.
มิลเลนเนียม กรุ๊ป หรือ เอ็มจีซี-เอเชีย (MGC-ASIA) เริ่มต้นธุรกิจเมื่อปี 2000 และขยายงานอย่างต่อเนื่อง มีกลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก และผู้บริหารมองว่าถึงเวลาที่จะเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงตัดสินใจเดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมเงินขยายธุรกิจ
.
เป้าหมายหลักๆ ในการระดมทุนของ เอ็มจีซี-เอเชีย (MGC-ASIA) คือ กลุ่มธุรกิจสินเชื่อ ที่กำลังขยายตัวอย่างโดดเด่น และธุรกิจบริการหลังการขายยานยนต์ ที่มีศักยภาพและมีผลต่อองค์กร เพราะเป็นธุรกิจสร้างรายได้หมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง
.
นอกจากนี้ยังรวมถึงการเตรียมความพร้อมรองรับความร่วมมือกับ เทสล่า (Tesla) พร้อมผลักดันธุรกิจ มารีน เป็นสปริงบอร์ดเข้าเอเชียสัณหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็มจีซี-เอเชีย เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเสนอขายหุ้น IPO รวม 28 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว
.
เป้าหมายเพื่อระดมทุนสำหรับการขยายการขยายกิจการ การชำระหนี้เงินกู้ และเป็นเงินหมุนเวียนในบริษัท โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรอ เอฟเฟคทีฟ ไฟล์ลิ่ง คาดว่าจะพร้อมขายภายในเดือนนี้
.
การระดมทุนรองรับในส่วนการขยายงานนั้น หลักๆ คือ การลงทุนในบริษัท อัลฟา เอกซ์ จำกัด และบริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เอ็มเอ็มเอส บ๊อช คาร์ เซอร์วิส แอนด์ ไทร์
.
อัลฟา เอกซ์ เป็นบริษัทร่วมทุนกับ เอสซีบี เอ็กซ์ ดำเนินธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ ลีสซิ่ง และรีไฟแนนซ์ กลุ่มพรีเมียม ทั้งรถยนต์ เช่น โรลส์-รอยซ์ และมารีน เช่น เรือยอชท์ อะซิมุท เป็นต้น ซึ่งหลังจากเปิดดำเนินการมา 8 เดือน (สิ้นสุดเดือน ธ.ค.2565) ปล่อยสินเชื่อรวม 3,800 ล้านบาท และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องระดมทุนมารองรับการขยายธุรกิจดังกล่าว
.
“แม้ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและสถานการณ์แพร่ระบาดของ โควิด-19 แต่ตลาดลักชัวรี่เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเซกเมนต์อื่นๆ และในบางภูมิภาคสามารถเติบโตสวนกระแส”
.
การเติบโตดังกล่าว มาจากการขยายตัวของฐานลูกค้าที่มีอายุเฉลี่ยต่ำลงและมีความต้องการเพิ่มต่อเนื่อง ขณะที่ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาชิ้นส่วนขาดแคลน แต่ในกลุ่มตลาดรถยนต์ระดับลักชัวรี่ยังเป็นที่ต้องการสูง
.
สะท้อนจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลกที่สร้างยอดขายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งบริษัทได้รับประโยชน์จากการมีพอร์ตธุรกิจที่หลากหลาย ครอบคลุมลูกค้าทุกเซกเมนต์ ทำให้ภาพรวมรายได้และกำไรของกลุ่มบริษัทฯ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ การบริการหลังกาารขาย ก็จะต้องขยายตัวตามไปด้วย จึงต้องระดมทุนสำหรับแผนการขยายงานของ เอ็มเอ็มเอสฯ ที่ปัจจุบันเปิดบริการ 22 สาขา ตั้งเป้าว่า 2-3 ปีจะต้องมี 35 สาขา
.
ทั้งนี้นอกจากการรองรับสินเชื่อแล้ว ธุรกิจบริการหลังการขายจัดเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ และจะมีผลต่อการเติบโตขององค์กรในระยะยาวนอกจากนี้ล่าสุดยังขยายงาน ในส่วนของเอ็มเอ็มเอสฯ คือ การลงนามกับเทสล่า ผู้จำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือ อีวี ในไทยโดยเอ็มเอ็มเอส จะเป็นผู้ดูแลด้านการบริการหลังการขายให้ลูกค้าเทสล่า
.
สัณหวุฒิกล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่น่าสนใจและอยู่ในแผนขยายงานคือ มารีน ซึ่งบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายเรือยอชท์ อะซิมุท จากอิตาลี และล่าสุดคือ การเป็นตัวแทนจำหน่ายเรือแม่น้ำ คริส-คราฟท์ (Chris-Craft) ที่บริษัทได้สิทธิทำตลาดในภูมิภาคอาเซียนโดยบริษัทมองว่ามารีน เป็นตลาดดาวรุ่ง เติบโตสูงทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา เพราะเรือเป็นกิจกรรมที่่จัดขึ้นเฉพาะกลุ่ม หลีกเลี่ยงการพบปะคนจำนวนมาก
.
"เรามองว่า มารีน เป็น new blue ocean มีศักยภาพการเติบโตสูง และที่สำคัญการได้สิทธิทำตลาดในเอเชียของคริสคราฟท์ จะเป็นสินค้าหลักที่เป็นแม่แบบสปริงบอร์ดให้ เอ็มจีซี-เอเชีย ขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคอาเซียน และนี่เป็นเอสเคิร์ฟตัวแรกของเรา จากนั้นจะมีตัวอื่นๆ ตามมา"
.
สำหรับ 4 กลุ่มธุรกิจหลักของ เอ็มจีซี-เอเชีย ประกอบด้วย
- กลุ่ม โมบิลิตี้ รีเทล หรือการจำหน่ายรถยนต์ ทั้ง โรลส์-รอยซ์ บีเอ็มดับเบิลยู มินิ ฮอนด้า ฮาร์ลีย์ เดวิดสัน บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด เรือยอชท์ อะซิมุท เรือแม่น้ำ คริส-คราฟท์ เป็นต้น
- กลุ่มบริการหลังการขาย และบำรุงรักษา ซึ่งรวมถึงการบริการเรือและรถดังกล่าว และเอ็มเอ็มเอสฯ
- กลุ่มธุรกิจรถเช่า และรถเช่า พร้อมคนขับ เช่น ซิกท์ มาสเตอร์คาร์เร้นเทิล เป็นต้น
- กลุ่มบริการการเงิน และบริการอื่นๆ เช่น ไฟแนนซ์ ประกันภัย ไอที ฝึกอบรม เป็นต้น
ส่วนผลประกอบการในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา เติบโตอย่างต่อเนื่อง
- ปี 2563 รายได้ 2.01 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 188.8 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้ 2.12 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 295.5 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้ 2.29 ล้านบาท กำไรสุทธิ 595.6 ล้านบาท

สัณหวุฒิกล่าวว่า การที่บริษัทขยายงานอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องการดำเนินธุรกิจครบวงจร สร้างอีโคซิสเทมในองค์กร และที่สำคัญคือการเข้าถึงลูกค้า (engagement) และดึงลูกค้าให้อยู่กับบริษัทให้มากที่สุด เพราะทุกๆ สินค้าที่บริษัทมีนั้นเชื่อมโยงกัน
อ้างอิง: https://www.bangkokbiznews.com/auto/1061349