Q: นิยามคำว่า VI ของคุณหมอ จากการลงทุนมา 19 ปี
A: การที่เราสามารถซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าความเป็นจริง
- การจะซื้อสินทรัพย์ต่ำกว่าได้ ต้องรู้จักการประเมินมูลค่าที่ถูกต้อง
- การประเมินมูลค่า อาจประเมินปัจจุบันแล้วรู้ว่าถูก หรือ ประเมินมูลค่าในอนาคต แล้วรู้ว่าถูก
- ถ้าเราต้องการผลตอบแทนที่ดี ต้องพยายามประเมินมูลค่าสิ่งที่คนอื่นยังมองไม่เห็นให้ได้
- (พี่เชาว์)คอนเซปไม่ยาก การลงทุนระยะยาวต้องใช้เวลากว่าจะออกดอกผล แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรอ
- (พี่หมอ)สิ่งที่ทุกคนต้องพัฒนาคือ process ในการเรียนรู้ พัฒนาตัวเอง เวลาเราลงทุน บางครั้งเราไปเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ในการทำให้เรากลายเป็น VI เช่น สนใจสิ่งที่ไม่ได้มีผลกระทบกับกิจการมากเกินไป ให้เวลากับสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งสำคัญกับการลงทุนแนว VI มากเกินไป ทำให้เราไม่ประสบความสำเร็จ
- ต้องดูว่าอะไรเป็นข้อมูลสำคัญ ไม่สำคัญ ต้องไปดูแต่ละตัวกิจการ ว่าอนาคตเป็นยังไง 5 ปีข้างหน้า คงไม่มีใครพูดถึง SVB แล้ว
- ข่าวระยะสั้น ทำให้ราคาหุ้นลงมาก ๆ เป็นโอกาสของ VI ในการซื้อกิจการที่ดีในราคาที่ดี ถ้า fundamental ของกิจการที่เราถือไม่เกี่ยวกับ SVB ก็ไม่ต้องไปสนใจมาก
- Process การคิดคือ ถ้า bank ล้ม ตลาดเงินถูกกระทบ ถ้ามีกิจการที่ต้องการ liquidity เยอะ ๆ ในพอร์ต ก็จะต้องระวัง อาจลดพอร์ตลง เราต้องคิดเป็นลูกโซ่ ว่าถ้ามีอะไรเกิดจริง เราจะทำอะไรต่อ และถ้าเรา action เร็ว เราก็จะเสียหายไม่เยอะ
- หนังสือนักลงทุน VI สอนแต่การซื้อหุ้น แต่ไม่ค่อยสอนให้ขายหุ้น สิ่งที่นักลงทุน VI ที่พลาดบ่อยสุดคือการขายหุ้นให้ถูกจังหวะ
- โอกาสมีอยู่มากมาย แต่บางอันเราไม่ได้ take action มันก็คือการพลาดโอกาส
- (พี่เชาว์) หุ้น KAMART ศึกษาว่าจุดแข็งคืออะไร moat คืออะไร เหมือนที่ warren buffett เลือกหุ้น ไปนัดเจอ ทำธุรกิจกับผู้บริหารเลย เหมือนเป็นเจ้าของกิจการจริง ๆ
- (หมอ) หุ้น COM7 ติดตามบริษัทนี้มาระยะหนึ่งก่อนลงทุนหนัก ๆ อ่านรีวิว แล้วทำโมเดลในใจ คือจดทุกอย่างทุกผู้บริหารพูด จดข้อความสำคัญ ๆ และอ่านทบทวนสม่ำเสมอ 5-10 รอบ เพื่อทำนายอนาคตของบริษัท วันหนึ่ง หุ้นตกลงมา วันนั้นรู้ว่า ตลาดเข้าใจเข้าผิด เรารู้เพราะเราใส่ใจรายละเอียดมาก วันนั้นเราน่าจะซื้ออยู่คนเดียว เพราะเราเข้าใจมากกว่าทุกคนในตลาด เราได้โอกาสเมื่อทุกคนขายหุ้นให้เรา
- (หมอ) หุ้น AOT ตอนนั้นมีประเด็น เราอ่านหมายเหตุประกอบงบ โทรไปหานักลงทุนสัมพันธ์ เราต้องเหนือกว่าข่าว ต้อง active กว่านั้น เราจะมั่นใจขึ้นว่าเราคิดถูกไหม และใช้โอกาสตอนน้ำท่วม หุ้นตก เพิ่ม AOT เข้าไปอีก
- เราต้องลืมต้นทุนไปเลย ต้นทุนไม่มีความหมาย
- คิดถึงอนาคตอย่างเดียว ว่าซื้อวันนี้ upside ต่อปีจะเป็นเท่าไหร่
- เวลาลงทุนหุ้นตัวหนึ่ง ต้องดูว่า life cycle ธุรกิจนี้อยู่ที่ไหน ต้องประเมินก่อน เราจะรู้ว่าเราควรขายเมื่อไหร่
- ให้ขายใกล้ ๆ mature stage (จุดอิ่มตัวของธุรกิจ )
- ก่อนจะลงทุน ทำการบ้านอย่างหนัก นัดคุยกับ CEO ดูแม้กระทั่งว่าเขาเลี้ยงลูกอย่างไร นัดคุยกับเพื่อนที่ทำธุรกิจและรู้จักกับ CEO เชคทุกมิติ ว่าเค้าเก่งหรือไม่เก่ง
