNN Wealth Guide I 03-05-65



จุดเริ่มต้นในการเข้ามาในตลาดหุ้น  
  • ตอนแรกทำงานประจำอยู่บริษัทกฎหมาย รู้สึกไม่เหมาะกับเรา 
  • จนไปอ่านหนังสือประวัติ Steve Jobs ก็คิดว่าหรือเราจะเปลี่ยนไปเป็นผู้ประกอบการไปทำธุรกิจส่วนตัวดี แต่ตอนนั้นเราเป็นมนุษย์เงินเดือน เงินเก็บไม่ได้มีมากมาย 
  • มีเพื่อนมาชวนเปิดพอร์ตหุ้น แล้วเราก็รู้สึกว่าการเล่นหุ้นใช้ต้นทุนน้อย ใช้แค่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ตอนนั้นก็คิดแค่ว่าจะเอากำไรจากการเล่นหุ้นไปลงทุนทำธุรกิจจ่อ 
  ไม่ได้ประสบความสำเร็จเลยทันที   
  • ตอนแรกไม่ได้ประสบความสำเร็จเลยทันที วัฎจักรของนักลงทุน ความเจ็บปวด ผิดพลาด พ่ายแพ้ เป็นส่วนหนึ่งของเกมของชีวิตนักลงทุนอยู่แล้ว 
  • ตอนเราได้กำไรจนมีเงินเก็บจำนวนหนึ่ง เรามั่นใจสุดขึ้น จนกระทั่งปี 2018 เอาเงินในพอร์ตครึ่งหนึ่งไปลงทุนใ Bitcoin ที่กำลังขึ้น แต่ครั้งนี้เป็นจุดสูงสุดของรอบพอดี ทำให้เงินในพอร์ตหายไปเกือบ 50% 
  • หลังความผิดพลาดครั้งนั้น จากที่เคยมั่นใจ ก็เก็บตัวมากขึ้น และกลับมาทำการบ้าน ดูหนังเรื่อง The Pursuit of Happyness เจอประโยคว่า ‘ถ้าคุณมีความฝัน ต้องรักษามันไว้
  • เลยรู้สึกว่า ตอนนั้นชีวิตเทรดเรา 5-6 ปี บางคนเขาเทรดกัน 10-20 ปี ตอนนี้เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น การล้มครั้งนี้เป็จุดต่ำสุดของจุดเริ่มต้นในช่วงแรกของเรา เพื่อก้าวไปสู่จุดสูงสุดใหม่ เราจึงกลับมาทำการบ้าน ปรับ mindset ศึกษาวิธีการลงทุนจากเทรดเดอร์รุ่นเก่า ๆ 
  จุดพลิกผันที่ทำให้พอร์ตหุ้นเติบโตอีกครั้ง 
  • เราก็เทรดเก็บกำไรไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งช่วงพีคคือช่วงโควิด ตลาดลงไปเกือบพันจุด ตอนนั้นคิดว่า นี่อาจจะเป็นจุดพลิกผันของเรา ตอนตลาดหุ้นร่วงแรก ๆ เรามีบทเรียนมาแล้ว เลย Cut Loss ทำให้เรามีกระสุจ พอดูข่าวว่าวัคซีนเริ่มมา มองว่าตลาดมีโอกาสกลับมา บวกกับตอนนั้นเริ่มศึกษา Product การเงินอื่น ๆ ด้วยอย่าง Futures Margin ทำให้พอร์ตกลับมาโตแบบทวีคูณ
  • เราได้ศึกษามาจากหลาย ๆ คน อย่าง Warren Buffett / Bill Gates  / Steve Jobs พบว่าสิ่งสำคัญคือการโฟกัส  หรือ ‘In The Zone’ คือ อยู่ในโซนของเรา ที่จะตัดสินใจได้ดีที่สุด สร้างความเชื่อว่าเราจะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จได้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากการกลับมาของโลกหลังโควิด 
  การใช้ชีวิตในแต่ละวันของเทรดเดอร์ ต้องทำอะไรบ้าง 
  • คุณเบิร์ท ให้ความสำคัญกับทุกอย่าง ทั้งครอบครัว การออกกำลังกสย สภาพจิตใจ
