Re: [ SUN ] บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)
Posted: Fri Mar 01, 2024 6:19 pm
สรุปคลิป Oppday year-end 2023 SUN บมจ. ซันสวีท
ภาพรวมธุรกิจ
- ผลประกอบปีนี้เติบโตขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
- ปีนี้จะจ่ายปันผล 0.45 บาทต่อหุ้น จ่ายเป็นเงินสด 0.35 บาทต่อหุ้นและปันผลเป็นหุ้น 0.10 บาทต่อหุ้น
- รวมปีนี้จ่ายปันผล 290 ล้าน -> Dividend Payout Ratio 81.2%
- Main Products (สัดส่วนประมาณ 85%) -> ส่งออกต่างประเทศ
- Ready to Eat Products (สัดส่วนประมาณ 15%) -> ส่งออกต่างประเทศ และขายในประเทศ
- ส่วนมากส่งไปญี่ปุ่นเป็นหลัก
- ที่ผ่านมาเราส่งออกไป 54 ประเทศทั่วโลก โดย 52% เป็นลูกค้าเอเชีย
- ปี 2023 ยอดส่งออกไปออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ
- รายได้รวม 3,697 ล้านบาท +25.7% YoY -> โดยเฉพาะ Q4 เติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะลูกค้าตุนสินค้าเพิ่มขึ้น
- Gross Profit 764 ล้านบาท
- Gross Profit Margin 20.3%
- กำไรสุทธิ 357 ล้านบาท +186%
- Net Profit Margin 8.4%
- Current Ratio 1.68 เท่า
- D/E Ratio 0.45 เท่า
- Average Collection Period 20 วัน
- Average Inventory Period 40 วัน
- Average Payment Period 34 วัน
- กระจายจากธุรกิจส่งออก ไปธุรกิจในประเทศมากขึ้น
- ธุรกิจส่งออก เน้นเข้าร่วมงาน Food Fair ต่างประเทศมากขึ้น
- เราจะให้ความสำคัญในตลาดอเมริกามากขึ้นในปี 2024
- เห็นโอกาสขยายตลาดในประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม มากขึ้น
- จะไปออกงานที่ออสเตรเลียด้วย เพราะปี 2023 ยอดขายในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จากสัดส่วน 2% เป็น 10% ของพอร์ต
- ปี 2023 เห็นภาพเริ่มมีผู้เล่นใหม่ ๆ เข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะจากจีน
- เพิ่มประสิทธิภาพรับวัตถุดิบมากขึ้น ลดต้นทุนแรงงาน
- สั่งทำเครื่องจักรเพื่อตอบโจทย์แพคเกจกระป๋องไซส์เล็ก ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า คาดว่าติดตั้งเสร็จ Q2
- สร้างโรงงานผลิตเพื่อขยายการผลิต Ready to Eats คาดจะเพิ่ม Capacity ได้ เป็น 2 เท่า และตอบโจทย์ธุรกิจส่งออกไปต่างประเทศสินค้าอื่นนอกจากข้าวโพด และ ขยายธุรกิจ Ready to Eat ในประเทศมากขึ้น
- ธุรกิจต่างประเทศ ลดต้นทุนการผลิต ให้ราคาแข่งผู้เล่นใหม่ ๆ ได้โดยเฉพาะผู้เล่นจากจีนที่มีการพัฒนาตัวสินค้ามากขึ้น
- ธุรกิจในประเทศ จะสร้างสินค้าใหม่ตอบโจทย์ลูกค้าหลักมากขึ้น และขยายไปช่องทางอื่นเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการอิงลูกค้ารายเดียว
- ความท้าทายเราในอดีตคือเรื่อง วัตถุดิบ แต่ตอนนี้เปลี่ยนไป ปัจจัยใหม่ที่เข้ามาคือการตลาดที่ต้องแข่งขันกับผู้เล่นใหม่ ๆ มากขึ้น
ภาพการเติบโต กลุ่มสินค้า Ready to Eat