- ตอนนั้นเทียบกับแบรนด์ MISTINE รายได้หมื่นล้าน กำไรพันล้าน ถ้า KAMART ทำได้ upside จะร้อยเด้ง downside คือเท่าเดิม
- เทียบกับทุกแบรนด์ที่อยู่ในตลาดหุ้น และมองว่าของ KAMART ชนะหลาย ๆ เจ้า
- ประเมินทุกไตรมาส มีโมเดลในใจ
- เวลาผู้บริหารให้ guidance เราห้ามเอาไปประเมินต่อทันที เราต้องรู้และติดตามประวัติเค้าว่า เวลาผู้บริหารพูด มันมักจะเป็นยังไง บางคนบอกคาดว่าโต 10% แต่เป้าหมายจริง ๆ อาจจะอยากทำให้ได้ 20%
- จะลงทุนเมื่อรู้ว่ามากกว่าบทวิเคราะห์ ถ้าบทวิเคราะห์รู้มากกว่าเรา จะไม่ค่อยกล้าลงทุน เพราะแปลว่าเรารู้เท่ากับนักลงทุนในตลาด
- ประเมินผลกระทบว่าเป็นระยะสั้น หรือระยะยาว
- ถ้าเป็นผลกระทบระยะยาว ต้องประเมิน valuation ใหม่หมด
- แต่ละอุตสาหกรรมในประเทศไทย เชื่อมโยงกันหมด
- VI Playbook มันคล้าย ๆ เดิม แต่คู่แข่งที่แข่งกันลงทุนเก่งขึ้นเยอะ VI รุ่นใหม่ ๆ เก่งมาก การลงทุนให้ได้กำไรดี ๆ ยากขึ้น เพราะคนเห็นโอกาสตลาด
- ดังนั้น วันนี้ถ้าเราอยากได้ return เยอะ ๆ ต้องหาอะไรที่คนอื่นไม่รู้ แต่เรารู้อยู่คนเดียวให้เจอ
- คุณเชาว์มองว่า โอกาสในวันนี้ยังมี แต่ต้องหาให้เจอ
- VI อเมริกาเก่งกว่าไทยมาก เราได้ความรู้จากฝั่งอเมริกา มาใช้กับการลงทุนไทย
- เหมือนที่ดร.นิเวศน์บอกว่าไม่ลงทุนในอเมริกา เพราะนักลงทุนที่นั่นเก่งกันมาก
- การลงทุนภาพใหญ่ใช้ไม่ได้แล้ว จะชนะกันที่รายละเอียด ปัจจัยที่สำคัญ เพราะเราจะ move เร็วกว่า ซื้อได้ก่อน
- IPO คือโอกาส เพราะเป็นหุ้นที่คนเข้าใจยังไม่เยอะ ก่อน IPO จะ list หมอทำการบ้านก่อนสองอาทิตย์ เพื่อให้เข้าใจมากที่สุด
- เงินมากน้อยไม่เกี่ยว คุณโจลูกอิสาน ก็เริ่มจากพอร์ตหลักแสน ปัจจุบันหลายร้อยล้าน ถ้ามาถูกทาง มันก็ทบต้น
- อยู่ที่ขยันพอไหม หมอเองรู้จัก VI ที่พอร์ตเล็ก แต่เติบโตเร็วเยอะมาก พอร์ตเล็กบางที Focus มากกว่าคนพอร์ตใหญ่ ถือหุ้น 2-3 ตัว ก็สามารถ return ได้ดี เพราะเป็น 2-3 ตัวที่ potential upside เยอะ
- วิธีประเมินไม่ใช่ key สำคัญ ที่สำคัญอยู่ที่เราว่าเรามองถูกหรือผิด มองออกในขณะที่คนอื่นมองไม่ออก แค่นั้นเอง
- เหมือนที่ warren buffett บอก ตัดสินใจลงทุน คิดในใจ แล้วเคาะเลย ไม่ DCF ไม่มีคอมพิวเตอร์
- ลงทุน 19 ปี เคยติดลบ 3 ปี แต่ทนได้ ไม่ค่อยมีผลถึงนอนไม่หลับ ปีที่หนัก ๆ ก็ 10%
- เวลาหุ้นลงเรื่อย ๆ ดูข้อมูลว่ามีการเปลี่ยนแปลง fundamental อย่างรุนแรงไหม ถ้าไม่ ต้องกล้าซื้อเพิ่ม โดยขายหุ้นที่ลงน้อยกว่า
- บางบริษัทขาดทุนช่วงโควิด มีนักลงทุนที่ไม่เข้าใจเยอะมาก จริง ๆ เป็นโอกาสที่ดี เราต้องแกะลึก ๆ ถึงจะเห็นโอกาส
- ธุรกิจนี้มี market size เท่าไหร่ แล้วบริษัทมี market share เท่าไหร่ คิดว่าเค้าจะไปถึงเท่าไหร่
- บริษัทที่เปลี่ยนโครงสร้างการแข่งขัน เมื่อก่อนเคยได้เปรียบ ตอนนี้ความได้เปรียบไปอยู่อีกที่หนึ่ง ต้องมองให้ออก จินตนาการให้ออก คุยกับคนเยอะ ๆ แล้วรีบ take action
- เห็นหุ้นดี ๆ ดู return 2-3 ปีข้างหน้าแล้วดี ก็จะลดพอร์ตเพื่อไปซื้อหุ้นตัวนั้น
ที่มา: The Standard Wealth
รับชมคลิปเต็ม www.youtube.com/watch?v=inL5uvSlen0