  • การเป็นเทรดเดอร์ สภาพจิตใจต้องแข็งแกร่ง เพราะจะมีการตัดสินใจบ่อย มีความผิดหวังและสมหวังบ่อย ดังนั้นจึงใช้การนั่งสมาธิช่วยเรื่องจิตใจ พอเราจิตดี ความมั่นใจมี ก็จะเทรดได้ดี 
 สไตล์การลงทุน 
  • ออกแนวผสมผสาน ไม่เล่นยาวเกิน 6 เดือน แต่ก็ไม่ได้เล่นสั้นแค่ 1-3 วัน เล่นสั้นคือจะเป็นรายอาทิตย์ขึ้นไป สินค้าตัวหนึ่งจะถือรอบหนึ่งประมาณ 1 เดือน พอเล่นสั้น 1-2 อาทิตย์ ก็จะนำกำไรไปเล่นหุ้น Defensive คือหุ้นพื้นฐานดี ราคาไม่แกว่งเยอะ แต่จะขึ้นเรื่อย ๆ 
  • หุ้นที่เล่นระยะสั้น จะเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ของพอร์ต  อาจมีการใช้ leverage หรือ product ทางการเงิน เช่น future / dw แม้จะเป็นส่วนที่เงินน้อย แต่พอใช้ product การเงินก็จะมีความผันผวนสูงขึ้น แต่ก็ทำให้เราได้กำไรก็เอาไปเล่นหุ้นที่มันเคลื่อนไหวช้าลงผันผวนน้อยลง พื้นฐานแน่นขึ้น โดยหุ้นที่เล่นระยะยาวก็จะเป็นสัดส่วนประมาณ 60% ของพอร์ต
 สูตรการเลือกหุ้น  
  • พอร์ตสั้น จะให้ความสำคัญกับเทคนิคเป็หลัก การเบรคจะดู Timeframe ระดับเดือน ภาพกราฟ 1-2 ปี  ยิ่งเบรคกรอบนานยิ่งให้ดาวเยอะ เพราะมีโอกาสไปไกล 
  • พอร์ตยาว ก็จะมี Checklist เพิ่มขึ้นมา จะเอาข้อมูลพื้นฐานมา Support กราฟ นอกจากนี้ยังดูผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นด้วย 
 พอร์ตโตขึ้น ให้ความสำคัญกับความมั่นคงมากขึ้น  
  • หุ้นเก็งกำไรอาจไม่เหมาะกับการเติบโตระยะยาว หุ้นเก็งกำไร อาจรู้สึกสนุก มีกำไรดี แต่สุดท้ายก็ต้องกลับไปหาหุ้นที่พื้นฐานดี  เพราะจะทำให้พอร์ตเราโตอย่างยั่นยืน 
 ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ สงคราม เทรดเดอร์มีมุมมองในการตัดสินใจลงทุนอย่างไร  
  • เราเข้ามาสนามต้องคิดก่อนว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้  และความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ตลอด จะทำให้เราระมัดระวังมากึ้น และจะเป็นผู้ชนะในระยะยาวได้
 มองอนาคตการเทรดอย่างไร  
  • ปัจจุบันเทรดหุ้นไทยเป็นหลัก แต่ก็มีมองสินค้าอื่นบ้างเช่น ทองคำ น้ำมัน ดัชนีต่างประเทศ เช่น S&P Nadaq หรือหุ้นต่างประเทศบางตัว เพื่อสร้างโอกาสที่มากขึ้น 
 หลักการสำคัญ เมื่อสนใจการลงทุนและเป็นนักลงทุนอาชีพ (Full-Time Trader) 
  • หนึ่ง ต้องเชื่อมั่นว่าเราทำได้ ไม่ลังเลสงสัย  สอง กล้าเสี่ยงในสถานการณ์ที่เหมาะสม กล้าลุย กล้าซื้อ กล้าถือหุ้น ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นที่เรามีความรู้  และ สาม เป้าหมายเราต้องใหญ่พอ