- เชื่อว่ายังมีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะจำนวนสาขา 7-11 เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ความท้าทายคือปริมาณวัตถุดิบ และ ราคาที่ผันผวน
- เราจะโตธุรกิจภายในประเทศมากขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยงธุรกิจต่างประเทศ
- ปี 2024 มีลงทุนโรงงานเพื่อเสริมธุรกิจ Ready to Eats เป็นกลยุทธ์ 3-5 ปีข้างหน้าที่เราจะเดินไป ให้สัดส่วน Ready to Eat เติบโตมากขึ้น
- ต้นปีไม่กระทบ ผลผลิตยังเป็นไปตามแผน เพราะเรารู้มาก่อนล่วงหน้า เราบริหารจัดการพื้นที่ปลูกเพื่อกระจายความเสี่ยงแล้ว ไม่มีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ
- อีกทั้ง ข้าวโพด พิชน้ำน้อย ถ้าไม่แล้งจริง เรายังจัดการได้อยู่
- โตมากกว่า 10% เหมือนเดิม
- เริ่มเห็นความท้าทายใหม่ ๆ เข้ามา คือ การตลาด เพราะผู้เล่นใหม่ ๆ เข้ามา เราต้องทำมากปีนี้คือการตลาด
- ธุรกิจส่งออก สร้างความแข็งแกร่งเรื่องข้าวโพด และเพิ่มไลน์การผลิตนอกจากข้าวโพดเพื่อกระจายความเสี่ยง
- ขยายธุรกิจในประเทศ กลุ่มสินค้า Ready to Eat ลงทุนขยายโรงงาน ขยายช่องทางการขายนอกจาก 7-11
- ปัจจุบันเราสามารถปลูกข้าวโพดหวานได้ทั้งปี
- สินค้า Ready to Eat อย่างเช่น มัน ถั่ว ก็ยังมีปัจจัย Seasonal
- 2022 เจอปัญหา supply chain
- พอปี 2023 ปัญหาคลี่คลาย จึงเติบโตอย่างมีนัยยะ
- พัฒนาการเร็วมาก
- เราสู้ราคาไม่ได้ ต้องสรางความแตกต่างเรื่องคุณภาพ
- แต่เราก็อาจมีความยืดหยุ่นด้านราคามากขึ้น
- เรามีผลประกอบการ new high อยากให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นการลงทุนกับเรา
- อยากให้มีนักลงทุนมีหุ้นในตลาดเข้าไปทำการซื้อขายมากขึ้น
- ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น
- แต่สัดส่วนธุรกิจเราในยุโรปแค่ 8-9%
- มากกว่า 20%
- ต้องทำให้มั่นใจว่าเค้ารู้จักเราดี
- เรามั่นใจในคุณภาพของเรา ว่าสู้เจ้าถิ่นได้
- เราจะเข้าไปร่วมงาน food fair มากขึ้น
- ตั้งตัวแทนเราในอเมริกา เพื่อเป็นหูเป็นตา ลดช่องว่างในการติดต่อกับลูกค้าในอเมริกา
- ลงทุนเครื่องจักร ทดแทนแรงงานคน ลดต้นทุน
- ขยายลูกค้าในประเทศมากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงจากลูกค้าต่างประเทศ และรายหลักในประเทศ
- ที่ผ่านมาผลผลิตข้าวโพดดีมาก ทำให้ผู้เล่นใหม่เข้ามามากขึ้น ปีนี้เราจะเจอการแข่งขันมากขึ้น
- สร้างลูกค้ารายอื่นให้มีความเข้มแข็ง นอกเหนือจากลูกค้าหลักในประเทศ
- R&D ออกสินค้าใหม่ ๆ ต่อเนื่องเพื่อสร้างการเติบโตธุรกิจในประเทศ
- ค่อนข้างผันผวน เพราะขึ้นกับราคาวัตถุดิบที่เป็นสินค้าทางการเกษตร เป็นโจทย์ที่เราต้องจัดการ
- เราจะส่งเสริมธุรกิจการเกษตรไม่เฉพาะข้าวโพด เช่น ถั่วลายเสือ เพื่อมีความต่อเนื่องของวัตถุดิบ ให้ราคาวัตถุดิบมีความสม่ำเสมอมากขึ้น